ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เช็กให้ดี! จ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์อย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก

icon 15 ธ.ค. 66 icon 1,463
เช็กให้ดี! จ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์อย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก
ปัจจุบันการทำประกันภัยรถยนต์ มักทำผ่านนายหน้าตัวแทน หรือทำผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือเป็นช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว แต่ก็อาจมีข้อเสียตรงที่ช่องทางเหล่านี้อาจมีมิจฉาชีพแอบแฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้ก็เป็นได้ จากเคสที่เคยมีผู้ร้องเรียนเรื่องการถูกโกงจากการทำประกันภัยรถยนต์ เรื่องที่พบบ่อย คือ ทำประกันภัยรถยนต์ จ่ายเบี้ยประกันภัยแล้วไม่ได้รับกรมธรรม์ แต่ด้วยความเชื่อใจก็ไม่ได้ติดตามทวงถาม พอถึงเวลาเกิดเหตุต้องเคลมประกันกลับเคลมไม่ได้ เพราะพนักงานไม่ได้แจ้งบริษัทประกันเพื่อทำความคุ้มครองให้กับลูกค้า เป็นต้น วันนี้เราจะพามาชี้จุดเช็ก ก่อนจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย ควรสังเกตอะไรบ้างเพื่อไม่ให้ถูกหลอก
1. เลือกบริษัทประกันภัยที่น่าเชื่อถือ โดยอาจเลือกบริษัทประกันภัยที่รู้จักคุ้นเคยดีอยู่แล้ว หรือเลือกเปรียบเทียบหลายๆ บริษัทประกันภัย จากบริษัทโบรคเกอร์ที่มีการรวบรวมข้อมูลแผนประกันภัยไว้ให้ ซึ่งหากเลือกบริษัทประกันจากโบรคเกอร์ แนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบริษัทนั้นๆ มีใบอนุญาตประกอบการจริง โดยสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ คปภ. >> http://oiceservice.oic.or.th/corporatebroker/license.php

2. ตรวจสอบใบอนุญาตของนายหน้า หรือตัวแทนประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันประเภทใด ตัวแทนประกันภัยจะต้องมีใบอนุญาตชัดเจน และจะต้องแจ้งเลขที่ใบอนุญาตทุกครั้งก่อนนำเสนอแผนประกันให้กับลูกค้า ซึ่งหากเราไม่มั่นใจว่าตัวแทนที่นำเสนอแผนประกันภัยให้กับเรามีใบอนุญาตจริง สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของ คปภ. >> http://oiceservice.oic.or.th/licenseagency/license.php

3. ควรชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัทประกัน และควรตรวจสอบชื่อบัญชีก่อนโอนเงินทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราได้โอนเงินเพื่อชำระค่าประกันภัยเข้าบัญชีของบริษัทประกันนั้นๆ เรียบร้อยแล้ว และควรเก็บหลักฐานการโอนเงินไว้เสมอ หลีกเลี่ยงการโอนเงินเข้าบัญชีบุคคลทั่วไป บัญชีนายหน้าตัวแทน หรือแม้แต่การจ่ายเป็นเงินสด เพราะอาจเกิดกรณีเงินที่เราจ่ายไปไม่เข้าถึงบัญชีบริษัท และอาจทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่เราทำประกันภัยไว้

4. เช็กความคุ้มครองกับบริษัทประกันภัย ควรตรวจสอบรายละเอียดกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยทุกครั้งหลังจากที่เราชำระค่าเบี้ยประกันไปแล้วอย่างน้อย 1 - 7 วันทำการ โดยเราสามารถเช็กข้อมูลการประกันภัยที่เราซื้อได้ว่าถูกต้องตรงตามที่ตกลงกับนายหน้า / ตัวแทน หรือตรงกับแผนประกันภัยที่เราเลือกไว้หรือไม่ เช่น เบี้ยประกัน ทุนประกัน วันคุ้มครอง ทะเบียนรถ รายละเอียดของผู้เอาประกันภัย เป็นต้น เพื่อความมั่นใจว่าเราจะได้รับความคุ้มครองตรงกับแผนประกันภัยที่เราเลือกไว้
 
สรุปแล้ว…ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์ ควรพิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบ สอบถามชื่อ นามสกุล เลขที่ใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย พร้อมชื่อบริษัทที่รับทำประกันภัย รวมถึงควรศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยของบริษัทเดิมกับบริษัทอื่น รวมทั้งเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวแทน/นายหน้าประกันภัย สามารถสอบถามไปยังบริษัทที่ประสงค์จะทำประกันภัย และเมื่อจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว ให้เรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง สุดท้ายเมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์ประกันภัยแล้วควรติดต่อกลับไปยังบริษัทที่รับประกันภัยเพื่อยืนยันว่าบริษัทได้รับประกันภัยเรียบร้อยแล้วด้วยนะคะ
 
หากเกิดกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตัวแทน/นายหน้า ไม่แจ้งงานประกัน แล้วเรียกร้องไปยังบริษัทโบรคเกอร์ไม่ได้ สามารถร้องเรียนไปที่ คปภ. ได้ที่เว็บไซต์ http://www.oic.or.th 
 
ขอบคุณข้อมูล : asiadirect.co.th
 
อยากสอบถามข้อมูลความรู้เรื่องประกันรถยนต์  หรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันรถยนต์ ต่อประกันรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เบี้ยประกันรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)