ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

วิเคราะห์เจาะลึกจะซื้อรถ "อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก" ดีขึ้นจริงไหม?

icon 25 ต.ค. 65 icon 55,929
วิเคราะห์เจาะลึกจะซื้อรถ "อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก" ดีขึ้นจริงไหม?
จากมาตรการปรับอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ใหม่ที่กำหนดว่า ให้คิดในอัตรา "ลดต้นลดดอก" นั่นคือ การให้ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมดอกเบี้ยแบบประมาณว่า "ยกเลิก" ดอกเบี้ยคงที่แบบเดิม หรืออัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate)  เปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) 
 

อัตราดอกเบี้ยคงที่..จ่ายเท่าไหร่ ดอกฯ เท่าเดิม!

อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate) คือ การที่ไฟแนนซ์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่เราขอยื่นกู้สินเชื่อเพื่อนำมาซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์นั่นเอง โดยดอกเบี้ยจะคงที่ตลอดสัญญาไม่ว่าผ่อนไปแล้วกี่งวดหรือกี่ปีก็ตาม ดอกเบี้ยก็ยังคงสูงเท่าเดิมตามที่กู้ในวันแรก นั่นคือ คิดจากยอดเต็มวันแรกที่กู้อย่างไรก็ยังคงคิดดอกเบี้ยจากยอดนั้น เช่น คิดอัตราดอกเบี้ยจอดยอดกู้ 500,000 บาท แม้ว่าจะผ่อนมาหลายงวดจนเงินต้นลดไปแล้วก็ตาม แต่ดอกเบี้ยยังคิดจากเงินต้น 500,000 เหมือนเดิม!
 

ยกเลิก "ดอกเบี้ยคงที่" ใช้แบบ "ลดต้นลดดอก" ยิ่งผ่อนดอกเบี้ยยิ่งลด  

หลังจากที่มีคนร้องเรียบและภาคครัวเรือนต่าง ๆ ประสบปัญหาเรื่อง ดอกฯ โหดบ้าง ปิดยอดแล้วยังต้องจ่ายดอกเต็มบ้าง ฯลฯ จึงทำให้ทาง สคบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการชงให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ ให้ยกเลิกการคิดแบบคงที่เป็น "ลดต้นลดดอก" เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือว่าช่วยเอื้อประโยชน์แก่ผู้เช่าซื้อมากขึ้น
 
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในลักษณะของการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้น-ลดดอก โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด อย่างเช่น 
"คิดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจากยอดเงินกู้ 500,000 ในปีแรก และเมื่อผ่อนมาหลายปีหรือหลายงวด ยอดเงินกู้ย่อมต้องลดลง ตามจำนวนที่ผ่อนไป ดังนั้นการคิดอัตราแบบใหม่นี้จะต้องคิดตามจริงว่ายอดเหลือเท่าไหร่ โดยคิดเป็นเดือนต่อเดือน! "
 
"อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในลักษณะของการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด"
 
ในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาดโดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ดังนี้
  • กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบต่อปี (ปัจจุบัน ณ เดือนตุลาคม 2565 ประมาณสูงสุด 4.5% ต่อปี*)
  • กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี (ปัจจุบัน ณ เดือนตุลาคม 2565 ประมาณสูงสุด 10 กว่า% ขึ้นไป*)
  • กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตราร้อยละยี่สิบสามต่อปี (ปัจจุบัน ณ เดือนตุลาคม 2565 ประมาณ 32-33 % ต่อปี*)
(*ดอกเบี้ยขึ้นกับระยะเวลาการผ่อน เงินดาวน์ ฯลฯ)
ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุกสามปี
 
โดยมีข้อยกเว้นว่ารถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่เข้าเงื่อนไขนี้จะต้องเป้นรถที่ใช้งานส่วนบุคคลเท่นั้น ห้ามนำไปใช้ในการสาธารณะ รับจ้าง
"รถยนต์" หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลหรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลใช้เป็นการส่วนตัวเท่านั้น โดยไม่นำไปใช้ทำการขนส่ง เพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง หรือเพื่อสินจ้าง 
"รถจักรยานยนต์" หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย เพื่อใช้เป็นการส่วนตัวเท่านั้น โดยไม่นำไปใช้ทำการขนส่ง เพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง หรือเพื่อสินจ้าง
 
ผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) จะต้องมีตารางแสดงภาระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนงวดค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระ วัน เดือน ปี ที่ชำระเงินค่างวดเช่าซื้อ จำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระในแต่ละงวด โดยแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อ ภาษีมูลค่าเพิ่มและจำนวนเงินค่าเช่าซื้อคงค้าง โดยแยกเป็นเงินต้นคงค้าง ดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อ รวมทั้งจำนวนส่วนลดที่ผู้เช่าซื้อจะได้รับตาม (๙) ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อส่งมอบให้ผู้เช่าซื้อพร้อมกับหนังสือสัญญาเช่าซื้อ
 
 
กรณีสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องจัดหาผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อต้องตกลงกับผู้เช่าซื้อว่าจะจัดให้มีการทำสัญญาค้ำประกันซึ่งมีคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกันไว้หน้าสัญญาค้ำประกันนั้น โดยมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีหัวเรื่องว่า "คำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกัน" ใช้อักษรตัวหนาขนาดไม่เล็กกว่าสี่มิลลิเมตร และอย่างน้อยต้องมีข้อความตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้โดยมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และมีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ด
ตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และกำหนดข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกัน ซึ่งมีสาระสำคัญตรงกับคำเตือนดังกล่าว
 
ส่วนเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทางไฟแนนซ์สามารถเรียกเก็บ "ค่าใช้จ่ายหรือห้ามเรียกเก็บ" จากกรณีต่าง ๆ ดังนี้
"ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บได้" หมายความว่า ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีรถประจำปีเงินเพิ่มเนื่องจากการต่อภาษีล่าช้า ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนเครื่องยนต์ สีรถ ชนิดเชื้อเพลิง (ต่อรายการ) ค่าธรรมเนียมการโอนทะเบียนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ ค่าธรรมเนียมใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถ ค่าปรับเนื่องจากการเปลี่ยนเครื่องยนต์ สีรถ ชนิดเชื้อเพลิง และค่าเบี้ยประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
 
"ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ" หมายความว่า เงินที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อ เพื่อเป็นค่าติดตามทวงถามหนี้เงินค่างวดเช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าติดตามเอารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์กลับคืนของผู้ให้เช่าซื้อ
นั่นคือ ไฟแนนซ์เรียกเก็บค่าบริการธุรกรรมต่าง ๆ ทั่วไปได้ รวมถึงในการทวงนี้จากผู้ซื้อจ่ายไม่ตรงเวลา แต่จะไม่สามารถเรียกเก็บเงินในส่วนของ "ค่าเหนื่อหรือค่าใช้จ่าย" ในการติดตามเอารถหรือมอเตอร์ไซค์คืนได้
 
ผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบก่อนภายใน 7 วัน หากต้องการหักเงินค่างวดถัดไปมาเป็นค่าปรับผิดนัดชำระค่างวด ค่าทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ถ้าไม่แจ้งก่อน ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธินำเงินค่างวดต่อมานั้นมาหักชำระค่าใช้จ่ายนั้น
 

"ขายทอดตลาด" ต้องแจ้งผู้ซื้อ!

