หุ้นโรงไฟฟ้าตัวไหนดี? ต้องดูอะไร?

icon 5 ต.ค. 65 icon 7,205
หุ้นโรงไฟฟ้าตัวไหนดี? ต้องดูอะไร?
ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสดใส ตลาดหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวในกรอบแคบ จากกระแสข่าวมีการพูดหุ้นกลุ่ม Defensive ที่มีรายได้แน่นอนพร้อมรับเงินปันผลสูง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีหุ้นโรงไฟฟ้าอยู่ในนั้นด้วย บทความนี้จะพาไปรู้จักกับธุรกิจโรงไฟฟ้า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ และหุ้นที่น่าสนใจ
 
ทำความรู้จักธุรกิจโรงไฟฟ้า
 
ธุรกิจโรงไฟฟ้าไทยมีโครงสร้างแบบ Enhanced Single-Buyer Model (ESB) คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นทั้งผู้ผลิต และรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตภาคเอกชน ธุรกิจนี้มีลักษณะเด่น คือ ไม่สามารถสต๊อกสินค้า ซึ่งก็คือไฟฟ้า ได้เหมือนธุรกิจอื่น อีกทั้งไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาสร้างโรงไฟฟ้า สุดท้าย คือ เป็นธุรกิจที่มีหน่วยงานรัฐกำกับ และทำแผนการลงทุนเพิ่มเติม
 
 
โรงไฟฟ้าแบ่งโดยเชื้อเพลิงที่ใช้ มี 2 ประเภท คือ
  1. โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังน้ำขนาดใหญ่ และน้ำมัน
  2. โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ แสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก และขยะ
ด้านผู้ผลิตภาคเอกชนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) รายได้มาจากรายได้ขั้นต่ำตามที่กำหนดในสัญญาขายไฟฟ้าระยะยาวกับ กฟผ. และรายได้จากการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบจริงตามการใช้ในประเทศ อีกทั้งยังมีรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ กลุ่มนี้มีกำลังผลิตมากกว่า 90 เมกะวัตต์
  2. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) รายได้มาจากสัญญาขายไฟฟ้าระยะยาวกับ กฟผ. และรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงให้กับโรงงาน รายได้ส่วนนี้จะแปรผันตามทิศทางเศรษฐกิจและภาวะอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีรายได่จากการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน กลุ่มนี้มีกำลังการผลิต 10-90 เมกะวัตต์
  3. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) รายได้มาจากการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามสัญญา เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งช่วงแรกจะขาดทุน ส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้ามักมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณและต้นทุนวัตถุดิบ
ก่อนลงทุนต้องดูอะไรบ้าง
 
สมัยก่อนหุ้นโรงไฟฟ้าจะเน้นเรื่องการจ่ายปันผล เพราะธุรกิจมีการเติบโตไม่สูง จนกระทั่งมีหุ้นโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาด ซึ่งหุ้นเหล่านี้มีการเติบโตสูงถึงระดับเลขสองหลัก ทำให้หุ้นโรงไฟฟ้าเปลี่ยนจากกลุ่ม Defensive เป็นกลุ่ม Growth ไปในทันที 
 
นักลงทุนต้องพิจารณากำลังการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันของบริษัทนั้นพร้อมกับกำลังการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นปัจจัยหลักของหุ้นโรงไฟฟ้า คือ อัตราการเติบโตในอนาคต
 
นอกจากนั้นต้องพิจารณาอัตราการทำกำไรของหุ้นโรงไฟฟ้าด้วย โดยโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงหลักก็จะมีต้นทุนที่แตกต่างจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ด้านราคาขายก็จะต้องค้นหาข้อมูลสัญญาขาย เช่น สัญญาขายแบบ Firm สัญญาขายแบบ Non-Firm สัญญาขายแบบ Feed-in Tariff และสัญญาขายแบบ Adder ซึ่งด้วยวัตถุดิบ และสัญญาขายที่ต่างกันก็ส่งผลต่ออัตราการทำกำไร
 
หุ้นโรงไฟฟ้าก็มีความเสี่ยงเช่นกันโดยเฉพาะความเสี่ยงในเชิงนโยบาย เพราะหุ้นโรงไฟฟ้ามีความคาดหวังกับกำลังการผลิตใหม่ในอนาคต ดังนั้นหากนโยบายภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่ออนาคตของบริษัท ซึ่งครอบคลุมไปยังนโยบายของต่างประเทศเช่นกัน โดยนักลงทุนสามารถติดตามนโยบายของประเทศไทยได้จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก
 
ความน่าสนใจของธุรกิจโรงไฟฟ้า
 
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศแปรผันตามภาวะเศรษฐกิจ การเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 0.9-1.1 เท่าของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่า GDP ปี 2022 ของประเทศไทยจะขยายตัวที่ 3.5% ส่วนปี 2023 อยู่ที่ 4.2% ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2022 การใช้ไฟฟ้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น 5.9% หนุนด้วยภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และครัวเรือน จากอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้นตัว
 
นอกจากนี้ก็ยังเป็นธุรกิจที่มีรายได้สม่ำเสมอ ทั้งจากสินค้าที่เป็นสิ่งของจำเป็น และการขายไฟฟ้าที่เป็นสัญญา ทำให้ธุรกิจมีความเป็น Defensive ในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย แต่หากเศรษฐกิจขยายตัวก็จะกลับกลายเป็นหุ้น Growth ในทันที
 
