เปรียบเทียบ "Rabbit Line Pay" VS "True Money Wallet" ใครจะครองตลาด E-Wallet ในเมืองไทย ?

icon 17 เม.ย. 63 icon 74,506
เปรียบเทียบ "Rabbit Line Pay" VS "True Money Wallet" ใครจะครองตลาด E-Wallet ในเมืองไทย ?

เมื่อถึงยุคที่ Cashless ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมาเจอกับวิกฤต โควิด-19 ต้องกักตัวบ้าง ไม่อยากออกไปในที่ที่มีคนแออัดบ้าง หรือแม้แต่ต้อง Work Form Home ก็ทำให้คนหันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์ และเมื่อ E-wallet App ต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น ร้านค้าต่างๆ ก็เริ่มรับการจ่ายเงินผ่าน E-Wallet พวกนี้ ผลก็คือกระเป๋าสตางค์ดิจิตอลก็จะเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเจ้าใหญ่ๆ ในตลาดโลกตอนนี้ก็มี Alipay (Alibaba) และ WeChat Pay (Tencent) ส่วนในเมืองไทยถ้าไม่ใช่ E-Wallet ของธนาคาร ก็จะมีเจ้า Non-Bank ใหญ่ๆ คือ Rabbit Line Pay และ True Money Wallet ซึ่งเรามาดูกันครับว่า 2 เจ้าใหญ่ๆ นี้มีข้อดี หรือข้อด้อยต้องพัฒนาอะไรบ้าง


ถ้าจะอธิบายง่ายๆ E- Wallet ก็คือกระเป๋าเงินออนไลน์ที่มีเงินสด หรือบัตรเดบิตอยู่ข้างใน และสามารถใช้ซื้อของ หรือโอนเงินได้เลยโดยไม่ต้องมี หรือพก Physical Cash หรือ Physical Credit Card/Debit Card  โดยกระเป๋าเงินออนไลน์นี้มักจะอยู่ในรูปของ Application ซึ่งสามารถโหลดมาใช้ในโทรศัพท์ Smartphone ของเราผ่านทาง App Store และ Google Play โดยเวลาใช้ (เช่น ใช้โดยวิธีสแกนผ่าน QR Code) เงินก็จะถูกตัดออกจากกระเป๋าเงินออนไลน์นี้ไปเรื่อยๆ และถ้าเงินในกระเป๋านี้หมด เราก็สามารถเติมเงิน (Top Up) เข้าไปได้ใหม่จากบัญชีธนาคาร เงินสด หรือแม้กระทั่งบัตรเครดิต มองได้อีกแบบคือเป็นบัตรเดบิตอิเล็คทรอนิคส์ที่คนใช้ต้องโอนเงินเข้าไปวางไว้ก่อน แล้วเอาเงินนั้นไปจ่ายผ่านวิธีดิจิตอลให้ร้านค้า หรือคนให้บริการต่างๆ หลักๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
(ก) แอปฯ E-Wallet ของธนาคาร เช่น SCB Easy, K Plus 
(ข) แอปฯ E-Wallet ของพวก Non-Bank ต่างๆ เช่น Rabbit Line Pay, True Money Wallet

ในเมืองไทยมี E-Wallet อยู่หลายเจ้า เช่น Airpay, BluePay Wallet, Mpay, Dolfin, Rabbit Line Pay และ True Money Wallet แต่ปัจจุบันเจ้าที่ร้านค้าเป็นพันธมิตรด้วยมากที่สุด สำหรับในไทยในตลาดตอนนี้น่าจะเป็น Rabbit Line Pay (ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Rabbit และ Line) กับ True Money Wallet ซึ่งเป็นของกลุ่มบริษัท True Corporation
ร้านค้าที่รองรับเยอะไหม และใช้ชำระอะไรได้บ้าง ?

