x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เจาะทำเลร้อน "สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน" Interchange แห่งใหม่ของคนกรุงฯ

icon 4 ก.ค. 59 icon 25,827
เจาะทำเลร้อน "สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน" Interchange แห่งใหม่ของคนกรุงฯ

เจาะทำเลร้อน "สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน" Interchange แห่งใหม่ของคนกรุงฯ

เรื่องน่ายินดีของคนกรุงฯ กับการมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-เตาปูน) ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยพร้อมเปิดใช้งานในช่วงเดือน ส.ค. 59 ทำให้วันนี้ทำเล "เตาปูน" ที่ตั้งของสถานีเชื่อมต่อ (Interchange) จากรถไฟฟ้าสายสีม่วงสู่รถไฟฟ้า MRT สถานีบางซื่อ (สายเฉลิมรัช) และอนาคตอันใกล้กับการมาถึงของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน (ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) ทำเลเตาปูนในตอนนี้จึงคึกคักร้อนแรง พร้อมสลัดภาพลักษณ์ย่านชานเมืองเข้าสู่การเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ (New CBD) ในระยะเวลาอันใกล้นี้แน่นอน CheckRaKa.com จะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับย่านเก่าแก่ที่วันนี้พร้อมปรับลุคเพื่อต้อนรับการเปลี่ยนแปลงเพราะรถไฟฟ้ามาถึง “สถานีเตาปูน” แล้วค่ะ

ทำความรู้จักกับทำเลเตาปูน

"พื้นเพเดิม" แยกเตาปูนถือเป็นอีกหนึ่งย่านที่มีพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่หนาแน่น ในช่วงสัก 30 ปีก่อน ตลาดเตาปูนนี่ถือว่าเป็นย่านค้าขายที่คึกคักมาก ทำเลค้าขายส่วนใหญ่จะเป็นทำเลที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนชอบ ย่านนี้เลยมีพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เยอะ กระจายตัวตั้งแต่ช่วงสะพาน 99 (ถนนประชาชื่น) ตลาดเตาปูน ยาวไปถึงย่านบางโพ และแน่นอนที่อยู่อาศัยยอดฮิตของแหล่งค้าขายก็เลยเป็นอาคารพาณิชย์ (ตึกแถว) แทบจะทั้งนั้น เรียกว่าเป็นย่านชุมชนเก่าแก่ที่คึกคัก มีครบทั้ง โรงพยาบาล คลินิก โรงเรียนดัง และที่สำคัญอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของกิน
"เริ่มเปลี่ยนแปลง" โฉมหน้าของย่านเตาปูนเพิ่งจะมาเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็เมื่อมีการเวนคืนที่ดินเพื่อเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เมื่อสัก 7-8 ปีหลังนี่เอง ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากนี้เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงเปิดใช้งานเต็มรูปแบบ ย่านนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วแน่ เพราะด้วยศักยภาพที่สถานีเตาปูนถูกวางให้เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสองสี (รถไฟฟ้าสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ และรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ) ในอนาคตอันใกล้ อีกสัก 3-4 ปี ย่านนี้น่าจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนคล้ายสองรุ่นพี่ทำเล Interchange ของรถไฟฟ้า อย่างย่านสยามสแควร์ และอโศกค่ะ

ที่อยู่อาศัยติดถนนทั้งฝั่งซ้าย-ขวา ของย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นตึกแถวเก่าแก่อายุเกิน 30 ปีทั้งนั้น

ตลาดเตาปูนเมื่อสัก 30 ปีก่อน นี่ถือว่าเป็นย่านการค้าขายที่คึกคักมาก

การมาถึงของรถไฟฟ้าเริ่มเปลี่ยนแปลงย่านเตาปูน เพราะฝั่งขาเข้าของถนนประชาราษฎร์สาย 2
ตึกแถวเก่าแก่ฝั่งนี้โดนเวนคืนเกือบทั้งแถบ เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน และเพราะสถานีนี้เป็น Interchange
ที่ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนสายรถไฟฟ้า สถานีเลยมีขนาดใหญ่โตและถูกสร้างครอบแยกเตาปูน 

