ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รีวิว สระบุรี Unseen ไปกับ Isuzu MU-X The Iconic

icon 18 พ.ค. 61 icon 14,073
รีวิว สระบุรี Unseen ไปกับ Isuzu MU-X The Iconic
สระบุรี Unseen ไปกับ อีซูซุ มิวเอ็กซ์ ICONIC
ทริปการเดินทางท่องเที่ยวแบบครอบครัวเริ่มต้นกับเอสยูวีรุ่นล่าสุดที่สมบูรณ์แบบ Isuzu MU-X The Iconic (อีซูซุ มิวเอ็กซ์) จุดหมายแห่งการเดินทางไม่ไกล แต่น่าสนใจ จากสำนักงานใหญ่อีซูซุที่ บริษัท ตรีเพชรฯ บนถนนวิภาวดีฯ เรามุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรีที่หลายคนคุ้ยเคยและมักผ่านไปสู่ประตูอีสาน ทว่าความน่าสนใจที่มีประวัติศาสตร์ให้ค้นหาในสระบุรียังรอนักเดินทางมาพบพานและเก็บเกี่ยวเอาเรื่องราวไปบอกต่อ นี่คือการเดินทางในวันหยุดสบายๆ พร้อมครอบครัวไปกับเอสยูวียอดนิยมของเมืองไทย พร้อมสะท้อนเรื่องราวน่าสนใจให้ได้ติดตามกัน 

อีซูซุ มิวเอ็กซ์ THE ICONIC 3.0 ใหม่ ดูสวยด้วยชุดแต่งสปอร์ตเท่รอบคัน ล้ออัลลอยลาย ICONIC CROSS ขนาด 18 นิ้ว ภายในมีระบบความบันเทิงครบครัน พร้อมเนวิเกเตอร์และทีวีดิจิตอล พร้อมพาเราไปท่องเที่ยวกันโดยเป้าหมายทริปนี้อยู่ที่วัดแก่งคอย ซึ่งทราบมาว่ามีเรื่องราวมากมายให้ได้ค้นหาอย่างไม่น่าเชื่อ เรามาถึงสระบุรีในช่วงเย็นหลังออกจากกรุงเทพฯ มาในช่วงสาย ใช้ทางหลวงสายมิตรภาพ ขับกันเพลินๆ เพราะตัวรถให้ความนุ่มสบาย สมาชิกเด็กก็เพลินไปกับระบบเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่สามารถดูหนังผ่านจอทีวีที่ตำแหน่งเบาะแถวสองสะกดความซนได้ไปตลอดทาง เมื่อถึงสระบุรีเราพากันออกมาเดินท่องตลาดโต้รุ่งริมทางรถไฟที่เต็มไปด้วยสารพัดร้านอาหารอร่อยให้ได้ลิ้มลอง งานนี้อิ่มกันทั่วหน้า เราพากันเดินย่อยดูสีสัน วิถีชีวิตยามเย็นริมทางรถไฟสักพักก็เข้าที่พัก พร้อมเดินทางไปวัดในวันรุ่งขึ้น

ช่วงเช้าวันรุ่งขึ้นเราออกเดินทางไปทำบุญกันก่อนที่วัดแก่งขนุน ซึ่งด้านหลังวัดเป็นแม่น้ำป่าสัก ช่วงเช้ามีชาวบ้านผู้ศรัทธาเดินทางมาใส่บาตรและรอฟังธรรมกันอย่างหนาตา จนได้เวลาสมควรก็ออกเดินทางไปวัดแก่งคอย ที่แฝงตัวอยู่ในย่านชุมชนเก่าของแก่งคอย โดยเราใช้เส้นถนนบายพาสสระบุรีฝั่งตะวันออกแล้วตัดเข้าถนนสาย 3004 อดิเรกสาร ขับยาวๆ กับเส้นทางธรรมชาติไปเรื่อยๆ จนถึงแยกขวาไปสะพานอดิเรกสารวิ่งตรงไปจนเจอถนนสุดบรรทัด ทางหลวง 3188 แล้วเลี้ยวซ้ายไปสักพักก็เห็นทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ ภายในมีที่จอดรถกว้างขวาง Isuzu MU-X The Iconic ของเราก็ได้จอดในร่ม สมาชิกในรถก็พร้อมออกไปชื่นชมความงามและประวัติศาสตร์ของวัดกันแล้ว

