x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

The Forestias by MQDC ทุ่มงบ 25 ล้าน เปิดโครงการ Forest for Life สร้างป่าสร้างชีวิต

ข่าว icon 18 พ.ค. 63 icon 2,891
The Forestias by MQDC ทุ่มงบ 25 ล้าน เปิดโครงการ Forest for Life สร้างป่าสร้างชีวิต


นายคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า โครงการ The Forestias by MQDC ได้เล็งเห็นว่าผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดนั้นได้กระจายผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับความลำบากมากขึ้น รวมถึงมีผู้ตกงาน หรือผู้ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจมากมาย จึงมองเห็นโอกาสว่า The Forestias by MQDC  เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวคิดในการสร้างเมืองคู่ป่า มีแนวคิดในการมุ่งเน้นให้คนเห็นความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอยู่แล้ว จึงเกิดไอเดียที่จะเข้าช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับชุมชนโดยใช้การสร้างป่าเข้ามาเป็นหัวใจหลักในการช่วยเหลือ

จึงได้จัดโครงการ 'Forest for Life สร้างป่าสร้างชีวิต' โดยที่จะนำกล้าไม้ไปให้ครอบครัวที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายตามที่กำหนดจากชุมชน นำไปดูแลอนุบาลให้เติบโตขึ้น เป็นระยะเวลา 90 วัน หรือ  3 เดือนโดยประมาณ โดยจะมีเงินช่วยเหลือให้  5,000 บาทต่อครอบครัว โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด รวม 15,000 บาท จากนั้นกล้าไม้จะถูกนำไปแจกจ่ายให้กับหน่วยงานราชการ เช่น กองสาธารณะ กรุงเทพมหานคร สำหรับสร้างเสริมพื้นที่สีเขียวหรือนำไปร่วมโครงการแจกกล้าไม้คนเมือง บางส่วนนำมาใช้กับโครงการของ The Forestias  แจกจ่ายประชาชนทั่วไป หรือชุมชนที่รับต้นกล้าไปดูแลต้องการพื้นที่สีเขียว ก็จะมอบให้ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 
"ปัจจุบันนี้ เราต่างเห็นผลลัพธ์ว่าปัญหาผืนป่าหรือต้นไม้ที่ลดลง ทำให้กิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเราทุกคน เช่น เรื่องอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีอากาศร้อนอยู่แล้ว ยิ่งมีอากาศร้อนมากขึ้น มีฝุ่นพิษมากขึ้น ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพตามมา โครงการสร้างป่า สร้างชีวิตนี้ จึงตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี  ประกอบกับในช่วงที่ชุมชนมีผู้ว่างงานจากสภาวะวิกฤตโควิดในครั้งนี้ ทางโครงการจึงขอมีส่วนช่วยในการให้ทุนเพื่อการดำเนินชีวิตเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว ผ่านการให้ชาวชุมชนช่วยดูแลกล้าไม้" นายคีรินทร์กล่าว

โครงการนี้มีเป้าหมายในการช่วยเหลือ 1,000 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในชุมชนที่สมัครเข้าโครงการ แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรก กล้าไม้จำนวน 6 แสนต้น และผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 500 ครอบครัว เฟสสองกล้าไม้จำนวน 6 แสนต้น และผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 500 ครอบครัว โดยเราได้จัดสรรงบประมาณให้โครงการนี้จำนวน 25 ล้านบาท
"เราเชื่อมั่นว่า เราได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดเรื่องการสร้างพื้นที่สีเขียว และความผูกพันระหว่างคนกับต้นไม้ และสร้างความแข็งแกร่งและความผูกพันให้ชุมชน" นายคีรินทร์กล่าว
การสนับสนุนครั้งนี้เม็ดเงินจะถึงชาวบ้านทุกภาคส่วน โดยกล้าไม้ที่ใช้ในโครงการนี้จำนวน 1.2 ล้านต้น  ซื้อมาจากชุมชนที่เป็นเครือข่ายเพาะกล้าของทางกรมป่าไม้ ซึ่งทำการเพาะกล้าเพื่อจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้  ทำให้ชุมชนเพาะกล้าเหล่านั้นได้รับเม็ดเงินค่ากล้าไม้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในส่วนครอบครัวในชุมชนที่รับกล้าไม้ไปดูแลก็จะได้รับเงิน 15,000 บาทในระยะเวลา 90 วันโดยแบ่งมอบเป็น 3 งวด เมื่อครบเวลาที่กำหนด ต้นไม้ที่ชุมชนดูแลรวมจำนวน 1.2 ล้านต้น จะมอบบางส่วนให้ทางกองสาธารณะ กรุงเทพมหานคร สำหรับสร้างเสริมพื้นที่สีเขียวหรือนำไปร่วมโครงการแจกกล้าไม้คนเมือง   มอบให้กับพื้นที่ ที่ดูแลกล้าไม้ และมอบให้กับประชาชนทั่วไป

นายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส โครงการ The Forestias by MQDC บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า โครงการ The Forestias by MQDC เป็นอสังหาริมทรัพย์โครงการแรกของโลกที่มนุษย์เราสามารถอยู่อาศัยได้จริงท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติ ที่ๆ เราจะมี ต้นไม้ สัตว์ อาศัยอยู่รวมกัน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและเอื้อประโยขน์ต่อการใช้ชีวิต โดยคนทุกวัยทุกเจเนอเรชั่น สามารถอยู่  และร่วมกันทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุขแบบยั่งยืน จุดเด่นของโครงการที่สำคัญคือ การมอบพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ประมาณ 30 ไร่ เป็นผืนป่าใจกลางโครงการโดยจะเป็นป่าที่แท้จริง  เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สมดุลให้คืนกลับมาใหม่ 
การเปิดโครงการ Forest For Life สร้างป่า สร้างชีวิต ในครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ขยายแนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวนี้ออกไปสู่สาธารณะมากขึ้น ต้นไม้จากโครงการนี้บางส่วน จะนำมาปลูกต่อไปในป่าของโครงการ   The Forestias by MQDC ที่บางนากิโลเมตรที่ 7 ซึ่งถือว่าเป็นป่าที่แท้จริงใจกลางเมือง 
"เราหวังว่า โครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และอยากให้ทุกคนในชุมชนได้ร่วมกันส่งต่อขยายผลให้งอกเงย ออกไปในวงกว้างให้มากที่สุด เพราะหากชุมชนมองเห็นโอกาสจากการสร้างป่า สร้างชีวิตแล้ว แน่นอน ว่าผลดีย่อมตกกับชุมชน หากชุมชนช่วยเหลือตัวเองได้ มีรายได้เพียงพอไม่เดือดร้อน สังคมจะมีความสุข จะส่งผลดีต่อประเทศชาติในที่สุด" นายกิตติพันธุ์กล่าว 
ดร.วิทย์ สุนทรนันท์  รองประธานมูลนิธิพุทธรักษา กล่าวว่า ทางโครงการ The Forestias ได้มีความร่วมมือกับทางมูลนิธิพุทธรักษา และเครือข่ายผู้ให้ The Givers Network ในการที่จะสรรหา และคัดเลือกชุมชนที่จะเข้าร่วมกับโครงการ โดยเนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่งกล้าไม้ จึงจะขอเป็นชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ใกล้เคียง  หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ คือ
  1. การสมัครเข้ามาเป็นชุมชน ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ใกล้เคียง
  2. ชุมชนจะต้องมีสมาชิกที่จะผ่านตามหลักเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 20 ครัวเรือน โดยจะพิจารณาจากชุมชนที่เดือดร้อนที่สุดก่อน สมาชิกของชุมชนมาในลักษณะครัวเรือนโดยแต่ละครัวเรือนที่สมัครและจะผ่านการคัดเลือก ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด และไม่มีสมาชิกในครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการของรัฐบาลแล้ว เพื่อเป็นการแบ่งเบาบรรเทาทุกข์ให้ทั่วถึง
  3. ครัวเรือนที่สมัครจะต้องมีพื้นที่เพื่อวางกล้าไม้อย่างน้อย 20 ตารางเมตร หรือถ้าชุมชนจะจัดหาที่ส่วนกลางเช่น วัด โรงเรียน ก็สามารถทำได้ โดยทางโครงการจะช่วยเหลือค่าน้ำตามสมควรให้กับที่สาธารณะที่ให้พื้นที่กับโครงการนี้
  4. แต่ละครัวเรือนจะรับกล้าไม้ไปดูแล 1,200 ต้น โดย 1,000 ต้นจะเป็นกล้าไม้กลุ่มป่าไม้และไม้พุ่มรวมถึงไม้มีค่าต่างๆ และอีก 200 ต้นจะเป็นกลุ่มพืชสวนครัว
โครงการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000 ครัวเรือน เพื่อดูแลต้นกล้า 1.2 ล้านต้น โดยแบ่งเป็น 2 เฟส   เฟสแรก 500 ครัวเรือนดูแลกล้าไม้จำนวน 6 แสนต้น ซึ่งชุมชนนำร่อง คือ ชุมชนวัดทุ่งเหียง จำนวน 26 ครัวเรือน ข้อมูลที่เราพบจากชุมชนวัดทุ่งเหียง พบว่าบางครอบครัวประสบปัญหา ขาดรายได้ทั้งครอบครัว เพราะสมาชิกในบ้านจำนวน 4-5 คน ต้องตกงานทุกคนทำให้ไม่มีเงินเลี้ยงชีพ  การเข้ามาร่วมโครงการนี้จึงช่วยทำให้ชุมชนมีรายได้พอเลี้ยงชีพในช่วงเวลา 3 เดือน   ชุมชนวัดทุ่งเหียง ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีความใกล้ชิดกันระหว่างวัดและ ชุมชนและยินดีที่จะให้พื้นที่ของวัดและบริเวณชุมชนโดยรอบนำพื้นที่ส่วนกลางมาร่วมโครงการ

