รวมแพคหุ้นธนาคาร มีตัวไหนน่าลงทุนบ้าง?

icon 20 ก.ย. 65 icon 2,925
รวมแพคหุ้นธนาคาร มีตัวไหนน่าลงทุนบ้าง?
หุ้นกลุ่มธนาคาร ถือเป็นกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นมาอย่างร้อนแรง ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ก่อนจะเคลื่อนไหวในกรอบตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอีกครั้งจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวทำให้กำไรของธนาคารเติบโตจากปีที่แล้ว และด้วยเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่หนุนผลกำไรของกลุ่มธนาคาร บทความนี้ขอพาไปพบกับรวมแพคหุ้นธนาคาร มีตัวไหนน่าลงทุนบ้าง?

อัปเดตตลาดธุรกิจธนาคารในปัจจุบัน
 
ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของ 8 ธนาคารหลักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย BAY, BBL, KBANK, KKP, KTB, SCB, TISCO และ TTB มีกำไรรวมอยู่ที่ 51,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% (YoY) แต่ลดลง 1% จากไตรมาสแรกของปี โดยธนาคารกสิกรไทย ทำกำไรมากที่สุดที่ 10,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.36% (YoY) แต่ลดลง 3.72% จากไตรมาสแรก สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 6.4% (YoY) และ 1.0% (QoQ) จากสินเชื่อองค์กรและรายย่อย ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลง 1.5% (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 0.4% (QoQ)
 
3 สาเหตุหลักที่ทำให้กำไรลดลงเทียบกับไตรมาสแรก
  1. การตั้งสำรองหนี้เพื่อรับมือเศรษฐกิจที่ผันผวน
  2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น
  3. รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักทรัพย์ และหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ลดลง
การขึ้นดอกเบี้ย และเศรษฐกิจฟื้น หนุนกำไรโตต่อ
 
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% หนุนให้กำไรรวมของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ นอกจากนี้ต้องติดตามรายละเอียดพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ในพอร์ตมากก็จะได้รับประโยชน์จากการขึ้นของดอกเบี้ยน้อย
 
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหนุนให้สินเชื่อรวมสุทธิของ 8 ธนาคารหลักในเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 0.55% (MoM) โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KBANK และ BBL ที่สินเชื่อสุทธิเติบโต 1.1% (MoM) และ 1.4% (MoM) ตามลำดับ ส่วนธนาคารอื่นต่างรายงานสินเชื่อสุทธิที่เติบโต มีเพียง BAY ที่รายงานการปรับตัวลงที่ 0.02% (MoM)
 
นักวิเคราะห์คาดว่ากำไรไตรมาสที่ 3 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีก่อน อย่างไรก็ตามหากเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน คาดว่าจะลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เช่น อุปกรณ์เทคโนโลยี ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักทรัพย์ และหลักทรัพย์จัดการกองทุนก็ยังมีแนวโน้มลดลงจากตลาดการลงทุนที่ซบเซา
 
รวมแพคหุ้นธนาคาร มีตัวไหนน่าลงทุนบ้าง?
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)
 
KBANK มีจุดเด่นด้านพอร์ตสินเชื่อ SME สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น และมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน มีการขยายธุรกิจไปยังการเงินแบบใหม่ เช่น คริปโตฯ
 
ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 10,800 ล้านบาท เติบโต 21% (YoY) ลดลง 4% (QoQ) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.3% (QoQ) ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.22% ลดลงทั้งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) และไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ ลดลงเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (MoM)
 
บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCB)
 
มีการแตกธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจสถาบันการเงิน โดยแบ่งเป็นธุรกิจ Cash Cow อย่างธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน และธุรกิจ New Growth  เช่น ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจเทคโนโลยี ในปัจจุบันธุรกิจธนาคารก็ยังเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งมีจุดเด่นด้านพอร์ตสินเชื่อ SME คล้ายกับ KBANK
 
ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 10,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% (YoY) ลดลง 1% (QoQ) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 1% (QoQ) ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.18% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า การตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น 2% (YoY) และ 17% (QoQ)
 
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL)
 
พอร์ตสินเชื่อบริษัทเอกชนรายใหญ่ ได้ปริมาณใหญ่แต่รับดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งก็ตามมาด้วยการบริหารที่ Conservative ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 7,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% (YoY) แต่ลดลง 2% (QoQ) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 2.5% (QoQ) ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 2.19% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วและไตรมาสก่อนหน้า การตั้งสำรองฯ ลดลง 15% (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 29% (QoQ) เรียกว่ายังเน้นการบริหารที่ Conservative
 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY)
 
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลรายย่อย และบัตรเครดิต เป็นธุรกิจที่มีกำไรดีแต่ต้องตั้งสำรองสูง เพราะต้องรับความเสี่ยงจากความเสี่ยงของพอร์ตรายย่อยที่มากกว่าสินเชื่อธุรกิจ แต่ธนาคารมีความมั่นคงสูงเพราะถือหุ้นใหญ่โดย MUFG
 
ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 7,833 ล้านบาท ลดลง 46.1% (YoY) เนื่องจากปีที่แล้วมีรายการพิเศษจากกการขายเงินลงทุน TIDLOR ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.36% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วและไตรมาสก่อนหน้า การตั้งสำรองฯ ลดลง 18.2% (YoY) และ 3.2% (QoQ)
 
บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TISCO)
 
เน้นธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อยายยนต์มีความปลอดภัย เพราะมียานยนต์เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 1,850 ล้านบาท เติบโต 10.9% (YoY) และ 2.9% (QoQ) สินเชื่อลดลง 0.1% (QoQ) ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 5.09% เพิ่มขึ้นทั้งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และไตรมาสก่อน ด้านการตั้งสำรองฯ ลดลง 75% (YoY) และเพิ่มขึ้น 64% (QoQ)

และนี่ก็คือหุ้นธนาคารที่น่าลงทุน ถ้าเลือกหุ้นธนาคารที่เน้นความปลอดภัยก็คงหนีไม่พ้น BBL แต่ต้องแลกมาด้วยอัตรากำไรที่น้อยลง ส่วน KBANK เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่มีการบริหารดี อัตรากำไรน่าสนใจ ซึ่งสะท้อนผ่านผลตอบแทนที่โดดเด่น และหากต้องการหุ้นธนาคารที่ปันผลสูงก็ต้องยกให้กับ TISCO อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะศึกษาข้อมูลให้ดีทุกครั้งก่อนการลงทุน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และลดความเสี่ยงจากการลงทุน
แท็กที่เกี่ยวข้อง มือใหม่เล่นหุ้น ลงทุนหุ้น หุ้นธนาคาร หุ้นกลุ่มธนาคาร บทความหุ้น 2565
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)