Porsche 919 Hybrid ใหม่ พร้อมป้องกันแชมป์ World Endurance Championship
Porsche 919 Hybrid ใหม่ เปิดตัวครั้งแรกของโลก เพื่อเตรียมสู้ศึกการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ FIA World Endurance Championship (WEC) ที่สนาม Paul Ricard ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังที่เปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม ระบบอากาศพลศาสตร์ชั้นยอดที่ได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการขับขี่สูงสุดแตกต่างกันในแต่ละสนามแข่งขัน รวมทั้งการลดน้ำหนักของชิ้นส่วนต่างๆ ในตัวรถให้มีน้ำหนักเบาที่สุด
ปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) คือรถแข่งที่เป็นตัวแทนของวิวัฒนาการจากรุ่นสู่รุ่น 919 เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2014 ในรูปลักษณ์ของรถสปอร์ตตัวถังสีขาว พร้อมนิยามการออกแบบ "อัจฉริยภาพแห่งสมรรถนะจากปอร์เช่ (Porsche Intelligent Performance)" และปรัชญาการออกแบบดังกล่าวนั้น ได้รับการสืบทอดมายังปี 2015 ด้วยรถแข่งที่ประกอบขึ้นจากพื้นตัวถังสีขาว ตกแต่งด้วยลายคาดสีแดงและดำ ในปี 2016 นี้ สีจากตัวถังทั้ง 3 สีได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวทางการออกแบบใหม่
การคว้าตำแหน่งอันดับ 1 และอันดับ 2 ในการแข่งขันรายการ Le Mans 24 ชั่วโมง ในปี 2015 รวมทั้งตำแหน่งแชมป์ประเภทโรงงานผู้ผลิตของปอร์เช่ในรายการ World Championship ส่งผลให้ในปีนี้ นักแข่งทั้ง 3 คนอัน ได้แก่ Timo Bernhard (DE), Brendon Hartley (NZ) และ Mark Webber (AU) จะลงแข่งขันด้วยรถแข่งที่ติดหมายเลข 1 ส่วน Romain Dumas (FR), Neel Jani (CH) และ Marc Lieb (DE) จะลงแข่งขันในรถแข่งหมายเลข 2
Porsche 919 Hybrid เป็นครั้งแรกที่ปอร์เช่ช่วงชิงความได้เปรียบจากกติกาการแข่งขันของ WEC ด้วยการออกแบบลักษณะตัวถังรถให้มีอากาศพลศาสตร์ที่แตกต่างกันถึง 3 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมสูงสุดสำหรับการขับขี่ในแต่ละสนาม โดยกติกาการแข่งขันอนุญาติให้ปรับเปลี่ยนลักษณะตัวถังได้สูงสุด 3 แบบ พร้อมการลดน้ำหนักและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ 4 สูบเทอร์โบ ผสานระบบขับเคลื่อนแบบ hybrid ที่พัฒนาขึ้นใหม่สำหรับรถแข่งปี 2016 โดยทำการเพิ่มกำลังและประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าสร้างกำลังขับเคลื่อนให้แก่เพลาคู่หน้าจากเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน (lithium ion battery cells) แบบใหม่ล่าสุด พัฒนาขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำ พร้อมระบบขับเคลื่อนที่ล้อคู่หน้าใหม่ และเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถปรับตั้งได้หลากหลายรูปแบบ พร้อมกับใช้ยางรถยนต์รุ่นพิเศษจาก Michelin ที่พัฒนาเพื่อสมรรถนะการขับขี่ที่สูงสุดของปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) ใหม่โดยเฉพาะ
เจาะลึกปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) รุ่นปี 2016
ปอร์เช่ 919 รุ่นปี 2016 นั้น โครงสร้างพื้นฐานของระบบตัวถัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังคงไว้ซึ่งแนวทางการ ออกแบบของระบบขับเคลื่อนแบบ hybrid ที่ผสานการทำงานร่วมกับเครื่องยนต์เบนซิน V4 ขนาดความจุ 2.0 ลิตร ติดตั้งระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ และระบบชาร์จพลังงานกลับแบบ 2 ช่องทาง (two different energy recovery systems) ผ่านระบบเบรกของล้อคู่หน้าและระบบระบายไอเสีย ที่ใช้ต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้เมื่อปี 2014 รวมถึงการลดน้ำหนักของตัวรถ สำหรับรถแข่งในปี 2016 ที่กำลังจะมาถึงนั้น ปอร์เช่ยังคงยืนอยู่ในระดับแนวหน้าของการแข่งขันด้วยปรัชญาการออกแบบที่ได้รับความเชื่อมั่นตลอดมา
กฎกติกาของ WEC สนับสนุนการพัฒนาระบบ hybrid