นอกจากชุมชนวัดทุ่งเหียงที่จะร่วมโครงการช่วงแรกประมาณ 26 ครัวเรือน มีชุมชนที่แจ้งความจำนงมา คือชุมชนบ้านอำเภอ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอีกจำนวน 120 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังเตรียมขยายไปยังพื้นที่ชุมชนอื่นๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้ประสานกับทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ดำเนินการจัดหาชุมชน และกลุ่มคนไร้บ้านเพื่อเข้าร่วมโครงการอีกด้วย

สำหรับกล้าไม้พันธุ์ต่างๆ ที่นำมาให้ชุมชนได้ดูแลนั้น แบ่งเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ป่าไม่พุ่มซึ่งจะรวมไม้มีค่าอยู่ด้วย  อาทิเช่น ไม้สัก มะค่าโมง ประดู่ป่า ตะเทียนทอง มะฮอกกานี ชิงชัน แคนา พะยูง และพืชสวนครัวที่ดูแลง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสะดวกในการดูแลมีศัตรูพืชน้อย สามารถนำมาบริโภคในครัวเรือนช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และหากมีเหลือพอชุมชนสามารถนำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้อีกทาง ซึ่งการเลือกต้นไม้มาปลูกนี้ จะได้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะไม้เศรษฐกิจไม้มีค่านั้นจะมีมูลค่าสูงขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต และผู้ที่มีความชำนาญด้านเพาะกล้าไม้ก็จะสามารถมีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ และยังมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยอีกทางหนึ่ง
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ทางกรมป่าไม้ได้ร่วมให้การสนับสนุนโครงการนี้ เพราะมีวัตถุประสงค์ที่ตรงกับแนวทางของกรมป่าไม้โดยเฉพาะเรื่องของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่ป่าไม้ ในความร่วมมือนั้นทางกรมป่าไม้ได้แนะนำชุมชนที่มีอาชีพเพาะกล้าไม้เพื่อจำหน่ายโดยทางโครงการ Forest for Life สร้างป่า สร้างชีวิต จะซื้อกล้าไม้โดยตรงจากชุมชนเหล่านั้น นอกจากนั้นทางกรมป่าไม้ได้ให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลกล้าไม้มาช่วยแนะนำวิธีการดูแล
ในปัจจุบันการเพาะกล้าไม้ได้กลายเป็นหนึ่งอาชีพที่ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงกล้าไม้สร้างรายได้ จากการที่ผู้ที่ปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ของตนเองสามารถปลูกและตัดขายได้ภายใต้ พรบ. ป่าไม้ ปี 2562 ทำให้กล้าไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าพวก ไม้สัก ไม้ยาง ไม้พะยูง ได้รับความนิยมมากขึ้น
ทางกรมป่าไม้เล็งเห็นว่าการส่งเสริมให้ครอบครัวในชุมชนได้นำกล้าไม้ไปดูแลระยะหนึ่ง จะสร้างความผูกพันระหว่างคนกับต้นไม้ได้ และอาจจะถึงขั้นที่ชุมชนนั้นๆ อาจจะเป็นช่องทางในการนำไปทำเป็นอาชีพเพาะและเลี้ยงดูกล้าไม้ต่อไป จะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศเรา ตามเจตนารมณ์และภารกิจของกรมป่าไม้

พระครูศรวิชัย มหาวีโร รองเจ้าอาวาสวัดทุ่งเหียง ตัวแทนชุมชนวัดทุ่งเหียง กล่าวว่า รู้สึกดีใจและขอบคุณทุกหน่วยงานที่เปิดโอกาสให้ชุมชน ได้เข้าร่วมโครงการนี้ เพราะช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านปากท้องของชุมชนในเบื้องต้น และชุมชนก็ได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการดูแลกล้าไม้จากทางกรมป่าไม้ ในอนาคตหลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้นชุมชนก็จะได้มีความรู้ความชำนาญในอาชีพจนอาจจะยึดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มในระยะยาว ป้องกันปัญหาด้านการขาดรายได้ในอนาคต  คาดหวังว่าสมาชิกชุมชนวัดทุ่งเหียงจะมีรายได้มากพอที่จะดูแลตนเอง และ คนในครอบครัวได้ในที่สุด
"นอกจากนี้ ทางวัดยังดีใจที่ได้เห็นความร่วมมือระหว่างชุมชนกับวัด โดยทางวัดได้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้มาใช้ในการดูแลกล้าไม้เป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ที่เดือดร้อน"พระครูศรวิชัยกล่าว
โดยภาพรวม บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC)  ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด ในโครงการต่างๆ รวมเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1265 หรือ www.mqdc.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

the forestias ข่าว mqdc ปี 2020

ข่าวและอีเว้นท์คอนโดล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)