ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เคลมประกันรถยนต์บ่อยๆ มีผลเสียอย่างไรบ้าง?

icon 7 ก.พ. 67 icon 1,577
เคลมประกันรถยนต์บ่อยๆ มีผลเสียอย่างไรบ้าง?
ประกันรถยนต์ สิ่งที่คนซื้อไม่อยากใช้ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือมือเก๋า ก็มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วนอกจะเสียเวลา เสียของเพราะรถยนต์คู่ใจอาจจะเกิดรอยจนต้องส่งเคลมประกัน หรือผู้ขับขึ่ และคู่กรณีอาจบาดเจ็บได้แล้ว การเคลมประกันแต่ละครั้งจะถูกบันทึกไว้ในส่วนของประวัติการเคลม และประวัติการขับขี่ของเราด้วย ซึ่งหากเรามีการเคลมประกันบ่อยๆ จะส่งผลเสียยังไงบ้างไปดูกันเลยค่ะ  
 
การเคลมประกันบ่อย…แค่ไหนถึงเรียกว่า "บ่อย" 
 
การเคลมประกันบ่อย จากหลักเกณฑ์ของ คปภ. ได้กำหนดไว้คือ มีการเคลมมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือ มีค่าเสียหายรวมกันเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
 
การเคลมประกันรถยนต์บ่อยๆ อาจมีผลเสียอย่างไร
 
การขับขี่รถโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ นอกจากจะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินทั้งผู้เอาประกัน และคู่กรณีแล้ว ยังส่งผลเสียต่อเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. ไม่ได้รับส่วนลดประวัติดี 
 
โดยปกติการต่อประกันภัยรถยนต์จะมีส่วนลดค่าเบี้ยประกันสำหรับลูกค้าที่มีประวัติดี หรือไม่เคยมีประวัติการเคลมประกัน หรือมีการเคลมประกันแต่คุณเป็นฝ่ายถูก หรือระบุคู่กรณีได้  แต่หากมีการเคลมประกันมากกว่า 2 ครั้งต่อปี และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาท และเป็นฝ่ายผิดจนมีค่าเสียหายเกิน 200% ของค่าเบี้ยประกัน ก็จะไม่ได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป และบริษัทประกันจะบันทึกข้อมูลว่าเป็นลูกค้าที่มีประวัติไม่ดี
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม >> ต้องทำยังไงถึงจะได้ "ส่วนลดประวัติดี" ของประกันรถยนต์
 
2. ค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น
 
หากเรามีประวัติการเคลมบ่อยๆ บริษัทประกันอาจมองว่าเราเป็นผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะเคลมประกันต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทประกันจะมีการบันทึกประวัติการเคลมทุกครั้ง และใช้เป็นปัจจัยในการพิจารณาปรับเพิ่มค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป
 
3. อาจถูกยกเลิกกรมธรรม์
 
หากบริษัทประกันต้องแบกรับภาระจ่ายค่าเคลมประกันของเราต่อเนื่องๆ ไม่ว่าจะเป็น การเคลมประกันจากการขับขี่แบบประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรือการเคลมประกันเพื่อซ่อมแซมรถจากเหตุเล็กๆ น้อยๆ บ่อยๆ บริษัทประกันก็มีสิทธิ์ที่จะแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ หรือปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองได้ในปีถัดไปได้ 
 
4. อาจติด Black List จากบริษัทประกันภัยได้
 
บริษัทประกันภัยรถยนต์จะมีการทำข้อมูลประวัติของลูกค้า เพื่อใช้เช็กประวัติการเคลมประกัน ประวัติผู้ขับขี่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้บริษัทประกันภัยรถยนต์สามารถส่งต่อข้อมูลให้บริษัทประกันอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกรับทำประกันได้ ซึ่งหากติดแบล็กลิสต์ บริษัทประกันภัยรถยนต์ก็อาจจะไม่ยินยอมที่จะต่อประกันรถยนต์ในปีถัดไป หรืออาจจะไม่รับทำประกันภัยให้ได้

ประกันภัยรถยนต์มีไว้เพื่อความอุ่นใจ และให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่จะดีมากกว่าหากผู้ขับขี่ทุกคนใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้ว การไม่เคลมประกันบ่อยๆ ก็ส่งผลดีมากกว่าแน่นอนค่ะ :)
 
อยากสอบถามข้อมูลความรู้เรื่องประกันรถยนต์  หรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันรถ เคล็ดลับลดค่าเบี้ยประกันรถ ซื้อประกันภัยรถยนต์ เคลมประกันรถยนต์ เคลมประกันบ่อยๆ ข้อเสียของการเคลมประกันบ่อยๆ
CAR GURU
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)