ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ยางใหม่ค้างปี...ใช้ได้ไหม?

icon 9 ม.ค. 67 icon 32,333
ยางใหม่ค้างปี...ใช้ได้ไหม?
สำหรับคนที่กำลังจะถึงรอบเปลี่ยนยางรถยนต์นั้น อาจจะกำลังดูกำลังทรัพย์ว่างบประมาณและยี่ห้อหรือรุ่นยางที่ตรงกับความต้องการนั้น แพงไหม เลือกอย่างไร ราคาคุ้มค่าแค่ไหน โดยปกติควรจะสลับยางทั้ง 4 ล้อ หรือถ้ามียางอะไหล่ก็ 5 ล้อ ทุก ๆ 10,000 กม.  และต้องเปลี่ยนยางทุก ๆ 40,000-50,000 กม.  หรือตามสภาพของดอก หน้า แก้ม ยาง ว่ามีการแตกร้าว เสียหาย ฉีดขาดจากแรงกระแทรกหรือไหม  
 
แต่ว่า...ในยุคต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ยางก็ต้องเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย จะเลือกซื้อยางใหม่ปีล่าสุดก็อาจจะสู้ไม่ไหว หากมีทางเลือกไปซื้อยางใหม่แต่ปีเก่าหรือที่เรียกว่า "ค้างปี-ตกปี" จะใช้ได้หรือไม่....
 

เปลี่ยนเมื่อไหร่...

ใช้งานมานาน.....การเปลี่ยนยางโดยทั่วไปจะต้องคอยสลับยางทั้ง 4 หรือ 5 ล้อรวมล้ออะไหล่ ในกรณีที่ล้อเดิม ๆ ติดรถเป็นลายแบบเดียวกัน (รถใหม่ป้ายแดง) ทุก 10,000 กม. หรือบวกลบ และหลังจากใช้งานเป็นเวลาเกินกว่า 3-4 ปี ขึ้นไป หรือ 40,000 - 50,000 กม. ควรเปลี่ยนใหม่ยกชุด หรือถ้างบน้อยเปลี่ยนที่ 2 ล้อก็ให้ใส่ที่ล้อคู่หลัง โดยเลือกยางเดิมสภาพสวย ๆ เอาใส่คู่แทนแทน (ขณะขับขี่ล้อคู่หลังมาส่วนช่วยเรื่องยึดเกาะถนนมากกว่าเกิดอันตรายน้อยกว่า)
 
 
อีกกรณีหนึ่งขึ้นกับสภาพถนนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน...การขับขี่ผ่านเส้นทางขรุขระบ่อย ๆ ตกหลุมแรง ๆ หรือขับขี่ด้วยความเร็วสูง ออกตัวกระชาก เบรกล้อล็อค ฯลฯ ซึ่งก็ขึ้นกับพฤติกรรมผู้ขับด้วย หรือการเข้าโค้งแรง ๆ บ่อย ๆ ก็ทำให้หน้ายางสึกหรอได้ และอีกกรณีคือ รถที่จอดนิ่งไว้นาน ๆ จอดคร่อมหรือเหยียบขอบ ฝาท่อ หรือส่วนคมของถนน หรือใช้รถบนเขา บนดอยเป็นประจำ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ยางเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นแนะนำว่า ควรเปลี่ยนยางไม่เกิน 4 ปี หรือ 40,000 กม. น่าจะเหมาะสมมากที่สุด เพราะการใช้งานที่แตกต่างกันไปนั่นเองครับ 
 
 

บวม ฉีด แตก ตำ รั่ว โล้น...

อันนี้ชัดเจนครับ ยางที่เคยผ่านสมรภูมิมาเช่น ตะปูตำ ของมีคมบาด ให้รีบไปร้านยางเช็คจุดรั่ว มีได้หลายสาเหตุ เช่น จุ๊บลมหรือใส้ไก่เสื่อมกั้นลมออกจากยางไม่ได้ อาการนี้ลมจะค่อย ๆ ซึม ช้า ๆ หากตะปูขนาดใหญ่ลึกมาก ๆ อาจทำให้คุณสมบัติของยางลดลงตามไปด้วย แต่ถ้าเป็นแผลตะปูดอกเล็ก ๆ ใช้อุดแบบ "ตัวหนอน" แทงเข้าไป ยังพอใช้งานต่อได้อีกเรื่อย ๆ แต่ถ้าต้องปะแบบสตริม ยิ่งแผลใหญ่ก็มีโอกาสทำให้คุณภาพยางลดลง แต่ถ้ายางยังใหม่กริ๊บอยู่จำเป็นต้องใช้งานต่อไปอีกก็สามารถใช้อีกระยะหนึ่งครับ ขึ้นอยู่กับการปะเนื้อยางด้วยว่ามากน้อยแค่ไหน (ตรงนี้ร้านปะยางจะแนะนำให้ได้) 
 
 
ยางบวมเกิดจากการผลิตผิดผลาดหรือการกระแทกหลุมแรง ๆ ทำให้เนื้อยางบวมโป่งออกมา เกิดได้ทั้งตรงแก้มยางและหน้ายาง อาการคือ รถจะสั่นทะท้านเป็นจังหวะ ๆ ตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงที่ผิดจากเดิมไปนั่นเองครับ สำหรับยางฉีดก็อาจเกิดจากการใช้งานไปนาน ๆ จนหมออายุ หรือขับเบียดกระแทกส่วนมีคมบนท้องถนน วัสดุ ฯลฯ แผ่นเหล็กปิดชั่วคราว ทำให้ยางเกิดการฉีด ปริ ออกมา นับว่าอันตรายมาก ๆ ควรรีบเปลี่ยนทันทีครับ 
 
