ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รีวิว Nissan Kicks สมรรถนะ EV หมดห่วงเรื่องชาร์จไฟ ไปได้ไกลเท่าที่ใจต้องการ ค่าดูแลเทียบเท่าอีโค่คาร์

icon 16 มิ.ย. 64 icon 13,774
รีวิว Nissan Kicks สมรรถนะ EV หมดห่วงเรื่องชาร์จไฟ ไปได้ไกลเท่าที่ใจต้องการ ค่าดูแลเทียบเท่าอีโค่คาร์

รีวิว Nissan Kicks สมรรถนะ EV หมดห่วงเรื่องชาร์จไฟไปได้ไกลเท่าที่ใจต้องการ ค่าดูแลเทียบเท่าอีโค่คาร์ 
Nissan Kicks ePower รถยนต์ที่มาในคอนเซ็ปต์ของรถไฟฟ้าล้วน ราคาประหยัด ไม่ต้องชาร์จไฟให้วุ่นวาย และขับไปไหนก็ได้ตามความต้องการ เหมือนใช้งานรถยนต์ทั่วไป แต่สมรรถนะที่ได้นั้นเทียบเท่ารถยนต์ EV นั่นคือ ประหยัดกว่า แรงกว่า และขับสนุกกว่า แต่ราคาและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า รถระดับเดียวกัน 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า Nissan Kicks นั้นถูกวางตัวไว้ในระดับเดียวกับรถ B-SUV เช่น MG ZS, Honda HR-V, Toyota C-HR/Corolla Cross, Mazda CX-30/CX-3 และ Subaru XV เป็นต้น ซึ่งนิสสัน คิกส์นับเป็นรุ่นเดียวที่ใช้ระบบไฮบริด และไม่ใช้ไฮบริดทั่วไป เพราะระบบ ePower ในนิสสัน คิกส์นั้น เปรียบได้เท่ากับรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% 

นั่นคือ นิสสัน คิกส์ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเจ้าเดียวในไทยที่เป็นค่ายญี่ปุ่น แบบเดียวกับรุ่นพี่อย่าง นิสสัน ลีฟ หรือหากเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าค่ายอื่น ๆ ในไทยส่วนใหญ่ก็ไปทางฝั่งแบรนด์ยุโรป เช่น MG ZS EV, BMW i3, Porsche Taycan, Audi e-Tron  


ซึ่งรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าที่เขียนมาเกือบทั้งหมดนั้น ส่วนใหญ่ต้องเสียบปลั๊คไฟเพื่อชาร์จ หรือเมื่อเดินทางไปไหนไกล ๆ ต้องคอยหาจุดแวะชาร์จแบตเตอรี่ ทำให้ไม่สะดวกมากนัก

นิสสัน คิกส์ จึงคิดค้นเทคโนโลยี ePower ขึ้นมาโดยหลักการง่ายนิดเดียวแต่การทำระบบนั้นอาจไม่ง่ายนั่นคือ ติดตั้งเครื่องชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ไปด้วยในตัวรถเลย ไม่ต้องกังวลหาปลั๊คชาร์จอีกต่อไป เพราะระบบจะทำการ "ขับไปชาร์จไป" ใช้น้ำมันเท่าอีโค่คาร์หรืออาจประหยัดกว่านิดนึง โดยที่คุณยังได้สมรรถนะเทียบเท่ารถยนต์เบนซิน 2.4 ลิตร ทั้งการออกตัวที่ไม่รอบรอบ เร่งแซงได้ทันที และยังมีค่าบำรุงรักษต่ำกว่ารถระดับเดียวกันอีกด้วย นี่คือ คอนเซ็ปต์ของ "นิสสัน คิกส์" ในมุมมองของผมเองครับ

นอกจากนี้หากคุณต้องการรถ B-SUV ที่ให้ทั้งความสะดวกสบาย สมรรถนะที่ดีขับสนุกได้ดั่งใจ ต้องมีงบไม่น้อยกว่า 9 แสนบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นรถยนต์ EV ล้วนล่ะ ต้องมีงบเท่าไหร่ ผมว่าทะลุ 2 ล้าน แถมยังต้องวุ่นวายกับการหาปลั๊กไฟอีก เพราะต้องยอมรับว่าจุดชาร์จไฟในประเทศไทยนั้นยังไม่พร้อมรับมือกับรถยนต์ไฟฟ้าล้วนในขณะนี้!

