อยากเล่นหุ้นสายพื้นฐาน ต้องรู้อัตราส่วนทางการเงินแบบไหนบ้าง?

icon 8 ก.พ. 65 icon 2,356
อยากเล่นหุ้นสายพื้นฐาน ต้องรู้อัตราส่วนทางการเงินแบบไหนบ้าง?
อัตราส่วนการเงิน (Financial Ratio) เปรียบเหมือนการตรวจสุขภาพทางการเงินของบริษัท ถ้าเราอยากรู้ว่าบริษัทนี้ดีมั้ย งบการเงินแข็งแรงรึเปล่า สนใจอยากลงทุนในช่วงนี้ แต่ราคาหุ้นแพงเกินไปมั้ยนะ สิ่งที่เป็นตัวชี้วัดสำหรับนักลงทุนสายพื้นฐาน คือ อัตราส่วนการเงินนี่แหละ
 
บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก กับ 10 อัตราส่วนการเงิน ใน 4 มิติ ที่คนเล่นหุ้นสายพื้นฐานควรรู้จัก จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
  • มิติที่ 1 วัดความมั่นคงทางการเงิน
  • มิติที่ 2 วัดความสามารถในการทำกำไร
  • มิติที่ 3 วัดความถูก ความแพง
  • มิติที่ 4 วัดความสามารถในการจ่ายปันผล
มิติที่ 1 วัดความมั่นคงทางการเงิน
 
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เป็นอัตราส่วนที่บอกว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ หรือเรียกว่าดูสภาพคล่องในระยะสั้น ควรมีค่ามากกว่า 1 เท่า เพราะหมายความว่าบริษัทสามารถรักษาสภาพคล่องในระยะสั้นได้ดีนั่นเอง
 

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) 
 
Current Ratio (เท่า) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
 
 
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio : D/E) เป็นอัตราส่วนที่ดูหนี้สินในภาพรวม ว่ามีหนี้สิน หรือ มีเงินทุนของกิจการมากกว่ากัน ถ้า D/E มีสูงๆ หรือมากกว่า 1 เท่า นั่นหมายความว่าบริษัทมีหนี้สินเกินตัว อาจมีโอกาสที่บริษัทจะไม่สามารถชำระหนี้หรือดอกเบี้ยตามกำหนดได้ ดังนั้น D/E ยิ่งต่ำ ยิ่งดี
 

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio : D/E)
 
D/E Ratio (เท่า) = หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
 
 
มิติที่ 2 วัดความสามารถในการทำกำไร
 
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA) เป็นส่วนที่วัดผลตอบแทนเทียบกับสินทรัพย์ที่บริษัทมีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัท ว่าสามารถนำสินทรัพย์ที่มี มาสร้างผลตอบแทนได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ดังนั้น ROA ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA)
 
ROA (%) = (กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100
 
 
อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) เป็นส่วนที่วัดผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนของนักลงทุน แสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัท ว่าสามารถนำเงินลงทุนของนักลงทุน มาสร้างผลตอบแทนได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ดังนั้น ROE ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE)
 
ROE (%) = (กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) x 100
 
 
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM) เป็นส่วนที่วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ว่าสามารถสร้างกำไรได้ดีแค่ไหน ซึ่งกำไรที่สูง อาจมาจากความสามารถในการควบคุมต้นทุนที่ดีด้วย ดังนั้น NPM ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM)
 
NPM (%) = (กำไรสุทธิ / ยอดขายรวม) x 100
 
 
กำไรต่อหุ้น (Earning per Share : EPS) เป็นส่วนที่บอกถึงผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ จากการถือหุ้นของบริษัทต่อ 1 หุ้น หรือหมายความว่าถ้าเราถือหุ้นของบริษัท 1 หุ้น เราจะได้กำไรกี่บาท ดังนั้น EPS ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
 กำไรต่อหุ้น (Earning per Share : EPS)
 
EPS (บาท) = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว
 
 
มิติที่ 3 วัดความถูก ความแพง
 
อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earning Ratio : P/E) เป็นส่วนที่วัดว่าการซื้อหุ้นในตอนนี้ จะใช้เวลาคืนทุนในระยะเวลากี่ปี หากบริษัทยังมีความสามารถในการทำกำไรที่เท่าเดิมในทุกๆ ปี ช่วยวัดความถูก ความแพงของราคาหุ้นจากกำไรที่ทำได้ ดังนั้น P/E ยิ่งต่ำ ยิ่งดี
 
