หุ้น IPO น่าลงทุนหรือไม่ ควรเลือกอย่างไร

icon 22 ส.ค. 65 icon 3,788
หุ้น IPO น่าลงทุนหรือไม่ ควรเลือกอย่างไร
หุ้น OR เป็นหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยรู้จักกันเป็นอย่างดีจากการ IPO สุดปัง ที่บวกจากราคาจองกว่า 47.22% ตามด้วย TIDLOR ซึ่งบวกราว 46.57% จากราคาจอง ตามด้วยหุ้น IPO อีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น WINMED, BE8 รวมไปถึง TLI หรือไทยประกันชีวิต บริษัทประกันชื่อดังของประเทศไทย และแน่นอนว่าจะต้องมีการทำ IPO ออกมาอีกในอนาคต
 
บทความนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าวิธีการเป็นเจ้าของหุ้น IPO ทำอย่างไร หุ้น IPO แบบไหนน่าลงทุนและควรเลือกอย่างไร พร้อมส่องกรณีศึกษาหุ้น IPO ทั้งที่โดดเด่น และไม่โดดเด่น
 
ทำความรู้จักกับหุ้น IPO

เมื่อบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมธนาคาร อาจไม่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจอีกต่อไป ส่วนการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้ก็อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีอีกทางเลือก คือ การระดมทุนด้วยการให้เป็นเจ้าของกิจการด้วยกัน ผ่านการทำ IPO (Initial Public Offering) ซึ่งก็คือ การเสนอขายหุ้นของบริษัทครั้งแรกให้กับสาธารณะ บริษัทจะเปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชนไปเป็นบริษัทมหาชน

วัตถุประสงค์ของการทำ IPO
 
ธนาคารอาจปล่อยกู้เงินไม่เพียงพอกับบางบริษัท แถมยังต้องเสียดอกเบี้ย และการออกหุ้นกู้ก็อาจต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นการทำ IPO มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ไม่ต้องคืนเงินต้น เพียงแต่ต้องแลกด้วยหุ้นของบริษัท (ความเป็นเจ้าของ) และจ่ายผลตอบแทนเป็นเงินปันผล บางบริษัทอาจนำเงินที่ได้จากการทำ IPO ไปขยายกิจการ บางบริษัทนำไปใช้หนี้ ซึ่งทุกบริษัทที่ทำ IPO จะระบุวัตถุประสงค์ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์
 
บริษัทได้-เสียอะไรจากการทำ IPO
 
บริษัทจะได้เงินทุนที่ต้นทุนต่ำลงตามจุดประสงค์ และเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว บริษัทและสินค้าก็จะเป็นที่รู้จักมากขึ้น ดึงดูดผู้ที่มีความสามารถมาร่วมงานง่ายขึ้น ในทางกลับกันบริษัทต้องเสียส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของ กฎระเบียบด้านการเงิน และการตรวจสอบจะเข้มงวดขึ้น ซึ่งตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริหารจะได้รับแรงกดดันจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

วิธีการจองซื้อหุ้น IPO

เมื่อบริษัทเอกชนได้รับการประเมินมูลค่าจากที่ปรึกษาการเงินเรียบร้อย จะมีการเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งบริษัทจะลงนามแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย และอาจมีบริษัทหลักทรัพย์อื่นมาเป็นผู้ร่วมจัดจำหน่าย ซึ่งนักลงทุนต้องติดต่อกับผู้แนะนำการลงทุนในสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ที่จัดจำหน่าย หรือร่วมจัดจำหน่ายเพื่อสอบถาม และดำเนินการจองซื้อหุ้น IPO
 
ในระยะหลังบริษัทเอกชนที่มีชื่อเสียง เช่น บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR หันมาเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองหุ้น IPO อย่างทั่วถึง ด้วยวิธี Small Lot First และที่สำคัญสามารถจองซื้อได้โดยไม่ต้องมีพอร์ตหุ้น ประชาชนสามารถจองซื้อได้ผ่านสถาบันการเงินอย่างธนาคาร ทั้งสำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ หรือผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็ปไซต์หรือ Mobile Banking Application
 
