x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ผู้กู้ร่วม : 10 เรื่องต้องรู้ก่อนเซ็นสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโด

icon 8 ธ.ค. 65 icon 117,334
ผู้กู้ร่วม : 10 เรื่องต้องรู้ก่อนเซ็นสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโด
ถ้าหากอยากได้บ้านหรือคอนโดเป็นของตัวเอง แต่ว่ามีรายได้ไม่สูงมากหรือมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ต้องผ่อนชำระ เช่น ผ่อนรถอยู่ หรือผ่อนคอนโดอีกหลังอยู่ "การกู้ร่วม" ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การยื่นขอกู้ผ่านได้ง่ายขึ้น แต่รายละเอียดการกู้ร่วมนั้นยุ่งยากหรือไม่? มีข้อกำหนดอะไรบ้าง CheckRaka.com มี 10 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเซ็นสัญญาเป็น "ผู้กู้ร่วม" มาฝากกันค่ะ

1. ประโยชน์ของการกู้ร่วม

การกู้ร่วมมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะทำเรื่องกู้สินเชื่อซื้อบ้านหรือคอนโดผ่านธนาคารค่ะ ถ้าหากว่าตัวผู้กูเองนั้นมีรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระในยอดที่กู้ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอยู่ หากยังต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดและเพื่อให้กู้ผ่านจึงจะต้องนำผู้อื่นมากู้ร่วมด้วย ซึ่งเมื่อนับรายได้รวมกันจะทำให้ตัวเลขรายได้สูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้กู้ร่วมด้วยนะคะว่ามีกำลังในการผ่อนชำระเพียงพอตามที่ธนาคารกำหนดไว้หรือไม่

2. ใครเป็นคนกู้ร่วมได้บ้าง?

โดยปกติแล้วผู้กู้ร่วมจะต้องมีสายโลหิตเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดังนี้
  • เป็นผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจเป็นสามี-ภรรยากัน เป็นพี่น้องกัน เป็นพ่อแม่กับลูก หรือเป็นญาติกันที่มีนามสกุลเดียวกัน
  • เป็นพี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
  • เป็นแฟนกันโดยที่ไม่ได้แต่งงาน เป็นพี่น้องร่วมสาบาน นับถือกันเป็นญาติพี่น้องไม่สามารถกู้ร่วมกันได้ค่ะ
แต่ในปัจจุบันการกู้ร่วมนั้นได้เปิดให้ คู่รักเพศเดียวกันกู้ด้วยกันได้แล้ว ถือเป็นก้าวที่สำคัญมากๆ สำหรับการให้ความเท่าเทียมในเรื่องของการดำเนินเอกสารทางด้านการเงิน ซึ่งมีธนาคารไหนให้กู้บ้างเช็คได้ที่บทความ >> รวมมาให้แล้ว 5 ธนาคารที่คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมด้วยกันได้

3. ถ้าคนกู้ร่วมเป็นสามีหรือภรรยา ต้องจดทะเบียนสมรสกันไหม?

โดยปกติแล้วการกู้ร่วมไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนสมรสกันจึงจะสามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ผู้ที่เป็นสามี-ภรรยากัน และจดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยแล้วสามารถกู้ร่วมกันได้ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี-ภรรยากันด้วย เช่น ภาพถ่ายงานแต่งงาน การ์ดแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร หรือมีบุตรร่วมกัน เป็นต้น

4. กู้ร่วมต่างจากค้ำประกันยังไง?

การกู้ร่วม 
  1. ผู้กู้ร่วมเป็นลูกหนี้ร่วมชั้นต้นเท่าๆ กัน
  2. ธนาคารคิดรายได้ของผู้กู้ร่วมมาประเมิน
  3. ธนาคารเรียกให้คนใดคนหนึ่งชำระก่อนก็ได้
การค้ำประกัน
  1. ผู้กู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นรอง
  2. ธนาคารไม่นำรายได้ของผู้ค้ำประกันมาประเมิน
  3. ธนาคารเรียกให้ผู้กู้ชำระก่อน ถ้าผู้กู้ไม่ชำระ ถึงเรียกร้องกับผู้ค้ำประกันต่อไป

5. ใครต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมบ้าง? เช่น ค่าจดจำนอง 

ผู้ที่มีชื่อในการกู้ร่วมกันต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆ ร่วมกันและเท่าๆ กัน เพราะถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันค่ะ ซึ่งรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างๆ มีดังนี้
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน
  • ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน
  • ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายให้กับธนาคาร
  • ค่าธรรมเนียมในการประเมินหลักทรัพย์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 - 6,000 บาท
  • ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 0.35% ของมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทประกันภัยรับประกัน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ธนาคารจะเรียกเก็บจากผู้กู้ เพื่อนำไปชำระให้กับกรมสรรพากร 

6. ความรับผิดของคนกู้ร่วมต่อธนาคารคืออะไร?

ผู้ที่กู้ร่วมกันหมายถึงการเป็นหนี้กันคนละครึ่ง ในทางกฎหมายลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชอบหนี้เป็นส่วนเท่าๆ กัน เช่น กู้มา 1 ล้านบาท เท่ากับเป็นหนี้คนละ 5 แสนบาท ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้ที่กู้ต่อธนาคารคือการชำระหนี้ให้ตรงและไม่ให้ขาด และต้องยอมรับในภาระหนี้ในกรณีที่ผู้กู้อีกคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เช่น กู้มา 1 ล้านบาท ผู้กู้คนแรกไม่จ่าย ธนาคารจะเรียกจากผู้กู้ร่วมคนใดคนหนึ่งก็ได้คนละ 1 ล้านบาท หรือรวมกัน 1 ล้านบาท และหากคนใดคนหนึ่งจ่ายให้ธนาคารไปแล้ว 1 ล้านบาท ก็ไปเรียกคืน 5 แสนจากอีกคนทีหลัง นี่คือเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการกู้ร่วมจึงควรเป็นญาติพี่น้อง หรือสามีภรรยากัน เพราะต้องช่วยกันผ่อนชำระไปจนภาระหนี้จะหมดค่ะ

7. ความรับผิดระหว่างคนกู้ด้วยกันเองคืออะไร?

