ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

Car Seat เบาะเด็กมีกี่แบบแล้วต้องซื้อแบบไหน...อ่านจบในที่เดียว!

icon 13 พ.ค. 65 icon 29,048
Car Seat เบาะเด็กมีกี่แบบแล้วต้องซื้อแบบไหน...อ่านจบในที่เดียว!
คาร์ซีท (Car Seat) หรือ BABY SEAT นับเป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญมากในการเดินทางสำหรับลูกน้อยหรือเด็กเล็ก ๆ เพราะจะช่วยป้องกันและลดความรุงแรงต่อการบาดเจ็บของเด็กได้ดีกว่าการนั่งบนตักหรืออุ้มกับตัวผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีสถิติการเกตุอุบัติเหตุสูงลิ่วติด 1 ใน 3 หรือบางปีนั้นอับดับในแถบเอเชียเลยที่เดียว นั่นหมายถึงการมีอัตราเสี่ยงสูงมากในทุก ๆ นาทีที่อยู่บนท้องถนน
ไม่เห็นจำเป็นเลยอุ้มไว้ก็ได้..
เด็กที่มีเด็กมาก ๆ โดยเฉพาะแรกเกิดนั้น คอจะยังไม่แข็งพอที่จะพยุงเองได้ ผู้ใหญ่จะต้องคอยประคอง การจำเป็นต้องเดินทางบนรถยนต์นั้น จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยให้เด็กสามารถนั่งได้อย่างปลอดภัยและขณะเดียวกันต้องป้องกันแรงกระแทกที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย 
ลองนึกภาพว่าถ้าอุ้มน้องอยู่แล้วมีรถมีชนท้าย ขนาดผู้ใหญ่อย่างเราศีษระยังหงายกระแทกกับหมอนรองคอ แล้วถ้าเด็กที่อุ้มไว้จะกระแทกกับอะไรได้บ้าง?? บางคนอาจเถียงว่าฉันขับรถเก่งขับช้าปลอดภัย แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถควบคุมรถคันอื่นไม่ให้มาชนรถเราได้ หรือหากมีการเบรกอย่างรุนแรงศีษระเด็กน้อยก็จะหงายหรือโยกไปตามทิศทางที่รถหยุดในลักษณะ "กระชาก" อาจเกิดอันตรายกับลูกน้อยขึ้นได้ และการเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะหนักหรือเบาสำหรับเมื่อมีเด็กอยู่ในรถก็นับว่ารุนแรงได้ทุกรูปแบบ แค่ขับรถกระแทกเวลาตกหลุมแรง ๆ 
การใช้ Car Seat มักจะมีกำหนดอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 10 กว่าขวบหรือว่าสูงไม่เกิน 135 ซม. ที่ยังใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ไม่ได้ ก็สอดคล้องกับประกาศราชกิจจานุเบกษาที่กำหนดไว้ว่าอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ส่วนสูงไม่เกิน 135 ซม. ต้องนั่งในคาร์ซีท โดย Car Seat มีทั้งหมด 4 เฉพาะแบบที่เป็นเหมือนตะกล้าสามารถหิวขึ้นรถได้เลย ส่วนแบบที่เป็นรถเข็นพร้อมกับเบาะด้วยก็จะคล้าย ๆ กันครับ มาดูแต่ละแบบกันดีกว่า