วัดแก่งคอยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2330 โดยชาวบ้านได้ร่วมใจกันยกที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์เพื่ออุทิศถวายในบวรพุทธศาสนา วัดเดิมแห่งนี้ยังเป็นป่าทึบแนวป่าดงพญาเย็นตั้งแต่จังหวัดสระบุรีไปถึงจังหวัดนครราชสีมา มีความสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่มากมาย ผู้คนเข้ามาจับจองอาศัยทำมาหากินเป็นจำนวนมาก ความเจริญเริ่มมากขึ้นชื่อวัดก็เปลี่ยนแปลงมาตามยุคตามสมัย เดิมนามว่า วัดแก่งนางคอย ที่ตั้งของวัดแห่งนี้อยู่ติดกับแม่น้ำป่าสัก สมัยนั้นชาวบ้าน พ่อค้า ประชาชน ค้าขายหรือเดินเรือมักต่อแพไม้ไผ่เป็นพาหนะขนส่งสินค้า ขึ้นล่องไปมาตลอดด้านทิศตะวันออกของวัด ถ้าเจอแม่น้ำช่วงที่เป็นโขดหิน ร่องน้ำตื้น การเดินเรือและแพก็ไม่สะดวก ถ้าน้ำตื้นมาก พ่อค้าที่นำเรือผ่านมาเลยต้องคอย ทยอยนำเรือหรือแพขึ้นแก่งกันเป็นแรมเดือน

 
เมืองแก่งคอยในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาช้านาน เป็นสถานที่ตั้งของพระบวรราชวังสีทาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเมืองที่มีความสงบสุข จนถึง พ.ศ.2482 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือที่เรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ขอเดินทัพผ่านแดนไทย ซึ่งขณะนั้นเมืองแก่งคอยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและผ่านทางแม่น้ำป่าสักและทางบกโดยรถไฟ นับว่าเมืองแก่งคอยในขณะนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จึงมีกำลังทหารทั้งญี่ปุ่นและไทยมาตั้งค่ายเป็นจำนวนมากช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 เมษายน 2488 ฝ่ายตรงข้ามได้นำเครื่องบิน B24 ทิ้งระเบิดที่แก่งคอย ส่งผลให้สถานที่ราชการ ตลาด วัด บ้านเรือนประชาชน มีชาวแก่งคอยและญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้รวบรวมอัฐิของผู้เสียชีวิตไปไว้ที่อนุสาวรีย์ในบริเวณวัดแก่งคอย โดยเทศบาลเมืองแก่งคอยและประชาชนชาวแก่งคอยได้ร่วมพิธีรำลึกผู้ประสบภัยทางอากาศในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจัดงานในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน พวกเราเริ่มจากเข้าไปสักการะพระธาตุเจดีย์ศรีป่าสัก ที่โดดเด่นด้วยองค์พระธาตุสีขาวตั้งอยู่ด้านหลังวัดติดแม่นํ้าป่าสัก ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทั้งสี่ทิศและรอยพระพุทธบาทจำลอง พร้อมภาพจิตรกรรมพุทธประวัติอันงดงามที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้อย่างครบถ้วน


จากนั้นเดินไปกราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์นิมิตมงคลมุนีศรีแก่งคอย ที่วิหารสร้างใหม่ อยู่ทางขวาเจดีย์ถ้าหันหน้าเข้าแม่น้ำ และมาถึงไฮไลท์สำคัญที่สร้างความแปลกใจให้กับใครที่ไม่เคยมาที่นี่รวมทั้งเรา นั่นคือ "อนุสาวรีย์ผู้อพยพชาวญี่ปุ่นรุ่นเเรก" ซึ่งรายละเอียดความเป็นมาเราขอยกบทความส่วนหนึ่งของ อิชิอิ โยเนะโอะ และโยชิกาวะ โทชิฮารุ ที่เขียนถึงเรื่องราวของโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าของชาวนาญี่ปุ่นในสยาม อันเป็นที่มาของอนุสาวรีย์ผู้อพยพชาวญี่ปุ่นรุ่นเเรกไว้ในหนังสือความสัมพันธ์ไทย "ญี่ปุ่น 600 ปี" ดังนี้ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะระบายพลเมือง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะอพยพพลเมืองชาวญี่ปุ่นออกนอกประเทศ มีบริษัทต่างๆ เกิดขึ้นมามากมาย เพื่ออพยพชาวญี่ปุ่นที่มีประสงค์จะออกนอกประเทศให้สมความปรารถนา เช่น บริษัทคิชิสะการอพยพ และ สมาคมการอพยพ เป็นต้น บริษัทเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการอพยพชาวญี่ปุ่นไปยังประเทศต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่สยาม หรือก็คือ บริษัทอพยพญี่ปุ่น-สยาม




