ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ นำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

icon 17 ต.ค. 66 icon 1,459
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ นำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
"การยื่นภาษี" เป็นหน้าที่ของประชาชนไทยผู้มีรายได้ทุกคน ที่ต้องแสดงรายได้ตลอดปีในรูปแบบของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในการเสียภาษีก็จะมีค่าลดหย่อนหลากหลายประเภทให้ผู้มีเงินได้เลือกใช้สิทธิลดหย่อนกัน และหนึ่งในค่าลดหย่อนที่เป็นที่นิยมคือ ค่าเบี้ยประกัน เพราะได้รับทั้งความคุ้มครองตามแผนกรมธรรม์ และยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายกันในปัจจุบันก็จะมีทั้งค่าเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันรถยนต์ค่ะ วันนี้เราจะพามาเช็ก! ว่าค่าเบี้ยประกันแบบไหนบ้าง ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้…
 
ค่าเบี้ยประกันที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ มีอะไรบ้าง
ประเภทประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษี สิทธิลดหย่อนภาษี เงื่อนไข
ประกันสุขภาพของตนเอง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • รวมกับประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันชีวิตของตนเอง 
(แบบสะสมทรัพย์)
สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรมธรรม์มีระยะคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • หากเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
ประกันชีวิตของตนเอง
(แบบบำนาญ)
สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
  • จ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น
ประกันชีวิตของพ่อ-แม่ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • พ่อ-แม่ มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
ประกันชีวิตของคู่สมรส สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้
  • หากเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
ข้อมูลสรุปจากเว็บไซต์ของกรมสรรพากรข้างต้น ค่าเบี้ยประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้จะเป็นประกันชีวิต และประกันสุขภาพค่ะ แล้วประกันรถยนต์ที่เราจ่ายค่าเบี้ยประกันทุกปีๆ คืออะไร แล้วลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ไปดูกัน!

ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร ?
ประกันภัยรถยนต์ (Car insurance) เป็นสัญญาที่บริษัทประกันภัย และผู้เอาประกันภัยได้ทำร่วมกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนน, การถูกขโมย, และความเสียหายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ ตามเงื่อนไข และวงเงินที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งผู้ทำประกันภัยรถยนต์จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย ตั้งแต่วันทำสัญญาในจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ และระยะเวลาของสัญญาจะสิ้นสุดปีต่อปีเท่านั้น
 
ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?

ถึงแม้ว่าการจ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์ เป็นการจ่ายค่าเบี้ยประกันทุกปีเหมือนกับการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือเบี้ยประกันสุขภาพ แต่ "เบี้ยประกันรถยนต์ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้" เพราะประกันรถยนต์ไม่ได้อยู่ในปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงไม่ได้มีการส่งเสริมการลดหย่อนภาษีสำหรับการทำประกันรถยนต์ค่ะ 

แต่ทั้งนี้ การทำประกันภัยรถยนต์ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่คนใช้รถควรทำ นอกจากประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์) ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีแล้ว ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์​ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ ก็มีความสำคัญ เพราะจะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ผู้ทำประกันสามารถเลือกได้ตามความต้องการนะคะ
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม เปิดหมดเปลือก...ประกันภัยภาคสมัครใจนั้นสำคัญอย่างไร ควรซื้อหรือไม่ คุ้มครองอะไรบ้าง
 
สอบถามข้อมูลความรู้เรื่องการประกันภัยเพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ลดหย่อนภาษีประจำปี ค่าเบี้ยประกัน
CAR GURU
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)