x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

สูบบุหรี่ในคอนโดผิดหรือไม่ ? ทำอะไรได้บ้าง หากเจอเพื่อนข้างห้องสูบบุหรี่ ?

icon 30 ก.ย. 64 icon 68,035
สูบบุหรี่ในคอนโดผิดหรือไม่ ? ทำอะไรได้บ้าง หากเจอเพื่อนข้างห้องสูบบุหรี่ ?
 
วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาหลักของชาวคอนโดที่หลายคนเคยประสบ นั่นก็คือปัญหา กลิ่น และควันบุหรี่ลอยมาจากห้องข้างๆ เพราะมีคนออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียง เพราะคิดว่าระเบียงนั้นก็เป็นพื้นที่ของตัวเองที่จะทำอะไรก็ได้ แต่ห้องอื่นๆ กลับได้รับผลกระทบจากกลิ่นและควันบุหรี่เหล่านั้น ทำให้ส่งผลด้านสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ต้องมาเสี่ยงกับโรคร้ายต่างๆ ตามไปด้วย ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า การสูบบุหรี่ในคอนโดนั้นผิดหรือไม่? แล้วทำอะไรได้บ้าง หากเจอคนสูบบุหรี่ในระเบียงคอนโด?
สูบบุหรี่ในคอนโด ได้หรือไม่ ?
 
สูบบุหรี่ในห้องชุด ผิดกฎหมายไหม ?
สำหรับคำถามว่าผิดหรือไม่นั้น ถ้าหากอ้างอิงจาก พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ 2535 การสูบบุหรี่ภายในห้องชุดที่ตัวเองอาศัยอยู่นั้น ไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด อ้าว! แล้วแบบนี้ใครจะสูบบุหรี่ในห้องตัวเองก็ได้เลยใช่ไหม ? จะว่าแบบนั้นก็ได้ค่ะ แต่คนที่สูบบุหรี่มักจะไม่ได้สูบในห้องของตัวเอง แต่จะออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียง ซึ่งตรงนี้แหละที่จะทำให้เกิดปัญหากับคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในห้องใกล้เคียงจะได้รับผลกระทบในเรื่องของกลิ่น และควันบุหรี่ลอยมานั่นเอง
สำหรับคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า แล้วทำไมคนที่สูบบุหรี่ถึงไม่ไปสูบในห้องของตัวเอง อ้างอิงจากกระทู้พันทิปด้านล่างนี้ค่ะ

หนึ่งในความคิดเห็นจากกระทู้พันทิป https://pantip.com/topic/31428219
ในส่วนของคำตอบ ก็มีหลากหลาย ทั้งเป็นเพราะตัวเองก็ไม่อยากให้ภายในห้องมีกลิ่นบุหรี่ หรือมีผู้อื่นอาศัยอยู่ด้วย หรือในบางคอนโดก็จะมีเครื่องตรวจจับควัน ทำให้ไม่สามารถสูบในห้องได้ เป็นต้น แต่จากการที่เราเคยได้สอบถามกับทางนิติมานะคะ เขาบอกว่า ระเบียงก็เป็นห้องของเขา เขาซื้อมา เขาจะสูบตรงไหนก็ได้ ถามว่าผิดไหม ก็ไม่ถือว่าผิดอะไรค่ะ ถ้าไม่มีใครเดือดร้อน แต่ถ้าควันบุหรี่ที่เขาสูบมันลอยไปส่งกลิ่นเหม็น สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นขึ้นมา ก็อาจจะผิดที่มารยาทของการอยู่ร่วมกันได้ค่ะ ปกติแล้วคอนโดในแต่ละที่จะการกำหนดให้มีจุดสูบบุหรี่โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการแยกพื้นที่ให้กับผู้สูบบุหรี่ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ในอาคารเดียวกัน แต่เราก็มักจะเจอคนสูบบุหรี่ ที่ออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียงอยู่ดี

