ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

โตโยต้า เดินหน้าสาทร โมเดล ต้นแบบเร่งแก้ปัญหาจราจร

ข่าว icon 21 เม.ย. 60 icon 4,835
โตโยต้า เดินหน้าสาทร โมเดล ต้นแบบเร่งแก้ปัญหาจราจร

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการและประธานร่วมคณะกรรมการโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย พลตำรวจโทอำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตำรวจโท วิทยา ประยงค์พันธ์ุ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชิน อาโอยามะ เจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี ร่วมแถลงข่าว "โครงการสาทรโมเดลขยายสู่กรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



"โครงการสาทรโมเดลขยายสู่กรุงเทพมหานคร" นับเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ โดยเริ่มก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 2557 โดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งจากกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นแบบจากถนนสาทร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ 

โมเดลนี้ เริ่มจัดการโดยใช้มาตรการแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบบนถนนสาทรและบริเวณโดยรอบ เช่น การริเริ่มรถบัสรับส่ง (Shuttle Bus) ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รวมถึงมาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) พื้นที่จอดรถที่เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) บนถนนสาทร โดยได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการวางพื้นฐานบริการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้สัญจรบนท้องถนน   

ต่อมาในเดือนเมษายน 2558 มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวนประมาณ 110 ล้านบาทให้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินโครงการสาทรโมเดลให้มีขอบเขตการทำงานที่มากขึ้น โดยมุ่งยกระดับการดำเนินการทดลอง รวมถึงเชิญชวนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้วยกันในโครงการนี้ เป็นครั้งแรกที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาจราจรแบบบูรณาการ ทำให้โครงการมีความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก โดยมีการกำหนดมาตรการในบริเวณถนนสาทร ดังนี้

มาตรการจอดแล้วจร : เพื่่อเพิ่ม ทางเลือกในการเดินทางสู่ถนนสาทร
โครงการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการเพิ่มทางเลือกสำหรับการเดินทางของประชาชนเข้าสู่พื้นที่ถนนสาทร จากความร่วมมือของสมาคมค้าปลีกไทย, สมาคมห้างสรรพสินค้าไทยและบริษัท นิปปอน ปาร์คกิ้ง ดีเวลลอบเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แบ่งปันพื้นที่จอดรถ รวมถึงได้พัฒนาพื้นที่จอดรถขึ้นมาใหม่ ในทำเลที่เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ 504 คน โดยเฉพาะจำนวนของผู้ใช้จุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีเฉลี่ย 280 คน ต่อวัน ในอนาคตเสนอให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดทำจุดจอดแล้วจรในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่จะเปิดในอนาคต ให้มีจุดจอดเพียงพอ โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจอื่นในบริเวณเดียวกันด้วยอีกด้วย

มาตรการรถรับส่ง : เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลบริเวณถนนสาทร 
พัฒนาการให้บริการรถโรงเรียน (School Bus) ที่มีความปลอดภัยสูงในรูปแบบสถานีถึงโรงเรียน (Station to School) ทั้ง 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยผู้ปกครองมาส่งบุตรหลานตามจุดจอดที่กำหนดไว้ แล้วเดินทางต่อสู่โรงเรียนด้วยรถรับส่งที่โครงการจัดไว้ เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรหน้าโรงเรียน ประหยัดเวลาในการรับส่งบุตรหลาน โครงการใช้รถร่วมกัน (ทางเดียวกันมาด้วยกัน) หรือ ACP Car Sharing สนับสนุนให้ผู้ปกครองเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ร่วมกันเดินทางมาโรงเรียน โดยโครงการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ปกครองและคณะผู้บริหารโรงเรียน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย จัดกลุ่มนักเรียนที่อาศัยอยู่ใกล้กันหรือในแนวเส้นทางเดียวกัน โดยสามารถช่วยลดปริมาณรถสะสมเวลาเร่งด่วนได้    
มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน : เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน
มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ที่เข้าสู่พื้นที่ถนนสาทรในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยความร่วมมือของบริษัทเอกชนที่มีสำนักงานในบริเวณถนนสาทร และสีลม โดยใช้ข้อมูลการเดินทางของพนักงานที่ได้จาก Linkflow Application เพื่อใช้ออกแบบวางแนวทางการใช้มาตรการเหลื่อมเวลาทำงานในแต่ละบริษัทที่เข้าร่วม ซึ่งส่งผลดีโดยตรงต่อพนักงานคือ สามารถวางแผนการเดินทางเพื่อเข้าทำงานหรือเลิกงานได้เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความแออัดบนท้องถนนลงได้ โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 4,300 คน จาก 12 บริษัท  
มาตรการบริหารจัดการจราจร
1. การจัดช่องจราจรพิเศษ (Reversible Lane) ในช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้า โดยให้รถขาเข้าจากสะพานตากสิน และจากถนนเจริญราษฎร์สามารถเข้าสู่ถนนสาทรเหนือโดยใช้ช่องทางพิเศษได้ 1 ช่องทางบนถนนสาทรใต้ทำให้สามารถระบายปริมาณรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การจัดการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ด้วยการหยุดรับส่งนักเรียนแล้วรีบเคลื่อนรถออกไป (Kiss & Go) โดยกำหนดจุดรับส่งอย่างเป็นระเบียบ พร้อมทั้งการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำให้ปัญหารถชะลอตัว เนื่องจากการเปลี่ยนช่องทางเพื่อรับส่งนักเรียนเบาบางลงการจราจรช่วงก่อนถึงหน้าโรงเรียนคล่องตัวขึ้น 
3. การบริหารควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกสาทร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สามารถรับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดสัญญาณไฟจราจร ด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยคำนวณจากปริมาณจราจรในแต่ละช่วงเวลาแบบเรียลไทม์ และระยะแถวคอยในแต่ละทิศทาง ช่วยให้สามารถกำหนดสัญญาณไฟจราจรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพจราจรและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ผลการดำเนินโครงการ "สาทรโมเดล"
สภาพการจราจรบนถนนสาทรเหนือขาเข้าจากบริเวณสี่แยกสาทร ถึงสี่แยกวิทยุในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าคล่องตัวมากขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณการระบายรถเพื่มขึ้น 422 คันต่อชั่วโมง หรือ 12% การติดสะสมลดลง 

