ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รถยนต์หมดรับประกันเข้าศูนย์ในหรือนอกดี?

icon 17 เม.ย. 64 icon 13,911
รถยนต์หมดรับประกันเข้าศูนย์ในหรือนอกดี?

รถยนต์หมดรับประกันเข้าศูนย์ในหรือนอกดี?

ปัญหาสำหรับใครหลายคนที่คิดไม่ตกว่า..เมื่อรถยนต์หมดระยะเอาประกันคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิตที่มีระยะเวลารับประกันตามกำหนดอย่างเช่น 3 ปี 100,000 กม. หรือ 5 ปี 150,000 กม. หรือบางรุ่นรับไปเลย 10 ปี ก็มี แต่ถ้าเกินระยะรับประกันไปแล้ว เจ้าของรถควรจะต้องเข้าศูนย์บริการรถยนต์นั้นต่อไปหรือไม่ และถ้าไม่เข้าศูนย์ฯ หรือไปเข้าศูนย์บริการนอกและอู่ทั่วไปได้หรือไม่ จะแตกต่างกันอย่างไรเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังครับ 

หลังงานซ่อมเคลมฟรี!


จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่ผ่านมาใช้ทั้งรถใหม่รถเก่า เคยใช้บริการศูนย์ฯ ในและข้างนอกศูนย์ฯ สิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องปฎิบัติคือ ในช่วงที่ยังอยู่ในเวลารับประกันต้องเข้าศูนย์บริการของผู้ผลิตเพื่อรักษาระยะเวลาและสิทธิการรับประกันให้ได้ตลอดจนกว่าจะถึงกำหนด เพราะว่ารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ หรือจะย้อนหลังไปประมาณ 5- 10 ปี เริ่มมีปัญหาประจำรุ่นติดตัวมาเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่ วัสดุชิ้นส่วนและอุปกรณ์บางอย่างในการประกอบรถยนต์ขึ้นมานั้น อาจถูกปรับลดคุณภาพ เพื่อไปเพิ่มฟังก์ชั่นอื่น ๆ ทดแทน จนอาจจะทำให้ความแข็งแรงทนทานลดลงตามไปด้วยหรือจะเถียง!... เมื่อเวลาผ่านไปจนครบกำหนดรับประกันแล้ว หากเป็นไปได้ก็ควรจะเข้าศูนย์ฯ ผู้ผลิตต่อไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน เพื่อดูว่ามีอะไรที่จะเสียหายหลังจากนั้นอีกหรือไม่   

โดยเฉพาะเมื่อรถหมดการรับประกันไปแล้ว หากมีประวัติการรักษาที่ดีตรงระยะทุกประการตามหมอสั่ง (ผู้ผลิต) มาโดยตลอด เมื่อถึงครบกำหนดระยะเวลารับประกันจริง ในเคสนั้นอาจจะสามารถเรียกเคลมอะไหล่ได้ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องจ่ายในราคาเต็ม (แล้วแต่กรณี) และการเข้าศูนย์ฯ แท้ตลอดนั้น ย่อมได้การรับประกันหลังงานซ่อมทั้งอะไหล่และบริการ จึงเป็นการยืดเวลาออกไปอีกเล็กน้อยนับจากการเข้าครั้งล่าสุด และยิ่งถ้าเข้าต่อเนื่องตลอดระยะเวลารับประกันงานซ่อมก็จะมีไปเรื่อย ๆ เช่นรับประกันอะไหล่ 1 ปี หรือว่ารับประกันงานซ่อม 3 เดือน เป็นต้น (ขึ้นกับผู้ผลิตรถ) ซึ่งอาจจะจ่ายแพงกว่าแต่ก็คุ้มนะ..

ข้อดีของการเข้าศูนย์ฯ 


กรณียังไม่หมดรับประกันนั้น การนำเข้าเช็คระยะในศูนย์บริการรถยนต์ผู้ผลิตมีข้อดีต่อเจ้าของรถมาก ๆ ในการได้เคลมเปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ ได้ฟรี เช่น รถยนต์รุ่นหนึ่งมีโรคประจำตัวคือ ไฟตกหรือไฟวูบดร็อปลงเวลาระบบแอร์ตัดต่อ ก็อาจเข้าเช็คตรวจสอบเปลี่ยนชิ้นส่วนฟรี หรือบางคันโช้คอัพรั่วก่อนวัยอันควร ระบบแอร์เสีย และหนักกว่านั้นคือ ระบบเครื่องยนต์หรือส่งกำลังเสีย ทางผู้ผลิตก็จะต้องเคลมให้ฟรี 

แน่นอนว่าอาการเหล่านี้อาจไม่เกิดกับรถทุกคัน แต่!!!...ถ้าเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รักษาเงื่อนไขรับประกันเอาไว้ เจ้าของรถจะต้องควักเงินจ่ายเองทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่มีการประกาศแจ้งเรียกกลับมาเคลมอะไหล่ให้ฟรี ซึ่งถ้าอาการเสียต่าง ๆ ตามข้อความข้างต้นถ้าหมดรับประกันแล้วอย่างน้อยก็ต้องมีหลายพันบาท และเคสหนักสุดคือ ระบบแอร์, ไดชาร์จ และระบบส่งกำลังน่าจะทะลุหมื่นบาทแน่นอนครับ

หมดรับประกันเข้าหรือไม่เข้าดี?