แผนที่แสดงจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสองสายสีม่วงและสีน้ำเงิน รวมไปถึงส่วนต่อขยายสองจุดที่จะทยอยสร้างเสร็จในปี 2560
เมื่อแล้วเสร็จเตาปูนจะกลายเป็นศูนย์กลางในการเดินทางเข้า-ออกเมือง ที่คนจากฝั่งนนทบุรีจะเดินทางมาที่นี่
ด้วยรถไฟสายสีม่วง และคนจากฝั่งธนบุรีจะนั่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (คลิกชมภาพขนาดใหญ่)

แผนที่สถานที่สำคัญบริเวณรอบๆ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน สองฝั่งของถ.ประชาชื่น ถ.กรุงเทพ-นนท์ และถ.ประชาราษฏร์
สาย 1 และ 2 เต็มไปด้วยคอนโดเกิดใหม่ตามแนวรถไฟฟ้า มีหลายโครงการที่ยึดเอาสถานีเตาปูนเป็นจุดศูนย์กลาง
และใช้ชื่อห้อยท้ายว่า Interchange ตามลักษณะเด่นของสถานี แต่.. คอนโดที่ใกล้สุด ต้องยกให้ "ชีวาทัย Interchange" ไปครองค่ะ เพราะใกล้ในระดับที่ออกจากประตูโครงการก็เจอทางเข้ารถไฟฟ้ากันเลย (คลิกชมภาพขนาดใหญ่)

เดินทางไปชมทำเลรถไฟฟ้าสายสีม่วง "สถานีเตาปูน"

วันนี้ทีมงาน CheckRaKa.com เลือกใช้ทางด่วนศรีรัช วิ่งมาลงที่ถนนรัชดา ช่วงบริเวณแยกประชานุกูล แล้วขับรถเลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาชื่น วิ่งเลียบคลองประปาตรงไปตามถนน ผ่านทางรถไฟบางซ่อน แล้ววิ่งตรงต่อจนมาสุดทางที่สามแยกไฟแดงประชาชื่น แล้วเลี้ยวขวาก็จะเจอกับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน ทำเลที่เราจะไปชมกันค่ะ 

แผนที่การเดินทางจากแยกประชานุกูล-มายังสถานีรถไฟเตาปูน

วิ่งผ่านทางรถไฟบางซ่อน ตรงมาเกือบถึงสามแยกไฟแดงประชาชื่น
ริมถนนประชาชื่นฝั่งซ้ายมือมีทางเท้ากว้างขวางและจัดเป็นสวนยาวๆ เช้าๆ คนแถวนี้ก็จะเดิน วิ่ง กันตามทางเท้า
(ฝั่งซ้ายมือเป็นที่ตั้งของเทสโก้ โลตัส ประชาชื่นด้วยค่ะ)

ริมถนนแยกประชาชื่นฝั่งขวามือ ฟุตบาททางเท้ากว้างขวาง อาคารส่วนใหญ่เป็นตึกแถวค้าขายกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร
ลูกศรสีแดงเป็นทางเข้า-ออกฝั่งประชาชื่นของตลาดเตาปูน (ชื่อทางการตลาดสดมณีพิมาน)

สุดทางที่สามแยกไฟแดงประชาชื่น เราจะเห็นแนวรถไฟฟ้าอยู่ข้างหน้าชัดเจนค่ะ

ที่สามแยกประชาชื่นถ้าเลี้ยวซ้ายไป จะเป็นทางขึ้นสะพานไปซอยปูนซีเมนต์ไทยซึ่งจะเจอกับ MRT บางซื่อค่ะ

ส่วนเราจะเลี้ยวขวาที่สามแยกประชาชื่นเพื่อไปเตาปูนกันค่ะ
เลี้ยวขวามาแล้วก็จะเห็นสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนตั้งอยู่ข้างหน้าค่ะ

ก่อนถึงรถไฟฟ้าเตาปูน ซ้ายมือมีตลาดมารวยตั้งอยู่ติดถนนเลยค่ะ
ร้านข้างในส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร คนแถวนี้น่าจะฝากท้องได้สบายค่ะ

ตรงศูนย์อาหารมีลานกว้างสำหรับจอดรถ ซึ่งก็เป็นที่โล่งหลังสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนพอดี สถานีมีขนาดใหญ่ทีเดียวค่ะ

