ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ผ่อนรถต่อไม่ไหว ทำอย่างไรได้บ้าง?

icon 17 เม.ย. 64 icon 7,521
ผ่อนรถต่อไม่ไหว ทำอย่างไรได้บ้าง?

ผ่อนรถต่อไม่ไหว ทำอย่างไรได้บ้าง?

ภาวะเศรษฐิจชะลอตัว การถูกเลิกจากงานหรือการต้องปรับรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้นั้น ย่อมมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ซึ่งหลายคนที่เกิดปัญหาด้านการเงินอาจกระทบกับภาระที่ต้อง "ผ่อนค่างวดรถยนต์" ซึ่งยังเหลืออีกหลายงวดและไม่รู้จะทำอย่างไรดี บทความนี้มีคำแนะนำเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นทางออกในการปลอดหนี้หรือปิดภาระในการผ่อนรถได้ 
ในกรณีที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่างวดรถยนต์อยู่และเกิดปัญหาต้องการหยุดผ่อนชำระ หรือ ต้องการขายต่อ เพื่อลดค่าใช้จ่ายนั้น ให้พิจารณาดูองค์ประกอบดังนี้

ผ่อนชำระไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนงวดทั้งหมด


กรณีที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระมาแล้วไม่ถึงครึ่งของจำนวนงวดทั้งหมด เช่น จำนวนงวดผ่อน 60 งวด ผ่อนไปเพียง 20 งวด ซึ่งกรณีนี้ต้องทำใจก่อนว่า ถ้าต้องการขายต่ออาจจะต้องเพิ่มเงินในส่วนต่างที่ราคาขายต่อไม่ถึงจำนวนเงินที่กู้ไฟแนนซ์มาซื้อรถคันนั้น ตัวอย่างคือ หากกู้ไฟแนนซ์มา 1 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) ราคากลางขายต่อเหลือ 800,000 บาท ส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่มเองนั่นคือ 200,000 บาท เป็นต้น ในกรณีนี้อาจมี 2 ทางเลือกได้แก่
1. ขายดาวน์ เปลี่ยนสัญญา 
การขายแบบ ขายราคาดาวน์ เปลี่ยนสัญญาการซื้อขายใหม่ เพื่อให้ผู้ซื้อรายใหม่ผ่อนชำระต่อเนื่อง วิธีนี้จะเจ็บน้อยที่สุด เพราะเป็นการขายในราคาดาวน์ และทำการเปลี่ยนสัญญาจากชื่อผู้ครอบครองเดิม (ผู้ขาย) เป็นชื่อผู้ซื้อหรือครอบครองคนใหม่ โดยผู้ซื้อนั้นเพียงแค่ผ่อนชำระค่างวดต่อเนื่องจากเดิมที่ผู้ขายผ่านอยู่แล้ว โดยที่ผู้ซื้อใหม่จะได้แคมเปญดอกเบี้ยเป็นของรถยนต์ใหม่ต่อไปหรือได้แคมเปญเดิมต่อจากที่ผู้ขายทำเรื่องไว้ได้ทันที วิธีนี้ผู้ซื้อจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่าการซื้อในรูปแบบรถยนต์มือสองหรือจัดไฟแแนซ์ใหม่ เช่น ผู้ขายซื้อรถมามีดอกเบี้ยพิเศษ 0.99 % ผู้ซื้อก้จะใช้อัตราดอกเบี้ยเดียวกันจนผ่อนครบสัญญา เป็นต้น 

