ฝากเงินยังไงได้ดอกเบี้ย 20% ในตลาดคริปโต กรณีศึกษา Anchor Protocol

icon 24 พ.ค. 65 icon 2,581
ฝากเงินยังไงได้ดอกเบี้ย 20% ในตลาดคริปโต กรณีศึกษา Anchor Protocol
เป็นที่รู้กันดีว่า ณ ปัจจุบัน ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเตี้ยเรี่ยดินมาก ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.12-0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำอยู่ที่ 0.32-0.6% สูงหรือต่ำตามระยะเวลาที่ฝาก ถึงจะได้ดอกเบี้ยน้อยมากๆ แต่จุดเด่นของการฝากเงินกับธนาคารคือความมั่นคงและปลอดภัย เพราะอัตราผลตอบแทนของดอกเบี้ยได้แน่ๆ นอกจากนั้นธนาคารยังมีการรับประกันเงินฝากสูงสุด 1 ล้านบาท ทำให้การฝากเงินออมทรัพย์-ฝากประจำ ยังคงได้รับความนิยมอยู่
 
อย่างไรก็ตามถ้าใครเข้ามาเล่นเหรียญคริปโตจะรู้ว่าการฝากเงินในโลกคริปโตให้ผลตอบแทนที่สูงมากๆ สูงสุดถึง 200% ต่อปีในบางเหรียญ ผลตอบแทนมีให้เป็นรายปีคล้ายกับการฝากเงิน  ในบทความนี้จะพาเพื่อนๆ มาศึกษาถึงการหาผลตอบแทนลักษณะคล้ายๆ กับการฝากเงินในโลกคริปโตที่เรียกว่าการทำ Staking กัน

การทำ Staking และ Staking Reward

ตามหลักทฤษฎีแล้ว Staking คือกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม เป็นหนึ่งในกระบวนการของระบบบล๊อคเชน แบบ Proof-of-Stake (PoS) เช่น Ethereum, Luna, Solana  นักลงทุนต้องนำเหรียญที่ตนเองมีไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในระบบเพื่อร่วมเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมในระบบนั้นๆ โดยจะได้รางวัลหรือผลตอบแทนเป็นเหรียญนั้นๆ ในมูลค่าที่แตกต่างกันไปตามระบบ โดยสามารถวัดผลตอบแทนได้เป็นผลตอบแทนต่อปี หรือ Annual Percentage Yield (APY) เป็นเปอร์เซนต์ ปัจจุบันมีระบบบล๊อคเชนมากมายให้นักลงทุนสามารถเลือกเอาเหรียญไป Staking ได้ เช่น SOL (Solana), AAVE, THOR (Thorchain) และ ANC (Anchor) เป็นต้น
 
ที่มา: https://www.stakingrewards.com/ 
 
นอกจากเรื่องประมาณการผลตอบแทนที่จะได้แล้ว นักลงทุนควรต้องศึกษาระบบบล๊อคเชนที่จะเอาเหรียญที่เรามีไปฝากไว้ด้วย เพราะแต่ละระบบมีการใช้งานและการนำเอาหลักทรัพย์ค้ำประกัน (เหรียญของเรา) ไปใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งส่งผลให้การปรับตัวขึ้น-ลงของผลตอบแทน และความเสี่ยงของแต่ละระบบก็ไม่เหมือนกันด้วย

กรณีศึกษา Anchor Protocol

Anchor Protocol คือหนึ่งในระบบบล๊อคเชนที่เปิดให้นักลงทุนสามารถนำเหรียญไป Staking ในระบบได้และ ณ ปัจจุบันให้ผล ตอบแทนสูงถึง 19.45% มาดูกันว่าอะไรทำให้ Anchor Protocol ทำผลตอบแทนได้สูงขนาดนี้?
 
