ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รถกระบะขนของ ตู้ทึบ ส่งของ (กระบะเชิงพาณิชย์) ควรเลือกประกันแบบไหน?

icon 9 เม.ย. 67 icon 1,251
รถกระบะขนของ ตู้ทึบ ส่งของ (กระบะเชิงพาณิชย์) ควรเลือกประกันแบบไหน?
การซื้อรถสักคันมันต้องตอบโจทย์ของการใช้ชีวิต และครอบครัว โดยเฉพาะ รถกระบะ ที่สามารถนำมาใช้ขับรถไปไหนมาไหนกับครอบครัว อีกด้านก็สามารถขับรถคันเดียวกันนี้ไปทำธุรกิจได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งทำเป็นรถส่งของ โดยนำไปติดตั้งคอก, ตีตู้ทึบ เพื่อให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเพื่อให้รถเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองที่ดีที่สุด ควรเลือกประกันแบบใด
 
งั้นเรามาทำความรู้จักกับการดัดแปลง รถกระบะ ไปเป็น รถตู้ทึบ, รถคอก เพื่อส่งของกันก่อน 
 
ภาพประกอบจาก : FB น่ำเชียงหลี NCL
 
ในส่วนของ รถตู้ทึบ ที่ดัดแปลงมาจากรถกระบะธรรมดานั้น คือการนำตัวรถมาใส่ตู้ทึบที่เป็นโครงสร้างหรือส่วนประกอบที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันสินค้าจากสภาพอากาศ, การโจรกรรม และความเสียหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งก็จะมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน แบ่งประเภทได้ง่าย ๆ ดังนี้
  • ตู้ทึบมาตรฐาน : จะเป็นตู้ทึบพื้นฐานที่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าทั่วไป เช่น กล่อง, ลัง, ถุง หรือสินค้าอื่นๆ ที่ตัวบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถกันน้ำ, ความชื้น ได้นั่นเอง
 
 
  • ตู้ทึบปรับอากาศ (ห้องเย็น) : ส่วนตู้แบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ เช่น อาหารสด, ผลไม้ หรือ สินค้าที่เน่าได้เสียง่าย จำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาสภาพสินค้านั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี ตู้ทึบที่มีการระบายอากาศ ที่เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการระบายอากาศเพื่อป้องกันความชื้น, ตู้ทึบพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งสินค้าเฉพาะอย่างสารเคมีหรือสินค้าอันตราย, ตู้ทึบที่มีการป้องกันการรั่วไหล สำหรับขนส่งสินค้าที่ต้องการป้องกันการรั่วไหลเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการใช้ตู้ทึบในการขนส่งสินค้าให้เหมาะกับลักษณะของสินค้า, ความต้องการด้านการรักษาคุณภาพ และเงื่อนไขการขนส่ง เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้รับในสภาพที่ดีที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
 
ภาพประกอบจาก : FB น่ำเชียงหลี NCL
 
มาต่อกันที่ รถคอก จะเป็นรถกระบะที่นำมาติดตั้ง คอก หรือ รั้ว เพื่อการบรรทุกอยู่ที่ด้านหลังของรถ โดยจะเป็นโครงสร้างที่มีด้านข้าง และด้านหลังเปิดได้หรือปิดสนิท ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งสินค้าหรือสัตว์ ฯลฯ โดยจะมีลักษณะและการใช้งานที่หลากหลาย 
  • คอกหรือกรงบรรทุก : มักจะทำจากเหล็กหรือสเตนเลส ที่มีการออกแบบเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักสินค้าหรือสัตว์ที่ขนส่งได้อย่างปลอดภัย
  • คอกที่ด้านข้างและด้านหลังเปิดได้ : ถูกการออกแบบให้ด้านข้างหรือด้านหลังของคอกเปิดได้ เพื่อความสะดวกในการขึ้นลงสินค้าหรือสัตว์
  • ขนาดและความสูงของคอก : แตกต่างกันไปตามการใช้งาน เช่น คอกสำหรับขนสัตว์มีความสูงมากกว่าคอกสำหรับขนสินค้าทั่วไป
ในส่วนของการใช้งาน ก็เพื่อ ขนส่งสินค้าที่ไม่ต้องการการรักษาอุณหภูมิ หรือสภาพไม่กลัวที่จะตกหล่นระหว่างการขนส่ง, ขนส่งสัตว์ไปยังตลาดหรือฟาร์ม, ใช้ในงานเกษตรสำหรับขนส่งผลผลิตทางเกษตร ซึ่งรถคอกก็จะมีข้อดีตรงที่ สามารถขนส่งสินค้าและสัตว์ได้ในปริมาณมาก ทั้งยังมีคอกช่วยป้องกันสินค้าหรือสัตว์ไม่ให้หล่นหายระหว่างการเดินทาง แต่ก็มีความยืดหยุ่น เหมาะกับการใช้งานหลากหลายประเภท 
 
