x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"5 ขั้นตอน" ปล่อยเช่าคอนโดรายวันผ่าน Airbnb ให้ไม่ผิดกฎหมาย

icon 16 พ.ย. 64 icon 98,108
"5 ขั้นตอน" ปล่อยเช่าคอนโดรายวันผ่าน Airbnb ให้ไม่ผิดกฎหมาย
 
หลายๆ คอนโดในเมืองไทยออกกฎไม่ให้มีการปล่อยเช่าคอนโดแบบ "รายวัน" หรือแบบ "รายสัปดาห์" กันมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าผิดกฎหมาย พรบ. โรงแรม วันนี้ CheckRaka.com พามาดูกันครับว่า ถ้าเรามีคอนโดแต่ยังปล่อยเช่า "รายเดือน" ไม่ได้ แต่ก็ยังอยากปล่อยเช่าให้มีรายได้เข้ามาดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ โดยอยากจะปล่อยเช่าแบบ "รายวัน" หรือ "รายสัปดาห์" แทน เราจะทำอย่างไร และแบบไหนที่จะไม่ผิดกฎหมาย

ผิดกฎหมายอะไรบ้าง...แล้วผิดจริงหรือ?

คอนโดส่วนใหญ่จะบอกว่าการปล่อยเช่าคอนโดรายวัน หรือรายสัปดาห์ ผิดกฎหมายโรงแรมบ้าง หรือผิดกฎหมายคอนโดบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ถูกต้องบ้าง ไม่ถูกต้องบ้าง เรามาดูกฎหมายกันรายตัวเลยครับ
 กฎหมาย เนื้อหา  สิ่งที่ห้ามหรือเงื่อนไขที่ต้องทำ 
  • พ.ร.บ. โรงแรม พ.ศ.2547 (มาตราที่ 4 และ 15)
 
  • ข้อ 1 กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551
คำว่า "โรงแรม" หมายถึงสถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือคนอื่นโดยมีค่าตอบแทน แต่มีข้อยกเว้น ต่อไปนี้ที่ถือว่าไม่เป็น "โรงแรม" คือ
(ก) การปล่อยเช่าแบบคิดค่าบริการเป็นรายเดือน (มาตรา 4 พรบ. โรงแรม)
(ข) สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 คน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดแล้ว (ข้อ 1 กฎกระทรวง)
  • ห้ามทำกิจการโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโรงแรม 
 
  • ถ้าไม่มีใบอนุญาตโรงแรม จะทำได้ก็ต่อเมื่อถ้ามีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักไม่เกิน 20 คน และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดแล้ว (รัฐมนตรีตามกฎตัวนี้คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
  • พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (มาตรา 38)
เจ้าบ้าน เจ้าของบ้าน หรือ ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้น
  • ถ้ามีผู้พัก (Guests) เป็นชาวต่างชาติ เราในฐานะเจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะต้องแจ้งเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชม นับแต่เวลาเข้าพัก
 
  • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
  • พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (มาตรา 8) 
เจ้าของโรงเรือนที่ปล่อยเช่าทรัพย์สินจะต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5% ของจำนวนเงินที่ห้องชุดนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่มีสิทธิประเมิน "จำนวนเงินรายปี" นี้ได้ว่าควรเป็นเท่าใดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 8 นี้
  • เจ้าของห้อง (Airbnb Host) รายวันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนเป็นจำนวนเท่ากับ 12.5% ของจำนวนเงินที่ห้องชุดนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ
 
  • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
  • ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก)
ผู้ให้เช่าทรัพย์สิน (รวมถึงคอนโด) ทุกกรณีทั้งแบบรายวัน และรายเดือน มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก)
  • เจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะต้องยื่นแสดงรายได้ และเสียภาษีเงินได้เนื่องจากเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้เช่าห้องคอนโด
  • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
  • พ.ร.บ. อาคารชุด (มาตรา 32 และ 33)
นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่จัดการ และดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด และตามมติของเจ้าของร่วม ซึ่งตาม พรบ นี้ข้อบังคับอาจรวมถึงกฎเกณฑ์ในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล (เช่นปล่อยเช่าห้อง) และทรัพย์ส่วนกลางได้ 
  • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
 
