บริษัท Rêver Automotive จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ BYD ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเชิญสื่อมวลชนร่วมขับทดสอบรถรุ่น
ATTO 3 เอสยูวี 5 ที่นั่ง ขับคลื่อนไฟฟ้า 100 %
ราคา 1,199,900 บาท นับเป็นรุ่นแรกที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทย โดยจัดทดสอบทั้งด้านสมรรถนะและฟังก์ชัน ADAS&VTOL ณ สนามปทุมสปีดเวย์ เมื่อ 28 กันยายนที่ผ่านมา
รู้จัก ATTO 3 เอสยูวี 5 ที่นั่ง ได้รับการออกแบบสไตล์ Dragon Face กระจังหน้าไร้ช่องลมเข้ายุคอีวีที่ไม่ต้องอาศัยลมผ่านช่องกระจังหน้าอีกต่อไป ระบบไฟส่องสว่าง LED เต็มคัน ระยะห่างจากพื้นรถอยู่ที่ 175 มม. การเคลมสมรรถนะของ
ATTO 3 ขับเคลื่อนล้อหน้าด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Permanent Magnet Synchronous Motor ให้กำลังสูงสุดที่ 201 แรงม้า แรงบิด 310 นิวตันเมตร ทำตัวเลขอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ 7.3 วินาที ระยะขับเคลื่อนสูงสุดราว 400 กม. ด้านระบบชาร์จรองรับหัวชาร์จ แบบ AC Type 2 และแบบ DC - CCS 2 สูงสุด 80kW ด้านระบบช่วยเหลือและเซฟตี้มีหลากหลายเช่น ระบบเตือนการชนด้านหน้า, ระบบเตือนเปลี่ยนเลน, ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องจราจร และ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ซึ่งในการทดสอบขับครั้งนี้ได้ลองอยู่หลายฟังก์ชัน
การลองขับทดสอบในแทร็คจำลองของสนามปทุมสปีดเวย์ แบ่งออกเป็น 3 เซสชั่น เริ่มกันที่เซสชั่นแรก การออกตัวจากจุดหยุดนิ่งและฟูลเบรก โดยปรับโหมดให้แตกต่างที่พวงมาลัยและเบรก ผู้เขียนลองเร่งจากจุดหยุดนิ่งและเบรกแบบเต็มที่ พบว่าตัวรถออกตัวได้ดีตามสไตล์อีวีไม่มีรอจังหวะ ยางมีอาการสลิปกับผิวแทร็คบ้างในช่วงออกตัวเต็มแรง การเบรกก็ได้ตอบสนองได้ดีทีเดียวระยะหยุดหวังผลได้ตามคาด ผู้เขียนลองอยู่ 2 รัน อาจน้อยไปแต่ก็โอเคกับความรู้สึกขับครั้งแรก ต่อด้วยการขับเข้ากรวยเพื่อดูอาการตอนเลนเชนจ์แบบเยื้องกรวยไม่มาก ด้วยความเร็วระดับ 60 กม./ชม ตัวรถตอบสนองตามพวงมาลัยได้ดีทีเดียว เก็บอาการโอเวอร์สเตียร์ได้ดี และได้วิ่งเข้าโค้งความเร็วแถมบ้างก็รู้สึกโอเคกับการยึดเกาะและการตอบสนองของตัวรถไม่มีอาการโยนเหมือนเอสยูวีบางแบรนด์ ต่อด้วยเซสชั่น 2 เน้นเรื่องแฮนด์ริ่ง ผู้เขียนต้องขับเข้าวนกลุ่มกรวยเพื่อวนเป็นเลข 8 จับอาการยึดเกาะด้านหน้าและโอเวอร์สเตียร์ของตัวรถ ได้โอกาสวนอยู่ 4 รอบ ต่อด้วยเลนเชนจ์ที่มากกว่าเดิม ก็พอ
สรุปได้เบื้องต้นว่า ATTO 3 ทำได้ดีกว่าที่คาด แม้เป็นเอสยูวีที่มีระยะ CG สูง แต่การวางตำแหน่งแบตเตอรี่แผ่นบางใหญ่ไว้ด้านใต้ท้องรถน่าจะช่วยกระจายน้ำหนักให้รถมีสมดุลที่ดีด้วยส่วนหนึ่ง สุดท้ายเป็นเซสชั่นทดสอบฟังก์ชั่นช่วยเหลือและความปลอดภัยบางส่วนอย่าง VTOL ที่เวลาเปิดประตูแล้วมีรถด้านข้างขับกำลังขับผ่าน ระบบฯก็จะมีวอยซ์เตียนเป็นประโยคภาษาอังกฤษให้ระวัง แต่ผู้เขียนคิดว่ายาวเกินไป อาจไม่ทันพอระวัง จริงๆ ทั่วไปเปิดประตูรถบนถนนหรือลานจอดแบบไม่ได้จอดในช่องเราก็ต้องระวังก่อนเปิดเสมอ ส่วน ADAS ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ที่ออกแบบได้ฉลาดมากขึ้นกับจังหวะที่เลี้ยวตาม (ราว 60 องศา) แล้วตัวระบบฯ ยังควบคุมความเร็วกับระยะห่างจากทางตรงได้อย่างต่อเนื่อง
สรุปจากการทดสอบขับในแทร็คช่วงสั้นๆ กับ BYD ATTO 3 ให้ความรู้สึกแรกที่ประทับใจไม่น้อยนมุมของสมรรถนะการขับเคลื่อนอันเป็นหัวใจหลักของรถ ด้านดีไซน์นับว่าสวยเข้ายุคยานยนต์ไฟฟ้า ส่วนภายในแล้วแต่ชอบส่วนตัวรู้สึกว่าล้ำไปหน่อย สุดท้ายต้องรอการประกาศราคาอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้