 
แต่การดัดแปลงรถกระบะให้เป็น รถที่จะขนคน, กระบะตู้ทึบ, รถคอก ต้องทำตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง อาจต้องมีการตรวจสอบและออกใบรับรองโดยวิศวกร และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดัดแปลงนั้นถูกต้องตามกฎหมาย เพราะการต่อเติมหรือดัดแปลงรถยนต์ให้เกินสภาพไปจากที่จดทะเบียนไว้มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับ เนื่องมาจากการดัดแปลงนั้นจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกขึ้นจากเดิม เช่น เดิมบรรทุกได้ 1.5 ตัน ก็ขยับขึ้นเป็น 1.8-2.0 ตัน เพื่อไม่ทำให้เกิดอันตรายในการใช้งาน ซึ่งการดัดแปลงก็มีตั้งแต่การปรับปรุงภายนอก, ระบบรองรับน้ำหนัก (เสริมแหนบ), ระบบขับเคลื่อน (เปลี่ยนไปใช้เพลาลอย) ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของรถกระบะ จึงจำเป็นต้องแจ้งกับขยส่งตั้งแต่ก่อนเอารถมาวิ่งบนท้องถนน
 
 
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญ การนำรถกระบะไปใช้เชิงพาณิชย์ (ขนส่ง) ควรเลือกประกันแบบไหน?
หลายบริษัทประกันที่รับทำประกันให้รถกระบะที่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ อย่างเช่น รับจ้าง ให้เช่า ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ควรเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุด เพื่อคลายกังวล และมั่นใจได้ว่าจะได้คุ้มครองอย่างเต็มที่ เนื่องจากการใช้รถกระบะในเชิงพาณิชย์มีความเสี่ยงสูงกว่าการใช้งานส่วนบบุคคล ถ้าต้องการความคุ้มครองที่มากที่สุด ก็ควรเป็นประกันภัยชั้น 1 ที่ครอบคลุมทั้งความเสียหายของรถทั้งเรา และฝ่ายตรงข้าม, ไฟไหม้, การโจรกรรม และความเสียหายส่วนบุคคล จึงจำเป็นสำหรับรถกระบะขนของที่ใช้งานหนักและเป็นหลักในการทำธุรกิจ ส่วนประกันภัยชั้นรองลงมา เช่น 2, 2+ หรือ 3+ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองไมามากเท่าชั้น 1 แต่ก็มีราคาค่าเบี้ยที่ประหยัดกว่า โดยยังคงให้ความคุ้มครองที่สำคัญ เช่น ความเสียหายจากการชน, ไฟไหม้, หรือการโจรกรรม โดยในบางบริษัทมีแผนประกันภัยพิเศษสำหรับรถเชิงพาณิชย์โดยเฉพาะ ซึ่งอาจรวมถึงความคุ้มครองสำหรับสินค้าที่ขนส่ง, ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก, และความเสียหายต่อตัวรถจากการใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่ก็มีอัตราเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายสูงกว่ารถกระบะมั่วไปขึ้นอยู่กับจำนวนทุนเอาประกัน, อายุของรถ, อายุของคนขับขี่ และอื่น ๆ ตามบริษัทประกันจะพิจารณาด้วย 
 
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยประเภทใด ไม่ว่าประกันสำหรับรถกระบะที่ดัดแปลงเป็นรถที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ หรือประกันสำหรับรถกระบะทั่วไป ไม่ควรมองข้ามการศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ และใส่ใจในการเลือกบริษัทประกันภัย ควรตรวจสอบให้ดีว่าบริษัทประกันภัยแต่ละรายให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากน้อยขนาดไหนเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะได้ไม่ เจ็บหนัก!
แท็กที่เกี่ยวข้อง insurance ประกันภัย รถกะบะ รถกระบะเชิงพาณิชย์ รถคอก
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)