DCA VS Lump Sum จะเลือกลงทุนแบบไหน แต่ละแบบเหมาะกับใคร

icon 14 ธ.ค. 66 icon 1,354
DCA VS Lump Sum จะเลือกลงทุนแบบไหน แต่ละแบบเหมาะกับใคร
ปลายปีแบบนี้ใครๆ ก็พูดถึงเรื่องการหาตัวช่วยประหยัดภาษี โดยเฉพาะการเลือกลงทุนในกองทุนต่างๆ ซึ่งก่อนตัดสินใจลงทุน นอกจากการจะเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนตรงใจแล้ว ยังมีเรื่องของรูปแบบการลงทุนที่ควรเลือกให้เหมาะสมอีกด้วยนะคะ วันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งในเรื่องของรูปแบบของการลงทุนในกองทุน ซึ่งมีรูปแบบยอดนิยมอยู่ 2 แบบ คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA และการลงทุนแบบครั้งเดียว หรือ Lump Sum โดยทั้ง 2 แบบมีข้อดี และข้อด้อยแตกต่างกันอย่างไร แล้วการลงทุนแต่ละแบบจะเหมาะกับนักลงทุนแบบไหน ตามมาดูกันเลยค่ะ
 
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging : DCA) เป็นการลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆ กัน และมีการกำหนดระยะเวลาในการลงทุน เช่น ต้องการลงทุนเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยแบ่งลงทุนทุกเดือนๆ ละ 1,000 บาท เป็นต้น
 
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยมีความหมายตรงตัวเลยคือ ผู้ลงทุนจะได้ราคาต้นทุนของหลักทรัพย์แบบถัวเฉลี่ย ซึ่งในช่วงต้นกำไรจากการลงทุนอาจจะไม่สูงนัก แต่ในระยะยาวมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ 
 
ลงทุนแบบครั้งเดียว (Lump Sum) เป็นการลงทุนเป็นเงินก้อนเพียงครั้งเดียว โดยการลงทุนรูปแบบนี้ควรผ่านการวิเคราะห์ช่วงจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมมาเป็นอย่างดีแล้ว 
 
ซึ่งนักลงทุนที่ต้องการการลงทุนแบบ Lump Sum ควรต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจ เพราะหากนักลงทุนจับจังหวะการลงทุนผิด ก็อาจสร้างผลขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ 
 
 
ตัวอย่างการลงทุนแบบ DCA

ตัวอย่างข้อมูลจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย โดยยกตัวอย่างการทำ DCA ในกองทุนรวม ที่เป็นช่องทางที่สามารถเริ่มต้นลงทุนง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร และสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้หลากหลาย ครอบคลุมการลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ

ตัวอย่างจำลองการลงทุนในกองทุน KTSET50RMF กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 โดยลงทุนทุกวันที่ 1 ของเดือน
คำนวณจาก DCA Simulator โดย wealthmagik.com
*ข้อมูลในตารางเป็นการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจวิธีการลงทุน ไม่ใช่การการันตีผลตอบแทนของกองทุน
 
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง มูลค่าหน่วยลงทุนก็ปรับตัวลงตามกัน แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนจะได้จำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นโดยใช้เงินลงทุนเท่าเดิม ในขณะที่เมื่อมูลค่าหน่วยเพิ่มขึ้น แม้นักลงทุนจะซื้อได้หน่วยน้อยลง แต่มูลค่าพอร์ตก็จะเติบโตอยู่ดี หลังจากทยอยลงทุนครบ 1 ปี มูลค่าหน่วยลงทุนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10.86 แม้ว่าบางช่วงมูลค่าหน่วยจะสูงขึ้นถึง 11.34 บาทก็ตาม ซึ่งจากข้อมูลนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าช่วงที่ตลาดผันผวนหนักๆ การลงทุนแบบ DCA จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนผิดจังหวะ และถัวเฉลี่ยต้นทุนให้เราได้อย่างไรนะคะ
 
สอบถามข้อมูลรู้เรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นการลงทุน การลงทุน ลงทุนหุ้น ลงทุนกองทุนรวม การลงทุนถัวเฉลี่ย DCA การลงทุนแบบครั้งเดียว Lump Sum รูปแบบการลงทุน มือใหม่ควรลงทุนแบบไหนดี
Economy Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)