ความรับผิดชอบของผู้กู้ร่วมแต่ละคนจะเป็นจำนวนเท่ากัน เช่น กู้ธนาคารร่วมกัน 2 คน เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ระหว่างผู้กู้ร่วมกันเองจะต้องรับผิดชอบกันคนละ 1 ล้านบาท ถ้าคนใดคนหนึ่งจ่ายไปเต็ม 2 ล้านบาท ก็สามารถไปเรียกจากอีกคนได้ครึ่งหนึ่ง (คือ 1 ล้านบาท)

8. การขอถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วมทำได้หรือไม่?

สามารถทำได้ค่ะ ขั้นตอนแรกธนาคารจะพิจารณาว่าผู้กู้ที่เหลืออยู่นั้นมีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ ถ้าหากว่าผ่อนมาหลายปีจนใกล้จะหมดแล้วการขอถอนชื่อนั้นก็ต้องตกลงกันก่อนว่าจะให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ที่ผ่อนชำระเพียงคนเดียวหรือไม่ แต่ถ้าหากเพิ่งเริ่มต้นผ่อนกันไปไม่กี่ปี ยังเหลือวงเงินที่ต้องผ่อนชำระอีกเยอะ และผู้กู้หลักมีรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระ ก็จำเป็นต้องหาผู้กู้ร่วมคนอื่นมาแทน ซึ่งก็จะต้องผ่านการพิจารณาจากธนาคารว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระ ถ้าหากไม่ผ่าน ธนาคารมีสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้

9. เมื่อผ่อนหมดแล้วกรรมสิทธิ์บ้านเป็นของใคร?

ถ้าหากว่าเรากู้คนเดียว เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้านหมด กรรมสิทธิ์ก็จะเป็นของผู้กู้ก็คือเราคนเดียว แต่ถ้าหากเป็นการกู้ร่วมจะมี 2 แบบค่ะ 
  1. ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลาที่กู้นั้นมีอีกคนหรือหลายคนมากู้ร่วม
  2. ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
โดยส่วนมากนั้นจะเป็นแบบข้อที่ 2 ก็คือผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ นั้นร่วมกัน แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งต้องการที่จะขายบ้านหรือคอนโดนั้นๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ "ทุกคน" ยินยอมด้วยเช่นกัน

10. ผู้กู้ร่วมเสียชีวิตทำยังไง?

ถ้าหากผู้ที่กู้ร่วมกับเราเสียชีวิต อย่างแรกที่เราต้องทำก็คือแจ้งให้ธนาคารทราบค่ะ เพราะถ้าหากเราไม่แจ้ง สัญญากู้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นก็จะมีแนวทาง 3 ทาง ดังนี้
  1. เมื่อเราแจ้งเรียบร้อยแล้ว ธนาคารก็จะเรียกให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิตเข้ามาลงชื่อเพื่อแสดงเจตนาที่จะรับสภาพหนี้ภายใน 1 ปี หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของทายาทที่จะรับช่วงต่อการผ่อนชำระต่อไป อย่างไรก็ตามทายาทนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และจะต้องผ่านการประเมินจากทางธนาคารว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ได้ในฐานะผู้กู้ร่วม ในส่วนของกรรมสิทธิ์ เมื่อทายาทเข้ามารับสภาพหนี้หรือมาผ่อนต่อแล้ว กรรมสิทธิ์นั้นก็จะตกทอดไปสู่ทายาท
  2. ถ้าหากทายาทของผู้เสียชีวิตยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้กู้ร่วมสามารถหาผู้กู้ร่วมรายใหม่มาช่วยผ่อนสินเชื่อบ้านต่อได้ค่ะ แต่ว่าจะต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน เมื่อแจ้งความประสงค์กับธนาคารแล้ว ก็จะมีการประเมินความสามารถในการผ่อนชำระต่อไป
  3. สุดท้ายถ้าผู้กู้ร่วมอีกฝ่ายมีความสามารถและยินยอมที่จะผ่อนชำระสินเชื่อในส่วนของตนเองและส่วนของผู้กู้ร่วมที่เสียชีวิตด้วย ก็สามารถทำได้แต่กรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นของทายาทของผู้เสียชีวิตค่ะ
สำหรับคู่รักที่เตรียมขยับขยาย มองหาเรือนหอเพื่ออยู่ร่วมกัน แสนสิริ ‘มีเช็คลิสต์ 6 ข้อ ในการเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดให้ถูกใจทั้งคู่’ มาแนะนำ ต้องเลือกอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจกู้ร่วมนะคะ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก http://bit.ly/3TuIFhx
หากสนใจเรื่องบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร? ไปต่อไม่ถูก ..เราขอแนะนำแหล่งบทความจากแสนสิริ ที่เปรียบเสมือนคู่มือสำหรับคนซื้อบ้านและลงทุนอสังหาฯ รวบรวมเรื่องต้องรู้ เคล็ดลับดีๆ ไอเดียต่างๆ ไว้ในที่เดียว คลิก http://bit.ly/3hrYt7b
แท็กที่เกี่ยวข้อง ซื้อคอนโด ซื้อบ้าน ผู้กู้ร่วม lgbtq กู้ร่วม กู้ร่วม กู้ร่วมคอนโด กู้ร่วมบ้าน
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)