ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เจาะรถแข่งไร้มลพิษ ORC ROOKIE GR Corolla H2 Concept พร้อมสัมภาษณ์ "โมริโซซัง" เจ้าพ่อโตโยต้าผู้ปลุกปั้น

icon 26 พ.ค. 67 icon 1,792
เจาะรถแข่งไร้มลพิษ ORC ROOKIE GR Corolla H2 Concept พร้อมสัมภาษณ์ "โมริโซซัง" เจ้าพ่อโตโยต้าผู้ปลุกปั้น
มาดูรถแข่ง "ORC ROOKIE GR Corolla H2 Concept" (หรือโคโรลล่าเครื่องยนต์ไฮโดรเจน) ที่ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้าร่วมแข่งขัน “Fuji SUPER TEC 24 ชั่วโมงสนามที่สองของซีรีส์ ENEOS Super Taikyu Series 2024 Empowered by BRIDGESTONE” พร้อม สัมภาษณ์พิเศษ "โมริโซซัง" เจ้าพ่ออาณาจักรโตโยต้ากับการพัฒนารถและกีฬามอเตอร์สปอร์ต เพราะโตโยต้ามุ่งมั่นที่จะพัฒนายานยนต์และคนขับผ่านสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในสนามแข่งมอเตอร์สปอร์ต และสร้างวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับมิตรในวงการ เพื่อทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนได้จริง
 

วิวัฒนาการเหนือชั้นของโคโรลล่าเครื่องยนต์ไฮโดรเจนที่วิ่งด้วยไฮโดรเจนเหลว-พัฒนาปั๊มป์ไฮโดรเจนเหลวให้คงทนมากขึ้น


พัฒนา “ปั๊มป์” ที่จะอัดความดันไฮโดรเจนเหลวเพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปให้เครื่องยนต์ให้มีความคงทนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก สามารถวิ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน (ต่างจากการแข่งขัน 24 ชั่วโมงปีที่แล้วที่ต้องเปลี่ยน 2 ครั้ง) 
เครื่องยนต์ไฮโดรเจนส่งกำลังได้โดยการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งถูกอัดเข้าห้องเครื่องยนต์โดยตรง โคโรลล่าเครื่องยนต์ไฮโดรเจนมีปั๊มป์ที่จะอัดอากาศด้วยการให้แรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ (หรือระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับ) ส่งไฮโดรเจนจากถังเก็บเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ ปั๊มป์นี้ต้องรับกับช่วงแรงอัดมหาศาลที่เกิดขึ้นจากระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ ทำให้ตลับลูกปูน(ชิ้นส่วนที่จะทำให้เพลาหมุนได้อย่างคล่องตัว) รวมถึงเกียร์ (เฟือง) ต้องรับแรงมหาศาล เป็นเหตุให้เกิดการสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพได้ง่าย
 
 
ในครั้งนี้ เพื่อยกระดับความทนทานของปั๊มป์ จึงได้พัฒนาโครงสร้างของข้อเหวี่ยงเป็นแบบ Dual-Drive ทำให้สามารถส่งแรงบิดจากข้อเหวี่ยงทั้งสองด้านเข้าสู่มอเตอร์ได้ ทำให้การหมุนไปกลับของลูกสูบสร้างแรงอัดได้อย่างสมดุลย์ดี ส่งผลให้ปั๊มป์มีความทนทานเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก
 

เพิ่มระยะวิ่งด้วยถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิม

เปลี่ยนรูปทรงของถังไฮโดรเจนที่วางไว้ในตัวถังจาก “ทรงกระบอก” เป็น “ทรงต่าง (ทรงวงรี)” ส่งผลให้ปริมาณไฮโดรเจนเหลวที่สามารถเติมได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระยะวิ่งยาวมากขึ้นกว่าเดิม หากเป็นเชื้อเพลิงก๊าซไฮโดรเจนต้องเป็นถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกเพื่อกระจายแรงดันมหาศาลให้ทั่วถึงเท่ากันในถังเชื้อเพลิง ในขณะที่ไฮโดรเจนเหลวมีแรงดันน้อยกว่าก๊าซไฮโดรเจน สามารถใช้ถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิมได้ ในครั้งนี้ จึงได้ออกแบบให้เป็นถังเชื้อเพลิงแบบทรงวงรี เพื่อใช้พื้นที่ในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปริมาตรของถังเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกแบบเดิม และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ก๊าซไฮโดรเจนอัดที่ความดัน 70 เมกกะปาสคาลเมื่อทดสอบในปีค.ศ.2022 ทำให้ปริมาณเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่บรรจุได้ (หรือระยะวิ่ง) เพิ่มขึ้นมากกว่า2 เท่า 
 