การเข้ารับบริการของศูนย์รถยนต์ผู้ผลิตก็จะได้รับการรับประกันอะไหล่ งานซ่อมต่าง ๆ อย่างได้มาตรฐาน แม้ว่าช่างในบางศูนย์ฯ อาจไม่ได้มากประสบการณ์เท่าช่างเก่ง ๆ ข้างนอก แต่ก็มีบริษัทรถยนต์รองรับ โดยมีชื่อเสียงและการดำเนินธุระกิจในไทยเป็นเดิมพัน!!..อย่างไรก็ตามการเข้าศูนย์รถยนต์ผู้ผลิตก็น่าเชื่อถือกว่าทั้งเรื่องอะไหล่แท้ บริการ การรับประกันหลังงานซ่อม  

ส่วนการเข้าซ่อมหรือเช็คระยะนอกศูนย์ฯ นั้น อาจมีทั้งช่างที่เก่งมากประสบการณ์ไปจนถึงช่างมือใหม่ และต้องรู้จักหาร้านที่ไว้ใจได้ ไม่โก่งราคาไม่หาอะไหล่เทียมให้ (ยกเว้นต้องการประหยัดเองนะครับ) นอกจากนี้เรื่องของราคาซ่อมอู่ซ่อมนอกที่คิดว่าน่าจะถูกกว่านั้น ทางเจ้าของรถเองอาจจะต้องคอยกำกับและควบคุมการซ่อมอย่างใกล้ชิด เพราะว่าบางครั้งอาจเจอช่างหัวหมอแจ้งราคาของอะไหล่แท้ แต่กลับใช้อะไหล่เทียบหรือเทียม (ที่ควรจะถูกกว่าอะไหล่แท้) มาเปลี่ยนแทน โดยที่เจ้าของรถอาจไม่ได้สังเกตุหรือไม่รับรู้ ซึ่งในวงการซ่อมรถนั้นจะมีทุกความเป็นไปได้ทั้งดีและแย่เลยครับ   

ด้วยเหตุนี้เองหากพอมีกำลังหรืองบประมาณเพียงพอก็ควรเข้ารับบริการที่ศูนย์ฯ ของผู้ผลิต แม้จะหมดรับประกันแล้วก็ตามเพื่อความสะบายใจ แต่ถ้าหากมีศูนย์บริการข้างนอกหรืออู่ที่ไว้ไจและเชี่ยวชาญเอามาก ๆ ในรถยนต์รุ่นนั้น ๆ หรือรู้จักและมีเวลาหาอะไหล่ในราคาประหยัดก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าอาจต้องเสี่ยงในเรื่องการรับประกันอะไหล่และหลังงานซ่อม ดังนั้น หากผู้ที่ไม่มีเวลาหรือความรู้ในการเสาะแสวงหาอู่หรือศูนย์ฯ บริการข้างนอก ก็อาจต้องยอมเข้าศูนย์ฯ รถยนต์แท้ ๆ เอาไว้ก่อน 
สรุปโดยรวมว่า หากใครที่ไม่มีเวลาในการหาอะไหล่เองหรือไม่แน่ใจช่างข้างนอกศูนย์ฯ ให้เข้ารับบริการศูนย์บริการผู้ผลิตแท้ ๆ ไปเลยเพื่อความสะบายใจ อุ่นใจกว่า ไว้ใจได้ไม่ต้องอยู่เฝ้าช่าง และเมื่อเสร็จแล้วก็มีคนโทรฯ ตามรับรถ พร้อมการรับประกันหลังซ่อม ในบางยีห้อมีบริการรับ-ส่งรถถึงบ้าน และยังมีรถใช้ระหว่างซ่อมอีกด้วย 

ส่วนผู้ที่ชอบความท้าทายตื่นเต้นและมีความสามารถในการหาอู่หรือศูนย์นอก รู้จักช่างเก่ง ๆ มีแหล่งหาอะไหล่ราคาไม่แพง พร้อมมีเวลาเฝ้าดูในระหว่างเข้าซ่อม ก็แนะนำให้เข้ารับบริการนอกศูนย์ได้เลยครับ เพราะการกำกับดูแลควบคุมทุกขั้นตอนเองย่อมประหยัดเงินกว่าอย่างแน่นอน แต่อย่าลืมบวกค่าเสียเวลาในการวิ่งหาของ การต้องคอยเฝ้ารถที่จะซ่อม และยอมรับความเสี่ยงของอะไหล่กับการซ่อมที่อาจจะมีปัญหาได้ในอนาคตนะครับ 

สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของมีความรู้ หรือสะดวกแบบไหนทั้งเรื่องการเดินทางและงบประมาณ นอกจากนี้รถยนต์นั้นอาจจะเป็นรถรุ่นเฉพาะพิเศษที่ต้องใช้ช่างชำนาญตรงรุ่นที่มีประสบการณ์หรืออาจจะได้รับการแนะนำจากผู้ใช้จริงในคลับรถยนต์ต่าง ๆ ก็น่าจะพอหาช่างและอู่ดี ๆ ได้เช่นกันครับ ซึ่งการดูแลรักษารถยนต์ไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าของควรมีความรู้ตรวจเช็ครถเบื้องต้นและสังเกตุอาการผิดปกติก่อนใช้งาน เพื่อความปลอดภัยไม่ต้องไปเครื่องดับคาแยกไฟแดงที่มีรถกระหน่ำบีบแตรใส่ไม่ยั้งราวกับทำผิดคดีอาญามาอย่างนั้นเชียวครับ  
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีวิวรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)