ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ย้ำ! รถกระบะ "ห้ามนั่งท้าย" แต่แค็บผ่อนปรนให้นั่งได้

ข่าว icon 5 เม.ย. 60 icon 30,013

ย้ำ! รถกระบะ "ห้ามนั่งท้าย" แต่แค็บผ่อนปรนให้นั่งได้



จากกรณีรัฐบาลได้บังคับใช้กฏหมายหรือ ม.44 ในเรื่องเกี่ยวกับการ "กำหนดให้ผู้โดยสารรถยนต์ทุกชนิด ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถสาธารณะ รถทัวร์ รถตู้ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง" ซึ่งมีข้อยกเว้นว่ารถยนต์รับจ้างบางชนิด เช่น รถ 2 แถว รถ 3 ล้อเครื่อง เป็นที่เข้าข่ายการยกเว้นนี้ แต่จะมีมาตรการอื่นออกมาบังคับใช้เพื่อความปลอดภัยแทน เช่น การติดตั้งราวกั้นเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย และการบังคับลดความเร็ว เป็นต้น 
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มความเข้มงวดในรถยนต์กระบะด้วยออกบังคับใช้กฎหมาย (ซึ่งมีมานานแล้ว) ว่าด้วยรถยนต์กระบะที่มีแค็บห้ามนั่งเพราะเข้าข่ายใช้รถผิดประเภท หากต้องการบรรทุกคนโดยสาร จะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง จึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตามปกติ แต่จะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง เพราะรถกระบะ 4 ประตู จดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่ผ่านมานับเป็นการใช้รถผิดประเภทมาโดยตลอด แต่ก็มีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับส่วนแค็บของรถกระบะว่านั่งได้หรือนั่งไม่ได้

โดยการประชุมร่วมหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ข้อสรุปว่า จะเข้มงวดการไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็ดขัดนิรภัยขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เมาแล้วขับ และ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยให้กวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดทั้งรถส่วนบุคคลและรถของหน่วยงานราชการ รวมทั้งให้ผู้บังคับบัญชาลงตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย และมีการผ่อนปรนให้นั่งแค็บกระบะได้ในบางกรณี
คุมเข้มห้ามนั่งท้ายกระบะ
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงรายละเอียดใน ม.44 ฉบับที่ 14/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
รถกระบะประเภทมีแค็บนั้น หากต้องการบรรทุกคนโดยสาร จะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง จึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตามปกติ แต่จะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง เพราะรถกระบะ 4 ประตู จดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
"สงกรานต์ใส่น้ำหลังกระบะได้แต่ห้ามนั่ง"
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะถึงนี้ พล.ท.สรรเสริญกล่าวว่า สงกรานต์ปีนี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้ห้ามนำโอ่ง หรือถังน้ำขึ้นท้ายรถกระบะ สามารถนำขึ้นได้ตามปกติ แต่จะต้องไม่มีคนไปนั่ง หรือยืนอยู่ท้ายรถ
รถกระบะมีแค็บผ่อนปรนให้นั่งได้ ตามความเหมาะสม
จากกรณีพล.ต.ท.วิทยา ได้ชี้แจงก่อนหน้านี้ว่า ทาง บช.น. ได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของ สตช. คือ ห้ามรถกระบะมีแค็บบรรทุกคนโดยเด็ดขาด หากพบเห็นจะดำเนินการปรับทันที ล่าสุด (5 เม.ย.60) ได้มีข้อสรุปถึงการนั่งในแค็บกระบะว่า เพื่อให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่แค็บกระบะโดยสารได้รับความสะดวก อนุโลมโดยการผ่อนปรนให้นั่งได้ในกรณีจำเป็นและเดินทางไม่ไกล แต่หากพบว่าเป็นการบรรทุกในเชิงรับจ้างจะจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย

ภาพจาก www.tnews.co.th
พล.ต.อ. สุวิระ ทรงเมตตา ที่ปรึกษาสัญญาบัติ 10 เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศถึงการใช้รถผิดประเภท หรือการบรรทุกคนบริเวณท้ายกระบะว่า การบรรทุกคนในกระบะท้ายนั้นไม่สามารถทำได้ แต่กรณีมีคนนั่งในหรือมีผู้โดยสารภายในแค็บของรถนั้น เจ้าหน้าที่จะผ่อนปรนให้ โดยหากพิจารณาจากความจำเป็นและเดินทางไม่ไกลจะตักเตือน แต่หากพบว่าเป็นการบรรทุกในเชิงรับจ้าง จะจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมกันนี้ได้เชิญชวนให้ประชาชนใช้รถขนส่งสาธารณะในการเดินทางกลับภูมิลำเนาแทนการเดินทางไปภายในแค็บของกระบะเพื่อความปลอดภัย" (ที่มา: www.tnews.co.th)