เดินออกมาจากลานจอดรถของศูนย์อาหารก็จะเจอกับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน
ตั้งคร่อมอยู่ตรงช่วงบริเวณแยกเตาปูนจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 และถนนกรุงเทพ-นนท์พอดิบพอดีค่ะ

ลองมาเดินดูบรรยากาศและทำเลแถวรถไฟฟ้าเตาปูนกันดูค่ะ เริ่มที่บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้ามองย้อนหลังกลับไปขวามือ
ทางสามแยกประชาชื่นที่เราขับรถผ่านมา ในภาพตรงที่ลูกศรชี้คือทางเข้าตลาดสดมณีพิมาน (ตลาดเตาปูน) อีกทางนึงค่ะ ส่วนริมถนนฝั่งตรงข้ามเป็นตึกแถวค้าขายมาตั้งแต่ดั้งเดิมค่ะ มีทั้งร้านข้าว ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านขายทอง ธนาคารกรุงเทพ

มองไปทางซ้ายมือด้านหน้าคือทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนประตู 4
ทางเข้าสถานีเป็นบันไดเลื่อนขึ้น-ลง กว้างขวางทีเดียวค่ะ

ด้านหลังทางเข้า-ออก มีทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็นค่ะ ตรงนี้ต้องขอชมเชยค่ะ
เพราะเท่าที่เดินสังเกตดู โดยรอบทุกประตูทางเข้าออก 4 ประตูของสถานีเตาปูนมีทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็นครบถ้วนค่ะ

เดินข้ามพื้นที่จอดแล้วจรสำหรับวนรถให้เข้ามาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารและขับออกไปทางแยกเตาปูน
บริเวณนี้
คือถนนช่วงจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์สาย 2 และถนนกรุงเทพ-นนท์ตรงแยกเตาปูนพอดีเลยค่ะ

ส่วนฝั่งซ้ายมือ มีเวิ้งที่ดินเป็นอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ติดทางเข้ารถไฟฟ้าเตาปูนเลยค่ะ
ส่วนตึกสูงสีฟ้าข้างหน้าคือคอนโดชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ ที่อยู่ติดรถไฟฟ้าเตาปูนแบบชนิดแค่รั้วกั้นเองค่ะ

เดินทะลุทางเดินมาก็จะเจอกลับทางเข้า-ออก รถไฟฟ้าเตาปูน ประตู 1 ค่ะ ซึ่งช่วงนี้ (มิ.ย. 59) 
เป็นช่วงที่เปิดให้คนที่ลงทะเบียนขอบัตรโดยสารทดลองนั่งรถไฟฟ้าค่ะ

เดินออกมาจากสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนมุ่งหน้าไปทางบางโพ เจอเข้ากับนี่เลย คอนโดชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์
ติดทางเข้า-ออกที่ 1 ของสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนแบบเดินนับก้าวได้เลย

ลองถ่ายแบบมุมกว้างให้เห็นชัดๆ ว่าโครงการฯ อยู่ติดรถไฟฟ้าสุดๆ วัดระยะทางเดิน
ด้วย Google Map จากโครงการชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ ถึงสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน คือ 130 เมตร เดิน 2 นาทีเท่านั้น

ถ้าใครชื่นชอบโครงการคอนโดแต่งครบ ติดรถไฟฟ้าเตาปูน ในแบบที่เดินใกล้มากๆ
 "ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์" คอนโด High Rise สูง 26 ชั้น 279 ยูนิต น่าจะเป็นคำตอบที่โอเคมากค่ะ

ดูจากแผนที่ในบริเวณใกล้เคียงของรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน จะเห็นว่าในตอนนี้ (มิ.ย. 2559)
โครงการ "ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์" เป็นคอนโดที่อยู่ติดรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน Interchange ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสีม่วงกับสีน้ำเงินมากที่สุดเลยค่ะ (
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)


เดินเลยคอนโดชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ เลียบถนนประชาราษฎร์ สาย 2 มุ่งหน้าไปทางแยกบางโพในระยะใกล้ๆ ดูกันค่ะ
บรรยากาศใกล้รถไฟฟ้าเตาปูนในช่วงนี้ก็จะเป็นอาคารพาณิชย์ติดถนนใหญ่อยู่หลายห้อง มีธนาคารออมสินตรงนี้ด้วยค่ะ

