ทำความรู้จักกับ "งบการเงิน" เพิ่มความมั่นใจในการลงทุน

icon 22 ก.ย. 65 icon 9,556
ทำความรู้จักกับ "งบการเงิน" เพิ่มความมั่นใจในการลงทุน
หากพูดถึงการวิเคราะห์หุ้น จะประกอบไปด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ วิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคหรือจากกราฟ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว วิเคราะห์อุตสาหกรรมว่า ในอุตสาหกรรมที่สนใจอยู่ในวัฏจักรไหนของเศรษฐกิจ  และวิเคราะห์บริษัทเพื่อคัดเลือกหุ้นที่น่าลงทุน ในเชิงคุณภาพและปริมาณ เช่น นโยบายการบริษัท ขนาดของบริษัท ความสามารถในการตลาด การผลิต การบริการ รวมถึงฐานะการเงินของบริษัท ซึ่งนักลงทุนสามารถประเมินได้จาก "งบการเงิน" ที่เราจะมาพูดถึงกันในบทความนี้

ความสำคัญของงบการเงิน
 
งบการเงิน คือ สิ่งที่แสดงถึงฐานะการเงินของบริษัท แสดงถึงทรัพย์สิน กำไร ขาดทุน หนี้สินของบริษัท เปรียบเสมือนผลตรวจสุขภาพทางการเงิน ว่าบริษัทยังมีความแข็งแรงดี มีส่วนไหนที่น่าเป็นห่วง หรือ ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษบ้าง ยังมีกำไรที่ดี มีตัวเลขหนี้สินที่อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชนน์กับนักลงทุน ที่เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทนั้นๆ ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

ดูงบการเงินได้ที่ไหน
 
นักลงทุนสามารถดูงบการเงินย้อนหลังของบริษัทในตลาดหุ้นแบบรวดเร็วและสะดวกได้จาก 2 ช่องทางหลักๆ
 
1. เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) สามารถเลือกดูหุ้นรายตัวได้ที่ https://www.set.or.th/th/market/product/stock/search หรือพิมพ์หุ้นที่สนใจในช่องค้นหา และกดที่ "งบการเงิน" จะพบกับงบการเงินย้อนหลัง 5 ปี แต่หากต้องการดูงบการเงินฉบับเต็ม สามารถกดไปที่ "ข้อมูลหลักทรัพย์" และดาวน์โหลดออกมาได้
2. เว็บไซต์ FINNOMENA โดยเข้าไปพิมพ์ชื่อหุ้นที่สนใจได้ที่ https://www.finnomena.com/stock จะพบกับงบการเงินย้อนหลังถึง 10 ปี สามารถเลือกดูเป็นรายไตรมาส หรือ รายปีก็ได้
 
 
ทำความรู้จักกับงบการเงิน
 
งบการเงินของบริษัทประกอบไปด้วย 3 งบด้วยกัน คือ 1) งบแสดงฐานะการเงิน 2) งบกำไรขาดทุน และ 3) งบกระแสเงินสด
 
งบแสดงฐานะการเงิน
 
งบแสดงฐานะการเงิน หรือ เรียกอีกชื่อว่า "งบดุล" เป็นงบที่บ่งบอกความร่ำรวยของบริษัท ว่ามีมากน้อยเพียงใด ผ่านตัวเลขของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยที่...
 
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
 
สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่เป็นของกิจการที่ให้ประโยชน์กับกิจการในอนาคต โดยสินทรัพย์ของบริษัท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
  • สินทรัพย์หมุนเวียน - สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายใน 1 ปี เช่น เงินสด เงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิงค้าคงเหลือ เป็นต้น
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน - สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้ากว่า 1 ปีขึ้นไป เช่น เงินลงทุน อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น
หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่เจ้าของกิจการจะต้องจ่ายคืนให้กับคนภายนอก โดยหนี้สินของบริษัท แบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นกันคือ
  • หนี้สินหมุนเวียน - ภาระผูกพันที่เจ้าของต้องจ่ายคืนภายใน 1 ปี เช่น เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า ภาษีเงินได้ค้างจ่าย เป็นต้น
  • หนี้สินไม่หมุนเวียน - ภาระผูกพันที่เจ้าของต้องจ่ายคืนภายในระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ เป็นต้น
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนที่เหลือจากสินทรัพย์หักด้วยหนี้สิน เปรียบเสมือนเป็นสินทรัพย์สุทธิที่เหลือของเจ้าของกิจการ หลังจากหักลบหนี้สินแล้ว ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
  • ทุนที่ออกและชำระแล้ว - เงินที่ผู้ถือหุ้นทุกคนลงทุนซื้อธุรกิจนี้
  • กำไร (ขาดทุน) สะสม - ตัวเลขที่เกิดจากกำไรที่สะสมในแต่ละปี
งบกำไรขาดทุน
 
งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ผ่านตัวเลขรายได้ ค่าใช้จ่ายว่าหักลบกันแล้ว มีกำไรมากน้อยเพียงใด
 
รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)
 
  • รายได้ - สิ่งที่ต้องดูเป็นอันดับแรก ว่ารายได้ของบริษัทมีทิศทางเป็นอย่างไร ในแต่ละปีเติบโตขึ้น หรือ ลดลง บริษัทที่ดีคือบริษัทที่มีการเติบโตของรายได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ค่าใช้จ่าย - เปรียบเสมือนเป็นต้นทุนของบริษัท ดังนั้นบริษัทที่ควบคุมตัวเลขส่วนนี้ได้ดี ช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัทได้มาก ซึ่งส่งผลต่อกำไร
  • กำไรสุทธิ - เกิดจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย ยิ่งมีกำไรสุทธิมากเท่าไหร่ ยิ่งหมายถึงความสามารถในการทำกำไร และควบคุมต้นทุนที่ดีของบริษัท
งบกระแสเงินสด
 
งบกระแสเงินสด เป็นงบที่แสดงความมั่นคงของบริษัท ว่าในแต่ละปีบริษัทมีเงินสดคงเหลืออยู่เท่าไหร่ ผ่านกิจกรรมจากการดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
  • กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน - เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมเพื่อการขายสินค้า และบริการของธุรกิจ ผ่านการได้รับเงินจากการขายสินค้า และบริการ และการใช้จ่ายเพื่อซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าพนักงาน
  • กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน - เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อย่างที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ผ่านการจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน และการรับเงินจากการขายที่ดิน
  • กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน - เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เช่น กู้ยืมเงิน เพิ่มทุน
ถึงงบการเงินจะมีด้วยกันหลักๆ 3 ประเภท แต่อีกส่วนที่นักลงทุนควรรู้จักด้วยเหมือนกัน คือ หมายเหตุประกอบงบ เพราะจะเป็นส่วนที่บอกนักลงทุนถึงความโปร่งใสในงบการเงิน ผ่าน "รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี" ว่ามีความปกติซ่อนอยู่หรือไม่

หลังจากได้รู้จักกับงบการเงินแล้ว ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆ จะมีสามารถศึกษาในรายละเอียดของหุ้นที่สนใจได้ลึกมากขึ้น รวมถึงมีความมั่นใจในการเลือกหุ้นที่สนใจอยากลงทุนเพิ่มขึ้นนะครับsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง มือใหม่เล่นหุ้น ลงทุนหุ้น บทความหุ้น 2565 งบการเงิน การวิเคราะห์หุ้น ข้อมูลหลักทรัพย์ งบดุล งบแสดงสถานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)