กติกาการแข่งขันสำหรับรายการ LMP1 กำหนดให้โรงงานผู้ผลิตต้องทำการติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ hybrid เป็นแหล่งกำเนิดพละกำลัง ซึ่งมีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพและสมรรถนะของรถแข่ง ระบบชาร์จพลังงานกลับ คือส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถ และส่งผลต่อเนื่องไปยังสัดส่วนของข้อจำกัดปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ต่อการแข่งขันหนึ่งรอบสนาม โดยปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจะถูกนำมาคำนวณเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสิน ผลการแข่งขัน WEC เปิดโอกาสให้วิศวกรของแต่ละทีมสามารถเลือกใช้ระบบขับเคลื่อน hybrid ในลักษณะต่างๆ ได้อย่างเสรีไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้งานร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซลหรือเครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จหรือไม่ก็ได้ ขนาดความจุเครื่องยนต์ที่หลากหลาย และสามารถเลือกใช้ระบบชาร์จพลังงานกลับทั้งแบบ 1 หรือ 2 ช่องทาง ทั้งนี้กฎกติกาดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปต่อยอดให้แก่รถยนต์ในสายการผลิตทั่วไป นับเป็นเหตุผลหลักของปอร์เช่ในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬามอเตอร์สปอร์ตระดับชั้นนำของโลกอีกครั้ง
เครื่องยนต์ V4 เทอร์โบ พร้อมระบบจ่ายเชื้อเพลิงตรงเข้าห้องเผาไหม้ (direct injection)
ประสิทธิภาพในการจุดระเบิดและการจัดสรรส่วนผสมของเชื้อเพลิงจากเครื่องยนต์เบนซินขนาดความจุ 2.0 ลิตร V4 ติดตั้งระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จรับหน้าที่ส่งกำลังขับเคลื่อนไปยังเพลาคู่หลัง ออกแบบ วิจัยและพัฒนาในเมือง Weissach ทำให้เครื่องยนต์สูบ V แบบ 90 องศา น้ำหนักเบา มีกำลังสูงสุดกว่า 500 แรงม้า สำหรับปี 2016 กติกากำหนดให้ผู้ผลิตทำการลดกำลังที่ได้จากปริมาณเชื้อเพลิงต่อ 1 รอบให้ต่ำลงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ให้มีความประหยัดเชื้อเพลิงสูงสุด ด้วยแนวทางดังกล่าวส่งผลให้รถแข่งในรายการ LMP1 ทุกคันมีความเร็วสูงสุดที่ลดต่ำลงในทางกลับกันทีมวิศกวกรต้องทุ่มเทความสามารถในการพยายามเรียกพละกำลังจากเครื่องยนต์ให้มากขึ้นในขณะที่ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง สำหรับปอร์เช่ 919 ซึ่งลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงลงประมาณ 8 % เปรียบได้กับการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการแข่งขันต่อหนึ่งรอบสนาม Le Mans ถึง 10 เมกะจูล ระยะเวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 4 วินาทีต่อระยะทางทุกๆ 13.629 กิโลเมตรของสนาม Le Mans และด้วยกติกาการแข่งขันใหม่นี้ กำลังสูงสุดที่ได้จากเครื่องยนต์จะลดลงต่ำกว่า 500 แรงม้า
ระบบชาร์จพลังงานกลับแบบ 2 ช่องทาง
พลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของระบบเบรกจากล้อคู่หน้าจะได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปของพลังงานไฟฟ้า สำหรับระบบชาร์จพลังงานกลับในช่องทางที่ 2 ได้รับการติดตั้งในส่วนของระบบระบายไอเสีย เมื่อไอเสียที่ระบายออกจาก เครื่องยนต์ไปขับเคลื่อนชุดเทอร์โบชาร์จ เป็นการใช้แรงดันไอเสียที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์แทนที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเปล่าประโยชน์เทคโนโลยี VTG ทำหน้าที่ปรับการทำงานของครีบดักไอเสียเพื่อสร้างระดับแรงดันให้เหมาะสมกับรอบการทำงานของเครื่องยนต์แม้ในสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ในรอบต่ำระบบดังกล่าวจะติดตั้งชุดเทอร์ไบน์เพิ่มเติมโดยยึดติดกับอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้า (electric