 มีร้านอาหารตามสั่ง ร้านเฟอร์นิเจอร์ และก็มีคอนโดขึ้นตลอดแนวรถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน 
ฟุตบาทบริเวณถนนช่วงนี้กว้างขวางเดินสะดวกดีค่ะ มีบ้างที่ต้องปรับปรุงพื้น น่าจะสวยงามขึ้นเมื่อการก่อสร้างเรียบร้อยค่ะ 

ข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามเพื่อเดินย้อนกลับไปดูบรรยากาศที่สามแยกเตาปูน และตลาดเตาปูนกันค่ะ
รถน้อยเลยลักไก่ข้ามถนนมาเก็บบรรยากาศตรงเกาะกลางถนน เพื่อถ่ายภาพให้เห็นบรรยากาศโดยรวม

ข้ามมาฝั่งตรงข้าม ส่วนใหญ่บ้านพักอาศัยยังเป็นอาคารพาณิชย์ที่เปิดทำการค้า อย่างร้านนี้ก็รีโนเวตจนร้านน่านั่งทีเดียว
ส่วนรั้วที่เห็นก็จะเป็นบ้านใหญ่มีบริเวณเนื้อที่ด้านในกว้างหน่อยของคนดั้งเดิมแถวย่านนี้ค่ะ

เดินมุ่งหน้าไปทางแยกเตาปูนกันต่อ มีร้านก๋วยเตี๋ยว "นิวลูกชิ้นปลานายใบ้" แบรนด์ลูกชิ้นนี้เก่าแก่ทีเดียวนะคะ

ข้างทางเป็นอาคารพาณิชย์เปิดให้บริการคลินิกและร้านขายยาโดยเภสัชกร

ด้านข้างร้านขายยาเป็นทางเข้า-ออกของเวิ้งที่ดินมีอาคารพาณิชย์ และอพาร์ตเมนต์อยู่ด้านในค่ะ

มองไปฝั่งตรงข้ามมีวินมอเตอร์ไซค์อยู่หน้าโครงการคอนโด ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ด้วยค่ะ ไว้โดยสารไปรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ เพื่อต่อรถเข้าเมืองในระหว่างที่รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย) ยังไม่เสร็จนะคะ 
สอบถามราคามาแล้ว 20 บาทค่ะ จากรถไฟฟ้าเตาปูน ไป MRT บางซื่อ ระยะทางประมาณ 1.3 กม.

เดินกลับมาถึงแยกเตาปูน ลองไปดูโดยรอบของถนนกรุงเทพ-นนท์  ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงกันดูบ้างค่ะ

มุมถนนนี้เป็นทางเข้า-ออก รถไฟฟ้าเตาปูนประตู 2 ค่ะ

ฝั่งตรงข้ามคือทางเข้า-ออกหลักของตลาดเตาปูน มี Coffee Shop อยู่หน้าทางเข้า-ออก
ติดกันกับทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้าใต้ดินเตาปูนพอดิบพอดี

ส่วนฝั่งขาออกถนนกรุงเทพ-นนท์ ฝั่งนี้ของกินอุดมสมบูรณ์ค่ะ มีร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นกอเต็กเชียง
ร้านข้าวหน้าเป็ด ก๋วยเตี๋ยวเป็ด นิวกิ๊ด กี่ ร้านเก่าแก่ของย่านตลาดเตาปูนค่ะ

หรือจะกินข้าวราดแกง กับข้าวต่างๆ ก็มีขายค่ะ

Seven-Eleven ต้องมีค่ะ

เก็บภาพบรรยากาศสองฝั่งถนนกรุงเทพ-นนท์มาให้ดู ก่อนจะพาข้ามถนนไปฝั่งตลาดเตาปูน
ลูกศรสีแดงด้านบนภาพคือที่เป็นตึกแถวก่อนทางเข้าตลาด เมื่อก่อนเคยเป็นร้านไอศกรีมชื่อดัง "ทิพรส" 
วันนี้ไม่มีแล้วค่ะ แอบได้ข่าวว่าเจ้าของตัดสินใจขายตึกแถวใหญ่กว่า 7-8 ห้อง ไปเรียบร้อยด้วยดีลราคาหลายสิบล้านบาท 