1.Rear – Facing Seat  เหมาะกับเด็กแรกเกิดจนถึง 3 - 4 ขวบ และน้ำหนักไม่เกิน 9 กก. หรือแล้วแต่รุ่นของเบาะที่รองรับได้ และควรเลือกรุ่นที่ใช้สายรัดแบบ 5 จุดจะยิ่งปลอดภัยมากขึ้น ในแบบนั่งหันหน้าเข้าเบาะ (หันไปด้านหลังของรถ) นี้จะช่วยป้องกัน ป้องกันศีรษะ ลำคอ และกระดูกสันหลัง ได้เป็นอย่างดี 
2.Forward – Facing Seat เป็นแบบหันหน้าไปทางหน้าของรถ เหมาะกับเด็กอายุ 2 - 7 ขวบ หรือที่เบาะแบบแรกรองรับน้ำหนักไม่ได้แล้ว และอาจดูว่าเด็กที่จะใช้เบาะแบบนี้คอต้องแข็งสามารถตั้งคอได้แล้ว หรือจะดูที่น้ำหนักตั้งแต่ 14 กก.ขึ้นไป ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นของเบาะที่รองรับขนาดหรือน้ำหนักได้ และควรเลือกแบบใช้เข็มขัดรัด 5 จุดเช่นกัน
3.Combination Seat เป็นแบบปรับให้หันหน้าหรือหลังได้ในตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถเลือกขนาดให้เหมาะกับเด็กแรกเกิดไปจนถึง 7 ขวบได้ ขึ้นกับรุ่นของเบาะ สำหรับแบบนี้น่าจะสะดวกในช่วงอายุเด็กที่ใช้ได้นานขึ้นกว่าแบบอื่น ๆ แต่ราคาจะสูงกว่า 
4. Booster Seat แบบเบาะเสิรมสำหรับเด็ก 4 - 12 ปี หรือเด็กที่มีขนาดตัวสูงเกินกว่าคาร์ซีทแบบอื่น ๆ จะนั่งได้ หรือเกินกว่าสายรัดจะรัดได้ เบาะแบบนี้ยังมีให้เลือกฟังก์ชั่นการใช้งานได้อีกด้วย เช่น แบบปรับพนักพิงหลัง ปรับหมอนศีษระ หรือม่ที่เท้าแขน 
เมื่อไหร่ที่เด็กไม่ต้องนั่ง Car Seat 
ในเด็กที่อายุ 8 ขวบ หรือ มีส่วนสูงเกิน 150 ซม. ขึ้นไป และท่านั่งจะต้องพอดีกับเบาะรถยนต์เช่น ขาต้องยาวพอที่จะแตะพื้น ช่วงไหล่ต้องสูงพอที่จะคาด Safty Belt ของรถยนต์เองได้โดยไม่สัมผัสส่วนคอ เพื่อลดอาการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 
นอกจากนี้ผลการวิจัยของสถาบัน NHTSA การให้เด็กนั่งด้านหลัง แทนการนั่งหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ 27 % ไม่ว่ารถคุณจะมี airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม 
สำหรับราคานั้นขึ้นกับยี่ห้อ รุ่นและแบบของเบาะ อย่างเช่น 
มาดูวิธีติดตั้ง Car Seat ในแบบต่าง ๆ 
 
