การใช้รถยนต์..ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป หรือจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ต่างก็ต้องมีการทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่คาดฝัน นั่นก็เพราะ ไม่เราชนเค้า ก็ เค้าชนเรา แต่ก็จะมีประกันภัยของรถยนต์คันนั้น ๆ แต่ถ้าอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตามที่ถูกพิสูจน์ได้ว่าเป็นการเกิดโดย ตั้งใจ หรือ เจตนา ให้เกิดความเสียหายใด ๆ ก็ตามประกันรถยนต์จ่ายหรือไม่ ?
ประกันภัยที่รถยนต์ควรจะต้องมีจะเป็นประกันภาคสมัครใจ โดยจะมีความคุ้มครองในหลายประเภท อาทิ
- ความรับผิดชอบต่อชีวิตและร่างกาย : ในส่วนนี้จะให้คุ้มครองรวมถึงการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ของคุณ ที่ส่งผลให้บุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
- ความรับผิดต่อทรัพย์สิน : ส่วนนี้จะเป็นการชดเชยค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของบุคคลอื่น เช่น รถยนต์, อาคาร, หรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่ถูกทำให้เสียหายจากอุบัติเหตุ
- ค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย : ในกรณีที่การเจรจาไม่สำเร็จ จนเกิดการฟ้องร้องทางกฎหมายจนต้องถึงชั้นศาล ประกันภัยที่คุณทำก็อาจจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
- ค่ารักษาพยาบาล : อุบัติเหตุ บางครั้งอาจจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บจนต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ประกันภัยที่ทำยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
- ความรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุโดยไม่มีผู้รับผิดชอบ : ในบางกรมธรรม์อาจครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้ก่อเหตุหลบหนีหรือไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความคุ้มครองเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละแผนประกันภัย และขึ้นอยู่กับรายละเอียดในกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้นสำคัญมากที่จะต้องศึกษาข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนทำการซื้อประกันภัยรถยนต์
การเกิดอุบัติเหตุในกรณีที่เราเป็นฝ่ายโดนชน หรือ เป็นฝ่ายถูก ก็ไม่ต้องห่วงอะไร แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายผิดก็เป็นอีกเรื่องนึง แล้วยิ่งถ้าเป็นฝ่ายผิดโดยเป็นความตั้งใจ หรือเจตนา ให้เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะมาจากความโมโห ก็อาจถือเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตของการประกันภัย และอาจถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และอาจจะต้องมีโทษ หรือความผิดทางอาญา ซึ่งถ้าพิสูจน์แล้วว่าเกิดจากความตั้งใจ ประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่ครอบคลุมความเสียหาย และผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อความชัดเจนและเข้าใจถึงขอบเขตของการประกันภัยที่คุณมี ควรตรวจสอบเงื่อนไขของกรมธรรม์ หรือติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
ส่งท้ายกันกับคำถามต่อเนื่องว่า แล้วถ้าประกันไม่จ่ายให้ ต้องทำยังไง ? ก็ต้องบอกว่าถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าอุบัติเหตุนั้น ๆ เกิดจาก เจตนาของคุณ คุณก็จะต้องรับผิดชอบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง และนี่คือขั้นตอนที่คุณจะต้องดำเนินการ
- ประเมินความเสียหาย : หลังจากเกิดการชน ก็จะต้องประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อประเมินค่าใช้จ่าย, ค่าซ่อมแซมที่เหมาะสม
- การเจรจาหรือตกลงค่าชดใช้ : หากเป็นไปได้ จะต้องเจรจา, ต่อรอง หรือตกลงเรื่องค่าชดใช้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย
- รับคำปรึกษาทางกฎหมาย : แต่ถ้าการเจรจาไม่ลงตัว หรือมีสถานการณ์ซับซ้อน ที่มีความเสี่ยงทางกฎหมาย คุณควรรับคำปรึกษาจากทนายความ
- ชดใช้ความเสียหาย : คุณจะต้องรับผิดชอบ, ชดใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถคันอื่น และค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเงินส่วนตัวของคุณเอง
แต่คุณก็ยังมี ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พรบ. ที่กฎหมายประเทศไทยบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี เพื่อให้มีความคุ้มครองทางกฎหมายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยจะมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และค่าสินไหมทดแทนกรณีที่เกิดการเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แต่จะไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อรถยนต์ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่เลือกที่จะทำประกันภาคสมัครใจ หรือประกันภัยรถยนต์ที่บริษัทประกันต่าง ๆ มีจำหน่ายเพื่อเพิ่มความคุ้มครองที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
ดังนั้น ควรปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่ เพราะการขับขี่ด้วยอารมณ์มีผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สิน จึงควรงดการขับขี่ด้วยอารมณ์ และพยายามปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้อื่นบนท้องถนน เพื่อป้องกันการนำไปสู่ความรับผิดทางอาญา ที่อาจเกิดขึ้นได้ในที่สุด