ในแต่ละคอนโดจะแยกพื้นที่ สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่โดยเฉพาะ
สูบบุหรี่ในคอนโดไม่ผิดกฏหมาย แต่จะสูบได้หรือไม่ ?
ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่ในห้องชุดจะไม่ผิด พรบ. แต่ทางนิติของคอนโดในแต่ละโครงการสามารถออกกฏขอความร่วมมือไม่ให้สูบบหรี่ในพื้นที่ห้องพักอาศัย และห้ามมิให้ทิ้งก้นบุหรี่ออกนอกระเบียงคอนโด เพราะอาจทำให้ลมพัดก้นบุหรี่ไปยังห้องผู้อื่น หรือลงพื้นด้านล่าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ รวมไปถึงการตั้งบทลงโทษ หากฝ่าฝืน จะมีการเสียค่าปรับ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความสงบสุขให้แก่ผู้พักอาศัยให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
มีหลายคนพยายามจะอธิบายให้เห็นใจคนที่สูบบุหรี่บ้าง ซึ่งผู้ที่สูบในที่ๆ กำหนด และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นนั้นก็มี ซึ่งกรณีนี้คงไม่มีใครไปว่าอะไรอยู่แล้วค่ะ แต่การสูบบุหรี่ในระเบียงคอนโดมันมีโอกาสที่กลิ่นและควันจะลอยไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นได้ รวมไปถึงเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้อย่างที่กล่าวไปด้านบน เอาแค่ว่า ควันและกลิ่นบุหรี่นั้นมีโทษต่อร่างกายผู้สูบ และมีโทษมากกว่าหากสูดดมเข้าไป ผู้สูบอาจจะไม่ได้สนใจสุขภาพตัวเอง แต่ไม่มีสิทธิ์มาทำลายสุขภาพผู้อื่นทางอ้อมได้เช่นกันค่ะ
ปัจจุบันการสูบบุหรี่ไม่ผิดกฏหมายก็จริง แต่ก็มีการผลักดันให้เกิดการคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุดอยู่ค่ะ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทยได้ออกมาแถลงข่าวและเสวนาวิชาการเรื่อง "การคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด" ชี้แจงเรื่องปัญหาของผู้ที่สูบบุหรี่ในอาคารชุดที่มีเพียงส่วนน้อย แต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นวงกว้าง จึงอยากผลักดันให้อาคารชุดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และเราก็หวังว่าจะมีกฏหมายนั้นในซักวัน

ขอบคุณภาพจาก Thaihealth
ทำอย่างไรได้บ้าง เมื่อมีผู้สูบบุหรี่ในคอนโด
 
ในเมื่อการอยู่อาศัยคอนโด ก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะสามารถใช้พื้นที่ในส่วนไหนของห้องก็ได้ รวมไปถึงระเบียง แต่เมื่อเราออกไปที่ระเบียงของห้องเราแล้ว กลับได้กลิ่นบุหรี่จากห้องอื่นลอยมา ทำให้เราต้องปิดประตูระเบียง กลับเข้าไปใช้ชีวิตแค่ในห้อง ออกมาที่ระเบียงไม่ได้ เพราะกลัวจะเจอกลิ่นบุหรี่ ก็ดูจะไม่แฟร์ เพราะฉะนั้นเรามาดูกันค่ะว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง หากเจอผู้ที่สูบบุหรี่ในคอนโด
 
1. มองหาต้นตอของกลิ่นบุหรี่ว่ามาจากห้องไหน
กลิ่นและควันบุหรี่ จะพัดลอยมาตามลม ยิ่งอยู่อาคารชุดที่เป็นตึกสูง มีความเป็นไปได้ว่าควันอาจจะลอยมาจากหลายทิศทาง บางทีอาจจะลอยมาจากบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง (ในกรณีที่อยู่ชั้นล่างๆ) ซึ่งจะอยู่นอกพื้นที่ที่เราจะไปจัดการอะไรได้ และถ้าไม่รู้ที่มาก็ยากที่จะจัดการจริงๆ ค่ะ แต่ทั้งนี้ความเป็นไปได้จากห้องใกล้เคียงก็มีมากกว่า หากเราออกไปที่ระเบียงแล้วได้กลิ่นบุหรี่ ให้รีบมองหาว่ามาจากห้องใกล้เคียงห้องไหนก่อน เมื่อพบแล้วให้จำเลขที่ห้องยูนิตไว้ เพื่อนำไปร้องเรียนยังนิติได้ค่ะ
 
2. ร้องเรียนไปที่นิติ
นิติบุคคลของคอนโดมีหน้าที่จัดการปัญหาภายในคอนโด รวมถึงการเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคอนโด เราสามารถร้องเรียนไปที่นิติได้ว่า มีคนสูบบุหรี่ภายในห้องชุดตรงระเบียง ซึ่งเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากกลิ่นและควันบุหรี่เหล่านั้น บางคอนโดสามารถแจ้งได้โดยที่เราไม่ต้องสืบหาว่าใครสูบบุหรี่ ทางนิติก็จะหาทางแก้ปัญหาให้ด้วยการแปะป้ายห้ามสูบบุหรี่เพิ่มเติมตามโถงทางเดิน หรือพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งก็อาจจะยังแก้ปัญหาจากต้นตอไม่ได้ เพราะคนที่จะสูบก็ยังคงสูบ ไม่สนคำเตือนใดๆ แต่ถ้าหากเราทราบแน่ชัดว่าเป็นห้องไหน แล้วแจ้งกับทางนิติ ตามปกติแล้วนิติจะต้องจัดการให้ โดยการออกใบแจ้งเตือน หรือโทรไปเตือนห้องนั้นๆ บางคอนโดออกกฏให้เสียค่าปรับหากมีการละเมิดกฏ แต่ก็มีอีกหลายคอนโดที่นิติอ้างว่าตัวเองไม่มีอำนาจใดๆ ทำได้แค่แจ้งเตือน ก็จะกลายเป็นผลักภาระมาที่เราอีกที
 
