ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป นำเสนอพันธกิจสนับสนุนการใช้พลังงานไฮโดรเจนภายในปี 2040 ที่งาน Hydrogen Wave Forum
กลุ่มบริษัท ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ได้ประกาศพันธกิจทางด้านพลังงานไฮโดรเจนและการใช้พลังงานไฮโดรเจนในภาพรวมที่งานสัมมนาออนไลน์ Hydrogen Wave โดยกลุ่มบริษัท ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ปได้นำเสนอแผน ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีจากไฮโดรเจน พร้อมทั้งประกาศสนับสนุนการใช้พลังงานไฮโดรเจนภายในปี 2040 ผ่านการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆและโซลูชันแห่งการขับเคลื่อนสำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและคมนาคมต่างๆ เพื่อเป็นการเน้นย้ำความตั้งใจที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนสำหรับการขับเคลื่อนทุกประเภท กลุ่มบริษัทได้เปิดเผยแผนที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนเกี่ยวกับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์พลังงานไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิงและรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รวมไปถึงการใช้งานระบบเซลส์เชื้อเพลิงต่างๆสำหรับรถยนต์ทุกๆรุ่นของกลุ่มภายในปี 2028 โดยกลยุทธ์นี้จะทำให้กลุ่มบริษัท ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ปกลายเป็นแนวหน้าในตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพื่อที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ไปสู่การใช้พลังงานที่สะอาดและยั่งยืนในอนาคต
งานสัมมนาออนไลน์ Hydrogen Wave เริ่มต้นด้วยการนำเสนอผ่านทางพรีเซนเทชั่นออนไลน์ นำโดย มร. ชอง ประธานกลุ่มฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป และกลุ่มผู้บริหารอาวุโส เพื่อนำเสนอแผนงานของกลุ่มบริษัทที่จะพูดถึง “คลื่นลูกใหม่” ของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีจากไฮโดรเจน ไม่ว่าจะเป็นระบบเซลส์เชื้อเพลิง รวมไปถึงโซลูชันแห่งการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนต่างๆ โดย กลุ่มบริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป มีความตั้งใจที่จะใช้เซลส์เชื้อเพลิงกับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ทุกรุ่นภายในปี 2028 ซึ่งจะเป็นกลุ่มบริษัทรถยนต์กลุ่มแรกในโลกที่ใช้ระบบพลังงานนี้กับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และยังช่วยขับเคลื่อนให้มุ่งไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต
"วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป คือต้องการที่จะใช้พลังงานไฮโดรเจนกับทุกด้านในชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน และโรงงาน เป้าหมายของเราคือจะทำให้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่พร้อมใช้งานสำหรับทุกคน ทุกสิ่ง และทุกที่" กล่าวโดย มร. ชอง ประธานกลุ่มฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ที่งานสัมนาออนไลน์ Hydrogen Wave "เราต้องการจะนำเสนอโซลูชันที่ใช้งานได้จริง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับผู้คน และต้องการสร้างสังคมการใช้งานไฮโดรเจนภายในปี 2040"
ฮุนได ทูซอน FCEV
หลังจากงานสัมมนาออนไลน์นี้ จะมีการจัดงานแสดงออฟไลน์ HydroVILLE ซี่งจะมีการแสดงแนวคิดและแนวทางการใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ๆภายในงาน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศักยภาพที่หลากหลายของพลังงานไฮโดรเจนสะอาด ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการใช้เซลส์เชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ สำหรับการขับเคลื่อนและระบบส่งกำลังในอนาคต นับตั้งแต่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิง (FCEV) ครั้งแรกในปี 1998, กลุ่มบริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ได้เตรียมตัวเพื่อการใช้พลังงานไฮโดรเจนมาโดยตลอด ในปี 2013, ฮุนได ทูซอน FCEV (ix35 Fuel Cell) ได้รับการเปิดตัวสู่ตลาดและเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตรถยนต์ FCEV สู่ตลาดหลัก และต่อมาในปี 2018, บริษัทได้เปิดตัว NEXO ซึ่งเป็น SUV ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นใหม่
