x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"อนันดาฯ" พูดจริง ทำจริง! ปฏิวัติวงการอสังหาฯ รายแรก ประกาศตัวเป็น "Tech Company"

icon 27 มี.ค. 60 icon 5,686
"อนันดาฯ" พูดจริง ทำจริง! ปฏิวัติวงการอสังหาฯ รายแรก ประกาศตัวเป็น "Tech Company"

"อนันดาฯ" พูดจริง ทำจริง! ปฏิวัติวงการอสังหาฯ รายแรก ประกาศตัวเป็น "Tech Company" 

ในยุคที่การใช้ชีวิตได้ขยับเข้าใกล้เทคโนโลยีมากขึ้น อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ก็มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมือง เพื่อรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตยุคดิจิตอลแห่งอนาคต และได้ดำเนินการปรับโครงสร้างขับเคลื่อนบริษัทไปสู่การเป็น "Ananda Urban Tech" ที่นำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งหวังเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ความรวดเร็วสะดวกสบายของคนเมืองในด้านต่างๆ ซึ่งอนันดาฯ ก็ได้สนับสนุนและริเริ่มนวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆ ให้เห็นกันแล้วอย่างเป็นจริงเป็นจัง เรามาดูกันเลยค่ะว่าที่ผ่านมาอนันดาฯ ได้ริเริ่มทำอะไรไปแล้วบ้าง

1. ประกาศตัวจริงจังกับการเป็นผู้นำ Urban Tech ในวงการอสังหาฯ เมืองไทย



หากพูดถึงอนันดาฯ ก็ต้องนึกถึงผู้นำอสังหาริมทรัพย์ติดรถไฟฟ้า ที่มีความทันสมัย แต่ในปัจจุบันแค่ทันสมัยอาจจะยังไม่พอ สำหรับอนันดาฯ ต้องก้าวไปอีกขั้นจึงได้ปรับรูปแบบของธุรกิจนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาผสานในทุกองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ "Ananda Urban Tech" มาพร้อมกับเว็บไซต์ www.ananda.co.th/urbantech เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ทางบริษัท สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดตามได้เลยค่ะ รับรองว่าอีกไม่นานก็จะมีผลิตผลจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีจากอนันดามาให้เห็น และช่วยสร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ พร้อมยกระดับชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน

2. สร้าง Ananda Campus สำนักงานที่ชาญฉลาดที่สุดในเอเชียที่ตึก FYI

นอกจากปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจแล้ว อนันดาฯ ยัง ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานมีความพร้อมเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างองค์กรสู่ Tech Company อีกด้วย ภายใต้ชื่อ "Ananda Campus" ตั้งอยู่ที่อาคาร FYI Center ถนนพระราม 4 โดยเน้นให้องค์กรมีวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการประสานความร่วมมือกัน (Collaboration) มีพื้นที่สันทนาการ (Recreation) มุมพักผ่อนให้กับพนักงาน

โซนสันทนาการเหมาะกับการพักผ่อนและสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ
ขอบคุณภาพจาก
www.thumbsup.in.th

ใครอยากจะพักสมองก็นอนได้เต็มที่ ขอบคุณภาพจาก www.faunglada.com
Concept "ทุกที่คือที่ทำงาน" จะไม่มีโต๊ะประจำในการทำงานสามารถย้ายโต๊ะทำงานไปได้เรื่อยๆ  (Hot Desk) โดยจะต้องลงทะเบียนออนไลน์ (Smart Registration System) และเป็นบริษัทแรกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่ได้เริ่มใช้ Workplace by Facebook เพื่อให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว (Collaboration) และเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้กันและกันภายในบริษัท (Knowledge Sharing)

อยากนั่งตรงไหนก็สามารถจองโต๊ะในระบบได้เลย ขอบคุณภาพจาก www.thumbsup.in.th 
เรียกได้ว่าอนันดาฯ ได้สร้างสรรค์พื้นที่การทำงานให้เป็น Smart Office โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำ อาทิ Samsung, Cisco, Fujisu  และตั้งเป้าว่าสำนักงานนี้จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเติบโตของบริษัทได้ถึง 300% ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน ซึ่งถือเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานค่ะ