ปล.ไม่นับรถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดที่เป็นการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งระบบนั้นจะชาร์จไฟในตัวเองอยู่แล้ว และราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 9 แสนบาทขึ้นไป   
ระบบ Nissan ePower VS Hybrid ทั่วไปต่างกันอย่างไร?

นิสสัน คิกส์ อีเพาเวอร์ (ePower) นับเป็นรถยนต์ที่ถูกผลิตให้เป็นรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นก็จะมีสมรรถนะเช่นเดียวกับรถยนต์ EV ก็คือ ไม่รอรอบ เงียบ ประหยัดพลังงาน และบำรุงรักษาต่ำ และแก้ปัญหาการชาร์จด้วยการติดตั้งเครื่อยนต์เล็ก ๆ เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 12 วาล์ว ขนาด 1.2 ลิตร กำลังสูงสุด 79 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 103 นิวตันเมตร ที่ 3,600 - 5,200 รอบ/นาที ความจุน้ำมัน 41 ลิตร ทำหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

พร้อมด้วยชุดอินเวอร์เตอร์ โดยเครื่องยนต์สันดาปภายในกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตกระแสไฟฟ้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่แบบลิเธียม ไอออน (Lithium ion) มีขนาดกะทัดรัด และส่งผ่านไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า EM57 กำลังสูงสุด 129 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 260 นิวตันเมตร ตั้งแต่ 500 - 3,008 รอบ/นาที เพื่อขับเคลื่อนล้อคู่หน้า และหากในภาวะต้องการกำลังเต็มที่ กระแสไฟที่ได้จากการปั่นก็จะสามารถจ่ายตรงสู่มอเตอร์ได้ทันทีอีกด้วย พร้อมเทคโนโลยีคันเร่งอัจฉริยะ วัน-เพดัล (One-Pedal) ใช้คันเร่งควบคุมการเร่งและชลอหยุดรถได้ในหนึ่งเดียว  

e-POWER มาพร้อม 4 โหมดการขับคือ ปกติ (Normal Mode) เอสหรือสมาร์ทโหมด (Smart Mode) อีโค (Eco Mode) และอีวี (EV Mode) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เหลือภายในแบตเตอรี่ โดยเครื่องยนต์จะไม่ทำงานจนกระทั่งแบตเตอรี่อยู่ในระดับต่ำ ให้ความเงียบและประหยัดสูงสุด
D - ใช้ขับขี่ทั่วไปโหมดนี้จะให้สมรรถนะจัดเต็มมากที่สุด เพราะจะทำงานแบบเต็มระบบนั่นคือ เมื่อต้องการใช้พลังงานสูงสุด เครื่องยนต์จะปั่นไฟเข้าที่มอเตอร์ไฟฟ้าโดยตรงในกรณีไฟในแบตเตอรี่พอหรือไม่ก็ตาม เมื่อไฟมาเต็มมอเตอร์ไฟฟ้าก็จะมีกำลังเต็มที่ ขับสนุกแน่นอนครับ และเมื่อขับขี่ปกติระบบก็จะคำนวนตามสภาพการขับขี่อย่างแม่นยำและเตรียมพร้อมทุกอัตราเร่ง
D-S เน้นใช้งาน One-pedal ใช้คันเร่งควบคุมการเร่ง ชะลอ หรือหยุดได้ในคันเร่งเดียว โดยไม่ต้องแตะเบรกพร้อมกับไฟเบรกที่ติดขึ้นด้วย นั่นคือเมื่อต้องการเร่งเติมคันเร่งปกติ เมื่อปล่อยคันเร่งมอเตอร์ไฟฟ้าจะหน่วงความเร็วเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ คล้ายอาการหน่วงของเครื่องยนต์ (Engine Brake) ซึ่งเหมาะกับการจราจรในเมืองหรือเมื่อขับขึ้น-ลงทางลาดชันและเนินเขา 
D-ECO ลดการใช้พลังงานให้ประหยัดสุดทั้งระบบไฟฟ้าขับเคลื่อน เครื่องยนต์ และระบบแอร์ ก็ในแบบประหยัดนั่นเอง การตอบสนองคันเร่งจะค่อยๆ มาแบบเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ แต่ถ้าต้องการกำลังเร่งแซงในโหมดนี้ ก็สามารถคิกส์ดาวน์ได้เช่นกัน
EV ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่โดยเครื่องยนต์จะไม่ติดขึ้น จนกว่าไฟในแบตเตอรี่จะชลอลงในระดับต่ำตามที่กำหนดไว้ เครื่องยนต์ก็จะติดขึ้นมาเอง โดยทางนิสสันแจ้งไว้คร่าวๆ ว่า ในโหมด EV นี้จะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 3 - 4 กม. ขึ้นอยู่กับสภาวะการขับขี่ในขณะนั้นครับ 
D-B จะเป็นการเน้นชาร์จไฟฟ้ากลับแบตเตอรี่เมื่อถอนคันเร่ง แต่ว่าความเร็วจะไม่ลดลงเร็วเท่ากับโหมด D-S และจะไม่สามารถหยุดรถจนจอดสนิทได้

