หลังจากที่ได้เคยทดสอบขับขี่
MG4 Electric ในสนามปทุมธานีสปีดเวย์ก่อนวันเปิดตัวไปแล้ว แต่ก็ป็นการขับขี่แบบในสนาม ทดสอบขับแบบดุดัน ทั้งเข้าโค้งแรง ๆ สลาล่อม อัตราเร่ง และเบรกแบบกระทันหันมาหมดแล้ว ยับว่าสมรรถนะดีเยี่ยมมาก เมื่อเทียบกันราคาค่าตัวระดับนี้ แต่ด้วยความสงสัยส่วนตัวว่า
"ถ้าขับใช้งานในชีวิตประจำวัน" แบบบนถนนทั่วไป ทั้งเจอรถติด อากาศร้อนจัด เปิดแอร์แรง ๆ จอดรอในรถนาน ๆ แวะสถานีชาร์จ โดยที่ยังไม่มีตู้ชาร์จที่บ้าน จะรอดไหมและเรื่อของระบบช่วยเหลือความปลอดภัยต่าง ๆ ใช้งานจริง Ok แค่ไหน
สำหรับรถที่นำมาทดสอบแน่นอนว่าต้องรุ่น "X" ท็อปสุดอยู่แล้ว เพราะยังไม่มีรุ่น "D" ให้ลอง แต่ก็มีข้อแตกต่างไม่เยอะมากนัก หลัก ๆ คือ ชุดแต่ง ไฟหน้า LED คนละแบบ ระบบช่วยเหลือการขับขี่ที่ตัดออกไปบ้าง เช่น ระบบควบคุมรถในอยู่ในเลน เตือนมุมอับสาย หรือเตือนขณะถอยหลัง เป็นต้น แต่สมรรถนะและระบบช่วงล่างพื้นฐานยังเหมือนกันหมด ทั้งหมดนี้เป็นการนำมาขับใช้งานในชีวิตประจำวันของผมเอง มาดูว่าจะมีอะไรน่าประทับใจและไม่น่าประทับใจในแงมุมไหนบ้าง
1.วิ่งจริง หายไปราว 50 กิโลเมตร
MG4 Electric ถูกเคลมว่าวิ่งได้ 425 กม. * (NEDC) แต่เมื่อใช้งานจริง ต้องหักออกไว้ 50 กิโลเมตร (โดยประมาณ) เพราะการใช้จริงจะมีรถติด รถเร่งแซง ออกตัวแรง ขึ้นทางชัน เบรกและเร่งบ่อย ๆ รวมถึงการเปิดการแอร์ให้เย็นสู้แดด ระบบก็จะทำงานเอะกินไฟตามไปด้วย แต่รวม ๆ แล้วระบบแอร์ก็ไม่ได้ใช้ไฟเยอะมากนัก เพราะว่าแม้จะชาร์จเต็ม 100 เปอร์เซ็ฯต์ แต่ส่วนใหญ่ได้แค่ 99 เปอร์เซ็นต์ จะได้ระยะทางวิ่งจริงบนหน้าปัดที่
350 - 360 กิโลเมตร และ
ระยะทางจะเพิ่มหรือลดก็จะถูกคำนวนตามการขับขี่จริงแบบเรียลไทม์อีกทีหนึ่งครับ
ในวันที่รับ MG4 มาแบตเตอรี่อยู่ที่ 97 เปอร์เซ็นต์ จากจุดนัดรับซอยรามคำแหง 92 ไปย่าน 5 แยกวัชรพล แบตฯ เหลือ 91 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นไปธุระแถวสะพานใหม่ซอย 67 และขับต่อเนื่องไปออฟฟิศราชประสงค์อีก จากนั้นไปทำธุระต่อที่ถนนข้าวสาร และก็กลับบ้านพักวัชรพล ตลอดทั้งวัน วิ่งไปด้วยระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร โดยระดับแบตฯ คงเหลือที่ 57 เปอร์เซ็นต์ถือว่ายังชิว ๆ