3. เริ่มความร่วมมือกับ Haup car (ฮ้อปคาร์) บริการ Car Sharing รายแรกของไทยที่คอนโดอนันดาฯ


ก้าวแรกของ "Ananda Urban Tech" ก็คือการร่วมมือกับ Startup อย่าง Haupcar ให้บริการรถเช่าแบบบริการตนเอง โดยการใช้รถร่วมกันผ่านทางสมาร์ทโฟน ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยระบบ car-sharing อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถขับรถหรือแบ่งปันรถยนต์ใช้ระหว่างกันได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองที่สะดวกสบายอย่างแท้จริง โดยเริ่มให้บริการในโครงการ ไอดีโอ คิว จุฬา-สามย่าน และ ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสท์เกสต์
ดีอย่างไร? 
  • ประหยัดพลังงานเป็นการแบ่งปันรถยนต์กันใช้
  • สามารถเช่ารถยนต์ตามจุดสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ
  • อำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านที่ไม่มีรถยนต์
ใช้อย่างไร?
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "Haupcar"
  • เลือกสถานที่ที่ใกล้/เลือกเวลาที่ต้องการใช้/ยืนยันการจอง
  • ใช้แอปฯ บัตรฮ้อปการ์ดในการเปิด/ปิดประตู 
  • นำรถไปใช้แล้วคืนรถที่จุดเดิม
ราคาเท่าไหร่?
  • คิดค่าบริการตามจริง โดยจองขับได้ตั้งแต่ 30 นาที ถึง 1 วัน 
  • ราคาจะรวมเอาน้ำมัน ประกัน และการดูแลรักษา ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก

4. พา 26 Blogger ไทย ชม Startup ที่ญี่ปุ่น

เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็น "Tech Company" รายแรกในวงการฯ อนันดาฯ พา Blogger จากสื่อออนไลน์ชั้นน้ำในเมืองไทย เช่น Checkraka, Marketeer, Unlockmen, DDproperty ไปไกลถึงประเทศญี่ปุ่นกันอีกครั้ง โดยมีธีมการเดินทางไปชื่อว่า "GEN-C Life in UrbanTech Era" พบกับทีม Startup และ Venture Capital (VC) ของประเทศญี่ปุ่น ดูเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราได้บุกไปเยี่ยมชมสถานที่ทำงานจริงและฟังการบรรยายพร้อมพูดคุยในเรื่องต่างๆ กับทีมงาน Startup ของที่นั่นอย่างใกล้ชิดกันอีกด้วย ซึ่งบรรดาเทคโนโลยีที่กำลังจะไปชมนี้ก็อาจจะมีการนำมาปรับใช้หรือผสมผสานเข้ามาใน platform ของอนันดาที่เป็นผู้นำในด้าน Urban Tech ของวงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยด้วยค่ะ


1. GaiaX : Sharing Economy
GaiaX เป็นบริษัทที่เน้นให้ทุกคนสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันได้ผ่านเทคโนโลยี ก่อตั้งมาประมาณ 18 ปีแล้ว และเป็นผู้นำเรื่อง "Sharing Economy" โดยเฉพาะการพัฒนาและลงทุนใน Platform ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถใช้และได้รับประโยชน์จากการ sharing ไม่ว่าจะเป็น resource ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ที่ทุกคนมี ที่เป็นผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเน้น sharing 3 แบบ คือ 1. Ride share 2. Meal share 3. Experience share 