  • แต่เจ้าของร่วมสามารถเรียกประชุม และมีมติแก้ไข หรือใส่ใน "ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด" ได้ว่าห้ามมีการปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ เจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะไม่สามารถปล่อยเช่าห้องแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ได้
โดยสรุปเลยก็คือ ในบ้านเรายังมีความสับสนกันมากว่าการปล่อยเช่าคอนโดรายวัน หรือรายสัปดาห์ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งถ้าเรามานั่งอ่านตัวกฎหมายทั้งหมดข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีกฎหมายตัวเดียวที่ "ห้าม" คือ พ.ร.บ. โรงแรม แต่ตัว พ.ร.บ. โรงแรมเองก็มีข้อยกเว้น คือถ้าปล่อยเช่าห้องคอนโดไม่ถึง 4 ห้องในตึกเดียวกัน และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดแล้ว (กฎกระทรวง พ.ศ. 2551) ก็จะไม่ถือว่าผิดกฎหมายโรงแรมแต่อย่างใด เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการประกอบกิจการโรงแรม แต่ตรงนี้คือความไม่ชัดเจนของกฎหมายไทยเรา กล่าวคือ ถ้าเรามีห้องชุดไม่ถึง 4 ห้อง และอยากปล่อยเช่ารายวันโดยไม่ถือว่าผิดกฎหมายโรงแรม เราต้อง "แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด" แต่ประเด็นคือ ปัจจุบัน กระทรวงหมาดไทยเราไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ออกมาว่าต้องแจ้งยังไง ใช้เอกสารอะไร และขั้นตอนเป็นยังไง ทำให้ตรงนี้เกิด "สูญญากาศ" อยู่ และดังนั้น ถ้าตราบใดที่กระบวนการแจ้งตรงนี้ไม่มีความชัดเจน เจ้าของห้องคอนโดปล่อยเช่าไม่รู้จะแจ้งยังไง หรือแบบไหน การปล่อยเช่าห้องคอนโดแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ยังผิดกฎหมายตามมาตรา 4 พ.ร.บ. โรงแรมอยู่ต่อไป ไม่ว่าเราจะมีห้องพักมาก หรือน้อยกว่า 4 ห้องก็ตาม 

5 ขั้นตอน ปล่อยเช่าคอนโดรายวันหรือรายสัปดาห์ให้ไม่ผิดกฎหมาย

ที่นี้มาถึงคำถามง่ายๆ ครับ ถ้าเรา (บุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล) มีห้องคอนโด แล้วอยากปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือสัปดาห์ เราจะทำยังไง หรือต้องทำอะไรบ้าง ที่จะไม่ให้ผิดกฎหมาย หรือผิดกฎเกณฑ์ของคอนโด เรามาไล่ Checklist กันเป็นข้อๆ เลยครับ
  1. ขั้นแรกเลยครับ เช็คข้อบังคับอาคารชุดคอนโดเรา และมติเจ้าของร่วมคอนโดว่ามีข้อห้ามไม่ให้ปล่อยเช่าคอนโดแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์หรือไม่ ถ้าไม่มีข้อห้าม เราเดินหน้าต่อข้อ 2 เลยครับ แต่ถ้ามีข้อห้าม ก็ควรทำตาม และหยุดปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ทันทีครับ (หมายเหตุ การติดป้ายห้ามปล่อยเช่ารายวันในลิฟท์คอนโดอย่างที่ทำกันบ่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าข้อห้ามนั้นจะอยู่ในข้อบังคับ หรือเป็นมติจากเจ้าของร่วมนะครับ) 
  2. อย่าปล่อยเช่าเกิน 4 ห้องต่อ 1 ชื่อเจ้าของ และลองติดต่อกระทรวงมหาดไทยว่าถ้าเราต้องการทำเรื่องแจ้งตามข้อ 1 ของกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 เพื่อให้เข้าข้อยกเว้นว่าไม่เป็น "โรงแรม" เราต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วก็ทำตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทยนั้น
  3. ข้อบังคับนิติบุคคลคอนโดส่วนใหญ่กำหนดว่าห้ามให้บุคคลภายนอก (ที่มิใช่เจ้าของห้องชุด) เข้ามาใช้พื้นที่ส่วนกลาง ดังนั้น ผู้เช่าจึงควรไม่ให้คนเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เข้าใช้พื่นที่ส่วนกลาง ถ้าคนเช่าผิดตรงนี้ เจ้าของห้องคอนโดที่ปล่อยเช่าก็ต้องรับผิดชอบ
  4. คนให้เช่าจะมีรายได้จากการปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ ซึ่งรายได้นี้หากไม่ได้ Declare ให้กรมสรรพากร ก็ถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษี และผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงควรนำรายได้นี้เข้าระบบ และเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วย
  5. หากคนเข้าพักเป็นคนต่างชาติ เจ้าของห้องต้องแจ้งกองตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาเข้าพักด้วย
 