generator) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจะได้รับการควบคุมด้วยระบบ KERS พลังงานที่ได้ จากล้อคู่หน้าจะได้รับการเก็บไว้ที่เซลล์แบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน ในกรณีที่ผู้ขับขี่ต้องการกำลังขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น พละกำลังกว่า 400 แรงม้า จะตอบสนองอย่างทันท่วงที ให้อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมด้วยการถ่ายทอดแรงขับเคลื่อนจากชุดมอเตอร์ไฟฟ้าสมรรถนะสูงไปยังเพลาคู่หน้า ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ปอร์เช่ 919 กลายเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่มาพร้อมกำลังสูงสุดถึง 900 แรงม้า ในชั่วขณะหนึ่งด้วยการทำงานที่ประสานกันอย่างสมบูรณ์แบบของระบบขับเคลื่อนทั้ง 2 แบบจึงพร้อมรองรับทุกสถานการณ์การขับขี่ในทุกสนามแข่งที่ต้องเผชิญ
แบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน แหล่งสำรองพลังงานชั้นยอด
จากกฎกติกาการแข่งขันของ WEC ซึ่งเปิดกว้างให้วิศวกรของแต่ละทีมสามารถออกแบบระบบสำรองพลังงานได้ตามต้องการ ตัวอย่างเช่น บางทีมใช้ล้อช่วยแรง (flywheels) และ ultracaps (electro chemical supercapacitors) ในการเก็บพลังงานไฟฟ้า แต่สำหรับในปี 2016 นี้ ทุกทีมตัดสินใจใช้แบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน ในการสำรองพลังงานไฟฟ้า เฉกเช่นเดียวกันกับทีมปอร์เช่ ทั้งนี้หัวใจหลักของระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่เหนือชั้นของ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) คือ เทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแรงดันสูงถึง 800 โวลต์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ปอร์เช่ Mission E
Energy classes ของ WEC
กฎข้อบังคับได้รับการกำหนดให้มีความแตกต่างกันทั้งหมด 4 ระดับโดยขึ้นกับการใช้พลังงานในการขับเคลื่อนตัวรถตั้งแต่ระหว่าง 2-8 เมกะจูลล์ (MJ) ด้วยการคำนวณจากระยะทาง 13.629 กิโลเมตรรอบสนาม Le Mans และปรับเปลี่ยนไปในแต่ละสนามแข่งขัน ด้วยประสิทธิภาพการทำงานชั้นเลิศของเครื่องยนต์ ระบบชาร์จพลังงานกลับ รวมทั้งระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าที่เยี่ยมยอดในฤดูกาลแข่งขันปี 2015 ปอร์เช่คือทีมผู้ผลิตเพียงรายแรกและรายเดียวที่ได้รับการจัดระดับคลาสสูงสุดที่ 8 เมกะจูลล์ (MJ) ด้วยข้อกำหนดของระบบชาร์จพลังงานกลับที่เข้มงวด เครื่องมือวัดอัตราการไหลของ FIA ถูกปรับตั้งให้จำกัดอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อรอบสนามที่ไม่เกิน 4.31 ลิตรเท่านั้น นับเป็นภารกิจหนักที่วิศวกรของแต่ละทีมจะต้องพัฒนาระบบขับเคลื่อนที่ไม่เพียงให้กำลังได้สูงแต่ต้องเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพในการชาร์จพลังงานกลับและมีระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ดีเพียงพออีกด้วย
พลังงาน/ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ คำนวณตามระยะทางต่อหนึ่งรอบสนามแข่ง Le Mans*
- พลังงานที่ 2 เมกะจูลล์ = น้ำมันเบนซิน 4.70 ลิตร = น้ำมันดีเซล 3.70 ลิตร
- พลังงานที่ 4 เมกะจูลล์ = น้ำมันเบนซิน 4.54 ลิตร = น้ำมันดีเซล 3.58 ลิตร
- พลังงานที่ 6 เมกะจูลล์ = น้ำมันเบนซิน 4.38 ลิตร = น้ำมันดีเซล 3.47 ลิตร
- พลังงานที่ 8 เมกะจูลล์ = น้ำมันเบนซิน 4.31 ลิตร = น้ำมันดีเซล 3.33 ลิตร
*กำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 01.01.2016 เป็นต้นไปในการแข่งขันรายการ Le Mans 2016
ปลอดภัยสูงสุดด้วยการปกป้องจากโครงสร้างตัวถัง
