ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

CJPT พาทดสอบสมรรถนะยานยนต์หลากหลายพลังงานเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน

icon 22 มี.ค. 66 icon 4,967
CJPT พาทดสอบสมรรถนะยานยนต์หลากหลายพลังงานเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน
Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (คอมเมอร์เชียล เจแปน พาร์ทเนอร์ชิป เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่นหรือ CJPT) จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถนะรถยนต์ ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมแนะนำรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานหลากหลาย โดยมีสื่อมวลชนรวมทั้งตัวแทนจากเพจ Carguru Thailand และเว็บไซต์ Checkraka.com เข้าร่วมงานและขับจริงในสนามทดสอบ TOYOTA ALIVE Space
ก่อนไปถึงช่วงของการขับจริง ขอแนะนำ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPTก่อตั้งในเดือนเมษายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการใช้เทคโนโลยีภายใต้แนวคิด CASE (Connected, Autonomous, Shared, Electric) อย่างแพร่หลายในวงกว้าง เพื่อมุ่งลดปัญหาที่พบในระบบขนส่ง ตลอดจนบรรลุสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยหลังจากที่ได้มีการประกาศความร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา CJPT กำหนดเป้าหมายในการมุ่งขยายพันธมิตรภายในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงการจัดการด้านพลังงาน (Energy Solution) ทางเลือกด้านการขับเคลื่อน (Mobility Solution) เช่น การจัดสรรยานพาหนะตามเป้าหมายการใช้งานอย่างเหมาะสม และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ รวมไปถึงการบริการจัดการด้านข้อมูล (Data Solution) โดยผสานจุดแข็งของแต่ละบริษัทเข้าไว้ด้วยกัน บนเส้นทางเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ลูกค้าอาจมองหารถที่มีระบบส่งกำลังแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานและการใช้งานของลูกค้าในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค โดยมีตัวเลือกต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการนำเสนอทางเลือกด้านการขับเคลื่อนที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ โครงการ CJPT มุ่งหวังให้งานทดลองสมรรถนะรถยนต์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือกับพันธมิตรให้มากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการเร่งบรรลุเป้าหมายของโครงการ CJPT ด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
 

ยานยนต์รุ่นหลักที่จัดแสดงภายในงาน
  • TOYOTA SORA
  • HINO FCEV
  • ISUZU & TOYOTA FCEV
  • TOYOTA Granace FCEV
  • TOYOTA HILUX REVO BEV Concept    
  • TOYOTA LPG- HEV Taxi Concept    
  • SUZUKI EVERY
  • DAIHATSU HIJET
  • TOYOTA e-Palette    
  • YAMAHA H2 ROV*(Buggy)        
*ยามาฮ่าไม่ได้เป็นสมาชิกของ CJPT แต่ได้ร่วมนำยานยนต์ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างมาเข้าร่วมจัดแสดงภายในงาน ด้วยรถรุ่น ROV - (รถบักกี้ที่ใช้เป็นยานพาหนะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจนอกพื้นที่ถนน)
การขับรถในกลุ่มพลังงานที่ทางเลือกที่แตกต่างทางผู้จัดได้ให้ลอง โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ เทียบระหว่างรุ่น 2.4 ดีเซลเทอร์โบ และรุ่น BEV Concept เป็นคู่แรก โดยขับรุ่นละ 1 รอบสนามที่จำลองเส้นทางด้วยกรวย ระยะสั้น เน้นที่อัตราเร่ง 0-60 กม./ชม. การเลี้ยวโค้ง และชะลอเบาเบรกหยุดนิ่ง สำหรับ โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ความต่างหลังได้ขับเพียง 1 รอบ ก็พอจะสัมผัสได้ชัดเจนคือ การออกตัวที่กระฉับกระเฉงกว่า การสั่นสะท้านจากการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลหายไป บาลานซ์ตัวรถดีขึ้นเมื่อเข้าโค้ง และทราบมาว่าระบบเกียร์ที่ใช้ใน รีโว่ BEV Concept เป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในรุ่น bZ4X การผลิตรถกระบะที่ใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นหลักดีในแง่ของการลดมลพิษ ค่าใช้จ่ายดูแลรักษา แต่ความเป็นไปได้ในการนำมาทดแทนเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบคงขึ้นอยู่กับอีกหลายภาคส่วน
รุ่นต่อไปที่ได้ลองคือ ซูซูกิ EVERY กับ ไดฮัทสุ HIJET ซึ่งเป็นมินิแวน หรือเคคาร์ เครื่องยนต์เดียวกันขนาด 0.6 ลิตร เน้นขนของ ขับง่าย ไปคล่องในเส้นทางแคบ ลดภาระการใช้รถขนส่งเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ จากที่ได้ลองชอบในด้านความอเนกประสงค์ภายในและความเรียบง่าย ถ้ามีใครลองเปิดตลาดในกลุ่มนี้ อาจได้รับความนิยมจากกลุ่มค้าขายและธุรกิจขนาดย่อม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการทำราคา ขับแล้วพอไหวกับการไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ
รุ่นสุดท้ายที่ได้ลอง เป็นรถบรรทุกเล็กขนาด 6 ล้อ Hino เทียบกับไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCEV กับ เครื่องยนต์ทั่วไป ICE ค่อนข้างชัดเจนมาก ทั้งการออกตัว อัตราเร่ง และอาการสั่นสะท้าน ที่น่าประทับใจคือ พลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังฉุดตัวรถจนไม่คิดว่ากำลังขับรถบรรทุก 6 ล้ออยู่ ตัวรถออกตัวได้ฉับไวและพอลอยตัวไปแล้วก็ให้อัตราเร่งที่ดีมาก นับว่าสนใจว่าจะสามารถนำมาใช้เริ่มกับโครงการนำร่องได้เร็วแค่ไหน ซึ่งคงขึ้นอยู่กับว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตเชื้อเพลิงจากมูลสัตว์เปลี่ยนสภาพเป็นไฮโดรเจนในถังได้เองเมื่อไหร่ เพราะตอนนี้ยังต้องส่งมูลสัตว์อย่างขี้ไก่จากฟาร์มส่งไปทรานฟอร์มเป็นพลังงานที่ญี่ปุ่นก่อนเพื่อการทดลอง
 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ev test drive review bev Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV CJPT Hilux Revo BEV Concept fcev
CAR GURU
เขียนโดย ชลัคร ช่วยชู CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)