โดยในวันรุ่งขึ้นก็ขับไปชาร์จตู้ DC ที่ EV STATION สาขาสุขาภิบาล 5 ผ่านการจองในแอปฯ ก่อน ใช้เวลาในการชาร์จจาก 56-57 เปอร์เซ็นต์ จนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ถึง 25 นาที ก็เต็ม และเวลาในการจองไว้ยังเหลืออีกกว่าจะตัด (55 นาทีต่อการชาร์จ) ก็ปล่อยให้ไหลไปเรื่อย ๆ จนถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 57 นาที ค่าไฟแค่ 110 บาท เท่านั้น รวมค่าจองอีก 20 บาทไปแล้ว
จากการใช้งานส่วนตัวจริง ๆ นั้น ใช้งานเยอะเพียงไม่กี่วันต่ออาทิตย์ ถ้าเป็นการขับขี่แบบปกติจะใช้แค่ 60 กิโลเมตรเท่านั้น นับว่า 2 - 3 วันชาร์จ 1 ครั้งยังสามารถทำได้ แต่ถ้าสะดวกก็ควรจะชาร์จไฟให้เยอะเอาไว้ก่อน เพื่อกรณีฉุกเฉินต้องใช้รถจะได้ไม่ลำบากเกินไปครับ
ในวันถัดไปขับขี่ใช้ธุระส่วนตัวในช่วงเช้าประมาณ 20 กว่ากิโลเมตร ต่อด้วยขับไปร้าน Take a Breath café & eatery ถนนบางเชือกหนังและกลับบ้านอีกรอบ โดยระยะทางวันนี้ขับไปทั้งหมดราว 90 กิโลเมตร ดหลือแบตฯ 56 เปอร์เซ็นต์เท่าเดิม และวันรุ่งขึ้นก็นำไปชาร์จเช่นเดิมครับ
ในวันต่อมาอยากลองของวิ่งไกล ๆกว่านี้จึงขับไปจิบกาแฟชิว ๆ ที่ Amazon แถวคลองลำโพ บางบัวทอง นนทบุรี และต่อด้วยแวะทานข้าว สุกี้ดานัง T.Thailand Batminton Arena และกลับบ้าน รวมและก็ยังไม่ถึง 100 กิโลเมตร สรุปว่า MG4 ขับในกทม. หรือ ปริมณฑล ยังไงก็ไม่เกิน 100 กิโลเมตร ถึงแม้จะขับวนไป ๆ มา ๆ อย่างไร ถ้าไม่เกิน 250 กิโลเมตรต่อวัน รับรองได้ว่าใช้งานได้สบาย ๆ เลยครับ
2.สมรรถนะแรงจริงไหม
มอเตอร์ไฟฟ้าที่เพลงหลังขับเคลื่อนล้อหลังกับแรงบิด 250 นิวตันเมตร สามารถพุ่งตัวออกไปโดยไม่รอรอบ ทำให้การเร่งออกตัว เร่งแซง ทำได้ทันใจกว่ารถเครื่องยนต์เทอร์โบ หรือ ดีเซลเทอร์โบทั่ว ๆ ไป (ที่แรงม้าและแรงบิดใกล้เคียงกัน) แต่ด้วยความที่เป็นมอเตอร์ การเร่งจะมีความรู้สึกดึงและแรงในช่วงเริ่มขยับความเร็ว แต่เมื่อช่วงกลางในขณะที่เร่งตอเนื่องอยู่ จะไม่รู้สึกถึงแรงดึงและยิ่งช่วงปลาย ๆ ความเร็วก็จะแผ่ว ๆ ลง ซึ่งอาจแตกต่างกับเครื่องสันดาปแรง ๆ ที่จะรอบรอบและจะค่อย ๆ สนุกในช่วงกลาง ๆ และปลายของอัตราเร่งขณะนั้น กล่าวคือ MG4 ต้นจัดดึงหนัก-กลางและปลายเหี่ยวนิด ๆ ครับ แต่กว่าจะหมดแรงความเร็วทะลุ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไปนิ่งจนถึงความเร็วที่ล็อคเอาไว้ในเวลาไม่นานนัก!