เดินเลียบถนนมาถึงทางเข้า-ออก หลักของตลาดเตาปูนค่ะ

ด้านหน้ามีร้านกาแฟ Taopoon Station Coffee

ติดทางเข้าตลาดคือทางเข้า-ออก ที่ 3 สถานีรถไฟฟ้าเตาปูนค่ะ

บรรยากาศภายในตลาดเตาปูน ตลาดมีขนาดใหญ่ มีครบทั้งของสด ของแห้ง ของชำ อาหารสำเร็จรูปค่ะ

อาคารกลางตลาด ที่ติดป้ายชื่อตลาดสดมณีพิมาน (ชื่อทางการของตลาดเตาปูน)
สมัยก่อนอาคารนี้เคยเป็นโรงภาพยนตร์แบบค่าตั๋ว 10-20 บาทนะคะ

โครงการในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในย่านเตาปูนและใกล้เคียง

นอกจากการมาของสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่พลิกโฉมย่านเตาปูนให้แปลกตาไปแล้ว การพัฒนาโครงการต่างๆ ในย่านนี้ยังมีอีกเยอะมากค่ะ เดี๋ยวเราจะลองไล่ให้ดู เพื่อนๆ จะได้มองเห็นภาพรวมของย่านเตาปูนในอนาคต ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อราศี New CBD จับย่านเตาปูนชัดเจนค่ะ

สถานที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในละแวกเตาปูนและใกล้เคียง (คลิกชมภาพขนาดใหญ่)
รถไฟฟ้า (ดูรูปประกอบด้านบน)
1) รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน (คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560) เมื่อสร้างเสร็จจิ๊กซอว์การเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าก็จะสมบูรณ์ สามารถขนถ่ายคนจากฝั่งนนทบุรีเข้าเมืองกันได้สะดวกสบายกว่าในตอนนี้ที่ขาดช่วงไปหนึ่งสถานี นั่งจากบางใหญ่มาสุดแค่ที่เตาปูนเท่านั้น
2) รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายด้านใต้ จากสถานีเตาปูนวิ่งตัดไปทางถนนเกียกกาย เริ่มที่สถานีแรกคือ อาคารรัฐสภาใหม่ (คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2562) 
3) รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต (คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561) ที่ถึงแม้จุดเปลี่ยนสายรถจะอยู่ที่สถานีบางซื่อ แต่ก็ถือว่าส่งผลต่อสถานีเตาปูนเช่นกัน เพราะคนจากฝั่งรังสิตที่อยากเดินทางไปฝั่งนนท์ด้วยรถไฟฟ้าสีม่วงก็ต้องมาเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีเตาปูน เรียกว่าเพิ่มความคับคั่งให้สถานีเตาปูนกันแน่นอน
4) รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน เหตุผลแบบเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มค่ะ ที่ถึงจะไม่ได้เชื่อมกันโดยตรงกับสถานีเตาปูน แต่เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อน เมื่อสร้างแล้วเสร็จก็จะขนคนจากฝั่งธนบุรีที่มีความต้องการเข้าเมืองให้มาเปลี่ยนสถานีไปใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง และมาเปลี่ยนขบวนไปสีน้ำเงินอีกครั้งที่สถานีเตาปูนค่ะ
โครงการจากภาครัฐและเอกชน
5) สถานีกลางบางซื่อ ที่ดินกว่า 1,170 ไร่ในแถบนี้มีแผนจะถูกพัฒนาให้กลายเป็น HUB แห่งใหม่ของศูนย์การเดินทางของรถระบบรางในอนาคต นอกจากสถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเปลี่ยนของรถไฟฟ้าแล้วยังเป็นสถานีจอดรถไฟความเร็วสูง และสถานีรถไฟหลักทุกสายทั่วประเทศไทย อนาคตบางซื่อจะกลายเป็น HUB ใหม่แทนสถานีรถไฟหัวลำโพง
นอกจากนี้
ยังมีแผนพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้แบบครบวงจร ด้วยการสร้างสวนสาธารณะ คอมเพล็กซ์มอลล์ และไม่พลาดขึ้นคอนโดที่อยู่อาศัยอีกหลายพันยูนิตค่ะ
6) สะพานเกียกกาย พร้อมถนนเชื่อมต่อขนาด 4-6 ช่องจราจร คือ สะพานข้ามแม่น้ำแห่งใหม่ที่ทางรัฐบาลมีมติให้สร้างแน่ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ลดความคับคั่งของปัญหาการจราจรบริเวณสะพานข้าม ทั้งกรุงธนฯและสะพานพระราม 7
7) อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ สร้างบริเวณ ณ พื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต
8) ตลาดเตาปูน ถูกซื้อขายเปลี่ยนมือไปแล้ว คิดว่าในอนาคตน่าจะถูกนักลงทุนพัฒนาที่ดินให้กลายเป็น Community Mall หรือคอนโด
9)  "The Market บางโพ" หลังจากเจ้าของลงทุนซื้อที่ดินห้างเก่าแก่ในย่าน อย่างบางลำภูบางโพที่ปิดตัวไปมาพลิกฟื้นและปรับปรุงให้กลายเป็น The Market บางโพ ปัจจุบันทางเจ้าของโครงการมีแผนการปรับปรุงแบบพลิกโฉม Community Mall ครั้งใหญ่ คาดว่าจะได้เห็นภาพลักษณ์ใหม่เร็วๆ นี้
10) Community Mall ริมแม่น้ำ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบางโพ สร้างบนที่ดินแปลงเดียวกับคอนโด 333 ที่ออกแบบพื้นที่แบบ Mix Use สร้างคอนโดพร้อม Community Mall ขึ้นมา คาดว่าน่าจะใช้ชื่อ "พรอมมานาด บางโพ" 

