แสงสว่างปลายอุโมงค์!!...ทางออกของคนเป็นหนี้บัตรเครดิต ในวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่

icon 8 ก.พ. 64 icon 4,539
แสงสว่างปลายอุโมงค์!!...ทางออกของคนเป็นหนี้บัตรเครดิต ในวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่
จากมาตรการการช่วยเหลือสำหรับลูกหนี้บัตรเครดิตจากวิกฤต COVID-19 ในรอบแรกนั้น ลูกหนี้หลายรายได้รับความช่วยเหลือ และพอจะเข้าที่เข้าทางบ้างแล้ว แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ จนทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดด้วยการประกาศปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยง มีผลทำให้หลายคนรายได้หดหาย ไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่ได้ตามกำหนด เกิดเป็นปัญหาขึ้นอีกครั้ง แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะทางทีมงาน CheckRaka ได้รวบรวมการช่วยเหลือ พร้อมกับหาทางออกของหนี้บัตรเครดิตมาให้เพื่อนๆ ได้ใช้เป็นแนวทางเลือกรับการช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ทั้งที่เป็น Bank และ Non Bank ค่ะ
 สถาบันการเงินมีมาตรการอะไร ในการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตบ้าง?
มาตรการการช่วยเหลือจากแบงก์ชาติ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ให้บริการทางการเงินอื่นผ่านสมาคมและชมรมต่างๆ รวม 9 แห่งได้ร่วมกันออกมาตรการขั้นต่ำในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
มาตรการช่วยเหลือ ระยะที่ 1
มาตรการการช่วยเหลือระยะที่ 1 นี้มีออกมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL) โดยลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ดังนี้
  • 5% ในปี 2563 - 2564 
  • 8% ในปี 2565
  • 10% ในปี 2566
*นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถเปลี่ยนแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
มาตรการช่วยเหลือ ระยะที่ 2
จากการช่วยเหลือในมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1 ได้ครบกำหนดลงตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งอาจจะดูยังไม่พอที่จะช่วยให้ลูกหนี้บัตรเครดิตสามารถผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ แบงก์ชาติจึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 โดยเน้นความช่วยเหลือกับลูกหนี้ที่ยังคงมีกระแสเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ด้วยการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตดังนี้
  • เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้
  • ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)
*หมายเหตุ :
  • กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา หรือมาตรการขั้นต่ำ หรือมาตรการอื่น ให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้
  • ผู้ให้บริการทางการงเินต้องจัดให้มีแผนปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL

 ต้องการความช่วยเหลือ จะขอลดหย่อนต้องทำยังไง?
เมื่อเราได้สำรวจสถานะทางการเงินตัวเองแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากมาตรการที่สถาบันการเงินจัดให้นี้ เราจะต้องดำเนินการอย่างไร? ที่ไหน? กับใคร? มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
สำหรับการขอความช่วยเหลือในมาตรการนี้ เป็นการช่วยเหลือแบบเฉพาะเจาะจง ลูกหนี้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ จะต้องสมัครขอรับความช่วยเหลือ หรือเป็นนายจ้างหรือเจ้าของกิจการทำการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกหนี้ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างก่อน เพื่อให้การขอรับความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์ ซึ่งจะต้อง "สมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564" โดยติดต่อเจ้าหนี้ที่เป็นหนี้อยู่ ด้วยการลงทะเบียนใน Mobile Apps ของสถาบันการเงินนั้นๆ (วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด) แต่ถ้าหากไม่สามารถลงทะเบียนหรือดำเนินการผ่าน Mobile Apps นั้นได้ ก็ให้ดำเนินการผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ แต่ถ้าวิธีนี้ยังดำเนินการไม่ได้อีก หรือติดปัญหาใดๆ ก็ให้โทรติดต่อเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินนั้นๆ โดยตรงได้เลย (ซึ่งวิธีนี้หลายคนอาจจะติดปัญหารอสายนานมาก) ส่วนถ้าลูกหนี้บัตรเครดิตรายไหนมีปัญหามากกว่านี้ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้รายละเอียดดังกล่าวได้ ลูกหนี้สามารถโทรเข้าสอบถามที่สายด่วน Hotline 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เลยค่ะ







 ติดเครดิตบูโร เป็น NPL มีปัญหาเรื่องหนี้มากมาย คิดไม่ตก หาทางออกไม่เจอ...ใครช่วยได้?
มาตรการการช่วยเหลือที่ออกมานั้น โดยปกติแล้วเป็นมาตรการที่ออกมาช่วยเหลือคนที่มีหนี้ปกติ และเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL) เพราะฉะนั้น จะมีคำถามต่อเนื่องมาว่า แล้วถ้าเป็นหนี้ที่ติดเครดิตบูโร หรือเป็น NPL จะขอความช่วยเหลือได้มั้ย? ต้องทำยังไง?...จากคำถามนี้ ทางเรามีคำตอบให้ค่ะ คือ ถ้าเป็นกรณีที่ติดเครดิตบูโรนั้น แบงก์ชาติแนะนำว่าลูกหนี้จะต้องเข้าไปคุยกับเจ้าหนี้ (สถาบันการเงิน) ปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นไปในแนวทางการ "ประนอมหนี้" หรือ "ปรับโครงสร้างหนี้" ค่ะ แต่ถ้าคำตอบหรือแนวทางแก้ไขยังไม่ตอบโจทย์ก็ลองโทรไปปรึกษาได้ที่ Hotline 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) หรือจะไปที่ "คลินิกแก้หนี้" ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีทางออกแน่นอนค่ะ (ลูกหนี้จำเป็นต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน) ใครยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก็สามารถดูช่องทางการติดต่อได้ดังนี้ค่ะ

มาตรการการช่วยเหลือนี้เกิดจากการที่แบงก์ชาติเข้าใจในปัญหา และเห็นใจลูกหนี้ที่กำลังประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในบทความนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับ "ลูกหนี้บัตรเครดิต" ที่รายได้หดหาย ชักหน้าไม่ถึงหลัง เงินที่มีไม่พอจ่ายหนี้บัตรเครดิต และต้องการหาทางออกนี้ โดยทางทีมงาน CheckRaka หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้นะคะ ขอให้จำไว้เสมอว่า ทุกปัญหามีทางออกเสมอ...อย่าหมดหวังนะคะ สู้ๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง หนี้บัตรเครดิต พักชำระหนี้ แบงก์ชาติ วิกฤตโควิด-19 มาตรการช่วยเหลือ ลดค่างวด
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)