สมรรถนะนับว่ากดคันเร่งเมื่อไหร่ก็มาตลอดไม่รอบรอบใด ๆ ให้หงุดหงืด และจะไปแผ่ว ๆ ปลายเล็กน้อย แต่จุดประสงค์ของ MG4 แค่เพียงเน้นความประหยัด ขับสนุก คล่องตัว และประหยัดพลังงาน ดังนั้น หากยิ่งเร่งแรง ๆ เท่าไหร่ ไฟฟ้าในแบตฯ ก็ลดลงตามสัดส่วนเท่านั้นครับ ซึ่งก็ไม่ได้ลดมากมายจนขับเร็วไม่ได้เลย เพราะจากที่ได้ขับมาหลายวันนั้น ไม่ค่อยได้ขับช้า ๆเท่าไหร่ เร่งแซงบ่อย ๆ ก็ยังประหยัดอยู่พอสมควรครับ แต่ข้อควรระวังคือ หากกดคันเร่งอย่างรวดเร็วท้ายอาจจะดิ้น ๆ หน่อยเพราะระบบขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ก็มีระบบควบคุมการทรงตัวและป้องล้อหมุนฟรีช่วยเอาไว้ แต่อย่างไรก็ต้องทำความคุ้นเคยก่อนนะครับ
3.ช่วงล่าง 5-LINK ดีไหม
ระบบช่วงล่างแบบยุโรปแท้จริงกับ 5-LINK ที่ช่วยในการเข้าโค้ง ทรงตัว ในทุกสภาวะ อย่างที่เกริ่นไว้ว่าก่อนหน้านี้ได้ลองขับในสนามปิดปทุมธานีสปีดเวย์มาแล้ว บอกเลยว่าการควบคุมดี พวงมาลัยคมกระชับ เกาะถนนและหนึบมาก เมื่อเทียบกับรถในระดับ C-Sagment หรืออาจจะดีกว่ารถรุ่นใหญ่ ๆ บางรุ่น
ระบบเบรกเมื่อเหยียบจะรู้สึกตึง ๆ เท้าหน่อยไม่ธรรมชาติหรือคุ้มเคยเหมือนรถยนต์สันดาป แต่ก็ให้ความมั่นใจได้ เบรกหยุดสบาย และระบบช่วยเหลือและควบคุมการทรงตัวจะประคองรถให้ไม่เสียหลัก นับว่าเป็นการทำงานประสานกันอย่างลงตัวเลยครับ
4.ระบบช่วยเหลือขับขี่และความปลอดภัยดีไหม
ระบบช่วยเหลือการขับขี่มีทั้งชอบและไม่ชอบเลย มาดูสิ่งที่ไม่ชอบก่อนอันแรกคือ ระบบป้องการรถออกนอกเลนพร้อมดึงกลับอัตโนมัติ ระบบนี่ดีช่วยให้ปลอดภัยในการเดินทาง แต่หากใช้งานในตัวเมือง การจราจรหนาแน่นระบบนี้จะน่ากลัวทันทีครับ เพราะว่าแม้เราเพียงแค่เอียงพวงมาลัยหลบฝาท่อ หลุม หรือรถคันอื่น ๆ ที่เข้าใกล้ โดยที่ยังอยู่ในเลนตัวเอง ระบบนี้ไม่สนใจจะทำหน้าที่ในการขืนพวงมาลัยกลับให้รถอยู่ตรงกลางเลนเสมอ ทำให้บางครั้งต้องฝืนแรงในการบังคับทิศทาง ยกเว้นว่าเปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งที่โยกหลบ!!!
ระบบจอดเกียร์ว่างในกรณีจำเป็นต้องจอดขวาง เข้าไปเลือกฟังก์ชั่นลึก และมีขั้นตอนที่อาจจะต้องทำบ่อย ๆ จนชิน แต่ยอมรับว่ายังง่ายกว่ารถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นหรือดีกว่ารถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดยุโรปบางรุ่นที่ไม่มีฟังก์ชั่นเกียร์ด้วยซ้ำ ทั้งนี้การจอดเกียร์ว่างนั้นไม่มีในต่างประเทศ การเพิ่มฟังก์ชั่นเกียร์ว่างนี้ขึ้นมาของรถยนต์หลาย ๆ ค่ายก็เพื่อประเทศไทยโดยเฉพาะครับ
ฟังก์ชั่นการใช้งานผ่านหน้าจอเกือบทั้งหมดใช้งานยาก กดยากเมื่อรถกำลังวิ่ง และต้องละสายตาจากถนนมากพอสมควร แม้จะมีปุ่มลัดบนพวงมาลัย แต่ก็ไม่คลอบคลุมการสั่งงานอื่น ๆ ที่จำเป็นในระหว่างขับขี่ เช่น เปิด-ปิดระบบช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือ ระบบเลือกวิทยุ หรือ ปรับแอร์ที่ต้องจิ้มนิ้วให้แม่น ๆ บนหน้าจอสัมผัส
หน้าจอมีขนาดใหญ่มองเห็นการแสดงผลได้เยอะ แต่ว่าตัวหนังสือเล็กไปหน่อยทำให้มองลำบาก และยิ่งรถเคลื่อนที่อยู่ยิ่งมองยากขึ้นไปอีก อาจจะต้องใช้งานให้คุ้มเคยมาก ๆ ในแต่ละฟังก์ชั่นหรือเมนู จึงจะสามารถปรับสวิตช์บนหน้าจอได้ง่ายขึ้น
*วิธีปลดเกียร์ว่าง.....