รวมแพคหุ้นโรงไฟฟ้า
 
 
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) - GULF
 
ดำเนินธุรกิจเป็น Holding Company ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเสริมด้วยธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และเริ่มขยายเข้าสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการขนส่งเพื่อหนุนการเติบโตในอนาคต
 
ไตรมาส 2 ปี 2022 มีรายได้ 23,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% (YoY) และ 12% (QoQ) กำไรสุทธิอยู่ที่ 1,531 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% (YoY) แต่ลดลง 55% (QoQ) คาดว่าไตรมาสหน้ากำไรจะยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน (YoY) แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 (QoQ) เพราะขายหุ้นโรงไฟฟ้าออกไป แต่ด้วยแผนการสร้างโรงไฟฟ้าและขยายธุรกิจทำให้เป็นบริษัทที่มีความน่าสนใจในระยะยาว

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) - BGRIM
 
ดำเนินธุรกิจเป็น Holding Company ประกอบธุรกิจหลักผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม โดยมี กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าหลัก นอกจากนี้ยังมีการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ
 
ไตรมาส 2 ปี 2022 มีรายได้ 14,741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% (YoY) ลดลง 1% (QoQ) แต่ขาดทุน 149.4 ล้านบาท จากรายการพิเศษ หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรจะอยู่ที่ 147 ล้านบาท ลดลง 85% (YoY) เพิ่มขึ้น 332% (QoQ) นักวิเคราะห์คาดว่าผลประกอบการจะลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
 
BGRIM เซ็นสัญญาระยะยาวขายไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2020 ช่วงที่ราคาก๊าซธรรมชาติยังต่ำ จึงมีโอกาสนำเข้าก๊าซธรรมชาติด้วยราคาต่ำกว่าราคาจาก PTT ส่วนอัตราค่าไฟก็ปรับขึ้นตามราคาก๊าซในตลาดโลก ดังนั้นฝั่งรายได้ก็เพิ่มขึ้น ด้านต้นทุนถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ช่วงที่วัตถุดิบยังราคาต่ำ กำไรจึงไม่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบในตลาดโลกที่ราคาขึ้นในช่วงนี้
 
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) - GPSC
 
เป็นบริษัทประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ น้ำอุตสาหกรรม และสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลักคือ กฟผ. และบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมี
 
ไตรมาส 2 ปี 2022 รายได้อยู่ที่ 28,347 บาท เพิ่มขึ้น 51% (YoY) และ 0.4% (QoQ) กำไรสุทธิ 684 ล้านบาท ลดลง 70% (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 118% (QoQ) นักวิเคราะห์คาดว่ากำไรไตรมาสที่ 3 นี้จะยังลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน เนื่องจากต้นทุนก๊าซและถ่านหิน แต่จะฟื้นตัวจากไตรมาส 2 ซึ่งหนุนด้วยราคาไฟฟ้าที่สูงขึ้นและปริมาณการจ่ายไฟที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) - EGCO
 
เป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าประกอบธุรกิจในลักษณะ Holding Company ลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ลม โดยมี กฟผ. เป็นลูกค้าหลัก ตามด้วยลูกค้าต่างประเทศ และลูกค้าอุตสาหกรรม
 
ไตรมาส 2 ปี 2022 รายได้อยู่ที่ 14,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56.6% (YoY) และ 15.39% (QoQ) แต่ขาดทุน 778 ล้านบาท จากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนและการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต้นทุนสูง นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้าปิดซ่อมบำรุงและเข้าสู่ช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าน้อย คาดว่าไตรมาส 3 กำไรจะยังลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) - RATCH
 
ประกอบธุรกิจในลักษณะ Holding Company ผลิตไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้ารวมไปถึงระบบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งรายได้หลักมาจากการขายไฟฟ้าและบริการ มี กฟผ. เป็นลูกค้าหลัก
 
ไตรมาส 2 ปี 2022 รายได้อยู่ที่ 16,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85% (YoY) แต่ลดลง 3.1% (QoQ) กำไรสุทธิ 2,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.94% (YoY) และ 66.4% (QoQ) โดยรับส่วนแบ่งกำไรในโรงไฟฟ้าที่ลงทุนเพิ่มขึ้น คาดว่าราคาหุ้นได้สะท้อนผลจากการเพิ่มทุนไปแล้ว ขณะที่อัตราการปันผลมีความน่าสนใจที่ประมาณ 3-5% ต่อปี
 
สรุปหุ้นโรงไฟฟ้าตัวไหนดี?
 
หากต้องการลงทุนหุ้นโรงไฟฟ้าโดยเน้นการเติบโตก็ต้องยกให้กับ GULF ซึ่งมีการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าอย่างมาก อีกทั้งเริ่มดำเนินธุรกิจอื่นเพื่อหนุนการเติบโตของบริษัทอีกครั้ง แต่หากเป็นนักลงทุนที่เน้นการปันผลจากหุ้นโรงไฟฟ้า ก็ต้องเลือก RATCH หรือ EGCO เนื่องจากมีอัตราการปันผลที่น่าสนใจ ในขณะที่รายได้มีความสม่ำเสมอแม้จะมีการขาดทุนบ้าง แต่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก แต่ไม่ว่าจะเป็นหุ้นตัวไหน อย่าลืมที่จะศึกษาข้อมูลของบริษัทที่สนใจให้ดีก่อนลงทุน
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความหุ้น 2565 หุ้นกลุ่ม Defensive หุ้นโรงไฟฟ้า
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)