โครงสร้างของปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) ได้รับการผลิตขึ้นจากชิ้นงาน คาร์บอนไฟเบอร์ หลายแผ่นประกบกันเป็นชิ้นเดียว หรือ โมโนคอร์ (monocoque) เช่นเดียวกับรถแข่ง Formula 1 เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังยึดติดเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อความแข็งแกร่งสูงสุด เกียร์ซีเควนเชียลทำงานด้วยไฮดรอลิกแบบ 7 จังหวะ (the hydraulically operated sequential 7-speed racing gearbox) ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมยึดติดกับโครงสร้างคาร์บอนอย่างแน่นหนาได้รับการพัฒนาด้วยการลดน้ำหนักของระบบเกียร์ลง สำหรับรุ่นปี 2016
ชุดขับเคลื่อนล้อหน้าใหม่ พร้อมยางประสิทธิภาพสูง
เพื่อการบังคับควบคุมที่ยอดเยี่ยม การขับขี่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ การยึดเกาะที่มั่นคงพร้อมตอบสนองทุกสภาวะปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) รุ่นปี 2016 ได้รับการติดตั้งชุดขับเคลื่อนที่ล้อคู่หน้าใหม่ รวมทั้งปรับแต่งการทำงานของชุดขับเคลื่อนที่ล้อคู่หลังผสานการทำงานกับยางรถยนต์สมรรถนะสูงจาก Michelin โดยผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
สุดยอดอากาศพลศาสตร์
ปอร์เช่ออกแบบหลักอากาศพลศาสตร์ของตัวถังรถสำหรับรุ่นปี 2016 ไว้ถึง 3 รูปแบบ พร้อมแล้วสำหรับการลงแข่งขันในรายการ World Championship แรกของฤดูกาลที่สนาม Silverstone ซึ่งปอร์เช่เลือกใช้ชุดตัวถังที่ลดแรงกดให้น้อยลง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพการขับขี่ในสนามดังกล่าวอย่างสูงสุด และแน่นอนว่าการปรับแต่งอากาศพลศาสตร์ตัวรถจะมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันอันเป็นที่สนใจที่สุดของฤดูกาลนั่นคือสนาม Le Mans ในประเทศฝรั่งเศสบนเส้นทางตรงที่มีระยะยาวเป็นพิเศษ โดยรถแข่งต้องมีแรงเฉื่อยที่น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าแรงกดที่กระทำกับตัวรถจะต้องถูกจำกัดให้อยู่ในช่วงที่มีความหมาะสมที่สุดเช่นเดียวกัน ฤดูกาลแข่งขันปี 2016 นี้ ปอร์เช่ 919 จะออกสตาร์ทด้วยชุดตัวถังที่สร้างแรงกดสูง จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ชุดตัวถังที่ให้แรงกดต่ำป็นพิเศษสำหรับการลงแข่งที่ Le Mans และกลับมาใช้ชุดตัวถังแรงกดสูงอีกครั้งเพื่อลงแข่งขันในรายการ WEC อีก 6 สนาม ทั้งหมดนี้เป็นไปตามข้อกำหนดที่เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนชุดตัวถังได้สูงสุดถึง 3 รูปแบบต่อ 1 ฤดูกาล
การปรับแต่งอากาศพลศาสตร์ของตัวรถมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มสมรรถนะการขับขี่และประสิทธิ ภาพในการบังคับควบคุมที่แตกต่างกันไปในแต่ละสภาพสนามที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางของลมปะทะด้านข้างความสมดุลของรถในขณะเข้าโค้ง รวมไปถึงความสามารถในการลดอาการที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
ปอร์เช่ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่อย่างเป็นทางการ ได้สร้างความเชื่อมั่นในด้านการดูแลหลังการขายให้กับลูกค้าปอร์เช่ ทุกท่าน ด้วยทีมวิศวกรผ่านการทดสอบระดับเหรียญทอง (ZPT3 Gold Theory Test & Recertification) ถึง 10 คน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากที่สุดของศูนย์รถยนต์ปอร์เช่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคทั้งหมด 13 ประเทศ สะท้อนถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการให้บริการหลังการขายของ เอเอเอส โดยทุ่มเทงบการอบรมวิศวกรของเราให้มีคุณภาพสูงสุดตามนโยบายหลักของบริษัทที่ว่า "เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ" "AAS Looking after YOU and your CAR" เพื่อให้ท่านมั่นใจได้ว่า AAS The Name you can Trust ซึ่งได้พิสูจน์ให้ท่านเห็นแล้วตลอดระยะเวลาดำเนินการมากกว่า 30 ปี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- Porsche Centre Bangkok ถ.วิภาวดีรังสิต โทร. 02-522-6655
- Porsche Centre Pattanakarn ถ.พัฒนาการ โทร. 02-369-1111
- Porsche City Showroom Siam Paragon ชั้น 2 โทร. 02-610-9911