1.จอดรถกด "P" กดสวิตช์เกียร์
2.เข้าหน้าจอเลือกรูป รถยนต์-เลือกเมนูบาร์ด้านบน "ความปลอดภัย" และ เลื่อนสวิตช์ "ปลดล็อคเกียร์ว่าง"
3.เหยียบเบรกและรอไฟสีส้มที่ตัวอักษรบนเกียร์ขึ้น
4.หมุนไปตำแหน่ง "N" อาจจะยากหน่อยแต่มือต้องนิ่ง
สิ่งที่ชอบคือ....
แรง ขับสนุก ช่วงล่างดีเกาะหนึบพอตัว และได้ฟิวลิ่งขับเคลื่อล้อหลัง เหมือนรถสมัยก่อนหรือรถยุโรป ประหยัดไม่ง้อน้ำมัน ราคาไม่แรงกินไป การบำรุงรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำกว่ารถยนต์สันดาป ขนาดตัวรถกลาง ๆ ไม่เล็กเกินไปและไม่ใหญ่ คล่องตัวในเมืองและการจอด ระบบความปลอดภัยเยอะ ที่สำคัญวิ่งได้ระยะทางไกลเพียงพอกับที่ใช้งานจริง ๆ
สิ่งที่แนะนำเพิ่มเติม.....
เปลี่ยนยางใหม่ให้หน้ากว้างและรุ่นยางที่เกาะขึ้น เพราะแรงบิดเยอะมากทำให้ มีอาการอิ้น ๆ บ้างในการเร่งแซงหรือกลับรถ และเมื่อเยอะถนนเปียก ยางติดรถมาไม่ค่อยเกาะเท่าที่ควร
ระบบไฟหน้าปรับสูงต่ำอัตโนมัติไม่ค่อยแม่นยำ บางครั้งในที่มืดแต่มีรถยนต์คันอื่นส่วนทางมา ระบบก็ยังเปิดไฟสูง จึงต้องปิดใช้งานไป ระบบเตือนและดึงกลับเวลารถออกนอกเลน ดึงแรงมาก และไม่ค่อยสมู้ทเท่าไหร่ กล้องรอบคันมีแอบดับบางครั้ง ต้องดับรถและสตาร์ตใหม่ถึงจะหาย
ห้องสัมภาระท้ายแคบและเตี้ยใส่ของสูง ๆ ไม่ได้ ฝาท้ายไม่มีระบบไฟฟ้า ที่วา่งแก้วน้ำอยู่ใต้แท่นเปลี่ยนเกียร์ต่ำเกินไปหยิบลำบาก ไม่มีช่องแอร์หลัง ทั้งหมดยอมรับได้เมื่อแลกกับสมรรถนะและความเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วนราคาต่ำกว่าล้านครับ
5.เสียค่าใช้จ่ายในการชาร์จเท่าไหร่ (ไม่มี Wall changer)
จากการใช้รถ MG4 Electric คันนี้มา 5 วันการชาร์จไฟฟ้าอยู่ที่ 3 ครั้ง เฉลี่ยตกครั้งละ 100 - 110 บาท แล้วแต่กรณีบางครั้งชาร์จไม่ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ (เพราะขี้เกียจรอแล้ว) โดยรวมทั้งหมดก็ใช้เงินไปไม่ถึง 400 บาท กับการใช้งานรวมทั้งหมด 5 วัน ระยะทางก็ราว ๆ 350 กิโลเมตร นับว่าประหยัดมาก และยังได้ขับสนุก ๆ แบบไม่ต้องระวังเปลืองอีกด้วยครับ
สรุปหลังจากใช้งานมา 5 วัน
MG4 Electric ส่วนตัวแล้วถ้าเลงรถยนต์ไฟฟ้าราคาระดับไม่เกินล้านเอาไว้ "ซื้อแน่นอนครับ" ด้วยความชิวเวลาจะขับไปที่ไหน ๆ หากระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตรต่อวันใช้งานสบายหายห่วง การจองเวลาหรือการแวะชาร์จที่สถานีก็ไม่ลำบากมากนักแลกกับค่าไฟเพียง ไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง นับว่าฟินสุด ๆ และใช้เวลาในการชาร์จสั้น ๆ ก็ได้ 80% กับระยะทาที่เพิ่มมาอีกเกิอบ 100 กิโลเมตร พอที่จะกลับบ้านได้แล้ว