ซึ่งการขายดาวน์นี้ผู้ซื้อจะต้องทำการยื่นเรื่อง นำเอกสารและหลักฐานการขอกู้ไฟแนนซ์เหมือนการซื้อรถปกติ เพียงแต่ส่งเอกสารการกู้ซื้อรถให้กับไฟแนนซ์เจ้าเดิมที่ผู้ขายใช้อยู่เท่านั้นเอง การขายดาวน์ผู้ขายอาจจะพอได้เงินติดตัวเป็นค่ารถ ค่าน้ำมันเล็กน้อย และสามารถที่จะตั้งราคาขายดาวน์ตามต้องการได้อีกด้วย (ขึ้นกับราคาตลาด รุ่น ยี่ห้อของรถ และความพึงพอใจ) 
ข้อเสียของวิธีขายดาวน์ ถ้าผู้ซื้อสามารถหาไฟแนนซ์ได้แคมเปญดีกว่าก็อาจไม่ต้องการผ่อนต่อจากแคมเปญเดิม ซึ่งอาจทำให้ขายยากขึ้นหรือถูกต่อรองราคามากขึ้น และหรือถ้าผู้ซื้อกู้ไฟแนนซ์ไม่ผ่านก็ไม่สามารถทำเรื่องผ่อนชำระต่อจากสัญญาเดิมได้
2. ขายราคาเต็มปกติ
การขายแบบปกติคือ การขายเงินสดหรือผู้ซื้อใหม่อาจกู้ไฟแนนซ์และนำเงินสดมาจ่ายให้แก่ผู้ขาย และผู้ขายนำเงินไปปิดบัญชีหรือจ่ายปิดยอดผ่อนชำระที่ไฟแนนซ์ การขายแบบนี้ข้อดีคือ ง่ายทั้งผู้ที่ต้องการขายและซื้อรถ เพราะเพียงแค่ทำเรื่องกู้ไฟแนนซ์เพื่อซื้อรถ เมื่อเรื่องผ่านก็สามารถผ่อนได้ทันที โดยที่บางครั้งไม่ต้องดาวน์หรือใช้เงินออกรถซักบาท วิธีนี้จึงง่ายต่อการซื้อ-ขาย แต่ข้อเสียคือ ผู้ขายอาจต้องเพิ่มเงินเพื่อให้ครบยอดที่กู้ไฟแนนซ์มา ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการต้องหาเงินก้อนเพื่อมาปิดบัญชี
ทั้ง 2 กรณีนี้หากมียอดหนี้เงินคงเหลือมาก ๆ คงต้องเลือกดูว่าวิธีไหนสะดวกที่สุด 

กรณีที่ผ่อนชำระค่างวดเกินครึ่งทาง


การผ่อนชำระมาจนเกินครึ่งทาง นับว่าเจ็บตัวน้อยที่สุด เพราะยอดรวมคงเหลือที่ค้างในการต้องปิดบัญชีของไฟแนนซ์ จะลดลงต่ำกว่าครึ่งของที่กู้ไฟแนนซ์ เช่น ยอดเงินที่กู้ไฟแนนซ์ 1 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) ราคาขายต่อ 700,000 บาท (ทั้งนี้ขึ้นกับรุ่นรถและราคากลาง) ส่วนต่างคงเหลือ 200,000 บาท เป็นต้น  