 
อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earning Ratio : P/E)
 
P/E Ratio (เท่า) = ราคาหุ้น / กำไรต่อหุ้น
 
 
อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีของหุ้น (Price to Book Value Ratio : P/BV) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นมีมูลค่าเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชี ทำให้นักลงทุนมองเห็นแนวโน้มว่าสามารถเป็นเจ้าของหุ้นในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าเจ้าของบริษัท ดังนั้น P/BV ยิ่งต่ำ ยิ่งดี
 
 
 อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีของหุ้น (Price to Book Value Ratio : P/BV)
 
P/BV Ratio (เท่า) = ราคาหุ้น / มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
 
 
มิติที่ 4 วัดความสามารถในการจ่ายปันผล
 
อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เป็นส่วนที่บอกถึงเงินปันผลที่นักลงทุนจะได้รับ เมื่อเทียบกับราคาหุ้นแล้วเป็นอย่างไร ช่วยให้นักลงทุนประเมินได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น Dividend Yield ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield)
 
Dividend Yield (%) = (เงินปันผลต่อหุ้น / ราคาหุ้น) x 100
 
 
อัตราการจ่ายปันผล (Dividend Payout Ratio) เป็นส่วนที่บอกว่าบริษัทนำผลกำไรมาจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนมากน้อยแค่ไหน จะเก็บกำไรไว้เพื่อดำเนินกิจการต่อในสัดส่วนเท่าไหร่ ดังนั้น Dividend Payout Ratio ยิ่งสูง ยิ่งดี
 
 
อัตราการจ่ายปันผล (Dividend Payout Ratio)
 
Dividend Payout Ratio (%) = (เงินปันผลต่อหุ้น / กำไรต่อหุ้น) x 100
 
 
ตัวอย่างหุ้นดีที่ได้จากการใช้อัตราส่วนทางการเงินคัดกรอง
 
หุ้น AP หรือบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
AP ทำธุรกิจพัฒนาบ้าน และคอนโดภายใต้แบรนด์ เอพี บ้านที่เรารู้จักกันดีก็เช่น บ้านกลางเมือง หรือคอนโดก็เช่น คอนโด Aspire ซึ่งมักจะเป็นบ้าน และคอนโดที่อยู่ในทำเลที่ดีเสมอ
  • ในมุมความมั่นคงหุ้น AP มี D/E Ratio ที่ 0.85 เท่า ถือว่ามีหนี้น้อย และมีความมั่นคงมาก
  • ในมุมการทำกำไร AP สามารถทำ ROE ได้สูงถีง 15% แม้จะลดลงไปเหลือ 12% ในปี 2562 แต่ก็สามารถทำเพิ่มกลับมาได้ นับว่าเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรดีมากๆ
  • ในมุมความถูกแพง AP มี P/E เพียง 6.69 เท่า เท่านั้น (ในตลาดหุ้นปกติมี P/E 10-20 เท่า) และมี P/BV เพียง 0.96 เท่า (ในตลาด P/BV 2-3 เท่า)
  • ในมุมความสามารถในการปันผลถือว่า AP ให้ปันผลที่ค่อนข้างดีเพราะมี Dividend Yield ย้อนหลังสูงถึง 4.71%
จะเห็นว่าแค่ใช้อัตราส่วนทางการเงินง่ายก็สามารถกรองหุ้นที่มีคุณภาพดีไปทำการศึกษาต่อเพื่อการลงทุนได้แล้ว

เมื่อเพื่อนๆ ได้รู้จักทั้ง 10 อัตราส่วนการเงินนี้แล้ว สามารถนำไปปรับใช้กับหุ้นที่ตัวเองสนใจได้เลย ทีมงานหวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนช่วยที่ทำให้เพื่อนๆ เลือกหุ้นที่มั่นคง มีคุณภาพดี และราคาไม่แพง เข้าพอร์ตการลงทุนได้ในอีกหลายๆ ตัวเลยsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง หุ้นสายพื้นฐาน มือใหม่หัดเล่นหุ้น อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)