สมรรถนะอัตราเร่งแบบ "วาร์บ" แม้จะไม่ได้แรงจนแซงรถสปอร์ตเครื่องใหญ่แต่ก็ให้อารมณ์ดึงแบบหลักหน่วงไม่รอรอบ กำลังมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนล้อหลัง 170 แรงม้า ด้วยแรงบิด 250 นิวตันเมตร แม้ว่าความเร็วจะล็อกไว้ประมาณ 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ให้อัตราเร่งกับแรงบิดระดับนี้เทียบเท่าหรือมากกว่ารถเบนซิน 2.5 ลิตร เลยด้วยซ้ำไป ประกอบกับตัวรถขนาดนี้ เร่งทีตัวปลิวเลยครับ
แต่....ระบบช่วยเหลือการออกนอกเลนและควบคุมรถให้อยู่ในเลนยังไม่ค่อยสมูทเท่าไหร่ กระชากไปมา และขยันเตือนขยันดึงสู้มือ แม้เบี่ยงออกเพื่อหลบมอเตอร์ไซค์หรือรถที่ขับกินเลนเพียงเล็ก พวงมาลัยจะตึงมือมาก ทำให้ใช้งานในเมืองหรือการจราจรหนาหนาแน่นลำบาก นอกจากนี้การตั้งค่าความปลอดภัยต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ก็ต้องตั้งใหม่ทุกครั้งที่ดับและติดเครื่อง ไม่สามารถจำค่าก่อนหน้าได้
ด้วยตัวรถที่เป็นแฮตช์แบ็ก 5 ประตู อาจจะดูคันไม่ใหญ่นัก แต่ภายในนับว่ากว้่งขวางพอ ๆ กับ ซิตี้ อัลเมร่า หรืออาจจะกว้างนิสสัน คิกส์ด้วยซ้ำไปครับ แต่ส่วนเก๋บของท้ายนั้นแคบและเตี๊ย วางสิ่งของในแนวสูง ๆ ไม่ได้มากนัก และแน่นอนว่าหากต้องการเดินทางท่องเที่ยว ต้องวางแผนการชาร์จให้ดี ๆ และมีแผนสำรองเสมอ ป้องกันตู้ชาร์จปิดเสียหรือคิวแน่น และไม่ควรเหลือไฟฟ้าในระบบต่ำกว่า 20% เพื่อถนอมแบตฯ
สรุปโดยรวมแล้วเหมาะกับผู้ต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานเบา ๆ ในเมือง วันหยุดเสาร์อาทิตย์ ขับโดยไม่กังวลค่าน้ำมัน เพราะอย่างไรค่าน้ำมันก็แพงกว่าไฟฟ้า คันเล็กคล่องตัว ผู้โดยสารไม่เกิน 4 คน กำลังสบาย ๆ และต้องบอกว่าการหนีค่าน้ำมันมาใช้ไฟฟ้าก็ไม่เชิงเป็นการลดสิ่งแวดล้อมมวลรวมนัก แม้ว่าจะไม่ปล่อยมลพิษขณะขับขี่ แต่กระแสไฟฟ้าที่ได้มานั้น ถูกผลิตจากโรงผลิตไฟฟ้าที่อาจใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติเช่นเดียวกันไม่ว่าจะใช้น้ำมัน, ถ่านหิน ส่วนพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ยังมีาดส่วนที่น้อยมากในปัจบุัน "ไม่ว่าจะใช้น้ำมันหรือไฟฟ้าก็ต้องเน้นใช้อย่างมีคุณค่า คุ้มค่า ประหยัดนะครับ"