จะเห็นว่าแรงม้าดูไม่มากนัก 129 ต้ว แต่ว่าสิ่งสำคัญคือ "แรงบิดครับ" เจ้าแรงบิด 260 นิวตันเมตรนี่แหละตัวทำให้เกิดความแรง ไม่ว่าคุณจะออกตัว เร่งแซง หรือ ขึ้น-ลงเขา ล้วนต้องพึ่งแรงบิดเป็นสำคัญครับ แรงบิดสูง ๆ ทำให้การขับขี่ดีในแทบทุกย่านความเร็ว และมีให้ตั้ง 500 รอบต่อนาทีอีกด้วย ไม่ต้องรอรอบ ไม่มีชิ้นส่วนเป็นภาระเยอะ กำลังถ่ายถอดจากแกนมอเตอร์ไฟฟ้า ไปที่ชุดขับเคลื่อนและลงที่ล้อทันที กระบวนการถ่ายเทกำลังสั้นและไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนมากมาย ทำให้ศูนย์เสีย "โหลด" ของมอเตอร์ไฟฟ้าน้อยลง ส่วนแรงม้านั้นเป็นกำลังที่จะพยุงให้รถวิ่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปได้ตามที่กำลังแรงม้ามี

ซึ่งแรงบิดระดับ 260 นิวตันเมตร มีในรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 ลิตร (ไม่มีเทอร์โบ) ขึ้นไป หรือต้องเป็นเบนซิน 1.5 - 1.6 ลิตร เทอร์โบ จึงจะได้แรงบิดระดับนี้ 

มาต่อกันที่ "ระบบไฮบริด" ทั่วไปหลักการทำงานคือ การขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยกันโดยผ่านชุดส่งกำลังทำหน้าที่คอย "เลือก" ว่าในการใช้งานในขณะนั้น ต้องใช้กำลังเท่าไหร่ โดยที่มีระบบควบคุมการสั่งการทำงานต่าง ๆ ของเซ็นเซอร์ทุกจุดตั้งแต่ คันเร่ง, ความเร็วอากาศเข้าเครื่องยนต์ กำลังไฟในแบตเตอรี่ ความเร็วในขณะนั้น ฯลฯ รวมเข้าด้วยกันและคำนวนออกมา เพื่อให้ขับเคลื่อนไปได้ตามต้องการ ซึ่งเครื่องยนต์จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนหรือชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไปด้วย ดังนั้น ระบบไฮบริดแบบนี้ก้จะวิ่งด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าล้วน ๆ ได้ไม่มากนัก 

ปลั๊คอินไฮบริด เป็นการเพิ่มช่องทางชาร์จไฟด้วยการมี "หัวเสียบปลั๊ค" เอาไว้ชาร์จไฟจากแหล่งพลังงานภายนอกรถ เช่น แท่นประจุไฟฟ้า, ปลั๊คตามบ้านหรือจุดชาร์จไฟต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เวลานานเกิน 4 ชม. ขึ้นไปกว่าจะเต็มระบบได้ และขณะเดียวกันหากต้องการขับไปชาร์จไฟไปให้เข้าแบตเตอรี่ บางรุ่นอาจต้องกดปุ่มเลือกโหมด "Charger" เพื่อสั่งให้ชาร์จไฟ และตอนนั้นเองจะเป็นการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว จนกว่าไฟจะเต็มหรือกดยดเลิก