การขายรถยนต์ต่อนั้นอาจมีหลายปัจจัย เช่น รุ่นรถยนต์ ความนิยม เป็นตัวกำหนดราคา และความรวดเร็วในการขาย ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้เหมือนกันทุกคันหรือระยะเวลา และอาจมีอีกหลายวิธีในการปรับลดภาระได้ขึ้นกับความสะดวกของแต่ละบุคคลด้วยครับ
สำหรับกรณีนี้ผู้ขายอาจพอมีเงินเหลือเก็บจากการขายรถยนต์ต่อมากกว่าในกรณีที่ผ่อนชำระไม่ถึงครึ่งทาง ดังนั้น แนะนำว่า ถ้ายังพอมีกำลังในการจ่ายค่างวดรถกัดฟันส่งต่ออีกนิดให้เหลือค่างวดน้อยที่สุด หรืออย่างน้อยเกินครึ่ง เช่น จำนวนผ่อนรถ 6 ปี ผ่อนมาแล้ว 2 ปี อดทนให้ผ่อน 3 ปี เพื่อให้ยอดเงินกู้น้อยลง 
วิธีสุดท้ายที่ไม่อยากแนะนำคือ "เจรจาคืนรถ"
วิธีที่นี้ขอให้เป็นตัวเลือกสุดท้าย หากจำเป็นถึงขีดสุดจริง ๆ การเจรจากับไฟแนนซ์เพื่อขอยกเลิกการเชาซื้อรถยนต์และคืนรถยนต์ให้ไฟแแนนซ์ นับเป็นการแก้ปัญหาขั้นสุดท้าย โดยทางไฟแแนซ์จะนำรถยนต์คันนั้นไม่ประเมินราคาขายต่อ ซึ่งส่วนมากทางบริษัทไฟแนนซ์ก็จะใช้เวลาในการขายทอดตลาดนานกว่าปกติ ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ภายในระบบของไฟแนนซ์เองและหลังจากประกาศขายแล้วก็มีระยะเวลารอผู้ซื้อรายใหม่ ซึ่งระหว่างนี้อาจทำให้เสียโอกาสในเรื่องของราคารถที่จะค่อย ๆ ลดลงตามระยะเวลา บางคันกว่าเรื่องจะจบก็อาจใช้เวลาเป็นปี แต่อย่าลืมว่ายอดคงค้างที่กู้ยืมมานั้นยังเท่าเดิม ณ วันล่าสุดที่คืนรถคันนั้น! 
กลายเป็นว่านอกจากจะได้ราคาขายต่ำกว่าปกติแล้ว ยังต้องเพิ่มส่วนต่างอีกมากเพื่อนำมาจ่ายปิดบัญชี แต่ทั้งนี้อาจมีการขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ได้ ขึ้นกับการตกลงกับทางไฟแนนซ์หรือสถาบันการเงินนั้นด้วย  
การ "ปล่อยให้ยึดรถ" มีขั้นตอนคล้ายกับการขอคืนรถเพียงแต่ว่า หากเป็นการถูกยึดรถนั้น จะเสียประวัติหรือติดเครดิตบูโรทันที ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวหากต้องการกู้ซื้อรถยนต์คันต่อไป จะทำให้ไฟแแนซ์พิจารณาปล่อยกู้ยากมากขึ้นและอาจมีดอกเบี้ยสูงกว่ารายทั่วไป เรียกว่าวิธีนี้ไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงเลยครับ! นอกจากนี้เมื่อจบประบวนการต่าง ๆ แล้ว นังต้องผ่อนชำระยอดที่เหลือค้างอีกด้วย 
ความจำเป็นต้องรีบขายตัดภาระเร่งด่วน ก็ให้ลองคำนวนดูว่าหากขายรถควรตั้งราคาเท่าไหร่ให้เหมาะสม รวมถึงต้องเพิ่มเงินอีกเท่าไหร่เพื่อที่จะปิดยอดบัญชี หากขายดาวน์ควรตั้งราคาเท่าไหร่ หรือบางกรณีอาจจำเป็นต้อง "ยกให้ฟรีไปผ่อนต่อ" ก็เคยเห็นมาแล้ว ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก การยอม "ปล่อยภาระ" บ้างอย่างออกไก็นับว่าเป็นการเคลียร์หนี้สิ้นแม้จะต้องยอมหาเงินส่วนต่างมาปิดในเรียบร้อยก็ตาม เรียกว่า "เจ็บแต่จบ"
นอกจากนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มในการปิดยอดบัญชีหรือการขายแบบเปลี่ยนสัญญาได้ที่สถาบันการเงิน (ไฟแนนซ์) ที่ผู้กู้ใช้บริการอยู่ได้อีกด้วย และมีรายละเอียดที่รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่ออกมาเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 "เมื่อต้องหยุดงานจากวิกฤตไวรัส COVID-19 แล้วแบบนี้...หนี้ผ่อนรถจะทำยังไง?" คลิกเลย! 
 
หมายเหตุ
  1. บทความนี้เป็นการแนะนำเบื้องตันเท่านั้น 
  2. การคำนวนและตัวอย่างการคิดค่างวดผ่อนชำระ เป็นการสมมุติขึ้นอาจไม่ตรงกับความจริง 
  3. โปรดสอบถามสถาบันการเงินเพื่อทราบขั้นตอนต่าง ๆ ของการปิดยอดบัญชี
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ ซื้อรถยนต์ ผ่อนรถ ผ่อนรถต่อไม่ไหว ทำอย่างไรได้บ้าง? ขายรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)