  
ใช้รูดขึ้นรถไฟฟ้า BTS ทุกสถานี (แต่ MRT และ Airport Railink ยังใช้ไม่ได้) และร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น Family Mart, Lawson 108  ใช้ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทั่วประเทศทุกร้าน
ศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้าบางแห่ง เช่น MBK, Amarin Plaza ร้านอาหาร และร้านกินดื่มชื่อดังหลายร้าน เช่น CP Freshmart, True Coffee, กาแฟมวลชน, The Pizza, After You, Bonchon
เติมเงินโทรศัพท์มือถือ AIS One-2-Call และ DTAC Prepaid จ่ายบิลโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือเคเบิ้ลทีวีในเครือทรู     
จ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ TOT และทางด่วน Easy Pass จ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ภาษีรถยนต์ และทางด่วน Easy Pass
ชำระค่าเบี้ยประกัน เช่น AIA, Muang Thai Life ชำระค่าเบี้ยประกัน เช่น AIA, Muang Thai Life 
จ่ายเงินค่าสินเชื่อรถ เช่น Nissan Leasing, Toyota Leasing จ่ายเงินค่าสินเชื่อรถ เช่น Kasikorn Leasing, Honda Leasing 
- จ่ายเงินดาวน์อสังหาริมทรัพย์ พฤกษา เรียลเอสเตท, พนาลี เอสเตท และพุทธชาด เอสเตท
จ่ายค่าบัตรเครดิต และสินเชื่อเงินสด เช่น Citibank, KTC   จ่ายค่าบัตรเครดิต และสินเชื่อเงินสด เช่น Citibank, KTC
เติมเงินเกม ซื้อแอปฯ ผ่าน Google Play, App Store เติมเงินเกม ซื้อแอปฯ ผ่าน Google Play, App Store 
ซื้อตั๋วภาพยนต์ในเครือ Major และ SF ซื้อตั๋วภาพยนต์ในเครือ Major
บริจาคเงินเข้ามูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิรามาธิบดี, เทใจดอทคอม, สภากาชาดไทย บริจาคเงินเข้ามูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิก้าวคนละก้าว, วัดพระบาทน้ำพุ, สภากาชาดไทย
จ่ายชำระค่าสินค้า  Misteen จ่ายชำระค่าสินค้า เช่น ค่าสินค้า Misteen, ค่าสินค้า ซีพีเฟรชมาร์ท

 เติมเงินอย่างไร สะดวกไหม ?
   
ช่องทางที่ 1. บัญชีธนาคาร
เชื่อมต่อบัญชีธนาคารจากธนาคารพันธมิตรของ Rabbit LINE Pay เช่น ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงเทพ กรุงไทย ทีเอ็มบี และกรุงศรีอยุธยา
ช่องทางที่ 1. บัญชีธนาคาร
เชื่อมต่อบัญชีธนาคารจากธนาคารพันธมิตรของ Rabbit LINE Pay เช่น ไทยพาณิชย์ กรุงไทย กสิกร กรุงเทพ 
ช่องทางที่ 2. ออนไลน์
ผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านระบบของธนาคาร เช่น Mobile Banking, Internet Banking, หรือ ตู้ ATM
ช่องทางที่ 2. ออนไลน์
ผ่านตู้ ATM ธนาคาร หรือ Mobile Banking App หรือ Internet Banking
ช่องทางที่ 3. หน้าร้านค้า 
ได้ที่หน้าร้านค้าที่ร่วมรายการ เช่น McDonald, Kerry Express, BTS ทุกสถานี, ศูนย์บริการ AIS, แฟมิลี่มาร์ท, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์, เซ็นทรัล, โรบินสัน เป็นต้น
ช่องทางที่ 3. หน้าร้านค้า
7-11, Family Mart, CP Freshmart, ศูนย์บริการ True, Tops Market, AirPay เคาน์เตอร์
ช่องทางที่ 4. ตู้เติมเงิน
หน้าตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้หน้า 7-11 และ BTS), ตู้ AIS Payment, ตู้เติมสบายพลัส โดยกรอกหมายเลขอ้างอิงและทำตามขั้นตอน และตู้เอไอเอส
ช่องทางที่ 4. ตู้เติมเงิน
ตู้ True Money, ตู้ Bluepay, ตู้บุญเติม, ตู้เติมสบายพลัส, ตู้เติมทรู, ตู้ซิงเกอร์, ตู้ True Vending Machine, ตู้ BB Topup, ตู้ Easy Topup
ช่องทางที่ 5. เดิมเงินอัตโนมัติ 
ต้องลงทะเบียนบัญชีเงินฝากในระบบ เพื่อให้ตัดเงินเข้ากระเป๋า Rabbit Line Pay ได้ เมื่อยอดเงินน้อยกว่ายอดต่ำสุดที่เรากำหนดไว้จะมีการโอนเงินจากบัญชีที่เราลงทะเบียนไว้โดยอัตโนมัติ
(สามารถเลือกบัญชีของธนาคาร ไทยพาณิชย์, ทีเอ็มบี, กรุงไทย, กรุงเทพ, กสิกรไทย หรือกรุงศรีอยุธยา)
ช่องทางที่ 5. เติมเงินด้วยช่องทางอื่นๆ 
บัตรเงินสดทรูมันนี่, ใช้ทรูพอยต์ 

 จ่ายเงินซื้อของในร้านค้าได้กี่วิธี ?
   
