ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ซื้อรถยนต์มือสองมาแต่ประกันยังไม่หมด สามารถใช้ต่อได้ไหม

icon 4 ก.ค. 67 icon 1,507
ซื้อรถยนต์มือสองมาแต่ประกันยังไม่หมด สามารถใช้ต่อได้ไหม
การซื้อรถยนต์มือสอง นอกจากจะช่วยให้เราสามารถประหยัดเงินค่ารถได้หลักแสนบาทแล้ว ยังอาจได้ประกันภัยรถยนต์ที่เจ้าของเดิมซื้อไว้เป็นของแถมติดมาด้วยนะคะ แต่… ประกันรถยนต์ที่ติดมาด้วยนั้น เราจะสามารถใช้ต่อได้เลยมั๊ย หรือต้องทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันค่ะ 
หลังจากที่เราโอนรถมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราแล้ว ประกันภัยที่เจ้าของเดิมซื้อไว้ หากยังไม่หมดอายุก็จะคุ้มครองรถคันนี้ต่อไปตามระยะเวลาที่ระบุในกรมธรรม์ค่ะ แต่จะมีจุดที่ควรสังเกต 3 ประการ คือ 
 
1. กรมธรรม์ต้องไม่ถูกยกเลิก โดยผู้เอาประกันเดิม ผู้ซื้อรถต่อก็จะสามารถรับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ฉบับนั้นๆ

2. หากประกันภัยที่ติดรถมาเป็นแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ เราต้องแจ้งบริษัทประกันเพื่อเปลี่ยนเงื่อนไข และอาจจะมีการปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยประกันภัย เพราะเบี้ยประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ จะผันแปรกับข้อมูลของผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อไว้ เช่น เพศ, อายุ, สถานภาพ เป็นต้น

3. กรณีที่ความคุ้มครองที่เราได้รับจากกรมธรรม์ฉบับเดิม ไม่เพียงพอกับความต้องการ อาจขอยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิม เพื่อเลือกซื้อประกันภัยใหม่ได้ เช่น หากเรายังอยู่ในโหมด มือใหม่หัดขับ ถึงจะเป็นรถยนต์มือสอง แต่การซื้อประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมก็จะช่วยให้อุ่นใจได้มากกว่าค่ะ ดังนั้น หากประกันรถยนต์ที่ติดรถมา เป็นแบบประกันชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ไม่น่าจะตอบโจทย์นัก เราควรพิจารณาเป็นแผนประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือ 2+ ที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าก็จะตรงกับความต้องการมากขึ้น เป็นต้น

4. ยกเลิกกรมธรรม์ประกันรถยนต์ สามารถรับเงินส่วนต่างคืนได้ โดยส่วนต่างที่ได้รับคืนจะคำนวณจากจำนวนวันที่เหลือ ซึ่งจะมีอัตราส่วนในการคืนเบี้ยประกันที่ คปภ.กำหนดไว้ ดังนี้
 
ตารางอัตราคืนเบี้ยประกันภัยรถยนต์
 
จำนวนวันประกันภัย % ที่ได้คืน จำนวนวันประกันภัย % ที่ได้คืน จำนวนวันประกันภัย % ที่ได้คืน
1 - 9 72 120 - 129  44 240 - 249 20
10 - 19 68 130 - 139 41 250 - 259  18
20 - 19 65 140 - 149 39 260 - 269 16
30 - 39 63 150 -159 37 270 - 279 15
40 - 49 61 160 - 169  35 280 - 289 13
50 - 59 59 170 - 179 32 290 - 299 12
60 - 69 56 180 - 189 30 300 - 309 10
70 - 79 54 190 - 199 29 310 - 319 8
80 - 89 52 200 - 209 27 320 - 329 6
90 - 99 50 210 - 219 25 330 - 339 4
100 - 109 48 220 - 229 23 340 - 349 3
110 - 119  46 230 - 239 22  350 - 359 1
        360 - 366 0
 
ตัวอย่างการคำนวณกรณีขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
 
นายเอก ทำประกันภัยรถยนต์จ่ายค่าเบี้ยประกันรายปี กับบริษัทประกัน ก. จ่ายค่าเบี้ย 21,000 บาท ระหว่างปีได้ตัดสินใจขายรถคันนี้ให้เพื่อน แต่เพื่อนต้องการเปลี่ยนไปซื้อประกันภัยรถยนต์กับบริาัทใหม่ นายเอกจึงทำการยกเลิกกรมธรรม์ที่ถืออยู่ ซึ่งจะได้รับเงินส่วนต่างคืนบางส่วน ดังนี้
 
  • กรมธรรม์ที่นายเอกถืออยู่คุ้มครองไปแล้วเป็นเวลา 6 เดือน คงเหลือความคุ้มครองอีก 180 วันจนถึงวันที่ยกเลิกประกันรถยนต์ 
     
  • ดังนั้น นายเอก จะได้รับเงินคืนคิดเป็น 30%
     
  • เพราะฉะนั้นนายเอกจะได้รับเงินคืนเท่ากับ 21,000 x 30%  = 6,300 บาท

    *เงื่อนไข และมูลค่าเวนคืนเงินสดของแต่ละบริษัทประกันอาจแตกต่างกัน ควรสอบถามข้อมูลกับทางบริษัทฯ อีกครั้งก่อนยกเลิกกรมธรรม์
สรุปแล้ว หากเราซื้อรถยนต์มือสองมาแต่ประกันยังไม่หมด เราสามารถใช้ต่อได้ แต่ต้องเช็กรายละเอียดกรมธรรม์ให้ดี ว่าต้องมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลใดๆ หรือไม่ หรือหากเราต้องการความคุ้มครองที่มากขึ้น ก็สามารถยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิม และเปลี่ยนไปซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ได้ โดยกรมธรรม์ฉบับเดิมก็สามารถรับเงินค่าเบี้ยประกันส่วนต่างคืนได้ ตามสัดส่วนที่ คปภ.กำหนดนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันรถยนต์ ต่อประกันรถยนต์ ต่อประกัยรถยนต์ตอนไหนดี ประกันรถยนต์รถมือสอง
CAR GURU
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)