 
ชนิดเชื้อเพลิงไฮโดรเจน   ก๊าซไฮโดรเจน (อัดที่ความดัน 70 เมกกะปาสคาล) ในปี 2022  และไฮโดรเจนเหลว ในปี 2023-2024
ขนาดถังเชื้อเพลิง            180 ลิตร(ก๊าซ)  ในปี 2022  และ 150 ลิตร ในปี 2023  ขยับเพิ่มเป็น 220 ลิตร ในปี 2024
ปริมาณไฮโดรเจน            7.3กก.(ก๊าซ) ในปี 2022 และ 10 กก. ในปี 2023 และเป็น 15 กก. ในปี 2024
ระยะวิ่ง(สนามFSW)          ราว 12 รอบ ในปั 2022 เพิ่มขึ้นราว 20 รอบ ในปี 2023 และราว 30 รอบ ในปี 2024
คิดเป็นระยะทาง                 ราว 54 กม. ในปี 2022 และ ราว 90 กม. ในปี 2023 ขยับเป็นราว 135 กม. ในปี 2024 
 
 
ติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับ CO2 เข้าที่จุดดูดอากาศของแอร์คลีนเนอร์ พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์แยกCO2 ที่เกิดขึ้นจากความร้อนของน้ำมันเครื่องเข้าที่ด้านข้างของอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อกู้คืน CO2 ที่แยกตัวออกมาเก็บไว้ในถังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยน้ำยาดูดซับ ในการแข่งขัน Fuji 2023 สนามสุดท้าย ได้ติดตั้งระบบสลับเปลี่ยนการดูดซับและแยกตัว CO2 เป็นแบบแมนนวล  ในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับการเปลี่ยนโปรเซสการดูดซับและแยกตัว โดยการหมุนฟิลเตอร์ดูดซับ CO2 อย่างช้า ๆ ในระหว่างการขับขี่
 

สัมภาษณ์พิเศษ "มริโซซัง" เจ้าพ่ออาณาจักรโตโยต้ากับการพัฒนารถและกีฬามอเตอร์สปอร์ต Super TaikyuSeries 2024 “NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours” 

เราคาดหวังไว้ว่า Rookie Racing ของเรามีอยู่ 3 คันครับ คือหมายเลข 1 หมายเลข 28 และหมายเลข 32 หมายเลข 1 เป็นคันที่ชนะเลิศปีที่แล้ว ปีนี้ก็หวังที่จะชนะเลิศเช่นกัน ขณะที่หมายเลข 28 และ 32 เป็นสองคันที่จะทำการทดสอบความเป็นกลางทางคาร์บอน เราได้สร้างตัวเลือกที่หลากหลายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อนโดยการใช้รถ 2 คันนี้มาทดสอบในสนามแข่งจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวเลือกที่หลากหลาย(ของความเป็นกลางทางคาร์บอน)
 
โดย 3 ปีผ่านไป มีคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดพวกเรามาเป็นเพื่อนเรามากขึ้น และในครั้งนี้ เราก็ต้องการที่จะหาเพื่อนให้มากขึ้นเช่นกัน ตัวผมจะขับรถแข่งหมายเลข 32 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใช้ไฮโดรเจน คิดว่าจะขับให้มากรอบที่สุด และให้นานที่สุด เพื่อสร้างตัวเลือกของอนาคตขึ้นมาใหม่ อยากจะให้ทุกคนให้กำลังใจผมด้วยครับ
 
 
เราพยายามพัฒนาเทคโนโลยีให้ใช้ได้ในอนาคต เครื่องยนต์ไฮโดรเจนก็เหมือนกับรถ EV ต้องมีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีในตัวรถและความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ไม่อย่างนั้นคงไม่สามารถใช้ได้จริง การที่เรามาเปิดตัวเทคโนโลยีในครั้งนี้ ก็เพื่อให้คนที่เห็นด้วยกับเรามาเป็นเพื่อนเราพัฒนากันเพิ่มมากขึ้น เราก็หวังให้ทุกท่าน คนในเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทยมาร่วมกันสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้หลากหลายเพื่ออนาคตของพวกเรา
 