Anchor Protocol เป็นหนึ่งในระบบบล๊อคเชนที่ให้บริการกู้ยืมเงินสกุลคริปโต ผู้กู้ยืมสามารถนำเหรียญที่มีมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ และกู้เงินเป็นสกุล UST ออกไปได้ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้ระบบปีละ 12.91% มาถึงจุดนี้หลายคนคงสงสัยว่าในเมื่อผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยเพียง 12.91% แล้วระบบทำยังไงให้จ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงินสูงถึง 19.45%
 
สิ่งที่ระบบ Anchor ทำคือนำหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ผู้กู้ยืมมาวางไว้ไป Staking ในระบบอื่นๆ (เช่น Ethereum) อีกทีเพื่อรับผลตอบแทน 5-10% (ตัวอย่าง) ดังนั้นพอนำมารวมกับดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมจ่ายที่ 12.91% จะทำให้ระบบมีผลตอบแทนโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 17.91%-22.91% ทำให้สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ฝากเงินที่ 19.45% ได้สบายๆ ส่วนผลตอบแทนส่วนเกินระบบจะนำไปเก็บไว้ในคลังเงินทุนสำรอง ซึ่งสามารถนำมาใช้ชดเชยได้ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บดอกเบี้ยหรือ Staking Reward ได้เพียงพอสำหรับจ่ายผู้ฝากเงิน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Anchor Protocol สามารถจ่ายผลตอบแทนสูงๆ ได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง
 
ที่มา: https://medium.com/coinmonks/forget-banks-earn-20-fixed-income-on-your-savings-in-anchor-protocol-d0f4833c901f
 
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกระบบจะมีลักษณะการทำงานและสร้างผลตอบแทนเหมือนกับ Anchor Protocol ดังนั้นก่อนจะเอาเงินไปฝากนักลงทุนควรศึกษาลักษณะการทำงาน ผลตอบแทน และความเสี่ยงให้ครบถ้วนก่อนการเอาเหรียญไป Staking ด้วย
 
เพราะสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการ Staking (ฝากเงินแบบคริปโต) และการฝากเงินออมทรัพย์หรือฝากประจำคือ การฝากเงินแบบคริปโตไม่ได้เหมือนกับการฝากเงินซะทีเดียว เพราะไม่มีการการันตีผลตอบแทน และไม่ได้มีการประกันว่าเงินต้นจะไม่หายไปเหมือนการฝากเงิน ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้จึงสูงขึ้นตามความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องแบกรับ 
 

ความเสี่ยงของการ Staking

  1. ความเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุด คือระบบของบล๊อคเชนสามารถถูกแฮ๊คได้ แม้จะแฮ๊คยากมากๆ และอาจจะยากกว่าระบบของธนาคารบางธนาคารซะอีก แต่ก็ถือว่ายังมีจุดอ่อนเรื่องนี้อยู่ พอไม่มีการการันตีเงินต้นด้วยยิ่งทำให้การเอาเงินไปฝากมีความเสี่ยงมากขึ้น
  2. หลายๆ ระบบมีช่วงเวลาที่ไม่สามารถถอนเงินที่เอาไปฝากออกมาได้ คล้ายๆ กับการฝากประจำ ดังนั้นก่อนจะเอาไปทำการ Staking ต้องวางแผนการใช้เงินให้ดี
  3. ผลตอบแทนที่ได้มีการปรับตัวขึ้น-ลง และมีความผันผวนตามตลาดคริปโต ดังนั้นห้ามคาดหวังผลตอบแทนที่มั่นคงแบบเงินฝากเป็นอันขาด
  4. มีโอกาสที่กองทุนสำรองจะหมด ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับผลตอบแทนไว้ได้ และอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินลดลง
โดยสรุปแล้ว การฝากเงินในระบบคริปโตและบล๊อคเชนถือว่าเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากหลายเท่าตัว แต่ก็มีความเสี่ยงที่ตามมาเช่นกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นฝากเงิน หรือเอาเหรียญไป Staking ที่ระบบไหน การทำความเข้าใจระบบ การขึ้น-ลงของผลตอบแทน และความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าลืมว่าการฝากเงินในระบบคริปโตเป็นเพียงวิธีที่มีความคล้ายการฝากเงิน แต่ไม่ใช่การฝากเงิน
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัญชีเงินฝาก blockchain cryptocurrency คริปโตเคอร์เรนซี ANCHOR PROTOCOL
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)