ในครั้งนี้เราได้รับเกียรติอย่างสูงจาก CEO ของบริษัทเองมาพูดในหัวข้อ "Sharing Economy" ของประเทศญี่ปุ่นให้ชาว GEN-C ได้ฟังกันรวมไปถึงโครงการต่างๆ ที่ทาง GaiaX ได้เข้าไปร่วมลงทุนให้เงินสนันสนุนในบริษัท Startup ต่างๆ ที่ทำในเรื่องของ Sharing Economy เรียกได้ว่า GaiaX เองก็เป็น Venture Capital รายหนึ่งที่ให้ความสนใจใน Startup ที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
2. TABICA : Travel with Local Experts
TABICA เป็น Startup ประเภทบริการท่องเที่ยว คือให้บริการจัดทริปพานักท่องเที่ยวไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในต่างจังหวัดภายใน 1 วัน ที่มาของชื่อ TABICA มาจาก Tabi = trip และ Sumica = habitat ซึ่ง TABICA นี้ก็ถือเป็น venture project ของทาง GaiaX ที่ไปสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ 
อีกทั้ง TABICA ยังได้เป็น Partnership กับ TakeMeTour หรือ เว็บไซต์พาฉันเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย ทั้ง 2 นี้มีโมเดลเหมือนกันตรงที่เป็น Marketplace จับคู่ระหว่างนักท่องเที่ยวกับไกด์ท้องถิ่น มีประโยชน์กับทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ที่บางครั้งยังไม่รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง
3. Dverse : The Virtual Reality 
Dverse เป็น Startup ที่พัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของ Virtual Reality ในชื่อว่า SYMMETRY ก่อตั้งขึ้น ในปี 2014 โดยเริ่มมาจากปัญหาการออกแบบบ้าน ที่บางครั้งวาดออกมาแล้วไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง ไม่ถูกใจ SYMMETRY จึงได้ทำให้คนออกแบบกับคนต้องการบ้านเข้าใจตรงกัน ถือเป็น Startup ที่มีทีมงานที่มากด้วยความรู้และมากด้วยประสบการณ์ และยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม Virtual Reality ในประเทศญี่ปุ่นด้วย จากการที่ Dverse เป็นสมาชิกของ VR Consortium Japan และ The Virtual Reality Society of Japan ทำให้มีกลุ่มนักลงทุน VC หลายรายให้เงินสนับสนุนตลอดมา โดยในปัจจุบัน Dverse ได้รับเงินสนับสนุน (Funding) ไปแล้ว $1.16M จำนวน 2 รอบจากผู้ลงทุน (Investors) ทั้งหมด 8 รายด้วยกัน
4. Hoomano : ผู้ผลิต Software หุ่นยนต์อัจฉริยะ

Hoomanp Startup ขวัญใจของหลายๆ คน

หุ่นยนต์อัจฉริยะ Pepper 
เป็น Startup ที่เรียกได้ว่าเป็นขวัญใจของหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเขาเป็นเจ้าของผลงานหุ่นยนต์อัจฉริยะ Pepper อันโด่งดังนั่นเอง Hoomano มุ่งพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับหุ่นยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยซอฟต์แวร์ที่ทาง Hommano พัฒนาขึ้นมานั้นจะเป็นลักษณะ Interactive Intelligence เพื่อให้สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ในการช่วยเหลือและให้บริการต่างๆ ได้ 

หุ่นยนต์ที่ทาง Hoomano สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้ข้อมูล
เช่น เจ้าหุ่นยนต์ Aldebaran Nao ตัวแรกที่ทาง Softbank Robotics ได้ซื้อกิจการไป หรือจะเป็นเจ้าหุ่นยนต์ Pepper ที่เราเห็นอยู่ตามสนามบินในประเทศญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่ทาง Hoomano สร้างขึ้นมาทั้งนั้น หุ่นยนต์เหล่านี้นับว่าเป็นประโยชน์มากในเชิงธุรกิจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในห้างสรรพสินค้าได้ เช่น ลูกค้าถามถึงวิธีการใช้สินค้าหรือสรรพคุณบ่อยๆ ก็นำหุ่นยนต์ไปตั้งแทนมนุษย์ได้เลย
5. Crowd Realty : Peer to Property Funding Marketplace
Crowd Realty เป็น Startup ที่ให้บริการเกี่ยวกับ "Peer to Property Funding Marketplace" คือเป็น Crowdfunding Service ใหม่สำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และเงินกู้/หลักทรัพย์ หรือจะเรียกอีกอย่างว่าเป็น P2P (peer-to-peer) platform สำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ อธิบายง่ายๆ ก็คือใครอยากจะร่วมลงทุนให้เกิดโครงการบ้าน คอนโด อาคารเช่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก็มาร่วมลงทุนกันผ่าน Platform ของ Crowd Realty ได้เลย ซึ่งตัวบริษัท Crowd Realty เองก็ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ
6. Stay Japan : Home&Room Renting Services 

