ไทยพาณิชย์เปิดตัวบัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ ครั้งแรกบน SCB EASY App

ข่าว icon 30 มี.ค. 66 icon 6,043
ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ และ นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมเปิดตัว "บัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ" ครั้งแรกบน SCB EASY App ให้ลูกค้าสามารถฝากหุ้นกู้บนช่องทางดิจิทัลแบบไร้ใบ ชูจุดเด่น Seamless Experience ซื้อง่าย-ฝากได้ ที่ SCB EASY App มอบประสบการณ์การรวมศูนย์การลงทุนไว้ในที่เดียว ทั้งนี้ บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบในบัญชีหุ้นกู้ EASY-D จะเริ่มให้ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อเปิดบัญชีหุ้นกู้ EASY-D ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนนี้เป็นต้นไป มั่นใจช่วยให้ลูกค้าเพิ่มโอกาสการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งได้อย่างไร้รอยต่อ ตอกย้ำความเป็น Digital Bank with Human Touch
 
ธนาคารไทยพาณิชย์มองโอกาสเอกชนลุยออกหุ้นกู้ระดมทุนรับเศรษฐกิจฟื้นตัว พร้อมตอบรับแนวคิดการพัฒนาระบบ Digital Infrastructure ของ ก.ล.ต. ในการสร้างกระบวนการลงทุนเป็นดิจิทัล 100% ต่อยอดเทรนด์การจองซื้อหุ้นกู้ผ่านช่องทางดิจิทัลที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น เปิดตัว "บัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ" ครั้งแรกบน SCB EASY App ให้สามารถฝากหุ้นกู้บนช่องทางดิจิทัลแบบไร้ใบ ชูจุดเด่น Seamless Experience ซื้อง่าย-ฝากได้ ที่ SCB EASY App มอบประสบการณ์การรวมศูนย์การลงทุนไว้ในที่เดียว ให้นักลงทุนรายย่อยสามารถรวมการลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องเก็บใบหุ้นกู้ มั่นใจช่วยให้ลูกค้าเพิ่มโอกาสการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งได้อย่างไร้รอยต่อ ตอกย้ำความเป็น Digital Bank with Human Touch 
นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า "ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจกลับมาเริ่มลงทุนขยายกิจการอย่างคึกคัก อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนทางการเงินปรับตัวสูงขึ้นตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เราจะเห็นธุรกิจขนาดใหญ่เร่งระดมทุนด้วยเครื่องมือทางเลือกต่างๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือการระดมทุนที่ลูกค้ารายใหญ่ให้ความสนใจคือ การออกและเสนอขายหุ้นกู้ ด้วยเป็นทางเลือกในการระดมทุนที่สามารถเข้าถึงผู้ลงทุนที่หลากหลาย และช่วยในการบริหารต้นทุนทางการเงินของบริษัท โดยข้อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยประเมินว่า การออกหุ้นกู้ของภาคเอกชนในปี 2566 นี้จะเป็นไปในเชิงบวก โดยคาดการณ์ว่าจะมีการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้มากกว่า 1 ล้านล้านบาท ต่อเนื่องจากการออกหุ้นกู้ของภาคเอกชนในปี 2565 ที่มีการออกหุ้นกู้สูงเป็นประวัติการณ์ด้วยมูลค่าประมาณกว่า 1.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ เราจะเห็นการออกหุ้นกู้ที่ระดมทุนสำหรับโครงการด้านความยั่งยืน พัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือ ESG Bonds ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และจะเห็นหุ้นกู้ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นที่จำนวนไม่สูงนัก เพื่อเป็นการขยายการลงทุนไปยังกลุ่มนักลงทุนรายย่อย" 
 
นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเพิ่มโอกาสการลงทุนให้นักลงทุนรายย่อยให้สามารถเข้าถึงตลาดทุนได้ง่ายขึ้น เราจึงจะเห็นเอกชนสนใจออกหุ้นกู้บนช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น  เพื่อรองรับการเติบโตของเทรนด์การลงทุนดิจิทัลดังกล่าว และเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารในการเป็น Digital Bank with Human Touch ธนาคารจึงได้ต่อยอดบริการการลงทุนในหุ้นกู้ผ่าน SCB EASY App ด้วยการเปิดตัว "บัญชีหุ้นกู้ Easy-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ" ครั้งแรกบน SCB Easy App ให้สามารถฝากหุ้นกู้บนช่องทางดิจิทัลแบบไร้ใบ อำนวยความสะดวกให้นักลุงทุนรายย่อยด้วยประสบการณ์ไร้รอยต่อ ซื้อง่าย-ฝากหุ้นกู้ได้ ที่ SCB Easy App มอบประสบการณ์การรวมศูนย์การลงทุนไว้ในที่เดียว
การเปิดตัวบัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ บน SCB Easy App ยังตอบรับกระแสความนิยมการลงทุนในหุ้นกู้ เนื่องจากหุ้นกู้เป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับ หุ้นสามัญ อีกทั้งยังให้ผลตอบแทนที่โดยทั่วไปเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ และมีระยะเวลาการลงทุนที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี พบว่าผู้ลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้มักเลือกที่จะถือใบหุ้นกู้ไว้กับตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากผู้ลงทุนไม่มีพอร์ตการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงผู้ลงทุนอาจมีการลงทุนในหลากหลายผลิตภัณฑ์ผ่านแอป จึงเป็นที่มาให้ธนาคารฯ พัฒนาบัญชีหุ้นกู้ EASY-D เพื่อตอบโจทย์ข้อจำกัดนี้ของนักลงทุนรายย่อย โดยผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้ผ่าน SCB Easy App สามารถฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบไว้กับธนาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนรายย่อย ทั้งยังได้เห็นภาพรวมการลงทุนอยู่ในที่เดียว นอกจากนี้ บัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ ยังสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาระบบ Digital Infrastructure ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ต้องการเห็นกระบวนการในตลาดทุนเป็นดิจิทัล 100% ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยลูกค้าสามารถทำธุรกรรมที่เป็น digital แบบ end-to-end ตั้งแต่การจองซื้อหุ้นกู้ไปจนถึงการฝากหุ้นกู้ในบัญชีหุ้นกู้อีซี่ดี ผ่าน SCB Easy App
 
คุณสมบัติผู้สมัครบัญชีหุ้นกู้ EASY-D                                
  • สัญชาติไทยและอายุ 20 ปีขึ้นไป
  • มีบัญชีเงินฝากและผูกกับแอป SCB EASY แล้ว
  • มีอีเมลที่ยืนยันแล้ว และ เบอร์โทรศัพท์มือถือ
  • ยืนยันตัวตนกับธนาคารแล้ว
ขั้นตอนการสมัครใช้บริการ SCB Easy-D   
ทั้งนี้ บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบในบัญชีหุ้นกู้ EASY-D จะเริ่มให้ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อเปิดบัญชีหุ้นกู้ EASY-D ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนนี้เป็นต้นไป โดยในช่วงแรกจะให้บริการรับฝากหุ้นกู้ภาคเอกชนที่เสนอขายผ่าน SCB EASY App ดังนั้น ลูกค้าจึงควรเปิดบัญชีหุ้นกู้ EASY-D เตรียมให้พร้อมก่อนจองซื้อหุ้นกู้ที่ธนาคารจะเปิดจำหน่ายเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ธนาคารไทยพาณิชย์ scb easy app บัญชีหุ้นกู้ EASY-D หุ้นกู้แบบไร้ใบ

ข่าวและอีเว้นท์เศรษฐกิจล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)