สามารถจ่ายผ่านการสแกน QR Code หรืออ่าน Barcode หรือโอนผ่าน E-Wallet เช่น บัตรทางด่วน Easypass สามารถจ่ายผ่านการสแกน QR Code หรืออ่าน Barcode หรือโอนผ่าน E-Wallet เช่น บัตรทางด่วน Easypass, ค่าภาษี (กรมสรรพากร)

 ใช้เยอะๆ ดีกว่าจ่ายเงินสดยังไง ?
   
ได้ส่วนลดร้านค้า เช่น
- ส่วนลด 15% ที่ร้าน Mister Donut
- ลดทันที 10 บาท เมื่อซื้อเครื่องดื่ม Smoothmood 
ได้ส่วนลดร้านค้า เช่น 
-  3 ชุดเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ พร้อมเครื่องดื่ม สุดคุ้ม เพียง 99 บาท
-  ลด 10 บาท สำหรับเครื่องดื่มทุกชนิดที่ D'ORO
ได้สิทธิการรับเงินคืนกลับเข้ากระเป๋าเงิน ในกรณีที่มีโปรโมชั่นพิเศษร่วมรายการ ได้สิทธิการรับเงินคืน เช่น ซื้อแพ็กเกจเสริม ทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน (รับเงินคืน 50%) 
สามารถผูกบัญชี Rabbit Line Pay กับ Rabbit Rewards แล้วทุกยอดการใช้จ่าย จะกลายเป็นพอยท์ นำไปใช้งานได้ สะสมสูงสุด 50 พอยท์ ต่อการใช้จ่าย สามารถสะสมคะแนนง่ายๆ เพียงใช้จ่ายผ่านแอปฯ ทุกๆ 25 บาทจะได้รับ 1 ทรูพอยท์ 

 การติดตั้ง และโหลด App ยากไหม ?
   
ใช้ Line อยู่แล้ว ไม่ต้องโหลด App เพิ่ม ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม คือ True Wallet Money 
ใช้ได้ทั้ง App Store และ Google Play  ใช้ได้ทั้ง App Store และ Google Play 
 ผูกบัตรเครดิตได้ไหม ?
   
  • สามารถผูกกับบัตรเครดิตทุกค่ายใหญ่ๆ ได้ทั้ง VISA, Mastercard และ JCB 
  • ถ้าจะให้การใช้แต่ละครั้งชาร์จไปที่บัตรเครดิต (ไม่ได้ไปหักเงินสดจากกระเป๋า Rabbit Line E-Wallet) จะต้องตั้ง Payment Method ไปที่บัตรเครดิตด้วยตามรูปข้างล่าง
  • สามารถผูกกับบัตรเครดิตได้ทุกค่ายใหญ่ๆ ทั้ง VISA, Mastercard และ JCB 
  • ถ้าจะให้การใช้แต่ละครั้งชาร์จไปที่บัตรเครดิต (ไม่ได้ไปหักเงินสดจากกระเป๋า True E-Wallet) จะต้องตั้งค่าไปที่บัตรเครดิตที่เรา Set เอาไว้ตามรูปข้างล่างก่อน  

การเพิ่มบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต เข้าระบบ e-Wallet ทั้ง 2 ค่าย 

การตั้งค่าการใช้งาน e-Wallet ให้ตัดเงินจากบัตรเครดิต
 โอนเงินให้เพื่อน หรือคนรู้จักได้ไหม ?
   
ได้ แต่เพื่อนต้องมีบัญชี Rabbit Line Pay ด้วยเช่นกัน (โอนได้โดยไม่ต้องมีเบอร์บัญชีเงินฝาก หรือเบอร์โทรศัพท์ของคนรับ)  ได้ แต่เพื่อนต้องมี TrueMoney Wallet ด้วยเช่นกัน และการโอนจะโอนให้เพื่อนโดยใช้เบอร์โทรศัพท์ 
- สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารได้
- โอนไปต่างประเทศก็ได้ ปัจจุบันคือ สามารถโอนไปที่พม่า และเขมร 

 ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้อะไรไหม ?
   