Hyakusen Renma หรือ Stay Japan บริการเช่าห้องพักและบ้านทั้งหลังในประเทศญี่ปุ่น 
Hyakusen renma หรือ Stay Japan เป็น Startup ประเภทบริการเช่าห้องพักและบ้านทั้งหลังในประเทศญี่ปุ่น คล้ายกับบริการของ Homeaway และ  Airbnb ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 นอกจากนั้น ทาง Hyakusen renma ก็มีบริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าพักในบ้านของชาวนาหรือชาวประมงเพื่อการท่องเที่ยวแบบศึกษาวิถีชีวิตในชนบทอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่ง Startup ประเภท Sharing Economy ที่ทาง GaiaX ได้เข้าไปลงทุนด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้ว Hyakusen renma ได้รับเงินสนับสนุน ไปแล้วถึง $14.97 ล้าน จำนวน 3 รอบจากผู้ลงทุน ทั้งหมด 5 รายด้วยกัน ในปี 2018 กฎหมายในญี่ปุ่นจะอนุญาตให้ปล่อยเช่าเหมือนโรงแรมได้
7. Mebiol : Film Farming ปลูกพืชบนฟิล์มก็ได้เหรอ?

นวัตกรรมการ
ปลูกต้นไม้ด้วยแผ่นฟิล์มใส
Mebiol เป็น Startup ที่น่าจับตาเป็นอย่างมากแถมยังได้รับเกียรติขึ้นพูดในงาน TEDxTokyo มาแล้ว จากความเจ๋งของนวัตกรรมที่ทาง Mebiol คิดค้นขึ้นมาเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ด้วยแผ่นฟิล์ม (Film Planting) ด้วยเทคโนโลยี Hydrogel Agriculture Technology จนเกิดเป็นแผ่นฟิล์มใสที่ชื่อว่า "Imec"

แผ่นฟิล์มหน้าตาคล้ายแผ่นพลาสติกใสนี้เองช่วยให้การทำฟาร์มในเมืองที่มีความแห้งแล้งหรือเป็นแห่งโรงงานต่างๆ ที่มีอุณหภูมิสูงอย่างในทะเลทรายและแม้กระทั่งบริเวณที่อยู่ใกล้ในเตาเผาขยะสามารถปลูกพืชทางการเกษตรได้

เติบโตเร็วภายใน 3 สัปดาห์
โรงแรม Kyoto Brighton ได้ทำการปลูกมะเขือเทศบนพื้นคอนกรีตในเรือนกระจกล้อมด้วยไม้ไผ่ของโรงแรมเพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารลดการสั่งมาจากที่อื่น โดยใช้ฟิล์ม Imec รากของพืชจะงอกลงบนฟิล์ม ไม่ต้องรดน้ำ เป็นวิธีที่เรียกว่า dryponic แตกต่างจาก hydroponic ที่ใช้น้ำเยอะ หรือล่าสุดฟาร์มทดลองในดูไบซึ่ง Imec ทำให้มีการใช้น้ำในปริมาณที่ต่ำและลดการใช้เครื่องปรับอากาศในการปลูกพืชไปได้มาก อีกทั้งยังเป็นหนทางการนำเข้าพืชผักที่มีราคาแพงและคาร์บอนสูงจากยุโรปได้ด้วย
จากการปรับแผนของอนันดาฯ ทำให้เราเห็นว่าอนันดาฯ มีความพร้อมและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีปรับเข้าใช้กับโครงการคอนโดมิเนียมที่โดดเด่นอยู่แล้วในเรื่องของติดรถไฟฟ้า ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่เข้ามาแวดวงธุรกิจ Startup และเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว ในอนาคตหากมีนวัตกรรมใหม่ๆ จากอนันดาฯ Checkraka.com ไม่พลาดที่จะนำข้อมูลดีๆ มาบอกต่อแน่นอนค่ะ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง อนันดา ananda ananda urbantech genc
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)