ข้อแนะนำที่จะทำให้ทุกฝ่าย win win

ต้องยอมรับว่าปัญหาการปล่อยห้องเช่า หรือคอนโดผ่าน Airbnb มีทั้งข้อดี (เช่น เป็นรายได้พิเศษให้เจ้าของห้อง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) และข้อไม่ดี (เช่น ความปลอดภัยสำหรับคนอื่นในคอนโด ความไม่แฟร์ในการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง) และถึงแม้ผู้ให้เช่าจะสามารถปล่อยเช่าแบบถูกกฎหมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าสังคมการอยู่คอนโดมิเนียมเป็นสังคมของการอยู่ร่วมกัน การปล่อยเช่ารายวันในอาคารแบบนี้ อาจมีผลกระทบกับคนอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกบ้านคนที่อยู่อาศัยจริงในคอนโดนั้น ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการปล่อยเช่านี้เลย หลายๆ ประเทศเห็นข้อดี และข้อเสียตรงนี้ จึงพยามที่จะออกกฎหมายมารองรับ เพราะเริ่มตระหนักว่าการที่จะห้าม (Ban) การปล่อยเช่ารายวัน หรือสัปดาห์ตรงๆ อาจไม่เป็นประโยชน์เท่ากับการดีไซน์กฎเกณฑ์ให้สามารถทำได้ภายในกรอบที่กำหนดในลักษณะที่จะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์แบบ Win-Win กับทุกฝ่าย เรามาดูกันครับว่า เราจะทำอะไรได้บ้างในเรื่องนี้
ผลกระทบต่อลูกบ้าน
ที่ไม่ได้ปล่อยเช่า
 ข้อเสนอแนะหรือหนทางลดปัญหา หากมีการให้ปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
ความสกปรก หรือความเสียหายต่อส่วนกลาง
  • ให้มีการเก็บเงินประกัน (Deposit) จากเจ้าของห้องที่ปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เพื่อเก็บไว้เป็นเงินประกันสำหรับซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง เหมือนเวลาที่นิติบุคคลเรียกเก็บเงินประกันจากเจ้าของห้องที่จ้างผู้รับเหมาเข้ามาปรับปรุง หรือซ่อมแซมห้องชุด
 
  • นิติบุคคลอาคารชุดออกกฎห้ามผู้เข้าพักรายวัน หรือรายสัปดาห์ใช้พื้นที่ส่วนกลางที่ไม่ใช่ทางเข้าออกทั้งหมด (ส่วนกลางที่ไม่ใช่ทางเข้าออกก็เช่น สระว่ายน้ำ ยิม ห้องสมุด เป็นต้น)
ความปลอดภัยต่อลูกบ้านคนอื่นๆ 
  • ให้มีการระบุในข้อบังคับอาคารชุดให้กำหนดจำนวนคนเข้าพัก (เช่น ห้องละไม่เกิน 2 คน เพื่อจำกัดจำนวนคน และเสียงดัง เป็นต้น) หรือเวลาเข้าพัก (เช่น ปล่อยเช่าได้เฉพาะเดือน เมษายน หรือธันวาคม สำหรับคอนโดในเมืองตากอากาศอย่าง พัทยา หรือหัวหิน เป็นต้น)
  • เวลาผู้เช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เข้าพัก ผู้ให้เช่าต้องบังคับให้ผู้เช่าลงทะเบียนการเข้าพักกับนิติบุคคล และส่งสำเนา Passport ให้นิติบุคคลเก็บไว้เป็น Record ทุกครั้ง
ความวุ่นวายต่อลูกบ้านคนอื่น หรือนิติบุคคล
  • เมื่อผู้ให้เช่ามีรายได้ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือความเสียหายต่อทรัพย์ส่วนกลาง หรือเจ้าของร่วมคนอื่นๆ และการมีรายได้นั้นก็เป็นการเพิ่มงานให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดด้วย (เช่น ต้องคอยนั่งลงทะเบียนแขกเข้าพักโดยเฉพาะพวกแขกต่างชาติที่เครื่องบินลงเที่ยงคืนแล้วมาเช็คอินตอนเช้ามืด) ดังนั้น ผู้ให้เช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์ควรต้องจ่าย "ค่าส่วนกลางในอัตราพิเศษ" หรือ "ค่าธรรมเนียมการปล่อยเช่า" ทั้งนี้เพื่อเป็นค่าเสียเวลา และเป็นรายได้ให้แก่ตัวคอนโด
บทสรุปทั้งหมดในเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่าปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นคือ ความไม่ชัดเจนของการออกกฎเกณฑ์ และการบังคับใช้กฎหมายไทยเราในเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าความเห็นของผู้เขียนข้างต้นนี้จะ "จุดประกาย" ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องออกมาสร้างกฎเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้ให้เป็นบรรทัดฐานสำหรับทุกคนเดินตามได้อย่างชัดเจน แต่ตราบใดที่ความไม่ชัดเจนยังคงมีอยู่ ผู้เขียนก็หวังว่า ข้อเสนอแบบ Win-Win ที่พูดถึงข้างต้นก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ "คนที่อยากปล่อยเช่า" และ "คนที่ได้รับการเดือดร้อนจากการปล่อยเช่า" ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขในตึกเดียวกัน และแฟร์ๆ กันทุกฝ่ายนะครับ
ช่วยกันกด Like หรือ Share นะครับถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์ หรือทุกคนมีความเห็นกันว่าอย่างไรก็คอมเมนต์กันมาได้เลยครับ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ปล่อยเช่าคอนโดรายวัน แอร์บีเอ็นบี airbnb ปล่อยเช่าคอนโด ปล่อยเช่าบ้านรายวัน ปล่อยเช่าคอนโดรายสัปดาห์ ปล่อยเช่าบ้านรายสัปดาห์ ปล่อยเช่าคอนโด airbnb
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)