 
ส่วนทีมอื่นที่ OEM เช่น ซูบารุ มาสด้า ให้การสนับสนุนก็พยายามอย่างมากเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือนิสสัน ฮอนด้าและผู้ผลิตอื่นก็เข้ามาร่วมที่จะลด CO2 ผมอยากให้ทุกคนจับตามมองการที่หลายฝ่ายเข้ามาร่วมกันในครั้งนี้ด้วยครับ
 
 
เราต้องการเปลี่ยนอนาคต ข้อมูลที่ได้ระหว่างการแข่งขัน ยิ่งมากเท่าไรจะยิ่งดีเท่านั้น เราจึงอยากจะวิ่งให้นานที่สุดแม้วินาทีเดียว หรือไกลที่สุดแม้เมตรเดียวก็ตาม และเราอยากจะให้ทุกท่านสังเกต Pit ของเรานะครับ ถ้าเปรียบเทียบกับ Pit ทั่วไปจะเงียบกว่ามาก เพราะเราใช้ไฟฟ้าที่ได้จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน เรานำรถโตโยต้า Mirai มาเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าครับ เราได้เก็บข้อมูลว่า 3 ปีที่เรามาแข่ง ได้ใช้ไฮโดรเจนไปเท่าไร พบว่าเท่ากับปริมาณไฟฟ้า 1 ปีที่ 1 ครัวเรือนทั่วไปใช้จริง กล่าวคือเรามาแข่ง 6 ครั้ง เราได้พิสูจน์ว่าเป็นการใช้ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้าเท่ากับไฟฟ้าที่ 1 ครัวเรือนใช้ไป 365 วัน นอกจากนี้ การใช้ไฮโดรเจนใน 6 สนามแข่งนี้เทียบเท่ากับการลดการปล่อย CO2 ของ 1 ครัวเรือนที่ปล่อยออกมา 3 ปี เหล่านี้เป็นข้อมูลที่เราพิสูจน์ได้จากการลงแข่งที่ผ่านมา
 
 
นอกจากนี่เราพัฒนาระบบการเติมที่ใใช้เวลาน้อยลง ถ้าวิ่ง 1 ชม.ต้องมาเติม 1 ครั้งให้เต็ม ซึ่งต่างจากเดิมที่จะวิ่งได้แค่ 20 นาที และต้องออกไปเติมแก๊สนอกสนามใช้เวลาร่วม 10 นาที แต่ตอนนี้ใช้เวลาเติมไม่ต่างจากเติมน้ำมันใน pit เลย พอแข่งร่วมกับรถแข่งคันอื่น คุณอาจจะไม่รู้เลยว่ารถแข่งหมายเลข 32 ใช้ไฮโดรเจน
 
ผมจะขึ้นตำแหน่งเป็น Top ของ Super Taikyu Organization ในเดือนมิถุนายน หากการแข่งขัน 25 ชั่วโมงที่บุรีรัมย์ประเทศไทย และการแข่งขันฟูจิ 24 ชั่วโมงเป็นซีรีส์เดียวกัน ผมว่าคงเป็นความท้าทายที่ดีสำหรับนักแข่งชาวไทย ซึ่งตอนแข่งที่ประเทศไทยใช้ก๊าซไฮโดรเจน แต่ที่นี่ใช้ไฮโดรเจนเหลว หมายความว่ารถที่แข่งในวันนี้ได้รับการยกระดับขึ้นมากจากที่แข่งในประเทศไทย และการเติมเชื้อเพลิงก็ดีขึ้นกว่าเดิม การที่เราพัฒนารถผ่านการแข่งในสนามแข่ง หมายความว่ารถที่มาแข่งในสนามล่าสุดจะดีขึ้นกว่าเดิมมาก และมีเพื่อนที่เห็นด้วยกับเรามากขึ้นกว่าเดิม
 
ผมเป็นคนชอบมอเตอร์สปอร์ตมาก ๆ และคิดว่าคนที่ชอบมอเตอร์สปอร์ตในไทยก็มีอยู่มากด้วยเช่นกัน อยากให้มาร่วมกันทำให้โลกเราที่สนุกสนานได้อยู่แล้วในปัจจุบัน มีความสนุกสนานมากขึ้นกว่าเดิม "โมริโซซัง" ทิ้งท้ายด้วยแววตาที่มุ่งมั่นและจริงใจมาก ๆ ครับ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง toyota gr yaris
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)