3. ตักเตือนด้วยตัวเอง
หากเจรจากับทางนิติแล้วไม่เป็นผล เราสามารถไปตักเตือนด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องไปอย่างสันตินะคะ เพราะยังไงก็ถือว่าอยู่ร่วมกัน จะได้ไม่มีปัญหากันในภายหลัง อาจจะแจ้งว่าเราแพ้กลิ่นและควันบุหรี่ หรือบอกไปตรงๆ ว่ากลิ่นและควันบุหรี่นั้นทำให้เราเสียสุขภาพได้ หากรบกวนให้ไปสูบในพื้นที่จัดสูบขอคอนโดจะได้ไหม ? แน่นอนว่า ก็จะมีทั้งคนที่ฟัง และไม่ฟังเราเช่นกันค่ะ
 
4. หย่อนจดหมายขอความร่วมมือ
ถ้าหากไม่ต้องการปะทะหน้าโดยตรง เราสามารถหย่อนจดหมายขอความร่วมมือไปยังห้องยูนิตนั้นๆ ได้ค่ะ โดยแจ้งถึงกฏของคอนโดว่าห้ามสูบบุหรี่ แจ้งเรื่องผลกระทบที่เราได้รับจากการสูบบุหรี่ของเขา และขอความร่วมมือให้ไม่สูบที่ระเบียงอีก แต่ก็อย่างที่บอกไปในข้อ 1 ว่าเราต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนค่ะว่าเป็นห้องไหน เราถึงพอจะจัดการเรื่องนี้ได้ และหลังจากนั้นก็ให้รอดูว่าสิ่งที่เราแจ้งไปนั้นเป็นผลไหม
 
5. แจ้งความ
จริงอยู่ว่าการสูบบุหรี่ในคอนโดนั้นไม่ผิดกฏหมายในปัจจุบัน แต่เราสามารถแจ้งความในเรื่อง "เหตุรำคาญ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535" แทนได้ค่ะ ซึ่งจะเป็นกฏหมายที่คุ้มครองผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับความเดือดร้อนอันเป็นเหตุทำให้เสื่อมหรืออันตรายต่อสุขภาพ จาก กลิ่น แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น หรือกรณีอื่นๆ ทั้งนี้ทางผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าการสูบบุหรี่ดังกล่าวนั้นเป็น "เหตุรำคาญ" จริงๆ จึงจะสามารถแจ้งความได้ เช่น มีภาพ หรือวิดิโอที่เป็นหลักฐานว่ามีควันลอยเข้ามาที่ห้องเราจริงๆ หรือมีเศษก้นบุหรี่ร่วงลงมาที่ห้องเราแล้วเกิดเพลิงไหม้ สามารถแจ้งเหตุได้ที่หน่วยงานท้องถิ่น ถ้าเป็นในกรุงเทพ ก็แจ้งที่เขตได้เลยค่ะ โดยผู้ที่ก่อเหตุรำคาญนั้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็อย่างว่าแหละค่ะ เราจะมาถึงขั้นนี้กันได้ก็ต้องเกิดความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงไปแล้ว

 
จากข้อแนะนำที่ว่ามาทั้งหมดนี้ กับบางคนก็อาจจะใช้ได้ผล แต่ก็อาจจะมีอีกบางส่วนที่ไม่เป็นผล ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากตัวผู้สูบที่โนสนโนแคร์เพื่อนร่วมโลกใดๆ หรือทั้งจากนิติที่ทำเหมือนตัวเองไม่มีอำนาจ ไม่อยากมาแก้ปัญหาใดๆ ก็ได้แต่ภาวนาว่า ขอให้เราอย่าได้เจออะไรแบบนั้นเลย เพราะนอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่มีวิธีสันติใดๆ จะแก้ไขปัญหาได้อีกแล้วค่ะ ขอให้ผู้อยู่อาศัยในคอนโด ตัดสินใจให้ดีก่อนซื้อ ศึกษาถึงประวัตินิติบุคคลของแต่ละที่ไว้ ก็พอช่วยได้บ้าง ขอให้โชคดีค่ะ
 

 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ปัญหาคอนโด
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)