สาวกมีเฮ! Subaru ตั้งโรงงานในไทยแล้วประเดิมรถ SUV Forester รุ่นแรก
ตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ ซูบารุ เปิดโรงงานประกอบรถยนต์อย่างเป็นทางการแห่งแรกประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ซึ่งมีพื้นที่รวมมากกว่า 100,000 ตารางเมตร ด้วยเม็ดเงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 5,000 ล้านบาท โรงงานแห่งนี้จะประกอบรถยนต์สมรรถนะชั้นเลิศและขยายฐานการผลิตรถยนต์ให้กับซูบารุ และตันจง อินเตอรเนชั่นแนลในภูมิภาคเอเชียกรุงเทพฯ, วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2562
โรงงานจะสามารถผลิตรถยนต์
ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ (Subaru Forester) ได้มากกว่า 6,000 คัน ไดภายในปีแรกของการดำเนินงาน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขับขี่รถยนต์ซูบารุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่มมากขึ้นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ บริษัท ตันจง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSAT) ในเครือของกลุ่มตันจงอินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและซูบารุคอร์ปอเรชั่น (SBR) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างกัน
โดยครั้งนี้กลุ่ม TCIL ถือหุ้นร้อยละ74.9 ผ่านบริษัทฯ ในเครือของตนอีกหนึ่งบริษัทฯ คือ บริษัท ทีซี แมนแฟคแจอริ่ง แอนด์ แอสเซมบลี (ประเทศไทย) จำกัด (TCMA) ในขณะที่ซูบารุคอร์ปอเรชั่น (SBR)ถือหุ้นที่เหลืออีก 25.1% ด้วยทำเลยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญของภูมิภาคอาเซียนผนวกกับข้อได้เปรียบของข้อตกลงทางการค้าในประชาคมอาเซียน
การตั้งโรงงานในประเทศไทยจะช่วยให้บริษัทฯ มีความคล่องตัวในการผลิตและการกำหนดราคารถยนต์ซูบารุโดยยังคงไว้ซึ่งศักยภาพการแข่งขันในตลาดและเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น รถยนต์ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ รุ่นที่ 5 ที่ถือเป็นรถยนต์แบบน็อคดาวน์ (completely knocked-down หรือ CKD) รุ่นแรกที่ถูกประกอบขึ้นภายใต้การดูแลของ TCSAT
โรงงานนี้จะผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย พร้อมทั้งส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชา โดยมอเตอร์ อิมเมจ กรุ๊ป (Motor Image Group) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ TCIL โดยรถยนต์ 100 คันแรกได้ถูกส่งมอบให้กับลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มมอเตอร์ อิมเมจ ยังได้รับรายงานตัวเลขยอดขายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัทฯ จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 ซึ่งยอดขายส่วนใหญ่นั้นก็เกิดจากความไว้วางใจอย่างล้นหลามทีผู้บริโภคไทยมอบให้กับซูบารุ ฟอเรสเตอร์
TCSAT ได้ว่าจ้างทีมพนักงานชาวญี่ปุ่นในการควบคุมมาตรฐานและกระบวนการผลิตเพื่อให้คงไว้ซึ่งความเข้มงวดเช่นเดียวกับมาตรฐานในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังนำหุ่นยนต์ประสิทธิภาพสูงมาใช้ในกระบวนการประกอบรถยนต์หลายขั้นตอนเพื่อให้บรรลุคุณภาพที่เหนือกว่าและปราศจากข้อบกพร่อง ในส่วนของการทำสีนั้นก็ใช้ระบบอัตโนมัติทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมผิวรถล่วงหน้า ระบบ Electrical Deposit การลงสีชั้นรองพื้น และการเคลือบผิวชั้นบนสุดจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างของตัวถังรถกับชิ้นส่วนกระจกก็ใช้วิธีการอัตโนมัติเพื่อให้ได้ความสม่ำเสมอทั่วทั้งตัวรถ การทำงานในทุกๆ ขั้นตอน
ซูบารุ คอร์ปอเรชั่นได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะกับกลุ่มตันจงมาโดยตลอด กระบวนการควบคุมคุณภาพและการแก้ไขข้อผิดพลาดจะถูกดำเนินควบคู่ไปตลอดกระบวนการประกอบชิ้นส่วน
ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงงานแห่งนี้ ได้แก่ ลู่ทดสอบที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อประเมินสภาพของรถทุกคันก่อนออกจากโรงงาน ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพที่เข้มข้นช่วยให้มั่นใจได้ว่ารถทุกคันที่ผลิตใน TCSAT นั้นมีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และสะดวกสบาย ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย TCSAT ว่าจ้างมีพนักงานทักษะสูงที่เป็นคนในท้องถิ่นกว่า 400 คน รวมถึงชาวต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ที่จะประจำอยู่ในประเทศไทยและทำหน้าที่แบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการจัดการ TCSAT มุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับพนักงาน จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของโรงงานที่ทำหน้าเชิงรุกในการค้นหาและกำจัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานพนักงานทุกคน ผู้เข้าชมโรงงานจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลเมื่อเข้าสู่พื้นที่ที่กำหนด พร้อมกับได้จัดโรงอาหารเพื่อให้บริการอาหารไทยและญี่ปุ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่พนักงานและในส่วนของพื้นที่สันทนาการเช่น สนามฟุตซอล
รถยนต์ Subaru Forester ใหม่ ที่ออกจากโรงงานแห่งนี้ได้รับมาตรฐานเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างแท้จริงทั้งโครงสร้าง Subaru Global Platform ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบสมมาตร (Subaru Symmetrical All Wheel Drive) ที่เต็มประสิทธิภาพ เครื่องยนต์บ็อกเซอร์ที่มีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำเพื่อความเสถียรและการควบคุมรถยนต์ที่ดีขึ้น เทคโนโลยี EyeSight Driver-Assist
โรงงานประกอบรถยนต์ของ TCSAT เป็นโรงงานแห่งที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกอบรถยนต์ซูบารุ โดยแห่งแรกอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ภายใต้การดูแลของบริษัท Tan Chong Motor Holdings Berhad ผ่านบริษัทย่อยคือ Tan Chong Motor Assemblies Sdn. Bhd. และในปี พ.ศ.2554 มีการลงบันทึกความเข้าใจและใช้อำนาจผ่าน TCIL ในการส่งคำสั่งผลิต และกระจายรถยนต์สู่ตลาดให้กับกลุ่มมอเตอร์ อิมเมจ