แผนที่นำทาง (Roadmap) จากโครงการ สาทรโมเดล
1. สนับสนุนให้มีการทำแผนแม่บทการจอดแล้วจรและนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับการขยายแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้น ที่ซึ่งมีศักยภาพเป็นจุดจอดรถ การลดอุปสรรคด้านข้อกฎหมายในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่รวมถึงการสร้างรูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมจากการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐฯและเอกชน เพื่อให้ผู้เดินทางเปลี่ยนมาใช้การจอดแล้วจรอย่างมากขึ้น และแพร่หลาย  
2. ปริมาณการจราจรที่มากช่วงเวลาเร่งด่วนส่วนหนึ่ง มาจากผู้ปกครองใช้รถยนต์ส่วนตัวรับส่งบุตรหลาน สภาพปัญหาการจราจรหน้าโรงเรียนจึงแตกต่างกันไปตามลักษณะการเดินทางของเด็กนักเรียน จึงจำเป็นต้องวางแนวทางที่เหมาะสมแต่ละโรงเรียน โดยเริ่มจากการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางเพื่อเสนอทางเลือก เช่น โครงการรถรับส่ง หรือโครงการใช้รถร่วมกัน  
3. ส่งเสริมให้มีการจัดทำข้อตกลงโดยสมัครใจร่วมกันระหว่างภาครัฐฯและองค์กรหรือสมาคมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทสมาชิกแต่ละบริษัท นำมาตรการเหลื่อมเวลาทำงานไปประยุกต์ใช้กับพนักงานอย่างทั่วถึง รวมถึงการเพิ่มทางเลือกใหม่ในการเดินทางแก่พนักงาน 
4. แนวทางสำหรับการบริหารจัดการจราจร ได้แก่
4.1 ขยายมาตรการต่างๆ เพื่อลดคอขวดบนท้องถนน ไปยังถนนสายหลักอื่นๆ พระรามสี่ เจริญกรุง สุขุมวิท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และอื่นๆ
4.2 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปรับปรุงการบริหารสัญญาณไฟจราจร ด้วยมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่ง ได้จากการรวบรวมองค์ความรู้และเทคนิควิธีการที่เหมาะสม
4.3 การผสานความร่วมมือภาครัฐฯ-เอกชน (PPP) ในการวางแผนและใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดปริมาณจราจร (เซ็นเซอร์)
4.4 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมวิศวกรรมจราจร เพื่อสนับสนุนงานแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร 
โครงการนี้นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนช่วยกันผลักดันให้เกิดประโยนช์สูงสุดแก่ประชาชน ในการแก้ไขปัญหารถติด แม้จะย่างเข้าเพียงปีที่ 3 แต่นับว่ามีแนวโน้วดีขึ้นเรื่อยๆ 

การแก้ปัญจราจรที่สะสมมานานนับสิบปี ไม่อาจแก้ไขได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต้องอาศัยหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนจึงมีส่วนร่วมในโครงนี้อย่างเต็มตัว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

toyota โตโยต้า รถติด กรุงเทพรถติด โตโยต้า เดินหน้าสาทร โมเดล ต้นแบบเร่งแก่ปัญหาจราจร

ข่าวและอีเว้นท์รถยนต์ล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)