ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

นั่งท้ายกระบะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ประกันคุ้มครองหรือไม่ ?

icon 11 ต.ค. 66 icon 1,307
นั่งท้ายกระบะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ประกันคุ้มครองหรือไม่ ?
การเดินทางโดยรถยนต์ไม่ว่าจะนั่งในตำแหน่งไหนสิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังอยู่เสมอ นั่นก็คือ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลผู้ที่นั่งอยู่ภายในห้องโดยสารก็มีกฎหมายบังคับไว้ว่าทุกตำแหน่งที่นั่งจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ส่วนรถกระบะเองก็มีกฎหมายออกมาบังคับไว้ว่า ห้ามนั่งบริเวณท้ายกระบะ รวมถึงบริเวณแค็บด้วยเช่นกัน ถึงอย่างไรก็ดีผู้ใช้รถใช้ถนนก็ควรใช้ความระมัดระวัง, ไม่บรรทุกคนหรือสิ่งของมากเกินไป แต่ถ้าเกิดมีเหตุจำเป็นต้องนั่งท้ายกระบะแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ประกันภัยที่ทำเอาไว้จะคุ้มครองหรือไม่กันนะ
การนั่งท้ายกระบะเป็นการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ปลอดภัยและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อาจมีผลต่อการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกัน ในส่วนนี้ก็มีคำชี้แจงมาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่า จากกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลต่อกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งในเรื่องของความคุ้มครองและค่าเบี้ย เนื่องจากประกันภัยรถยนต์ จะยึดตามประเภทรถตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก แม้จะคิดเบี้ยเป็นรายบุคคล แต่ความคุ้มครองนั้นจะครอบคลุมผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะนั่งอยู่ในตำแหน่งไหน (แค็บ หรือ ท้ายกระบะ) แต่ก็มีการกล่าวว่าถ้าในอนาคตมีสถิติที่ชัดเจนว่าการห้ามนั่งแค็บ หรือนั่งท้ายกระบะ นั้นทำให้ตัวเลขลดลง ก็อาจจะต้องปรับเบี้ยลดลงตามไปด้วย 
ซึ่งการออกกฎหมายตรงนี้ออกมาก็เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้รถผิดประเภท ก็คือรถกระบะทำประกันภัยเป็นรถที่ใช้ส่วนบุคคล ที่ใช้ทะเบียนพื้นขาวตัวอักษรสีเขียว แต่กลับมีการนำรถไปใช้ผิดประเภทด้วยการนำไปบรรทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการนำรถไปใช้ผิดประเภทของเจ้าของรถเอง โดยทางกรมการขนส่งทางบกจะกำหนดให้รถสาธารณะต้องจัดทำ ประกันภัย เพิ่มเติมจากให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม 
หรือถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องนั่งท้ายกระบะ แล้วจะต้องทำอย่างไร ? อย่างแรกแรกเลยจะต้องใช้ความเร็ว, ช่องจราจร ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ควรละเลยป้ายเตือนต่าง ๆ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ หรือ ไม่ควรนั่งขอบกระบะท้ายให้นั่งกับพื้นกระบะ เพราะเมื่อเกิดเหตุจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเหวี่ยงออกจากตัวรถ  และไม่ควรปล่อยให้เด็กนั่งท้ายกระบะ แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด 

โดยสรุปก็คือ พ.ร.บ. จะให้การคุ้มครองหมดทุกคน เพราะถือเป็นผู้ประสบภัยจากรถ แต่หากเป็นประกันภัยรถยนต์ หรือประกันภาคสมัครใจที่เราเลือกซื้อเองนั้นจะต้องมานั่งดูเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ว่าคุ้มครองกี่ที่นัง (ตามประเภทรถ เช่น ในรถ 4 ประตู จะให้คุ้มครอง 7 คน ส่วน 2 ประตู จะคุ้มครองที่ 4 คน เป็นต้น) ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหยิบกรมธรรม์มาศึกษาให้ละเอียดว่าตรงไหนที่บริษัทประกันจะมีหน้าที่ดูแลบ้าง ควรเลือกทำประกันให้เหมาะสมตามประเภทการใช้งาน เพื่อที่จะได้ความคุ้มครองที่ตรงตามความต้องการที่สุด และเหมาะสมที่สุด 
แท็กที่เกี่ยวข้อง insurance ประกันภัยรถกระบะ
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)