Rear-Facing Seat with a Seat Belt - แบบหันหลัง สำหรับเด็กแรกเกิดขึ้นไปถึง 3 ขวบ
 
Rear-Facing Convertible with Seat Belt - แบบหันหลัง เด็ก 4 - 7 ขวบ
 
Fwd-Facing Combo with Belt/Tether - แบบหันไปด้านหน้ารถ เด็ก 2 - 7 ขวบ
 
 
3-in-1 Fwd-Facing Seat with LATCH - แบบปรับได้ 3 แบบในอันเดียว 
 
 
High-Back Booster Seat - เบาะเสริมเด็ก 4 - 12 ขวบ 
 
Using a Backless Booster Seat - เบาะเสริมขนาดกลาง เด็ก 4 - 12 ขวบ 
 
Combo Seat as a High-Back Booster - เบาะเสริม เด็ก 4 - 12 ขวบ
 
 
แบรนด์ยุโรปแบบตะกร้าหันหน้าเข้าเบาะหลัง (หันไปด้านหลังรถ) จะมีราคาตั้งแต่ 5,000 บาทไป เบาะแบบหันไปด้านหน้าหรือหันได้ทั้ง 2 ฝั่งราคาเริ่มตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปจนถึงกว่า 50,000 บาทก็มี และแบบ Booster หรือเบาะเสริมนั้นราคาตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้น 
อย่างในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นอุปกรณ์ตกแต่งติดรถยนต์หลักไปแล้วสำหรับคนไหนที่มีเด็กนั่งไปด้วย และเป็นกฏหมายจริงกว่าหลายปีมาแล้วด้วยครับ 
Car Seat ที่ติดตั้งในรถยนต์มีแบบใดบ้างมาดูกัน 
ISOFIX 
ลักษณะเป็นแกนเหล็กที่ยื่นออกมาจากด้านหลังของคาร์ซีทหรือฐานของคาร์ซีทเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับในเบาะของรถยนต์ โดยการติดตั้งคาร์ซีทที่ใช้ ISOFIX จะต้องใช้คู่กับ Top Tether หรือ Load Leg ไม่สามารถติดตั้งแค่ ISOFIX แบบเดี่ยว ๆ ได้ รถยนต์ที่รองรับระบบ ISOFIX มักพบในรถยนต์ฝั่งญี่ปุ่นปี 2014 ขึ้นไปและรถยุโรปปี 2007 เป็นต้นไป
ISOFIT
อีกชื่อเรียกการติดตั้งคาร์ซีทที่ใช้แกนเหล็กในการยึด แต่แตกต่างจาก ISOFIX โดยแบ่งด้วยรูปแบบเข็มขัดนิรภัย หากเป็นคาร์ซีทที่มีแกนเหล็กและมีเข็มขัดนิรภัย 3 จุดจะเรียกแกนเหล็กนั้นว่า ISOFIT แต่หากเป็นคาร์ซีทที่แกนเหล็กและมีเข็มขัดนิรภัย 5 จุด เรียกแกนเหล็กนั้นว่า ISOFIX
ISOSAFE
ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการติดตั้งคาร์ซีท เพียงแต่เป็นกลไกในการยึดคาร์ซีทให้อยู่กับที่เมื่อไม่มีเด็กนั่งทับอยู่ และคาร์ซีทที่มี ISOSAFE เป็นคาร์ซีทที่ติดตั้งด้วย Belt โดยมักพบ ISOSAFE ในคาร์ซีทเด็กโตที่เป็นแบบ Booster
Top Tether
สายที่อยู่ด้านหลังของคาร์ซีทมาพร้อมที่คล้องหรือสมอเพื่อเกี่ยวและยึดรั้งคาร์ซีทให้แน่นหนา โดยใช้คู่กับการติดตั้งคาร์ซีทด้วย ISOFIX  บริเวณสำหรับเกี่ยว Top Tether ในรถยนต์แต่ละรุ่นนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของรถยนต์ บางคันอาจอยู่บนหลังคา ด้านล่างที่พื้น หรือด้านหลังเบาะของรถ
Load Leg
ขาแท่นที่ยื่นออกมาด้านหน้าฐานของคาร์ซีทที่ใช้ ISOFIX ในการติดตั้ง มักพับในคาร์ซีทหมุนได้หรือพบในฐานสำหรับใช้วางตะกร้าคาร์ซีท โดยจะช่วยค้ำยันให้คาร์ซีทติดแน่นอยู่กับเบาะของรถยนต์
จะเลือกซื้อคาร์ซีท ต้องรู้จักมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยของคาร์ซีท
มาตรฐานการทดสอบคาร์ซีทที่เป็นที่ยอมรับเป็นวงกว้างในปัจจุบันคือ มาตรฐานการทดสอบคาร์ซีทตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยมาตรฐานของสหภาพยุโรป หรือ ECE โดยมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ECE R44 และ ECE R129 หรือ i-Size
 
 
ความปลอดภัยตามมาตรฐาน ECE R44 แตกต่างจาก ECE R129/ i-Size อย่างไร? 
ECE R44 เป็นมาตรฐานที่เริ่มต้นใช้เมื่อปี ค.ศ. 2005 โดยผู้ผลิตคาร์ซีทในยุโรปต้องนำผลิตภัณฑ์ของตนเข้ารับการทดสอบก่อนวางจำหน่ายเพื่อให้มั่นใจว่าคาร์ซีทแต่ละตัวถูกออกแบบมานั้นให้ความปลอดภัยแก่เด็กได้อย่างแท้จริง โดยทำการทดสอบการชนจากด้านหน้าและด้านหลังด้วยการติดเซนเซอร์ 8 จุด และมาตรฐานนี้ได้กำหนดเกณฑ์ในการใช้งานคาร์ซีทแต่ละประเภท/รุ่น ด้วยน้ำหนักของเด็กและกำหนดให้คาร์ซีทตัวนั้นๆ ต้องได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตแต่ละราย 
 