ในช่วงนี้ ทาง Rabbit Line Pay ยังไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น แต่บนเว็บไซต์ของ Rabbit Line Pay นั้น มีการระบุค่าธรรมเนียมไว้ในทุกๆ ขั้นตอนเลยทีเดียว ทั้งค่าแรกเข้า (100 บาท) ค่ารายปี (100 บาท) การเติมเงินเข้า (30 บาท) การชำระค่าสินค้าบริการ (30 บาท) เพียงแต่ตอนนี้เป็นช่วงส่งเสริมการขาย จึงยังไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหล่านี้ ขั้นตอนเติมเงิน เมื่อเติมผ่านธนาคารทุกช่องทาง ร้านค้าต่างๆ รวมถึงที่ 7-Eleven ไม่มีเรียกเก็บค่าธรรมเนียม แต่ในกรณีที่เติมเงินผ่านตู้บุญเติม ตู้ทรูมินิ ตู้อีซี่ จะมีค่าธรรมเนียมทุกครั้งที่เติม 
 ยังไม่มีค่าธรรมเนียม (จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ขั้นตอนใช้เงิน ไม่มีค่าธรรมเนียม
 จำนวนผู้ใช้ และร้านค้าที่รองรับเยอะแค่ไหนแล้ว ?
   
 จำนวนผู้ใช้โดยประมาณ 5,500,000 ราย จำนวนผู้ใช้โดยประมาณ 10,000,000 ราย
ร้านค้าที่รับโดยประมาณ 60,000 แห่ง ร้านค้าที่รับโดยประมาณ รองรับทั้ง 7-Eleven และร้านค้าพันธมิตร รวมประมาณ 200,000 จุดบริการ
*ข้อมูลเดือนมีนาคม 2562

 Rabbit Line Pay 
 
จุดเด่นน่าสนใจ ข้อสังเกต 
1. มากับ Line ซึ่งคนไทยใช้เป็นประจำอยู่แล้ว ค่อนข้างสะดวก 
2. เติมเงินค่อนข้างง่ายจากบัญชีที่เราผูกไว้ 
3. สามารถโอนเงินให้เพื่อน หรือ Request เงินจากเพื่อนผ่าน Rabbit Line Pay ได้
4. มีโปรโมชั่นเยอะ และร้านค้าที่รับก็แพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ 
5. หากใช้ BTS ทุกวันหรือบ่อยๆ ก็สะดวกใช้เป็นบัตรเดียวร่วมกันได้เลย
6. เชื่อมบัตรเครดิตได้เลย ทำให้ไม้ต้องกองเงินสดไว้ตรงนี้
1. ไม่มีตู้เติมเงินเพื่อเติมเงินสดเข้า Rabbit Line Pay ได้
2. จำกัดการเชื่อมต่อกับธนาคารเพียง 6 แห่ง คือ ไทยพาณิชย์, ทหารไทย, กรุงไทย, กรุงเทพ, กสิกรไทย และกรุงศรีอยุธยา
3. สามารถโอนเงินจากกระเป๋า Rabbit Line Pay เข้าบัญชีธนาคารได้ แต่ไม่ Real Time
 True Money Wallet 
 
จุดเด่นน่าสนใจ ข้อสังเกต
1. แม้จะเป็นของ True แต่คนถือโทรศัพท์ไม่ว่าค่ายไหนก็ใช้ได้ 
2. จ่ายค่าสาธารณูปโภคได้ เช่น บัตรทางด่วน เติมเงินมือถือ True สะดวก
3. สามารถโอนเงินจากกระเป๋าเงิน True Money Wallet เข้าบัญชีธนาคารได้
4. สามารถเติมเงินด้วยเงินสดได้ โดยเติมผ่านตู้เติมเงินต่างๆ หรือ  7-11, Family Mart, Tops market เป็นต้น
5. เหมาะสำหรับคนใช้บริการกลุ่ม True ทั้ง CP, 7-11 แต่ร้านค้าทั่วไปก็รับแพร่หลายขึ้นเรื่อย
6. เชื่อมบัตรเครดิตได้เลย ทำให้ไม่ต้องกองเงินสดไว้ตรงนี้
1. กรณีเติมเงินด้วยเงินสดผ่านตู้เติมเงินต่างๆ จะเสียค่าธรรมเนียม
2. กรณีโอนเงินสดเข้าบัญชีธนาคารจะมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม


การใช้ E-wallet ถือเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดในอนาคต เพราะเป็นการจ่ายเงินที่ สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องรูดบัตรเครดิต และที่ได้มากกว่าคือ โปรโมชั่นต่างๆ จาก E-wallet ของแต่ละค่าย ทั้งส่วนลด ทั้ง Lucky Draw และยังสามารถจ่ายค่าสาธารณูปโภค หรือจ่ายบิลต่างๆ ได้อีกด้วย ลองโหลดมาใช้กันดู และ Review การใช้งานได้นะครับ เพื่อที่ทาง Rabbit Line Pay และ True Money Wallet จะได้ Feedback จากผู้ใช้จริง และนำไปพัฒนา Product ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง rabbit line pay e-wallet true money wallet
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)