แม้ว่าระบบไฮบริดนั้นจะมีการรวมกำลังทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์ แต่ก็ยังมีอาการ "รอ" ไม่ว่าจะรอบเครื่องยนต์ รอการคำนวนการสั่งงาน หรือแม้กระทั่งการรอให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มระบบตั้งแต่ดูดอากาศเข้าเครื่องยนต์ สั่งหัวฉีดจ่ายน้ำมันตามความต้องการเข้าห้องเผาใหม้ กว่าที่ลูกสูบจะเคลื่อยที่ขึ้น-ลง ตามจังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-และคาย แม้จะใช้เวลาเพียงเสี่ยวของเสี่ยววินาทีก็ตาม แต่ก็ยังมีจังหวะที่ต้อง "ชงัก" นอกจากนี้ต้องรอการสั่งการของระบบควบคุมการตัดต่อกำลังระหว่างกำลังจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าว่า "จะให้ใครออกแรงเท่าไหร่" ดังนั้นไม่ว่าระบบไฮบริดจะมีกำลังมากเพียงใด ก็ยังต้องมีอาการ "รอ" อยู่ไม่มากก็น้อย 

สรุปคือ EV ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้านั้น ไม่รอรอบ อัตราเร่งมาตามเท้าตั้งแต่เหยียบคันเร่ง และมีกระบวกการทำงานของชิ้นส่วนน้อยกว่า ทำให้เสียกำลังใช้จากระบบส่งกำลังน้อยและถ่ายทอดกำลังลงพื้นได้เต็มที่กว่านั่นเองครับ 
ลบข้อเสียรถยนต์ EV ไฟหมดเร็ว-วิ่งได้น้อย

อย่างบอกไปครับรถยนต์ไฟฟ้า EV ซึ่งหากมองย้อนกลับไปนั้น รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เมื่อไฟหมดก็ต้องหาที่ชาร์จไฟเข้าไป ให้สามารถวิ่งต่อไปได้ เกิดความยุ่งยาก 

นิสสัน คิสก์ ก็เลยนำเอาระบบ ePower มาใช้ขายในไทยซะเลย เพราะตัดปัญหานี้ทิ้งไป นอกจากจะขับได้ไกลเท่าที่ใจต้องการแล้ว ยังไม่ต้องเสียเงินติดตั้งแท่นชาร์จที่บ้าน แปลงสายไฟให้วุ่นวาย หรือขับไปหาที่ชาร์จไป สรุปสุดท้ายต้องกลับมาขับรถยนต์ปกติคันเดิม! 

การใช้งานเหมือนรถยนต์ทั่วไปเลยครับ คือ ขับไปปกติ เมื่อน้ำมันหมดก็เติมเท่านั้น ซึ่งน้ำมัน 1 ถังสามารถวิ่งได้กว่า 600 กม. และขนาดความจุเพียง 41 ลิตร และรองรับ E20 จึงประหยัดเงินได้มาก นอกจากนี้ยังทำอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยแบบใช้งานขริงราว ๆ 16 - 18 กม./ลิตร 


รถ EV ทำไมได้แค่ 17 กม./ลิตร?

แม้ตัวเลขประหยัดจากโรงงานเคลมที่ 23.8 กม./ลิตร แต่การใช้งานจริงย่อมแตกต่างกัน สำหรับระบบ ePower ของนิสสัน คิกส์ จะใช้เครื่องยนต์ในการปั่นไฟฟ้าเก็บเข้าแบตเตอรี่ เมื่อขับขี่ปกติคือ ไม่เร่งบ่อย ออกตัวช้า ๆ โดยไม่กดคันเร่งลึกเกินไปและไฟในแบตเตอรี่มีเกินระดับที่ไม่ต้องชาร์จไฟ เครื่องยนต์จะดับไม่ทำงาน การใช้น้ำมันเท่ากับ "0"  

เมื่อเพิ่มคันเร่งมากขึ้นจนถึงจุดที่ต้องการกำลังมากขึ้นและถ้ากำลังไฟฟ้ายังพอมีอยู่มากกว่าความต้องการของมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ก็ยังไม่ทำงานเช่นกัน และเมื่อกำลังไฟฟ้าหรือเติมคันเร่งมากขึ้นไปอีก ระบบจะคำนวนว่า ไฟในแบตเตอรี่พอหรือไม่ หากไม่พอเครื่องยนต์จะติดขึ้นและชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ให้เพียงพอต่อความต้องการ 


สุดท้ายหาก "คิกดาวน์" หรือต้องการอัตราเร่งแบบเต็มที่ เครื่องยนต์จะติดขึ้นเพื่อปั่นไฟฟ้าให้ทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าที่ล้อโดยตรงและเก็บส่วนหนึ่งเข้าแบตเตอรี่ด้วย 

