วิธีเลือกหุ้นพื้นฐานดีสำหรับมือใหม่

icon 2 มิ.ย. 65 icon 2,089
วิธีเลือกหุ้นพื้นฐานดีสำหรับมือใหม่
ตลาดหุ้นเป็นแหล่งที่บริษัทต่างๆ เข้ามาระดมทุนจากนักลงทุนด้วยการขายหุ้น ซึ่งนักลงทุนก็จะสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นได้เช่นกัน ตลาดหุ้นจึงเปรียบเสมือนตัวกลางแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไปด้วย
 
ที่ผ่านมาผลตอบแทนรวมเฉลี่ยตลาดหุ้นไทย (SET TRI) ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 7.7% ต่อปี อย่างไรก็ตามบริษัทที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นนั้นมีธุรกิจและพื้นฐานที่แตกต่าง จึงได้รับประโยชน์และผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างเช่นกัน ซึ่งก็มีทั้งบริษัทที่มั่นคง เติบโต หรือแม้กระทั่งกำลังหดตัวจากการถูกเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน หากเราเลือกหุ้นที่ไม่ดี ผลตอบแทนที่คาดหวังอาจเปลี่ยนไปเป็นขาดทุนได้ 
 
แน่นอนว่าหุ้นที่ดีย่อมเป็นหุ้นที่ทุกคนอยากมีในพอร์ต ดังนั้นบทความนี้จะพาไปรู้จักวิธีการเลือกหุ้นพื้นฐานดีกัน แต่ก่อนจะไปดูวิธีการเลือกหุ้นพื้นฐานดีมาทำความรู้จักกับคุณสมบัติของหุ้นที่ดีกันก่อน
 

หุ้นที่ดีต้องเป็นยังไง?

  • ผลประกอบการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ มีกำไรต่อเนื่อง 

    จุดมุ่งหมายของการทำธุรกิจคือการเติบโต ซึ่งบริษัทที่ดีต้องเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ผลประกอบการไม่ควรผันผวนและไม่ขาดทุน ควรกำไรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าบริษัทมีการบริหารต้นทุนที่ดีผ่านพ้นสภาพเศรษฐกิจหลายรูปแบบ หากกำไรมีการเติบโต ยิ่งสะท้อนว่าบริษัทมีทั้งการบริหารต้นทุนที่ดีและอำนาจต่อรองขึ้นราคาสินค้าได้โดยที่ยอดขายไม่ลดลง
     
  • มีความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน

    หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ คืออุตสาหกรรมที่ถูกเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งบริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้รายได้หดตัว อนาคตไม่ค่อยสดใส ดังนั้นเราต้องค้นหาบริษัทโดยเริ่มจากอุตสาหกรรมที่มีอนาคตยั่งยืน แล้วค้นหาต่อด้วยบริษัทที่มีความสามารถแข่งขันหรือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น
     
  • ธุรกิจเติบโตไปกับ Megatrend

    Megatrend หรืออุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมากในอนาคต แน่นอนว่าถ้าเลือกลงทุนบริษัทที่อยู่ในกระแส Megatrend ย่อมมีโอกาสที่รายได้และกำไรจะเติบโตเด่นกว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่ต้องระมัดระวังหุ้นที่ตลาดคาดหวังสูง เพราะถ้าผลประกอบการทำได้ต่ำกว่าคาด ราคาจะผันผวนแรง
     
  • ผู้บริหารมีความสามารถและธรรมาภิบาล

    ธุรกิจจะเติบโตต้องมีผู้บริหารที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ มองเห็นโอกาสในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังต้องมีธรรมาภิบาล สร้างคุณค่าต่อธุรกิจ ให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงาน และไม่มีประวัติการทุจริต

    นี่คือคุณสมบัติของหุ้นที่ดี แล้วการคัดเลือกหุ้นพื้นฐานดีมีวิธีอย่างไร เราไปค้นหาด้วยกันเลย..
     

วิธีการคัดเลือกหุ้นพื้นฐานดี

  • รู้จักบริษัทที่จะลงทุน

    เป็นการตรวจสอบเชิงคุณภาพ ต้องดูว่าบริษัททำธุรกิจอะไร อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทไหน ใครเป็นผู้บริหาร ใครเป็นผู้ถือหุ้น ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีความสามารถในการแข่งขัน อำนาจต่อรองราคากับผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งอำนาจต่อรองกับฝั่ง supplier และดูงบการเงินเพื่อประเมินความสามารถของกิจการและผู้บริหาร
     
  • ผู้บริหารมีความสามารถ โปร่งใส มีประวัติที่ดี

    กิจการจะเติบโตได้ต้องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร นักลงทุนควรดู Opportunity Day หรือที่นักลงทุนเรียกกันว่า Opp Day เป็นวันที่ผู้บริหารจากบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง SET และ MAI จะมาให้ข้อมูลกิจการด้วยตนเองแก่นักลงทุน