ฮุนได NEXO
XCIENT Fuel Cell
และ XCIENT Fuel Cell รถบรรทุกไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิงเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่รุ่นแรกของโลกในปี 2020. กลุ่มบริษัทเชื่อว่าพลังงานไฮโดรเจนจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต และจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และกว่า 2 ทศวรรตของการเป็นแนวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิง กลุ่มบริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป จะขยายการใช้เทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงนี้ไปสู่การใช้งานในรูปแบบต่างๆที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Solution) ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้งานพลังงานในรูปแบบอื่นๆ อ้างอิงจาก Hydrogen Council ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยผู้บริหารของบริษัทด้านพลังงาน การขนส่ง อุตสาหกรรม และ การลงทุนระดับโลกนั้น ความต้องการของพลังงานไฮโดรเจนจะคิดเป็น 18% ของความต้องการด้านพลังงานระดับโลกภายในปี 2050 ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ความนิยมของพลังงานไฮโดรเจนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 6 พันลานตันในแต่ละปี และช่วยสร้างงานในตลาดแรงงานกว่า 30 ล้านตำแหน่ง
วิสัยทัศน์ด้านไฮโดนเจนในปี 2040 – เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยการเปลี่ยนแปลงด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านพลังงาน (Energy Paradigm Shift)
วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป คือ ภายในปี 2040 นั้น พลังงานไฮโดรเจนนั้นจะถูกนำไปใช้งานในหลายๆภาคส่วนและอุตสาหกรรม จะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ด้านการขนส่งเพียงอย่างเดียว ทางกลุ่มบริษัทมีความตั้งใจที่จะทำให้พลังงานไฮโดนเจนนั้นสามารถเข้าถึงได้โดย "ทุกคน ทุกสิ่ง และ ทุกที่" ระหว่างการสัมมนาออนไลน์ Hydrogen Wave, ทางกลุ่มบริษัทได้แบ่งปันแผนงานเพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผ่านทางการใช้พลังงานไฮโดรเจน เริ่มจากกลุ่มยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า อีกทั้งยังต้องใช้ระยะทางในการขนส่งมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มยานพาหนะส่วนบุคคล ทางกลุ่มบริษัทจึงมีแผนจะเปิดตัวรถยนต์เพื่อการพาณิชย์รุ่นใหม่สำหรับตลาดโลก ทั้งรถประจำทางและรถบรรทุกขนาดใหญ่ซึ่งจะมาในรูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิง (FCEV) และรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) ภายในปี 2028 กลุ่มบริษัทตั้งใจจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงในรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ทุกรุ่น
กลุ่มบริษัทได้เริ่มต้นการผลิต XCIENT Fuel Cell รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่พลังงานเซลส์เชื้อเพลิงคันแรกของโลกที่ได้เริ่มสายการผลิตอย่างเป็นทางการ และยังได้มีการพัฒนารถแทรกเตอร์ที่พัฒนามาจาก XCIENT Fuel Cell ซึ่งจะพร้อมเปิดตัวในปี 2023
โดยระหว่างการสัมมนาออนไลน์ Hydrogen Wave ในครั้งนี้ ทางบริษัทได้เปิดเผยแนวคิด Trailer Drone ซึ่งเป็นระบบการขนส่งสินค้าด้วยพลังงานไฮโดรเจน ซึ่ง มาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับ และระบบ e-Bogie configuration กลุ่มบริษัทยังมีแผนจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศเกาหลีใต้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยรถยนต์เพื่อการพาณิชย์พลังงานไฮโดรเจนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมานี้ และหวังจะให้เป็นตัวอย่างสำหรับประเทศอื่นๆในโลกด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ทางกลุ่มบริษัทยังมีแผนที่จะรุกตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบในตลาดโลก ด้วยเทคโนโลยีพลังงานเซลส์เชื้อเพลิง ซึ่งรวมไปถึงประเทศในแถบยุโรปที่ปัจจุบันนี้มีการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ใหม่กว่า 