ผู้อพยพชาวญี่ปุ่นจำนวน 52 คน จากจังหวัดยามากุชิ ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894 ) เพื่อเดินทางมาตั้งรกรากทำการเกษตรในสยาม แต่ด้วยปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสัญญากับบริษัทผู้อพยพญี่ปุ่น- สยาม ทำให้บางคนที่พอมีเงินเหลือติดตัวอยู่บ้าง เลือกที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศสิงคโปร์ อีก 7 คนเดินทางไปเป็นกรรมกรก่อสร้างทางรถไฟสายโคราช และอีก 15 คนได้เดินทางไปภูขนองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นกรรมกร การทำเกษตรที่ตั้งใจไว้แต่แรกจึงถูกยกเลิกไปเวลาผ่านไปจนถึงเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น ชาวนาญี่ปุ่นที่ไปภูขนอง ได้เดินทางกลับกรุงเทพอย่างกะทันหัน จำนวน 4 คน โดยมีลักษณะ ผอมเเห้ง หน้าตาซูบซีด ท่าทางอ่อนเเรง ซึ่งพอถูกถามทั้งสี่คนก็เล่าสาเหตุให้ฟังว่า ทุกคนเป็นไข้ป่า (อาจเป็นไข้มาเลเรีย) บางคนก็ตาย บางคนที่เหลือกำลังนอนรอความตายอยู่เเม้บริษัท ผู้อพยพญี่ปุ่น-สยาม จะส่งคนไปช่วยเหลือ เเต่ก็สายเกินไป ทุกคนเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้เเล้ว และชาวนาญี่ปุ่นที่เดินทางกลับมากรุงเทพ 2 คน ก็ร่างกายทรุดโทรมลงมาก เเละเสียชีวิตในเวลาต่อมาจากโรคอหิวาต์

สาเหตุของโศกนาฏกรรมดังกล่าวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา โดยในช่วงเเรกนั้น มีข่าวลือว่าเกิดจากการกลั่นเเกล้งของ เอลี เดอเบส ผู้คุมเหมืองเเร่ชาวฝรั่งเศส เเต่เมื่อเดอเบสเเละผู้มีชีวิตรอดเข้าพบ นายอิชิบาชิ ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัท เเละได้พูดคุยกัน จึงได้ข้อสรุปของเหตุการณ์โดยแท้จริงแล้ว เดอเบสเป็นห่วงคนงานญี่ปุ่นในการรับประทานอาหาร เพราะชาวญี่ปุ่นมักกินอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ จึงได้เเบ่งอาหารจำพวกเนื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ให้เเก่กรรมกรชาวญี่ปุ่น เเต่ชาวญี่ปุ่นกลับไม่กิน เเละเอาไปเเลกเป็นเงินจากชาวบ้านเเทน ถึงอย่างนั้น เดอเบสก็ยังเเบ่งยาบำรุงให้คนงานชาวญี่ปุ่นกินเป็นประจำ เเต่ก็ยังเจ็บไข้อยู่เสมอ จนกระทั่งเดอเบสเดินทางมากรุงเทพ จึงได้ชักชวนชาวญี่ปุ่นให้มาด้วย เเต่ถูกปฏิเสธเพราะเสียดายค่าเดินทางอาจกล่าวได้ว่า ชาวนายากจนในยุคเมจิแต่ละคนนั้น คิดเเต่จะเก็บเงินท่าเดียว ถึงเเม้จะเพียงน้อยนิดก็ยังสะสมไว้เพื่อนำกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของตน ด้วยความคิดเช่นนี้ เเทนที่ผลจะสวยงามอย่างที่พวกเขาวาดฝันเอาไว้ เเต่กลับกลายเป็นสาเหตุหลัก ที่ส่งผลก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าสำหรับพวกเขาเเทนโศกนาฏกรรมนี้ส่งผลให้บริษัท ผู้อพยพญี่ปุ่น ?ช- สยาม ต้องปิดตัวลงไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เราสามารถระลึกถึงพวกเขาได้ โดยการหาโอกาสไปเยี่ยมเยียนอนุสาวรีย์ของพวกเขา คือ "อนุสาวรีย์ผู้อพยพชาวญี่ปุ่นรุ่นเเรก" ณ วัดเเก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นที่ที่พวกเขาเหล่านั้นทิ้งชีวิตเอาไว้
นับเป็นความคุ้มค่าที่เราได้มาเยือนวัดแก่งคอย พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่และได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และถ้าไม่ได้ขับมาด้วยอีซูซู มิวเอ็กซ์ THE ICONIC ใหม่ เราก็คงไม่คิดมาที่นี่เช่นกัน ในช่วงเย็นเราออกไปเดินสำรวจตลาดและถนนชุมชนละแวกวัด พร้อมหามื้อเย็นทานกันง่ายๆ จากนั้นก็อำลาแก่งคอย พร้อมมุ่งหน้ากลับกรุงเทพฯ ด้วยความประทับใจทั้งประสบการณ์วันนี้และความสบายตลอดการเดินทางใน Isuzu MU-X The Iconic

แท็กที่เกี่ยวข้อง isuzu อีซูซุ mu-x mu-x iconic มิวเอ็กซ์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)