หุ้น IPO แบบไหนน่าลงทุน ควรเลือกอย่างไร
 
ก่อนจะจองซื้อหุ้น IPO นักลงทุนควรศึกษาหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์ โดยต้องมองหาข้อมูลสำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย
 
  • ลักษณะและประเภทธุรกิจ
    บริษัทที่กำลังเปิดจองซื้อหุ้น IPO ทำธุรกิจอะไร มีผลิตภัณฑ์แบบไหน อยู่ในอุตสาหกรรมอะไร นักลงทุนจะต้องพิจารณาว่าบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่งหรือร่วง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือไม่ รูปแบบการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งหรือไม่
     
  • ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน
    บริษัทที่ดีควรจะมีรายได้ และกำไรที่เติบโตสม่ำเสมอ นักลงทุนต้องรู้ว่าสัดส่วนรายได้หลักของธุรกิจมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการใด นอกจากนี้ต้องตรวจสอบสัดส่วนหนี้สินเทียบกับสินทรัพย์ และเงินสด ว่าไม่มากเกินค่ามาตรฐาน เพราะหากเกิดวิกฤติแล้ว บริษัทอาจไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่านวิกฤติไปได้
     
  • การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ
    หัวข้อนี้เป็นปัจจัยเชิงคุณภาพ นักลงทุนควรหาข้อมูลข่าวเกี่ยวกับผู้บริหาร รวมไปถึงสังเกตการให้ข่าวของผู้บริหาร ว่าเป็นไปในเชิงปั่นราคาหุ้นหรือไม่ ขณะเดียวกันต้องตรวจสอบว่าบริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่โปร่งใส่ ไม่เคยมีข่าวเสียหาย
ในทางกลับกันนักลงทุนไม่ควรจองซื้อหุ้น IPO โดยยังไม่รู้ข้อมูลกิจการ และต้องระวังราคาจองซื้อ และราคาเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันแรก เพราะในความเป็นจริง บริษัท และเจ้าของบริษัทต้องเสียส่วนของความเป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงต้องการระดมทุนให้ได้มูลค่ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเข้าซื้อขายในวันแรกมักมีแรงเก็งกำไรอย่างหนัก ขณะเดียวต้องติดตามว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้บริหารมีการขายหุ้นอย่างหนักตั้งแต่วันแรกหรือไม่
 
กรณีศึกษาหุ้น IPO
เรียกได้ว่าเป็นหุ้นมหาชนตัวจริงสำหรับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่เริ่มซื้อขายวันแรกด้วยราคาสูงกว่าราคาจองถึง 47.22% ได้รับการจัดอยู่ในดัชนี SET50 และ SET100 ด้วยเกณฑ์ Fast-Track ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ในทางกลับกัน บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI ซึ่งเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันแรก ปิดตลาดที่ราคา 15.9 บาท ต่ำกว่าราคาจองที่ 16 บาท ทำให้หมดโอกาสเข้าดัชนี SET50 ด้วยเกณฑ์ Fast-Track คาดว่าเป็นเพราะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลง สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มผลประกอบการบริษัท

การลงทุนในหุ้น IPO ควรต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดทั้งจากหนังสือชี้ชวน และข่าวสารอื่น ถ้ามั่นใจก็สามารถลงทุนได้ แต่หากไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีข้อมูลที่ทำให้แน่ใจก็ไม่ควรลงทุน และด้วยความที่มีหลายปัจจัย ซึ่งสร้างความผันผวนต่อราคาหุ้น IPO ในวันแรกที่เข้าซื้อขาย นักลงทุนต้องบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มงวด
แท็กที่เกี่ยวข้อง หุ้น ipo มือใหม่เล่นหุ้น ลงทุนหุ้น
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)