อย่างไรก็ตามแม้การนั่งในแค็บกระบะจะมีข้อผ่อนปรนแล้วแต่กรณีไป แต่ก็ยังถือว่าเข้าข่ายผิดกฏหมายอยู่ในบางกรณี เนื่องจากรถกระบะที่มีแค็บนั้นถูกผลิตออกมาเพื่อวัตถุประสงค์คือ มีไว้เพื่อตั้งวางสิ่งของเท่านั้น โดยทั่วไปในส่วนของแค็บนั้นไม่มีอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยของผู้ที่นั่ง เนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนนั่ง โดยมีอัตราค่าปรับดังนี้
อัตราค่าปรับสำหรับนั่งแค็บกระบะ
ในการจับปรับรถกระบะที่บรรทุกคนโดยสารในแค็บนั้น เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับปรับในข้อหาไม่รัดเข็มขัดนิรภัย แต่จะปรับในข้อหาใช้รถยนต์ผิดประเภท ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 
บังคับ "คาดเข็มขัดทุกที่นั่ง"
สำหรับรถยนต์ส่วนตัวหรือรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถแท็กซี่ รถตู้ หรือรถทัวร์ จะต้องแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัยก่อนรถออก หรือต้องติดป้ายแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัยตลอดการเดินทาง หากระหว่างการเดินทางเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเจอคนในรถไม่คาดเข็มขัดจะเรียกปรับทั้งคนขับและผู้โดยสาร เว้นแต่คนขับยืนยันว่าได้แจ้งต่อผู้โดยสารให้คาดเข็มขัดนิรภัย แต่ผู้โดยสารไม่ปฏิบัติก็จะปรับเฉพาะผู้โดยสาร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้ดุลยพินิจโดยดูที่เจตนาเป็นหลัก โดยรูปแบบของเข็มขัดนิรภัยที่ต้องติดตั้งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ ใช้สำหรับตำแหน่งที่นั่งผู้ขับรถ ที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถและที่นั่งตอนหลังผู้ขับรถริมสุด ส่วนที่นั่งระหว่างกลางเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตัก (แบบคาดเอว)
ส่วนกรณีรถโดยสารสองแถว และรถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) จะไม่มีการบังคับให้รัดเข็มขัด แต่จะมีมาตรการอื่นออกมาบังคับใช้เพื่อความปลอดภัยแทน เช่น การติดตั้งราวกั้นเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย และการบังคับลดความเร็ว เป็นต้น 
ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่องการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยและตำแหน่งที่นั่ง พ.ศ.2555 กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ และรถที่ใช้รับส่งจากสนามบิน (รถลิมูซีน) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 - วันที่ 31 ธันวาคม 2553 จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยสำหรับที่นั่งของคนขับและที่นั่งตอนหน้ารถ ส่วนรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป กำหนดให้ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง และสำหรับรถตู้ส่วนบุคคล รถปิกอัพ และรถสองแถว ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 กำหนดให้ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งของผู้ขับรถและที่นั่งตอนหน้า
อัตราค่าปรับของผู้ที่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย
1. กฎหมายของกรมการขนส่งทางบก
  • ผู้ประกอบการจะต้องถูกปรับ 50,000 บาท
  • คนขับและผู้โดยสารปรับ 5,000 บาท 
2. กฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจรับผิดชอบ
  • รถโดยสารสาธารณะจะถูกปรับ 1,000 บาท
  • ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลปรับ 500 บาท
รถตู้สาธารณะปรับลดให้เหลือ 13 ที่นั่ง
สำหรับทางด้านรถตู้โดยสารสาธารณะจะต้องปรับที่นั่งรถรถตู้ให้เหลือ 13 ที่นั่ง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเคลื่อนตัวออกจากตัวรถได้ง่ายหากเกิดอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัย ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเอาที่นั่งตรงไหนออกไปบ้าง และวันที่ 5 เมษายนนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อให้รถตู้โดยสารสาธารณะปรับปรุงให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป   

อย่างไรก็ตามการใช้รถใช้ถนนนั้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ไม่ว่าจะใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์โดยสารสาธารณะต่างๆ ต้องสร้างสำนึกให้เกิดความปลอดภัยจนกลายเป็นเรื่องเคยชิน และปฏิบัติทุกวันจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

จะนั่งตรงไหนก็คาดเข็มขัดนิรภัยเอาไว้ก่อน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รถกระบะ กฎหมาย ห้ามนั่งท้าย-แค็บ

ข่าวและอีเว้นท์รถยนต์ล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)