เฟ้นหาสินทรัพย์หลังวิกฤต 2020 ... "ทองคำจะไปต่อหรือพอแค่นี้ในภาวะวิกฤต"

icon icon 354
เฟ้นหาสินทรัพย์หลังวิกฤต 2020 ... "ทองคำจะไปต่อหรือพอแค่นี้ในภาวะวิกฤต"
การลงทุนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้นมา การโยกเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า ถือเป็นอะไรที่น่าทำไม่น้อย เพื่อลดผลกระทบที่จะตามมา สิ่งนี้นักลงทุนเชิงกลยุทธ์จะเรียกวิธีการแบบนี้ว่า Asset Allocation นั่นเอง

(ภาพแสดงราคาทองคำช่วงกลางเดือนมีนาคม 2020)
สำหรับสินทรัพย์ที่ดูดีมีอนาคต ก็คือ "ทองคำ" แต่ทว่าในช่วงเวลาของเดือนมีนาคม 2020 ราคาทองคำเริ่ม "สะดุด" แรงๆ ขึ้นมาบ้าง โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2020 หลังจากราคาทองคำทะยานขึ้นไปเกือบ 1700 เหรียญ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็เริ่มมีแรงเทขายทำกำไรเกิดขึ้น

(ภาพแสดงราคาทองคำ)
ปัจจุบันที่ผมกำลังปั่นต้นฉบับอยู่นั้นราคาทองคำก็ขยับปรับลงไปอีกจน ณ วันที่ 14 มีนาคม 2020 ราคาทองคำถูกทุบมาอยู่ที่ 1529.90 เหรียญ ทำไมราคาทองคำจึงลงมาตลอดทางแบบนี้ ลองติดตามจากประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นแรก ... "ไวรัสโควิดดันราคาทองคำสูงสุดในรอบ 7 ปี"

จากการที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด ทำให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสทั่วโลกหลักหมื่น หลักแสนคน และมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน สิ่งนี้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจของนักลงทุนทั่วโลก และนักลงทุนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งก็มองหาสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อหลบเลี่ยงกับวิกฤตไวรัสครั้งนี้ หนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยก็คือ "ทองคำ"
ด้วยความกังวลต่อไวรัส และภาวะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว (inverted yield curve) ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลอย่างมาก และได้โยกขายสินทรัพย์เสี่ยงประเภท "หุ้นสามัญ" มาสู่สินทรัพย์ปลอดภัย นั่นคือ ทองคำ โดยราคาทองคำโลก (gold spot) และราคาทองคำปรับขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่กว่า 1,700 ดอลลาร์/ออนซ์ และนั่นกลายเป็นจุดสูงสุดของรอบหรือไม่? เพราะหลังจากนั้นทองคำก็ขยับปรับลงมาจนอยู่ราว 1,500 ดอลลาร์/ออนซ์
หนึ่งในสาเหตุที่ทองคำปรับตัวลงมาก อาจเป็นเพราะสินทรัพย์ประเภท "หุ้นสามัญ" ในตลาดหุ้น ราคาลดลงมาอย่างมาก โดยดัชนีดาวน์โจนส์ลดต่ำจนต้องเกิดการปิดการซื้อขาย หรือ circuit breaker ในรอบหลายปี และตลาดหุ้นไทยเองก็เกิด circuit breaker ขึ้นสองครั้งติดต่อกันในระยะเวลาสองวัน คือ วันที่ 12-13 มีนาคม 2020
สอดคล้องกับราคาทองคำที่เริ่มขยับปรับลงมามาก สิ่งนี้สัมพันธ์กันหรือไม่? คำตอบก็คือ มีความเป็นไปได้เหมือนกันครับ ที่นักลงทุนอาจจะปรับขายสินทรัพย์ประเภททองคำเพื่อ "ล็อกกำไร" และอาจย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีราคาถูกลงมามากหรือไม่?

ประการที่สอง ... "ภาพแสดง Demand และ Supply ของทองคำ"

อย่างที่ผมเคยเขียนเป็นประเด็นเอาไว้ตั้งแต่ตอนแรก เกี่ยวกับ demand และ supply ของทองคำ โดยความต้องการทองคำจะมาจากการใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิกส์ การใช้เป็นเครื่องประดับ และการลงทุน 
หากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิกส์ ทำให้ความต้องการใช้ทองคำเพิ่มขึ้น เนื่องจากโลกของเรากำลังจะเข้าสู่ยุค 5G และสินค้าอิเล็กโทรนิกส์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าความต้องการทองคำในอุตสาหกรรมนี้มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ใช่อย่างที่คิดล่ะ?

(ภาพแสดง Demand และ Supply ของทองคำ)
จากภาพแสดงให้เห็นความต้องการทองคำ เปรียบเทียบกับปริมาณการผลิต ในปี 2019 ความต้องการทองคำ (แท่งสีฟ้า) น้อยกว่าปริมาณการผลิต (แท่งสีส้ม) อย่างเห็นได้ชัด ถ้าภาพในปี 2020 ความต้องการทองคำยังคงน้อยกว่าปริมาณการผลิต แสดงว่าในช่วงที่ราคาทองคำไปพีคที่กว่า 1700 เหรียญ อาจเป็นแค่แรงเก็งกำไร

ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ ... ทองคำขาขึ้นรอบนี้ สามารถขึ้นไปถึงได้กว่า 1700 เหรียญ ถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบหลายปี ถ้าเราดูข้อมูล Demand และ Supply ของทองคำ ภาพยังแสดงให้เห็นถึงฝั่งการผลิตที่มากกว่าความต้องการ และหากเหตุการณ์วิกฤตโควิดไวรัสคลี่คลาย ก็มีแนวโน้มที่ราคาทองคำอาจจะไม่ได้ไปต่อครับ
สนับสนุนบทความโดย #นายแว่นลงทุน
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)