ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

4 สิ่งควรรู้ก่อนซื้อประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด

icon 21 มิ.ย. 67 icon 2,195
4 สิ่งควรรู้ก่อนซื้อประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด
ปัจจุบันมีบริษัทบริษัทประกันภัยรถยนต์ต่างๆ ก็มักออกโปรโมชันเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า ซึ่งประกันภัยรถยนต์แต่ละแบบก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของราคา ความคุ้มครอง รวมถึงบริการเสริมอื่นๆ ที่จะได้รับ เราในฐานะลูกค้าซึ่งก็ต้องการเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสม ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ควรจะต้องรู้อะไรบ้างเพื่อประกอบการตัดสินใจ เลือกประกันภัยรถยนต์… 

1. ต้องรู้ว่า...จะซื้อประกันรถยนต์ประเภทไหน และแต่ละประเภทคุ้มครองอะไรบ้าง 
 
การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ควรเลือกประเภทประกันที่ตอบโจทย์ และให้ความคุ้มครองครอบคลุมตามที่เราต้องการ ซึ่งประกันภัยรถยนต์จะมีให้เลือกทั้งหมด 5 ประเภท และแต่ละประเภทจะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้
 
ประเภทประกันภัย ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย
ชีวิต/ร่างกาย ทรัพย์สิน สูญหาย/ไฟไหม้ ความเสียหายต่อตัวรถยนต์
ประกันรถยนต์ชั้น 1 ✔️ ✔️ ✔️ ✔️
ประกันรถยนต์ชั้น 2 ✔️ ✔️ ✔️
ประกันรถยนต์ชั้น 3 ✔️ ✔️
ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ✔️ ✔️ ✔️ ✔️
(เฉพาะกรณีรถชนรถเท่านั้น)
ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ✔️ ✔️ ✔️
(เฉพาะกรณีรถชนรถเท่านั้น)
 
2. ต้องรู้ว่า...หากเกิดกรณีเคลม ต้องการจะซ่อมอู่ หรือซ่อมห้าง แตกต่างกันอย่างไร
 
ซ่อมอู่ คือการนำรถเข้าซ่อมกับอู่ข้างนอกทั่วไป ข้อดีคือสามารถติดตามการซ่อมได้ง่าย แถมไม่ต้องเสียเวลารอนาน และจะมีราคาถูกกว่าการซ่อมห้าง หรือซ่อมศูนย์  แต่อย่างไรก็ตาม เราควรเลือกอู่ที่น่าเชื่อถือ เพราะการซ่อมอู่อาจไม่มีการรับประกันหลังการซ่อม หรือการประกันคุณภาพของการซ่อม จึงควรตรวจเช็กรถให้ละเอียดก่อนนำรถออกจากอู่ ทั้งนี้ การซ่อมอู่ จะแบ่งเป็น 2 แบบ ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 
  • ซ่อมอู่ในเครือบริษัทประกันภัยรถยนต์ เจ้าของรถยนต์มีหน้าที่คอย Update งานซ่อมว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ และงานเป็นไปตามที่ตกลงหรือไม่ แต่ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่าซ่อม
  • ซ่อมอู่นอกเครือบริษัทประกันภัยรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วงนำใบเสร็จมาทำเรื่องเบิกเคลมกับประกันภัยภายหลัง ทั้งนี้ จำนวนเงินที่เบิกได้ อาจจะได้ไม่ครบเต็มจำนวน 
ซ่อมห้าง หรือซ่อมศูนย์ เป็นการนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ ซึ่งโดยปกติก็จะเป็นศูนย์ที่เราออกรถค่ะ ซึ่งการเลือกซ่อมห้างจะมีความสะดวกสบาย เพราะเราสามารถนัดหมายนำรถเข้าซ่อมได้ตามเวลาที่สะดวก และมักมีการรับประกันหลังการซ่อมหรือการประกันคุณภาพของการซ่อม แต่ก็อาจจะมีราคาที่สูงกว่าการซ่อมอู่ และอาจจะรอนานกว่าการซ่อมอู่นะคะ
 