 
เนื้อยางแตกร้าว แตกลายงา แสดงถึงยางที่หมดอายุ เนื้อยางจะแข็งกระด่างไม่นุ่มเมื่อใช้เล็บจิกกดเบาะ ๆ เสี่ยงต่อการระเบิดได้ และสุดท้ายดอกยางโล้น ไม่มีร่องเอาไว้รีดน้ำ แม้ว่ายางจะยังมีอายุใช้งานเหลือก็ตาม แต่ความเกาะถนนลดลง ยิ่งขับขี่ผ่านแอ่งน้ำ ยิ่งอันตรายครับ เพราะไม่มีร่องระบายน้ำ ทำให้หน้ายางลอยเหนือน้ำ (เหินน้ำ) ไม่สัมผัสถนน โดยปกติร่องของดอกยางควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 1.5 - 2 มม. แต่จะให้ดีไม่ควรต้ำกว่า 2 มม. ครับ
 
 

ยางใหม่ปีเก่า...ราคาเบากว่า

เข้าเรื่องว่า "ยางใหม่ปีเก่า หรือเก่าเก็บ ควรใช้ไหม ราคาประหยัดดี?" หากยางนั้นถูกเก็บรักษายางดี ในที่ร่มไม่โดนแดด ไม่โดนน้ำ ไม่ถูกวางซ้อนกันจนแบนผิดรูป และปีไม่เก่าหรือลึกเกินกว่าปีปัจจุบันเกิน 2 ปี .....ใช้ได้ครับ ฟันธง!!!  โดยผู้ผลิตยางรถยนต์ส่วนใหญ่ได้กำหนดคุณสมบัติของเนื้อยางไว้แล้วว่ามีอายุใช้งานแบบ 100% เต็ม เกิน 5 ขึ้นไป อาจจะมากถึง 5 - 7 ปี (ในส่วนคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำยาง) แต่ความจริงแนะนนำไม่เกิน 5 ปี จึงนับว่าสามาถใช้งานได้ไม่แตกต่างจากยางใหม่ปีใหม่ล่าสุด เพียงแต่ว่าถ้านับที่อายุยางนั้นก็อาจจะต้องเปลี่ยนรอบต่อไปเร็วกว่า 1 - 2 ปี เท่านั้นเองครับ
 
 
ยางใหม่ค้างปีนับเป็นทางเลือกสำหรับใครที่มีงบน้อยหรือต้องการใช้ยางรุ่นสูง ๆ เกรดพรีเมี่ยม ในราคาถูกลง อาจจะประหยัดเงินได้มากกว่า 30 - 40 % ของราคายางใหม่ ๆ ข้อดีในการซื้อยางใหม่ปีเก่าคือ ได้ยางรุ่นสูง ๆ เกรดพรี่เมี่ยมในราคาถูกลง แต่ข้อเสีย ต้องติดตั้งร้านมืออาชีพและเชื่อถือได้ หรือบางรุ่นอาจไม่รับประกันจากผู้ผลิตแล้ว แต่ถ้ามีร้านที่พร้อมการรับประกันยางมาให้ด้วย จะเป็นการรับประกันร้านเองก็ถือว่ารับได้ครับ
 
 
ยางถอดป้ายแดงใช้ได้ไหม...
ยางถอดป้ายแดงหมายถึง รถใหม่ป้ายแดงที่เพิ่มออกจากศูนย์มาเปลี่ยนยาง-ล้อแม็ก อาจจะวิ่งไม่เกิน 500 - 1,000 กม. และต้องไม่ผ่านการเบียด แตก ตำ บวม มา พร้อมกับดอกยางควรจะต้องมีหนาม หรือ เส้นแถบสีแดงที่ทาลงบนหน้ายางยังไม่จางเกินไป ถือว่าใช้ได้ซึ่งราคาอาจจะประหยัดลงกว่ายางใหม่ปีใหม่ราว ๆ 10 - 20 % เพราะส่วนมากเป็นยางปีปัจจุบัน ราคาจึงยังสูงกว่ายางใหม่ปีเก่าครับ ทั้งนี้ราคาก็ขึ้นกับ ยี่ห้อ รุ่นยาง ประเภท และระยะทางที่วิ่งมาด้วยครับ 
 

สรุปไม่ต้องคิดเยอะใช้ได้เลย!

ยางรถยนต์ค้างปี หากต้องการให้สามารถใช้งานได้ดีและยาวนานให้เลือกปีผลิตไม่เกิน 2 ปีที่ผ่านมา โดยให้ดูเลขผีผลิตที่แก้มยาง เช่น ปัจจุบัน 0124 คือ สัปดาห์ที่ 1 ปี 2024 เลขบนยางที่จะซื้อ 0622 เท่ากับเป็นยางผลิตในกลาง ๆ ปี 2022 ผ่านไปราว ๆ 2 ปี บวก/ลบ สามารถใช้งานต่อไปได้อีกอย่างน้อยก็ 4 ปี เลยครับ ส่วนถ้าปียิ่งเก่าลงไปราคาก็จะต่ำลงและอายุใช้งานก็จะลดลงตามไปด้วย ส่วนถ้าใครที่มีกำลังซื้อยางปีใหม่ ๆ ได้ก็นับว่ายิ่งดีกว่าใช้ยาว ๆ ไปเลย 4 - 5 ปี ยกเว้นว่าไปขับทับตะปู!!!
 
หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงการแนะนำเปลี่ยนในงบจำกัด อย่างไรก็ตามยังคงเน้นให้ใช้ยางปีใหม่ ๆ เพื่อความมั่นใจและปลอดภัย
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ยางรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)