ส่วน ECE R129/ i-Size เป็นมาตรฐานล่าสุดที่ปรับปรุงขึ้นมาจาก ECE R44 เริ่มต้นกำหนดใช้เมื่อปี ค.ศ. 2013 ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติในยุโรป (United Nation Economic Commission for Europe – UNECE) โดย ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นมาตรฐานใหม่แทนที่ ECE R44 แต่อย่างใด แต่มีขึ้นเพื่อการกำกับใช้ที่เข้มงวดมากขึ้นจาก ECE R44
มาตรฐาน ECE R129/ i-Size มีอะไรบ้าง
  1. เพิ่มความเข้มงวดในการทดสอบด้วยการใช้เซนเซอร์จับระดับแรงกระแทกตามสรีระเด็ก (บนหุ่นจำลอง) ถึง 32 จุด (จากเดิมที่ ECE R44 ใช้เซนเซอร์ 8 จุด)
  2. กำหนดให้ต้องเพิ่มการทดสอบการชนจากด้านข้าง โดยใช้ความเร็ว 24 km/hr.
  3. คาร์ซีทจะต้องออกแบบมาสามารถให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะรถยนต์ หรือ Rearward Facing ได้จนอายุ 15เดือนขึ้นไป
  4. ใช้อายุและความสูงของเด็กเป็นเกณฑ์ในการจำแนกกลุ่มคาร์ซีท (จากเดิมที่ ECE R44 ใช้เพียงอายุ)
  5. คาร์ซีทนั้นจะต้องใช้ระบบ ISOFIX คู่กับ Load leg หรือ Top tether ในการติดตั้งเท่านั้น
เลือกคาร์ซีทติดตั้งแบบ Belt หรือ ISOFIX ดีกว่ากัน?
คาร์ซีททั้ง 2 แบบปลอดภัยเหมือนกัน ถ้าถูกติดตั้งอย่างถูกต้อง สิ่งที่แตกต่างกันและเป็นเหตุผลให้ต้องพิจารณาว่าควรเลือกคาร์ซีทติดตั้งแบบไหนดี ขึ้นกับติดตั้งในรถรุ่นไหน? อย่างเช่น ISOFIX เป็นระบบการติดตั้งแบบใหม่และรถที่มี ISOFIX ส่วนใหญ่จะเป็นรถยุโรปปี 2007 และรถญี่ปุ่นปี 2014 เป็นต้นไป โดยคิดค้นออกมาเพื่อแก้ปัญหาการติดตั้ง Belt ที่หลายบ้านติดตั้งไม่แน่นมากพอหรือติดตั้งแบบผิดวิธี การติดตั้งด้วย ISOFIX ทำให้การติดตั้งคาร์ซีทเป็นเรื่องที่สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้นแค่นั้นเอง
การติดตั้งด้วย Belt  เดิมทีอาจจะยุ่งยากเพราะมีขั้นตอนในการลากสายเข็มขัดผ่านจุดต่าง ๆ ของคาร์ซีท แต่ในปัจจุบันคาร์ซีทหลายแบรนด์ออกแบบมาให้การติดตั้งง่ายขึ้นไม่ซับซ้อน เพียงแค่ดูสัญลักษณ์ของสีบนตัวคาร์ซีท รวมไปถึงบางแบรนด์คิดค้นวิธีลิขสิทธิ์เฉพาะตัวที่จะใช้ระบบกล่องล็อค (True Tension Door) เป็นตัวช่วยในการติดตั้งคาร์ซีทระบบ Belt ให้ง่ายและแน่นมากขึ้นอีกด้วย เช่น คาร์ซีทแบรนด์ Nuna รุ่น EXEC และ RAVA มีระบบติดตั้งแบบ Belt ผ่านกล่องล๊อคพิเศษ ไม่เหมือนใคร ทำให้ติดตั้งง่ายและมั่นใจได้ว่าแน่นหนาปลอดภัย อย่าลืมตรวจสอบความแน่นหนาอีกครั้งก่อนใช้งานเพื่อความมั่นใจมากขึ้น
มาถึงตรงท้ายบทความขอเน้นย้ำว่า การประกาศใช้กฎหมายครั้งนี้ ไม่ได้บังคับว่าจะต้องซื้อคาร์ซีทหรือเบบี้ซีทซะทีเดียว เพียงแค่ต้องจัดหาอุปกรณ์หรือที่นั่งให้เด็กมีความปลอดภัยกว่าการนั่งบนเบาะที่ไม่มีอะไรช่วยเหลือเรื่องความปลอดภัย และการเลือกซื้อก็ควรเลือกเบาะใหม่ที่มีคุณภาพของแท้ หรือถ้างบไม่มากจะไปดูของมือสองเก่าญี่ปุ่นก็ยังพอรับได้ (ดีกว่าไม่มี) แต่ของเก่านั้นก็อาจจะตรวจสอบด้วยตาเปล่าไม่ได้ว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่
ข้อควรระวัง...อาจเริ่มมีเบาะเด็กไหลเข้ามาจำหน่ายในไทยจากในหลายแหล่งมาขึ้น อย่าลืมตรวจสอบที่มา โรงงานผลิต การทดสอบความปลอดภัยและการรับประกันว่าในได้มาตรฐานก่อนซื้อ "เพราะไม่แน่ว่า....ชิ้นส่วนของคาร์ซีทที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านั้น อาจกลับมาเล่นงานลูกน้อยของคุณก็ได้ครับ"  
ซื้อเถอะครับเพื่อลูกหลานของคุณเอง!!!!
*ข้อมูลและราคาอ้างอิง และสอบถามหรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.pacificpoint.co.th และ www.nhtsa.gov
เข้าไปดูตัวอย่าง Car Seat ได้ที่นี่เลยครับ 
ภาพจาก ialwaysbelievedinfutures.com / www.goodto.com / www.baby-logic.com / www.waverleytoyota.com.au
แท็กที่เกี่ยวข้อง คาร์ซีท car seat
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)