400,000 คันในแต่ละปี โดยทางบริษัทจะพัฒนายานพาหนะใช้งานแบบเฉพาะพลังงานเซลส์เชื้อเพลิง (Purpose Built Vehicle) ขนาด 5 – 7 เมตร เพื่อตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยตั้งเป้าการขายไว้ที่ 7 ล้านคันต่อไปภายในปี 2030 เทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงจะถูกนำมาใช้งานไม่ใช่แค่กับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อย่าง NEXO SUV, Elec City Bus และ รถบรรทุก XCIENT Fuel Cell เท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพที่จะนำพัฒนาต่อเพื่อการใช้งานอย่างหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรถยนต์สมรรถนะสูง, หุ่นยนต์, เครื่องบิน หรือ เรือขนาดใหญ่ ภายในปี 2040 และด้วยศักยภาพเล่านี้ ทางกลุ่มบริษัทมีแผนจะขยายแนวทางการใช้งานเทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงไปในทุกๆภาคส่วนของพลังงานไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าสำหรับอาคาร ที่พักอาศัย หรือแม้แต่โรงไฟฟ้า
กลุ่มบริษัทมีแผนที่จะแนะนำเทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นใหม่สู่ตลาดในปี 2023 ซึ่งจะมีราคาที่ลดลงและมีความทนทานและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทีมงานวิศวกรรมของบริษัทสามารถพัฒนาและช่วยลดต้นทุนให้กับเทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงได้อย่างมาก และเพื่อที่จะให้ผลิตภัณฑ์สามารถทำราคาได้ ทางบริษัทมีแผนที่จะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิง (FCEV) สามารถเทียบเคียงได้กับกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) ภายในปี 2030 กลุ่มบริษัทจะสามารถเข้าถึงการประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scales ของการผลิตเทคโนโลยีไฮโดรเจนได้ด้วยการพัฒนาด้านนวัตกรรมของเทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐและเอกชนจากหลายๆภาคส่วน
ระบบเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นถัดไป
ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ดำเนินการหาวิธีที่จะทำให้ต้นทุนของเซลส์เชื้อเพลิงนั้นลดลง ในกระบวนการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในด้านงานวิจัยและพัฒนาของเรา และกลุ่มบริษัทพร้อมที่จะแสดงผลลัพธ์ให้โลกได้เห็น ในงานสัมมนา Hydrogen Wave นี้ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป นั้นได้แนะนำ ระบบเซลส์เชื้อเพลิงกลุ่มหนึ่ง ประกอบไปด้วย ตัวต้นแบบของระบบอนุกรมเซลส์เชื้อเพลิงรุ่นที่ 3 ที่มอบพลังงานที่สูงกว่า มีประสิทธิภาพและเหมาะกับระบบของ NEXO มากที่สุด กลุ่มบริษัทได้มีการวางแผนที่จะแนะนำระบบนี้สู่ตลาดในปี 2023
ระบบเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 3
ปัจจุบันได้มีการพัฒนา อนุกรมเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 3 ซึ่งดีกว่าอนุกรมของ NEXO ในปัจจุบัน และในวาระนี้ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ได้แสดงอนุกรมเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 3 ถึง 2 แบบด้วยกัน ประกอบไปด้วย แบบ 100 กิโลวัตต์ และ 200 กิโลวัตต์ สำหรับขนาดของอนุกรม 100 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นการลดขนาดลงถึง 30% ซึ่งเป็นขนาดเพียง 70% หากเทียบกับขนาดอนุกรมตัวปัจจุบัน ขนาดที่เล็กลงนี้ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งในพาหนะหลายประเภทและใช้งานได้หลากหลาย สำหรับแบบ 200 กิโลวัตต์นั้นถูกออกแบบเพื่อพาหนะเพื่อการพาณิชย์ซึ่งขนาดและการใช้งานเหมือนกับระบบของ NEXO ปัจจุบัน แต่มอบกำลังสูงสุดมากกว่าเป็นเท่าตัว
สำหรับอนุกรมเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 2 ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปในปี 2018 บริษัทมีการใช้งานได้ถึง 5,000 ชั่วโมง และ 160,000 กิโลเมตร คล้ายกับการรับประกันคุณภาพรถยนต์สันดาป การพัฒนาเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 3 นั้น กลุ่มบริษัทมีเป้าหมายในการเพิ่มความทนทาน 50% – 100% และระยะการขับขี่ได้ถึง 500,000 กิโลเมตรสำหรับอนุกรมของพาหนะเพื่อการพาณิชย์ มากไปกว่านั้นราคาของเซลส์เชื้อเพลิงเจเนอเรชั่นที่ 3 นี้จะลดลงอย่างมาก หากเทียบกับการประเมินก่อนหน้านี้ที่ราคาดูจะพุ่งสูงขึ้นถึง 50 % การทำราคาให้ลดลงนั้นเป็นปัจจัยหลักเพื่อให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิงเท่าเทียมกับรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ในปี 2030
