ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • หน่วยวัดน้ำหนักทองคำที่ซื้อขายกัน

    30 ก.ย. 56 151,409
    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทองคำ
    ความหมายของคำว่า K สำหรับทองคำ คืออะไร?
    สำหรับคนทั่วไปเมื่อพูดถึง "ทองเค" บางคนอาจคิดว่าเป็นทองปลอม หรือทองชุบ ที่วางขายตามตลาดนัด หรือตลาดเปิดท้ายทั่วไป เพราะคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับร้านทองในบ้านเราที่วัดความบริสุทธิ์ของทองคำเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ทองรูปพรรณตามร้านทองจะอยู่ที่ 96.5% หรือ บางร้านก็จะมีทองคำ 99.99% ขายด้วย ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไป
    แต่จริงๆ แล้วทองเค หรือ K ย่อมาจากคำว่า กะรัต ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้บอกความบริสุทธิ์ของทองคำ ที่จะบอกว่าในทองคำนั้นๆ มีเนื้อทองคำกี่ส่วน ยิ่งตัวเลขสูงก็แสดงว่ามีทองคำอยู่มาก ซึ่งในทองคำบริสุทธิ์ 100% จะคิดเป็น 24 ส่วน หรือเรียกว่าทองคำ 24K หรือถ้าเป็นทองรูปพรรณที่วางขายในร้านทองที่วัดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 96.5% นั้น จะเทียบเท่ากับ 23.16K เป็นต้น เราลองมาดูกันค่ะว่า ทองคำที่เรียกกันว่าทองเคนั้น จริงๆ แล้วมีเนื้อทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่นิยมในประเทศไหนบ้าง
    • ทองคำ 24K คือ มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 24 ส่วน หรือที่เรียกกันว่าทองคำบริสุทธิ์ 99.99% (ในทางปฏิบัติไม่สามารถสกัดธาตุเจือปนออกให้หมดได้จึงไม่เป็น 100%) ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ ไทย จีน ฮ่องกง และอินโดนีเซีย
    • ทองคำ 22K คือ มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ 22 ส่วน หรือ 92% อีก 2 ส่วนเป็นโลหะชนิดอื่น ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ อินเดีย และตะวันออกกลาง
    • ทองคำ 18K คือ มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ 18 ส่วน หรือ 75% อีก 6 ส่วนเป็นโลหะชนิดอื่น ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ ประเทศในแถบยุโรป เช่น อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา
    • ทองคำ 14K คือ มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ 14 ส่วนหรือ 56.3% อีก 10 ส่วนเป็นโลหะชนิดอื่น ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และเยอรมัน
    • ทองคำ 10K คือ มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ 10 ส่วน หรือ 41.7 % อีก 14 ส่วนเป็นโลหะชนิดอื่น ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา

    หน่วยน้ำหนัก และมาตรฐานทองคำ
    ในกรณีที่เราซื้อทองคำจากร้านค้าทองทั่วไป เราก็จะเข้าไปบอกพนักงานว่าต้องการทองคำกี่บาท (โดยทองคำที่เราซื้อนั้นจะเป็นทองคำ 96.5%) และเมื่อตกลงแล้ว พนักงานจะนำทองคำนั้นไปชั่งให้เราดูน้ำหนักของทองคำ เช่น ทองคำ 1 บาท จะมีน้ำหนัก 15.16 กรัม เป็นต้น แต่ถ้าเราดูข่าวก็จะมีรายงานราคาทองคำในตลาดโลกจะใช้คำว่า ทรอยออนส์ เป็นหน่วยของทองคำ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า น้ำหนัก บาท กรัม ทรอยออนส์ (Troy Ounce) ต่างกันอย่างไรบ้าง?
    หน่วยการแปลงน้ำหนักของทองคำ ที่ใช้กันเป็นหน่วยสากล ได้แก่
    • กรัม: ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
    • ทรอยออนซ์: ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย (1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 31.103 กรัม)
    • บาท: ใช้ในประเทศไทย
    การแปลงน้ำหนักทองคำ แบ่งเป็นสำหรับทองคำ 96.5% และ 99.99% ดังนี้
    ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)
    • ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท (Baht) = 15.16 กรัม (Grams)
    • ทองคำแท่งน้ำหนัก 1 บาท (Baht) = 15.244 กรัม (Grams)
    • ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 65.6 บาท
    ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
    • ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 32.148 ออนซ์ (Troy Ounces)
    • ทองคำ 1 ออนซ์ (Troy Ounces) = 31.1034768 กรัม (Grams)
    • ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 65.6 บาท

    มาตรฐานทองคำ ในการซื้อขายทองคำ แต่ละประเทศจะนิยมเปอร์เซ็นต์ของทองที่แตกต่างกัน ดังนี้
    • ทองคำ 99.99% ซื้อขายเป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก
    • ทองคำ 99.9% ซื้อขายในประเทศอินเดีย
    • ทองคำ 99.5% ซื้อขายในประเทศแถบตะวันออกกลาง
    • ทองคำ 99.0% ซื้อขายเฉพาะในประเทศฮ่องกง
    • ทองคำ 96.5% ซื้อขายเฉพาะในประเทศไทย
    ขอขอบคุณ: ข้อมูลบางส่วนจาก www.globlexholding.co.th

    บทความเกี่ยวกับราคาทองคำอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)