    นักลงทุนจะได้รู้ถึงแผนการในอนาคตของบริษัท และจะมีช่วง Q&A ที่นักลงทุนสามารถสอบถามผู้บริหาร ซึ่งการที่คำถามไม่ได้อยู่ใน script ที่ผู้บริหารเตรียมมา ทำให้นักลงทุนได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ ความรู้ความเข้าใจต่อธุรกิจ และวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของผู้บริหาร ซึ่งรับรองเลยว่านักลงทุนจะเห็นอะไรบางอย่างที่จะตัดสินใจได้ว่าผู้บริหารมีความสามารถหรือไม่

    "สุดท้ายนักลงทุนควรหาข่าวในโลกออนไลน์เพื่อตรวจสอบว่าผู้บริหารเคยประวัติที่ไม่โปร่งใสในอดีตหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงกิจการที่ผู้บริหารเคยมีประวัติไม่โปร่งใส"
     
  • รายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอตลอด 3-5 ปีที่ผ่านมา

    นักลงทุนสามารถดูผลประกอบการได้ผ่านเว็บไซต์ https://www.set.or.th/ ซึ่งเป็นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งบริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม มีธุรกิจแข็งแกร่ง รายได้และกำไรต้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสม่ำเสมอใน 3-5 ปีที่ผ่านมา เป็นการสะท้อนว่าบริษัทสามารถก้าวผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจได้โดยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก นอกจากนี้ควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นด้วย แต่บางบริษัทอาจไม่เพิ่มขึ้นเพราะนำกำไรที่ได้ไปลงทุนต่อ นักลงทุนควรติดตามข้อมูลว่าการลงทุนนั้นจะให้ผลตอบแทนต่อบริษัทคุ้มค่าหรือไม่
     
  • อัตราส่วนด้านหนี้สินไม่ควรสูงมาก

    บริษัทที่ดีควรมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับลงทุนเพิ่มเติมหรือรับมือกับวิกฤตที่ไม่คาดคิด แม้จะไม่มีบริษัทใดที่ขยายธุรกิจด้วยเงินทุนของบริษัทเพียงอย่างเดียว ต้องมีการกู้ยืมเงินมาลงทุนบ้าง แต่ก็ไม่ควรมีหนี้สินระยะยาว (ระยะเวลาชำระหนี้มากกว่า 1 ปี) สูงเกินไป เพราะจะมีปัญหาต้นทุนดอกเบี้ยและขาดสภาพคล่องตามมาได้ ซึ่งส่วนนี้ต้องตรวจสอบจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) หากมากกว่า 1 เท่า แสดงว่าบริษัทดำเนินธุรกิจด้วยการกู้ยืมมากกว่าเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ

    ส่วนหนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน (ระยะเวลาชำระหนี้น้อยกว่า 1 ปี) โดยทั่วไปจะชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน นักลงทุนควรตรวจสอบว่าหนี้สินระยะสั้นไม่ควรสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน
     
  • มูลค่าเหมาะสม

    แม้หุ้นจะดีมีโอกาสเติบโตมากขนาดไหน แต่ถ้าลงทุนตอนที่ราคาหุ้นแพงก็คงไม่ใช่การลงทุนที่เหมาะสม นักลงทุนต้องหามูลค่าที่แท้จริงเพื่อลงทุนในราคาที่เหมาะสม โดยดูข้อมูลจากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เช่น อัตราส่วน P/E ถ้าหุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น (EPS) 1 บาท จะมี P/E = 10 เท่า ถ้าบริษัทมี EPS คงที่ นำกำไรมาจ่ายปันผลทั้งหมด จะใช้เวลาถือหุ้น 10 ปี จึงคืนทุน นักลงทุนควรเปรียบเทียบ P/E กับค่าเฉลี่ยของหุ้นในอดีต และค่าเฉลี่ยของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

    นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นประกอบด้วย เช่น ผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น (ROE)  กำไรขั้นต้น (Gross Profit) กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) เป็นต้น ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถหาได้จากเว็บไซต์ SET

ตัวอย่างหุ้นพื้นฐานดี HomePro (HMPRO)


ในแง่ธุรกิจค้าปลีกของแต่งบ้าน HomePro เป็นผู้นำในด้านนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ไม่มีประวัติที่ไม่ดี ด้านงบการเงินสะท้อนชัดว่ารายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น และหลังผ่านพ้นปี COVID-19 ระบาด รายได้และกำไรสุทธิก็กลับมาฟื้นตัวได้ เช่นเดียวกับอัตรากำไรสุทธิที่ไม่ผันผวน สะท้อนว่าบริษัทมีการบริหารต้นทุนได้ดี ขณะที่ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลจากกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น
ส่วนอัตราส่วน P/E อยู่ในระดับใกล้เคียงกับในอดีต สรุปได้ว่าราคาอยู่ในระดับเดียวกับมูลค่าที่เหมาะสม ขณะที่ ROE ฟื้นตัวอีกครั้งหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 เป็นการยืนยันความ
แข็งแกร่งของรูปแบบธุรกิจ
 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน หุ้น นักลงทุนมือใหม่ เทคนิกดูหุ้น Megatrend
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)