ด้วยความยืดหยุ่นและการะประกอบของโมดูลนั้น ระบบของเจเนอเรชั่นที่ 3 สามารถนำไปใช้ได้หลายแบบ โมดูลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใหม่ (new ‘Power Unit Module’) ให้กำลังตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์จนถึง 1 เมกะวัตต์ ใช้เพียงอนุกรม 100 กิโลวัตต์ เหมาะสำหรับการใช้เป็นระบบพลังงานฉุกเฉินสำหรับ เรือขนาดใหญ่ หรือ กลุ่มบริษัทด้าน IT
และในงานสัมมนาครั้งนี้ยังได้มีการเปิดตัวนวัตกรรมเซลส์เชื้อเพลิงแบบระบบ ‘Full-flat’ เป็นการลดสัดส่วนความสูงของอนุกรมให้มีความสูงเหลือเพียง 25 เซนติเมตร ทำให้สามารถใช้ได้กับประเภทพาหนะที่หลากหลายมากขึ้น เข่น พาหนะใช้งานแบบเฉพาะ (Purpose Built Vehicle) พาหนะแบบเอนกประสงค์ (Multi-purposed Vehicle) รถบัส ที่สามารถติดตั้งได้ไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตัวพาหนะ
อนาคตของระบบการขับเคลื่อนแบบไฮโดรเจน
ในงานสัมมนา Hydrogen Wave นี้ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ปแสดงถึงวิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนผ่านการใช้งานของพาหนะต่างๆ เช่น ระบบพาหนะช่วยเหลือฉุกเฉิน ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมถึงรถยนต์สปอร์ตสมรรถนะสูง การผลิต การจัดเก็บและ ความสะดวกสบายในการการคมนาคมขนส่ง นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การใช้เทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงแพร่หลายมากขึ้น ภายใต้บริษัท ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป แบรนด์ HTWO นั้นได้รับมอบหมายในการดูแลด้านพลังงานเซลส์เชื้อเพลิง และฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ยังได้มีการเปิดเผยนวัตกรรมที่เป็นแนวความคิดใหม่ อุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
เทรลเลอร์โดรน (Trailer Drone)
แนวคิดของเทรลเลอร์โดรน (Trailer Drone) คือระบบการขนส่งสินค้ามาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับ ซึ่งถังบรรจุพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ใช้ในระบบเทรลเลอร์โดรนนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างดีและตอบสนองการขนส่งได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้การขนส่งด้วย Trailer Drone นี้สามารถทำได้ระยะทางได้ถึง 1,000 กม. ต่อการชาร์จพลังงานเพียง 1 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบขนส่งตู้สินค้าในปัจจุบัน การทำงานแบบอัตโนมัติของเทรลเลอร์โดรนนั้นไม่ได้สำเร็จเพียงเพราะการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีพัฒนาจากรถยนต์แบบส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ด้วยลักษณะพิเศษบางอย่างของระบบการขนส่งและการทำงานของแต่ละส่วนของคอนเทนเนอร์ นั้นทำให้ทีมวิศวกรจาก ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ทำงานในเรื่องการจำกัดความใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของระบบขนส่ง ด้วยเหตุนี้ทีมวิศวกรได้มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า เซลส์เชื้อเพลิงแบบ Fuel Cell e-Bogie ขึ้นมา
Fuel Cell e-Bogie
คำว่า bogie นั้นมาจากอุตสาหกรรมรถไฟ ตัวฐานล้อรถไฟอยู่ด้านล่างของตัวรถไฟ เช่นเดียวกับ Fuel Cell e-Bogie เองก็อยู่ตำแหน่งด้านล่างของคอนเทนเนอร์ และใช้พลังงานขับเคลื่อนของเซลส์เชื้อเพลิงพร้อมกับการขับเคลื่อนสี่ล้อแบบอิสระ แนวคิดของเทรลเลอร์โดรนนั้นต้องการ fuel cell e-Bogies 2 โบกี้ ทำให้มีสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางไปด้านข้างได้หากเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เทรลเลอร์โดรนนั้นเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติซึ่งเหมาะกับการทำงานแถวแนวชายฝั่งหรือสภาพแวดล้อมแบบในเมือง และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยโหมดการทำงาน Cluster ซึ่งระบบที่ให้เทรลเลอร์โดรนหลายตัวเดินทางพร้อมกันได้ในลักษณะเหมือนรถไฟ