ข้อนี้นับว่ามีโอกาสทั้งได้และเสีย หากรถยนต์คันที่ผู้ซื้อผ่อนไม่ไหวแล้วส่งคืนหรือกรณีถูกยึดนั้น ทางไฟแนนซ์จะนำไปขายเพื่อนำเงินมาปิดยอดที่คงค้างอยู่ ทางไฟแนนซ์จะต้อง "แจ้งเจ้าของรถเดิม" เรื่องราคาที่ขายได้ หากเกินกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่จะต้องส่งคืนผู้เช่าซื้อ แต่หากราคาต่ำกว่าให้เรียกเก็บเพิ่มเติมจากผู้เช่าซื้อ โดยรวมเป็นค่าเช่าซื้องวดที่ผิดนัด ค่าเช่าซื้องวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระและค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อก่อนมีการบอกเลิกสัญญา

โปะปิดยอดลดเยอะ

นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดใหม่ในเรื่องการโปะหรือปิดยอดก่อนเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าปรับและยังได้ส่วนลดอีกด้วย 
  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่เกิน 1 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ (60%) ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ (70%) ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วเกินกว่า 2 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา ให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 

กู้ไม่ผ่าน-เงินดาวน์สูงขึ้น-ชะลอการซื้อ?

มาตรการใหม่นี้จะเป็นผลดีและผลเสียในหลายแง่มุมนั่นคือ ผู้เช่าซื้อที่มีความสามารถในการจ่ายค่างวดและมีเงินก้อนโปะก็ปิดยอดได้โดยประหยัดลง แต่ในขณะเดียวกันนั้นทางด้านผู้ให้บริการเช่าซื้อกลับคิดต่างกัน เมื่อดอกเบี้ยถูกกดหรือมีเพดานจำกัด ทำให้ได้กำไรลดลง จึงส่งผลให้อาจมีการคิดดอกเบี้ยสูงรอเอาไว้ล่วงหน้าเลย เช่น เดิมรถยนต์ใหม่ป้ายแดงเคยใช้ที่ประมาณ 2-2.7% ตลอดสัญญา อาจจะปรับเป็น 8 - 9% ในปีแรกให้สูงสุดเพื่อชดเชยการลดต้นลดดอกและกำไรส่วนที่ควรจะได้จากกอดเบี้ยคงที่แบบเดิม ๆ
 
นอกจากนี้การยื่นขอกู้ไฟแนนซ์เช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์อาจมีขั้นตอนเงื่อนไขและต้องใช้เอกสารหลักฐานมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำอาชีพอิสระ หรือไม่เคยมีประวัติการผ่อนชำระมาก่อน ก็จะทำให้ยื่นกู้ผ่านได้ยากขึ้น ประกอบกับไฟแนนซ์อาจขอให้ใช้เงินดาวน์สูง ๆ เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยง (แทนการใช้ดอกเบี้ยคงที่) ป้องกันหนี้เสียในกรณีผู้กู้ขาดส่งหรือผ่อนต่อไม่ไหว จากกรณีนี้อาจทำให้ผู้หาเช้ากินค่ำต้องไปกู้เงินจากนอกระบบเพื่อมาเป็นเงินดาวน์แทน ก็กลายเป็นการแก้ปัญหา "หนี้เน่า" ผิดขั้นตอน ซึ่งควรจะต้องมีการหาทางออกในด้านอื่น ๆ รองรับเอาไว้ควบคู่กันไปด้วย ถึงจะสามารถแก้ไขปัญหาภาพรวมตามเจตนารมณ์ของประกาศนี้ได้อย่างสมบูรณ์ครับ 
 
สรุปว่า ผู้ซื้อจะผ่อนค่างวดเท่าเดิม แต่จะมีดอกเบี้ยถูกลงทุกงวด ทำให้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลงกว่าแบบเดิม แต่ก็ต้องลุ้นว่าผู้ให้เช่าซื้อหรือไฟแนนซ์จะแก้เกมอย่างไร จะใช้เรตดอกเบี้ยเต็มแม็กซ์หรือราคาจำหน่ายรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องลุ้นกันในปีหน้าครับ
อย่างไรก็ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับใหม่นี้จะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2566 แล้ว แล้วคุณล่ะ คิดจะซื้อรถในช่วงเรตดอกเบี้ยแบบเดิมภายในปี 2565 ดีหรือว่าจะชะลอการซื้อไปเป็นปี 2566 ดีครับ? 
อ้างอิงจาก www.ratchakitcha.soc.go.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง bigbike suv รถยนต์ไหม่ มอเตอร์ไซค์ใหม่
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)