ดังนั้น ระบบนี้จะต้องมีการใช้เครื่องยนต์ในบางจังหวะของการขับขี่นั่นเอง และถ้า "คิกดาวน์" หรือใช้อัตราเร่งบ่อย ๆ เครื่องยนต์จะเร่งรอบให้สูงขึ้นตามภาระความต้องการของระบบมอเตอร์ไฟฟ้าหรือระดับไฟในแบตเตอรี่ 

สรุปก็คือ หากขับแบบทั่วไป เรื่อย ๆ ไม่เร่งรีบ ก็จะให้ความประหยัตที่ดีขึ้นตามไปด้วย อาจทะลุเกิน 18 กม./ลิตร ส่วนถ้าใครไม่สนอัตราสิ้นเปลืองนักเน้นขับสนุก ใช้อัตราเร่งแซงบ่อย ๆ ก็จะได้ตัวเลขประหยัดน้อยลองราว ๆ 16 กม./ลิตร 
ทอลองขับกรุงเทพฯ - โคราช

ผมได้มีโอกาสนำนิสสัน คิกส์มาทดสอบพร้อมใช้ไปทำภาระกิจที่จังหวัดนครราชสีมารวมระยะทางไป-กลับราว ๆ 500 กว่า กม. จากน้ำมันเติมถังไปถึงจุดหมายคือ AirPlane Park และขับเข้าโรงแรมในตัวเมืองใกล้กับ The Terminal   

จากการใช้งานจริงตั้งแต่วันรับรถจากตึกสำนักงานนิสสันสาทรกลับบ้านย่าน 5 วัชรพล และทำธุระในเมืองอีกเล็กน้อย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังโคราชนั้น ก็รวมระยะทางวิ่งไปจริงเท่ากับ 600 กว่า กม. นับว่าเพียงพอต่อการสัมผัสรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ได้เป็นอย่างดีครับ..  

ภายนอกและภายในของนิสสัน คิกส์อาจไม่ค่อยมีอะไรโดดเด่นกว่ารถยนต์รุ่นอื่น ๆ นัก เพราะเป็นรถ SUV หรือ 5 ประตูยกสูงเหมือนกัน ส่วนภายในนั้นนับว่าแทบจะยกเอาของ นิสสัน อัลเมร่า เทอร์โบ ใหม่ มาใช้เกือบทุกจุด ในรถทดสอบคันนี้เป็นเบาะสีทูโทน ส้ม-ดำ เบาะคู่หน้าปรับมือฝั่งคนขับมีปรับสูงต่ำ 












พวงมาลัยทรง "D-Shape" ท้ายตัดมัลติฟังก์ชั่นปรับได้ 4 ทิศทาง หุ้มหนังแท้แบบแข็งมือไปสักหน่อย แต่จับกระชับกำลังดี มาตรวัดล้ำมาก จอสี TFT 7 นิ้ว รูปแบบการแสดงผลแบบเดียวกับในนิสสัน ลิฟ อาจแตกต่างในรายละเอียดบ้างเล็กน้อย 

หัวเกียร์อวกาศ ดูใช้งานยาก แต่มีรูปบธิบายเข้าใจง่ายมาก ไม่สับสน โยกขวา-ลง "D" โยกขวา-ขึ้น "R" โยกขวาค้างไว้ "N" และ "P" กดเมื่อจอด ง่ายมากขอบอก และมีระบบเบรกมือไฟฟ้าและ Auto Hold มาให้อีกด้วย   

มาตรวัดมีฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ มากมาย หลัก ๆ คือ บอกสถานะการใช้พลังงาน ระดับการใช้กำลังไฟฟ้า และระดับความประหยัด "ECO" นอกจากนี้ก้มีบอกระยะทางทริป A/B ระยะทางใช้งานรวม ระดับน้ำมันในถัง ระยะทางที่วิ่งได้ทั้งหมด และความเร็ว


บนหน้าปัดก็จะแสดงไฟเตือนต่าง ๆ มากมายเมื่อสั่งการทำงาน เช่น ครุซคอนโทรลแปลผัน ระบบเตือนการจอด เตือนมุมอัพสายตา เป็นต้น 

มาถึงระบบความบันเทิง 8 นิ้ว พร้อมแสดงภาพรอบทิศทาง ใหญ่สุดในกลุ่ม แอร์อัตโนมัติ ไฟหน้าเปิด-ปิดอัตโนมัติ กล้องมองรอบคัน กระจกมองหลังปรับเป็นกล้องมองหลังได้พร้อมตัดแสง พวงมาลัยหุ่มหนังแต่ผิวสัมผัสยังแข็ง ไม่ค่อยสบายมือนักสามารถ ปรับ 4 ทิศทาง


