3 ปัจจัยที่ส่งราคาทองคำพุ่งในปี 2023

icon 25 เม.ย. 66 icon 11,723
3 ปัจจัยที่ส่งราคาทองคำพุ่งในปี 2023
ในปี 2023 ทิศทางทองคำจะมีความผันผวนช่วงไตรมาส 1 - 2 จากปัจจัยเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ย และการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ราคาทองคำมีโอกาสปรับขึ้นเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของยูโรโซน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ประกอบกับนักลงทุนจะกังวลว่าดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่สูงจะเริ่มกระทบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเราจะอธิบายทั้ง 3 ปัจจัยว่าส่งผลต่อราคาทองคำอย่างไร 

1. อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ 

หากสหรัฐฯ ประกาศอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจะกดดันนักลงทุนให้คาดว่า FED เร่งการขึ้นดอกเบี้ยกระทบต่อนักลงทุนที่เริ่มเก็งกำไรในดอลลาร์สหรัฐฯ มากขึ้น และกดทองคำลง แต่หากเงินเฟ้อลดลงจะทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลต่อการเทขายดอลลาร์สหรัฐฯ ของนักลงทุน นับเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
 
2. นโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ยูโนโซน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร 
 
จากกราฟดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ยูโนโซน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร จะเห็นว่า FED ได้เริ่มใข้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดก่อนใคร และมีโอกาสปรับดอกเบี้ยขึ้นแตะ 5% ทำให้เหลือการขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 0.5% แต่ยูโรโซน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เพิ่งเริ่มจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 มองว่า เงินมีโอกาสไหลกลับมาที่ค่าเงินอย่างยูโร เยน และปอนด์ จะแข็งขึ้น และดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มอ่น นับเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
3. ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ 

เมื่อ FED ขึ้นดอกเบี้ยถึงเป้าหมายที่ 5% หากมองในทางเศรษฐศาสตร์ จะกระทบ 5 อย่าง 
 
3.1 ดอกเบี้ย ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และของธนานคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ขึ้นตาม ทำให้ผู้ประกอบการลดแรงจูงใจที่จะกู้ยืมเพื่อลงทุน  แต่จะสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนนำเงินฝากฝาก กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยลดลง สุดท้ายจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อก็จะมีแนวโน้มชะลอลง
 
3.2 สินเชื่อ ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ย ทำให้ภาระหนี้สินของธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น และความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งไม่จูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสามารถขยายการลงทุนได้ยาก กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อที่ต่ำลง 
 
3.3 ราคาสินทรัพย์ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อประชาชนออมเงินฝากเพิ่มขึ้น และลดการออมในรูปแบบอื่นๆ นำไปสู่การลดลงของการบริโภค เป็นปัจจัยลบต่อการลงทุนในหุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ การชะลอตัวของการบริโภค และการลงทุนจะส่งผลให้เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อปรับลดลงในที่สุด 
 
3.4 อัตราแลกเปลี่ยน การที่สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยจะส่งเสริมให้นักลงทุนเข้าไปลงทุน ในหลักทรัพย์ในรูปเงินดอลลาร์มากขึ้น การที่เงินทุนเข้าสหรัฐฯ และความต้องการเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ แข็งค่า ทำให้สินค้านำเข้าถูกลง อละลดเงินเฟ้อลง 
 
3.5 คาดการณ์ของประชาชน มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในอนาคต ช่วยลดแรงจูงใจในการซื้อสินค้า และบริการของประชาชน กระทบแนวโน้มของราคาสินค้าที่กำลังลดลง และส่งผลให้อัตราเงินฟ้อต่ำลง

จากดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่สูง กระทบ 5 ประเด็นที่กล่าวมา มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ ดังนั้นกลยุทธ์ในการลงทุนทองคำของปี 2023 คือ การย่อเก็บทองคำตั้งแต่ 1,700 ถึง 1,750 เหรียญ และมีจุดตัดใจที่ 1,600 เหรียญ โดยมีเป้าหมายที่ 1,870 ถึง 1,945 เหรียญ

ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารทองคำ โดยสมาคมค้าทองคำ ปีที่ 19 ฉบับที่ 70 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565
แท็กที่เกี่ยวข้อง ราคาทองคำ บทความเศรษฐกิจ 2566 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทอง ราคาทอง 2023
Economy Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)