3. ต้องรู้ว่า...รถเราอายุเท่านี้สามารถทำประกันรถยนต์ประเภทไหนได้
 
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : ถ้าเป็นการเลือกซื้อประกันรถยนต์ด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว หลายคนก็คงอยากเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 เพราะถึงค่าเบี้ยประกันจะแพงกว่า แต่ช่วยให้อุ่นใจได้มากกว่า กับความคุ้มครองที่ครบถ้วน โดยทั่วไปประกันรถยนต์ชั้น 1 จะรับทำประกันให้กับเฉพาะรถยนต์ ที่มีอายุไม่เกิน 1 - 7 ปี หรือบางบริษัทประกันอาจจะรับถึงอายุรถ 9 - 15 ปี แต่ก็อาจจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องเป็นการต่อประกันกับเจ้าเดิม หรือไม่ค่อยมีประวัติการเคลม รวมถึงอาจมีการตรวจสอบสภาพรถว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ เป็นต้น
     
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 : สำหรับรถที่มีอายุ 5 - 7 ปี แต่ต้องการประหยัดค่าเบี้ยประกัน และสามารถยอมรับความคุ้มครองส่วนที่ลดลงจากประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับตัวรถยนต์ได้ ประกันรถยนต์ชั้น 2 ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สามารถทำได้ค่ะฅ
     
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 : การทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 จะไม่จำกัดอายุรถในการทำประกันภัย เพราะจะเป็นการคุ้มครองฝั่งคู่กรณีเป็นหลัก
     
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+, 3+ : เป็นประเภทประกันที่ให้ความคุ้มครองที่ใกล้เคียงกัน แต่จะมีเงื่อนไขว่า จะคุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชนรถเท่านั้น ประกันประเภทนี้สามารถทำได้ทั้งรถใหม่ รถเก่า แต่ส่วนใหญ่บริษัทประกันจะรับรถที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
4.ต้องรู้ว่า...หากเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 สามารถระบุผู้ขับขี่เพื่อรับส่วนลดได้
 
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่ทำประกันภัยชั้น 1 สามารถทำประกันรถแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ โดยต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ และอายุของผู้ขับขี่ ซึ่งเบี้ยประกันจะลดลงตามช่วงอายุ เป็นอัตราส่วน ดังนี้
  • ช่วงอายุผู้ขับขี่ 18 - 24 ปี ได้รับส่วนลดเบี้ยประกัน 5%
  • ช่วงอายุผู้ขับขี่ 25 - 35 ปี ได้รับส่วนลดเบี้ยประกัน 10%
  • ช่วงอายุอายุผู้ขับขี่ 36 - 50 ปี ได้รับส่วนลดเบี้ยประกัน 15%
  • ช่วงอายุอายุผู้ขับขี่ 50 ปีขึ้นไป ได้รับส่วนลดเบี้ยประกัน 20%
ซึ่งนอกจากการทำประกันรถระบุชื่อผู้ขับขี่แบบปกติแล้ว ยังสามารถทำประกันรถที่ระบุชื่อของผู้ขับขี่รถยนต์ 2 คนได้ด้วย โดยอัตราส่วนลดที่ได้รับจะคิดจากอายุของผู้ขับขี่ที่น้อยที่สุด เช่น หากทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ 2 คน คนแรกเป็นคุณพ่ออายุ 50 ปี คนที่สองเป็นลูกชายอายุ 27 ปี ส่วนลดเบี้ยประกันที่ได้รับจะเท่ากับ 10% ตามอายุของลูกชาย เป็นต้น
สรุปแล้ว ในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ ควรศึกษาประเภทของกรมธรรม์ประกันภัยต่างๆ เงื่อนไขความคุ้มครอบ หรือเงื่อนไขที่อาจจะทำให้เราได้รับส่วนลดเพิ่มเติม รวมถึงบริการหลังการขาย เช่น กรณีที่อาจต้องมีการเคลมเกิดขึ้นว่าเราจะได้รับความคุ้มค่า และสะดวกสบาย ตามที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่คุ้มค่า และตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุดนะคะ

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.tlt.co.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง ซื้อประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันรถ เคล็ดลับลดค่าเบี้ยประกันรถ เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อประกันรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)