ภาพแทนของอาคารรัฐสภาแห่ง สร้างที่บริเวณแยกสามเสน (โรงเรียนโยธินบูรณะเก่า) เริ่มมีการก่อสร้างไปแล้ว
(เครดิตภาพ parliament.go.th)

ภาพแทนของสะพานเกียกาย สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ของไทย
(เครดิตภาพ prachachat.net )

สรุปวิเคราะห์ราคาที่ดินและโอกาสเติบโตของย่านเตาปูน

  • ราคาในอดีต สักช่วงปี 2554 คอนโดย่านตาปูนราคาเฉลี่ยตารางเมตรละประมาณ 66,360 - 7x,xxx บาท
  • ราคาในช่วงปี 2558 ราคาขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยตารางเมตรละประมาณ 88,000 - 12x,xxx บาทขึ้นไป
  • คาดการณ์ราคาในอนาคตประมาณปี 2562 ราคาน่าจะขึ้นต่อเนื่องไปได้ถึง 12x,xxx - 15x,xxx บาทขึ้นไป
    อ้างอิงราคาจาก (thansettakij.com)
ด้วยจุดเด่นของสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนที่เป็นสถานีจุดเชื่อมต่อ (Interchange) ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ (ประตูฝั่งตะวันตก) กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน Loop Line เส้นแรกของ กทม. ที่ขนส่งคนเข้าใจกลางเมืองได้เลยอย่างย่านอโศก เมื่อเปิดใช้งานจะนำมาซึ่งผู้คนจำนวนมหาศาลหลายหมื่นคนต่อวัน อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากโครงการต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีทั้งเริ่มก่อสร้างไปแล้ว และกำลังจะก่อสร้างอีก โดยเฉพาะคีย์สำคัญอย่างการพัฒนาของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าระบบรางต่างๆ หากทุกอย่างแล้วเสร็จก็ไม่น่าแปลกใจค่ะว่า ทำไมทำเลที่ยังมีพื้นที่ให้พัฒนาได้อีกเยอะอย่างเตาปูนจะมีศักยภาพ และสามารถเจริญเติบโตไปได้อีกไกล ซึ่งเราคาดการณ์ว่า ไม่น่าจะแพ้ทำเลสถานีรถไฟ้า Interchange รุ่นพี่อย่างสยามและอโศกทีเดียวค่ะ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)