ไม่เราชนเค้า ก็เค้าชนเรา นี่เป็นคำพูดติดหูในการที่ผู้ใหญ่คอยเตือนให้ระวังในการใช้รถตามท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะมีการทำ ประกันภัยรถยนต์ เอาไว้แล้ว แต่ อุบัติเหตุ ก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าเราจะระมัดระวังอย่างไรก็ตาม และเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วการแสดง ความรับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด) นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง แล้วขั้นตอนควรจะทำอย่างไรนั้น เราก็บทขั้นตอนมาแนะนำกันครับ
และนี่เป็นเพียงขั้นตอนปฎิบัติคร่าว ๆ เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุแล้วควรทำอย่างไร เพื่อรักษาความปลอดภัยของทั้งเราและคู่กรณีและป้องกันการเกิดอับัติเหตุซ้ำซ้อนที่อาจจะตามมาได้
- จอดรถทันที : เมื่อเกิดเหตุชนกันเกิดขึ้นแล้ว ควรหยุดรถ และหาพื้นที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนกับป้องกันการเกิดปัญหาจราจรติดขัด โดยส่วนมากจะยอมเคลื่อนย้ายเพราะมีการติด "กล้องหน้ารถ" ไว้เพื่อบันทึกเหตุการณ์เอาไว้อยู่แล้ว (อย่างน้อยมีกล้องหน้ารถก็ได้ส่วนลดประกันภัยรถยนต์ด้วยนะ) แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ยอมเคลื่อนย้ายออกจากจุดเกิดเหตุ ก็ควรเปิดไฟกระพริบหรือไฟฉุกเฉิน หรือนำป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ไปวางเตือนรถที่กำลังสัญจรตามมาเพื่อป้องกันเหตุซ้ำซ้อน
- ตรวจสอบความปลอดภัย : หลังจากนั้นก็ตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ที่ร่วมเดินทางของทั้งฝั่งเราและฝั่งคู่กรณีว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้าหากมีจะได้ให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยก็เป็นการแสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อกัน
- ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น : จากนั้นก็มาเริ่มสำรวจความเสียหายของรถตัวเองว่าได้รับความเสียหายตรงจุดใดบ้าง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ประกันจะมาตรวจอย่างละเอียดให้อีกที เพื่อเป็นการช่วยกันรีเช็คความเสียหาย พร้อมกันนี้ก็ความเสียหายของรถทั้งสองฝ่ายและสถานที่เกิดเหตุเอาไว้ด้วยเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
- โทรแจ้งประกัน,ตำรวจ : หากรถคุณมี ประกันภัยรถยนต์ ก็ควรโทรแจ้งทางบริษัทฯ เพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูที่เกิดเหตุ และเป็นฝ่ายเจรจาแทนเราแต่ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็อาจจะต้องโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้มาเป็นคนกลางในที่เกิดเหตุ (เพื่ออำนวยการจราจรป้องกันรถติด)
- แลกเปลี่ยนข้อมูล : หากเคลียร์กันลงตัวก็แลกใบเคลมแล้วแยกย้าย หากเคลียร์กันไม่ลงตัวก็ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลประกันภัยกับคู่กรณีเพื่อทำการเจรจากันในภายหลังต่อไป
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็คือ?
- ถกเถียงกับคู่กรณี ควรใช้สติ, ระงับอารมณ์โกรธ และไม่ด่าทอกันด้วยคำหยาบคายเพราะจากอุบัติเหตุเล็กๆ อาจจะบานปลายไปได้
- ต่อรองค่าเสียหาย ถ้าคุณไม่มีประกันการต่อรองค่าเสียหายเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงก็เป็นเรื่องที่ควรทำ..แต่ถ้าคุณมีประกันภัยรถยนต์อยู่แล้วก็ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตัวแทนเป็นคนเจรจาแทนคุณ (เพราะอย่างน้อยที่สุดทางพนักงานประกันก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัท)
ในกรณีที่อุบัติเหตุครั้งนี้นั้นมีค่าความเสียหายเกินวงเงินประกันรถขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร?
- เราจะขอเอ่ยถึงกรณีที่ไม่มีประกันภัยรถยนต์กันก่อน ตามกฎหมายแล้วรถทุกคันจะต้องมี พรบ. หรือเป็นประกันภัยภาคบังคับ ที่จะให้ความคุ้มครองความเสียหายเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น จะไม่ครอบคลุมตัวรถ ทำให้เราต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ในเคสที่คุณพอจะมีเงินอยู่ก็จะเข้าสู่การต่อรองชดใช้เพื่อจบปัญหาได้ แต่ถ้าไม่มีก็อาจจะต้องบานปลายถึงขั้นขึ้นศาลกันเลยทีเดียว
- ส่วนกรณีที่มีประกันภัยรถยนต์ ก็คลายกังวลต่อการเกิดอุบัติเหตุไปไก้ในเบื้องต้นเพราะบริษัทประกัน จะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายแทนเรานั่นเอง โดยจะมีวงเงินอยู่ว่าเรามีความคุ้มครองอยู่ที่กี่บาท ในกรณีที่ ความเสียนั้นอยู่ในวงเงินคุ้มครอง ก็จะถือว่าเคสนี้ สบายหายห่วง เพราะบริษัทประกันจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ถ้าเป็น ความเสียนั้นเกินวงเงินคุ้มครอง ก็คือบริษัทประกันจะรับผิดชอบไปตามวงเงินคุ้มครองแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอภาระนั้นก็จะตกมาอยู่ที่คุณเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเราเป็นคู่กรณี หรือเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกันกับคู่กรณี อาจจะชดใช้โดยการผ่อนชระได้ตามที่ตกลงกัน แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็อาจจะต้องไปจบที่การขึ้นศาลเพื่อให้ศาลตัดสินต่อไปตามขั้นตอนด้านกฎหมาย (โดยบริษัทประกันจะมีทนายความอยู่แล้ว หากมีปัญหาที่ต้องการคำปรึกษาทางกฎหมายควรขอคำปรึกษาจากทนายของบริษัทประกันภัย)
ดังนั้น..การมี ประกันภัยรถยนต์ ที่มีวงเงินความคุ้มครองสูง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการต้องจ่ายเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อย่างไรก็ตาม..ควรขับขี่ด้วยความระวังและปฏิบัติตามกฎหมายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