ตำแหน่งวางของกระจุกกระจิก วางแก้วน้ำมีน้อยไปสำหรับตอนหน้า มีแค่ตรงคอนโซลกลางและแผงข้างประตูที่วางขวดน้ำเล็ก ๆ จะหลวมและล้มบ่อยหน่อย แต่ชอบช่องเก็บของเล็ก ๆ ใต้แผ่นเท้าแขน สามารถใส่กระเป๋าสตางค์ผู้ชายได้พอดี

ส่วนช่องเก็บของใต้ชุดควบคุมแอร์มีขนาดใหญ่ แต่พื้นเป็นพลาสติดลื่น ๆ หากมีแผ่นยางรองจะดีมากหรืออาจต้องหาซื้อเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้ของกลิ้งไปมา
กระจกมองข้างที่มีกล้องนับว่าสะดวกเมื่อมีสัมภาระบดบังด้านหลัง แต่มุมมองของกลองจะไม่คุ้มเคย ระยะการมองเห็นค่อนข้างแตกต่างจากดูในกระจกเอง เพราะตำแหน่งกล้องติดอยู่ที่มุมบนกระจกบานหลัง ทำให้ระยะการมองเปลี่ยนไปบ้าง ต้องใช้งานบ่อย ๆ จึงจะชินครับ 


ท่านั่งขับขี่นับว่าดี ให้ความสบายพอสมควร จากท่านั่นคล้ายกับรถแบบ MPV ระดับสูงนั่งแล้วไม่จม ระยะห่างของพวงมาลัยกับเบาะนั่งเมื่อปรับเข้าที่แล้ว พอดี แต่สวิตช์ฉุกเฉินที่อยู่ตรงกลางช่องแอร์นั้น ต้องเอื้อมพอสมควร และระดับของที่เท้าแขนต่ำมาก จึงใช้งานไม่ค่อยถนัดนัก (ขึ้นกับความสูงแต่ละคน) 

ผิวสัมผัสเบาะเกือบนุ่ม ยังมีความแข็งเนื่องจากเป็นหนังแท้กึ่งวังเคราะห์ แต่ให้ความกระชับลำตัวดี เวลาเทโค้งยังพอรั้งลำตัวได้บ้าง แต่ยังต้องเกร็งตังช่วยเอาไว้ 
สมรรถนะการทดลองขับ

จากการได้ขับทั้งในเมืองและนอกเมืองกว่า 5 วัน ระยะทางรวมกว่า 600 กม. นิสสัน คิกส์ นับเป็นรถที่ให้สมรรนถะที่ดีเกินตัวทั้งอัตราเร่งที่แรง เมื่อได้ลองเร่งตีคู่กับรถพิกัด 2.0 ลิตร ไปจนถึง ดีเซลเทอร์โบ 2.2 ลิตร อัตราเร่งนับว่าสามารถออกตัวและเร่งแซงได้ใกล้เคียงกันมาก "ไม่ใช่แรงกว่านะครับ แต่ไต่ระดับความเร็วขึ้่นไปได้เร็วกว่าโดยไม่มีรอบรอบ" โดยเฉพาะช่วงออกตัวจากจุดหยุดนิ่งนั้น พุ่งทยานออกไปโดยไม่ต้องรอรอบแต่อย่างใด

การขับขึ้นเนินทางลาดชัน ก็ไม่รู้นึกถึงอาการอืดเลย เติมคันเร่งเพียงเล็กน้อยก็สามารถไต่ระดับความเร็วขึ้นไปได้อย่างสบาย ๆ ครับ โดยที่ความเร็ว 80 กม./ชม. เมื่อต้องการเร่งแซงใช้เวลาสั้นมากก็ทะลุ 140 กม./ชม. โดยที่ไม่ต้องลุ้น (ระดับความบนมารวัดอาจคลาดเคลื่อนไปราว +/- 3 กม./ชม.)
ช่วงล่างบอกเลยว่าดีกว่ารถระดับเดียวกันหลายรุ่น! ไม่นับรุ่นที่เป็นระบบ AWD และที่มีเทคโนโลยีโครงสร้างตัวถังกับแฟลตฟอร์มใหม่แล้ว เพราะนิสสัน คิกส์ยังไม่ได้ใช้แฟลตฟอร์มใหม่ระดับนั้น ถึงแม้จะไม่มีเทคโนโลยีแฟลตใด ๆ มาให้ แต่นับว่าให้ความรู้สึกเกาะพอตัว โดยไม่ถึงกับหนึบมาก แต่มีความแน่นเพราะน้ำหนักของแบตเตอรี่ และในความเร็วสูง ๆ ยังมีอาการหวิวจากพวงมาลัยที่มีความเบาและไว้มาก