Fuel Cell e-Bogie นั้นไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะสำหรับเทรลเลอร์โดรนเท่านั้นแต่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น ระบบขนส่ง การก่อสร้าง งานดับเพลิง หรือภารกิจช่วยเหลือหากมีเหตุประสบภัย เทคโนโลยีนี้สามาถใช้งานได้บนหลายแพลตฟอร์มและหลากหลายจุดประสงค์ รวมถึงการทำงานที่ไม่ปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
Vision FK
เทคโนโลยีเซลส์เชื้อเพลิงนั้นเท่าเทียมกับพาหนะของรถยนต์สมรรถนะสูง ทาง กลุ่มบริษัทนั้นได้แสดงแนวคิด รถสปอร์ตแบบไฮบริดทีใช้เซลส์เชื้อเพลิงเรียกว่า FK พาหนะนี้สามารถมอบกำลังไฟสูงสุด 500 กิโลวัตต์ และสามารถเร่งความเร็วจากความเร็ว 0 ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 4 วินาที การผสมผสานกันระหว่างการทำงานของระบบเซลส์เชื้อเพลิงกับพาหนะขับเคลื่อนล้อหลังสมรรถนะสูงแบบ plug-in นั้นทำให้ FK สามารถทำระยะทางได้มากกว่า 600 กิโลเมตร
โดรนช่วยเหลือ
โดรนสำหรับการช่วยเหลือเป็นแนวคิดของการขับเคลื่อนใหม่ที่มีส่วนผสมของ Fuel Cell e-Bogie และพัฒนาให้เป็นการผลิตโดรนบินที่สามารถปฏิบัติงานได้เองโดยอัตโนมัติหากเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น การช่วยนักดับเพลิง หรือ กลุ่มกู้ภัย การทำงานของโดรนช่วยเหลือนี้สามารถขับเคลื่อนได้เองหากเจอทางที่มีความลดเลี้ยวและซับซ้อน โดรนช่วยเหลือนี้ยังสามารถส่งภาพภายนอกรถยนต์ได้หากตั้งโดรนไว้ภายนอกตัวรถยนต์ และสามารถใช้งานระยะทางวิ่งได้ไกล 450 ถึง 500 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
H Moving Station
H Moving Station เป็นพาหนะที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิง สถานีสำหรับการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเคลื่อนที่นี้นั้นมอบความสะดวกสบายและพร้อมไปด้วยตัวเลือกสำหรับการชาร์จมากมายเหมาะสำหรับพื้นที่ที่หาแหล่งการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้ไม่มากนัก
RHGV (Rescue Hydrogen Generator Vehicle)
พาหนะที่ผลิตไฮโดรเจนแบบฉุกเฉินนี้เป็นตัวช่วยหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือเหมาะสำหรับสถานที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่ชาร์จพลังงานไฟฟ้าเคลื่อนที่นี้จ่ายพลังงานเป็น single-phase 220 โวลต์ และ 3-phase 380 โวลต์
อนาคตของเชื้อเพลิงไฮโดรเจน : พลังงานใหม่สำหรับสังคมยุคใหม่
หากพูดถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของสังคมโลกนี้ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป จะยังคงพัฒนาระบบการขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนอย่างต่อเนื่อง เราจะขยายระบบการผลิตเซลส์เชื้อเพลิง พร้อมกับสร้างรากฐานเพื่อสังคมการใช้พลังงานไฮโดรเจนระดับโลก "ความถี่และความรุนแรงจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเหมือนสัญญาณที่เตือนอันตรายต่อมนุษยชาติ" ประธาน มร. ชอง กล่าวใน the global online forum "ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป มองหาตัวเลือกที่มีพละกำลังและโซลูชั่นที่เราสามารถทำได้จริงเพื่อที่จะต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนผ่านการใช้พลังงานไฮโดรเจนที่มีประโยชน์อย่างมากมาย"
งานแสดง HydroVILLE
หลังจากงานสัมมนา Hydrogen Wave วันนี้แล้ว ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป วางแผนที่จะเปิดเผยแผนการสำหรับพลังงานไฮโดรเจนและสังคมพลังงานไฮโดรเจนขึ้น นั่นคืองานแสดง “หมู่บ้านไฮโดรเจน (Hydrogen Village)” หรือ “HydroVILLE” ในวันที่ 8-11 กันยายน 2021 นี้ ที่เมืองโกยาง ประเทศเกาหลีใต้
แรงบันดาลใจของงานแสดงนี้มาจากพลังงานไฮโดนเจนสะอาด ซึ่ง HydroVILLE จะถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วน เพื่อจำลองภาพของสังคมพลังงานไฮโดรเจนในอนาคต พื้นที่งานแสดงจะมีการแสดงแนวคิดของเซลส์เชื้อเพลิงสำหรับการขับเคลื่อนและพลังงานแห่งอนาคตถึง 18 รุ่น จากบริษัทในเครือของ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ประกอบไปด้วย ฮุนได มอเตอร์, เกีย, ฮุนได โมบิส, ฮุนโรเตม, ฮุนได สตีล, ฮุนได เวีย และ ฮุนได เคฟิโค