การเข้าทางโค้งมั่นใจได้ ระบบเบรกที่ความเร็วต่ำถึงกลาง ๆ เอาอยู่แต่ถ้าความสูงมาก ๆ และต้องเบรกฉุกเฉินอาจต้องออกแรงมากขึ้น แต่อย่างน้อยในรุ่น VL ที่ทดสอบนั้นก็มีระบบช่วยเตือนการชนด้านหน้ามาให้รู้ตัว และความสะดวกสบายอีกอย่างในรุ่นนี้คือ ระบบควบคุมความอัตโนมัติอัจฉริยะ หรือ แบบแปรผัน 

ในส่วนของเทคโนโลยีคันเร่งอัจฉริยะ วัน-เพดัล (One-Pedal) นั้น ต้องเลือกโหมด D-S จึงจะเห็นผลชัดเจนโดยใช้ควบคุมทั้งอัตราเร่งและความเร็วพร้อมกับชะลอหรือเบรกได้จนจอดสนิทด้วย ซึ่งส่วนตัวนั้นไม่เน้นใช้งานระบบนี้ เพราะมันจะหน่วงมาก จนต้องเติมคันเร่งลึกจึงจะได้ความเร็วเท่าระดับเดิม แต่ถ้าหากัขบในเมืองตัวเมืองรถติด ๆ ก็น่าจะเหมาะสมกว่าครับ และไม่ต้องกังวลเพราะเมื่อยกคันเร่งไฟเบรกก็จะสว่างขึ้นให้รถคันหลังได้รู้ด้วย 
ประหยัดเท่าอีโค่คาร์แล้วจะซื้อทำไม?

หลายคนอาจยังสงสัยว่า รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV มีอัตราสิ้นเปลืองเท่ากับรถในระดับอีโค่คาร์เลย แล้วมันน่าใช้ตรงไหน? ซื้อ อัลเมร่า หรือ มาร์ชก็ได้? 
นิสสัน คิกส์ นั้น เป็นรถที่อยู่ใน SUV ระดับกลาง มีความกว้างขวางและใหญ่โตกว่ารถในระดับอีโค่คาร์พอสมควร ระบบความปลอดภัยในรุ่นที่ให้มากครบ ๆ นั้น นับว่าเยอะมากกว่าอีโค่คาร์ ที่สำคัญสมรรถนะของพละกำลังนั้นเหนือกว่ามาก และช่วงล่างที่ดีกว่า มั่นคงแข็งแรงทนทานและเกาะถนนได้ดีกว่า ยกสูงลุยน้ำได้ดี

สมรรถนะขุมพลัง ePower แม้จะไม่โดดเด่นเรื่องความประหยัดน้ำมันมากนักแบบ EV ทั่วไป แต่อย่าลืมว่ากำลัง 129 แรงม้า แรงยิก 260 นิวตันเมตร อัตราเร่งจากมอเตอร์ไฟฟ้าล้วน ๆ ไม่รอรอบรอบ และมีระบบ One Pedle ช่วยขับขี่สะดวกขึ้นเวลารถติด ซึ่งตัวเลขแรงบิด 260 นิวตันเมตรนั้น ซึ่งอีโค่คาร์ทำไม่ได้!! และแรงบิดระดับนี้มักจะมากับรถเครื่องยนต์ใหญ่ ๆ ระดับ 2.4 ลิตร หรือเครื่องเทอร์โบ ที่อาจมีอัตราสิ้นเปลืองต่ำกว่า 17 กม./ลิตร ด้วยซ่้ำไป!!  

จากตัวเลขที่ใช้งานจริง ๆ แบบขับสนุก ทั้งเร่งแซงออกตัวแรงบ่อยนั้น อัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 17 กม./ลิตร บวกลบขึ้นกับสถานการณ์แต่ละครั้งที่อยู่หลังพวงมาลัย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า เมื่อคุณต้องเดินทางขึ้นเขา ทางลาดชัน หรือ เร่งเแซงที่ความเร็วสูง ๆ จาก 90 กม./ชม. ไปถึง 120 กม./ชม. คิดว่ารถยนต์อีโค่คาร์ 1.25 ลิตร ที่มีอัตราประหยัด 18 - 20 กม./ลิตร จะต้องใช้รอบเครื่องยนต์สูงเท่าไหร่ จึงจะเร่งผ่านไปได้ หรือจะต้องเหยียบคันเร่งลึกเท่าไหร่ จึงสามารถมากเรียกกำลังจากเครื่องยนต์ 1.25 ลิตร ให้สามารถเร่งแซงหรือขึ้นเขาชัน ๆ ได้อย่างปลอดภัย

หากต้องการตัวเลขประหยัดเกิน 18 - 20 กม./ลิตร เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องการสมรรถนะ ก็เนินไปทางอีโค่คาร์น่าจะตรงใจกว่า แต่ถ้าขยับไซต์รถให้กว้างขึ้น ในราคาเพิ่มขึ้นเริ่มต้น 889,000 - 1,049,000 บาท แล้วแต่ความต้องการของออปชั่นและระบบที่เพิ่มขึ้นตามราคารถ พร้อมกับสมรรถนะแบบรถ EV ขับได้ไกลโดยไม่ต้องแวะหาที่ชาร์จไฟ นิสสัน คิกส์น่าจะเหมาะสมกว่า 

หากคิดดี ๆ ครับ ว่าระบบ ePower นั้น ใช้เติมน้ำมันแทนการใช้ไฟฟ้าชาร์จเข้าแบตเตอรี่ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแท่นชาร์จไฟที่บ้าน อาจมีค่าเดินระบบสายไฟใหม่ในกรณีสายไฟเป็นขนาดเล็ก หรือต่องขอเปลี่ยนขนาดแอมป์หม้อแปลงให้ใหญ่ขึ้น ก็คงเพิ่มเงินอีกหลายหมื่น (ค่าติดตั้งแท่นชาร์จราว ๆ 3 - 4 หมื่นบาทขึ้นไป) รวมกับค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเพิ่มตกราว ๆ 200 บาทต่อชาร์จหนึ่งครั้ง ซึ่งอาจไม่มากนัก แต่ระยะทางที่วิ่งได้โดยทั่วไปไม่น่าเกิน 220 กม. จึงมีข้อจำกัดมากในการใช้เดินทางไกล ๆ ในขณะที่นิสสัน คิกส์ เพียงแค่เติมน้ำมันเหมือนรถยนต์ทั่วไปเท่านั้น 

นอกจากนี้ นิสสัน คิกส์ มีการรับประกันตัวรถ 3 ปี 100,000 กม. แต่ในระบบ ePower รับประกัน 5 ปี พร้อมรับประกันแบตเตอรี่ 10 ปี และ ค่าบำรุงรักษายังเหมือนขับอีโค่คาร์อีกด้วย!! 
Nissan Kicks ePower ไม่ใช่รถที่สุดแต่คุ้มสุด

นิสสัน คิกส์ อีเพาเวอร์ รถยนต์ที่ให้ความคุ้มค่ามากที่สุดเพราะคุณจะได้รถยนต์ไฟฟ้าแบบเดียวกับแบรนด์หรูราคาหลายล้านบาท คุณจะได้รถขนาดกำลังดีไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไปใช้งานสะดวกคล่องตัว ถอยคล่อง จอดง่าย ระบบเตือนภัยรอบคัน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เรียกว่า ได้สมรรนะเท่ารถใหญ่ แต่ซ่อมราคารถเล็ก อัตราเร่งดีพร้อมความประหยัดน้ำมันตัวจริง ในค่าตัว 1,049,000 บาท ได้ครบแบบนี้ สำหรับผม งบประมาณนี้น่าจะตอบสนองการใช้งานในรถระดับเดียวได้คุ้มค่ากว่าใคร

ส่วนใครที่งบน้อยแต่ต้องการสมรรนถเร้าใจ แรง ประหยัด ดูแลง่าย ซ่อมถูกก็ดูในรุ่นเริ่มต้นราคาเพียง 889,000 บาทเท่านั้น ได้สมรรถนะเดียวกัน ตัดออปชั่นเกินจำเป็นออกไปบ้าง เมื่อเทียบกับราคาระดับนี้มีระดับ B-SUV เพียงไม่กี่รุ่นให้เลือก แต่สุดท้ายถ้าต้องการ "แรงและประหยัด" Nissan Kicks คงพอจะเป็นคำตอบสุดท้ายให้คุณได้อย่างแน่นอนครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง นิสสัน คิกส์ 2020 รีวิว นิสสัน 2020 nissan kicks
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)