ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เรียนรู้การใช้ "ยางรถยนต์" ให้คุ้มค่ามากที่สุด

icon 19 เม.ย. 64 icon 4,668
เรียนรู้การใช้ "ยางรถยนต์" ให้คุ้มค่ามากที่สุด
   

เรียนรู้การใช้ "ยางรถยนต์" ให้คุ้มค่ามากที่สุด

จะมีสักกี่คนที่รู้สึกดีกับการได้เปลี่ยนยางชุดใหม่ให้รถสุดรักอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พวกจริงจังกับการใช้ยางดีๆ ตลอดเวลา ชอบขับโหด ซิ่ง เน้นกริ๊ป เทรดแวร์น้อยๆ หรือเห็นยางอยู่ในสภาพเหลือไม่ต่ำกว่า 70 % ตลอดเวลา แต่ถ้าคุณเป็นคนใช้ของให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายและเลือกใช้ยางดีๆ อย่าง บริดจสโตน มาเป็นยางคู่รถแล้วก็ควรมีวิธีถนอมการใช้งานให้ยาวนานคุ้มค่าเงินหน่อย ตลอดจนให้ความปลอดภัยควบคู่ไปด้วย และนี่คือ 4 คำแนะนำที่ช่วยได้

1. เช็คแรงดันลมเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อยในปั้มน้ำมันก็มี

วิธีที่ง่ายสุดล่ะ ในการยืดอายุยาง คือ มั่นคอยเช็คแรงดันลมให้เหมาะสม ใครไม่ทราบก็ดูจากคำแนะนำของรุ่นยางในเว็บหรือโบร์ชัวร์ ไม่ก็ถามทางร้านตอนเปลี่ยนครั้งแรกเลย อย่าลืมเรื่องการบรรทุกหรือจำนวนคนนั่งประจำไปคิดด้วย การใช้แรงดันลมยางเหมาะสมช่วยให้การควบคุมทิศทาง การเบรก ทำได้ดีตามมาตรฐาน การสึกหรอก็เป็นไปตามระยะทางการใช้งานจริง
ทุกๆ เดือนแรงดันลมยางมักลดลง 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ PSI อย่าลืมว่า การเติมลมยางอย่างเหมาะสมนอกจากลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยให้อัตราสิ้นเปลืองมีความเที่ยงตรงตามที่ควรจะเป็น
 

2. จงสลับยางเมื่อถึงช่วง 8,000 - 10,000 กม. เอาที่สะดวก

รถส่วนใหญ่มีล้อขับเคลื่อนเพียง 2 ล้อ ไม่หน้าก็หลัง ทำให้การสึกหรอของยางชุดหน้า-หลังไม่เท่ากัน ถ้าเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งรถซีดานส่วนใหญ่ก็เป็นขับหน้า 1ยางชุดหน้ามักสึกหรอมากกว่าหลัง ตรงกันข้ามรถขับเคลื่อนล้อหลัง ยางชุดหลังก็ย่อมสึกหรอมากกว่าหน้า ต่อให้เป็นเป็นออลวีลไดร์ฟก็สึกหรอไม่เท่ากันทั้งหน้า-หลัง ด้วยน้ำหนักโหลดที่ไม่เท่ากันในแต่ละล้อ และการถ่ายกำลังที่ล้อไม่เท่ากัน การแนะนำให้สลับยางเพื่อให้ยางที่รับภาระขับเคลื่อนได้มีโอกาสพักหรือลดการสึกหรอต่อเนื่อง
 

3. อย่าลืมถ่วงล้อเวลาสลับยางด้วยล่ะ

ตอนที่เข้าไปสลับยางให้ถือโอกาสถ่วงล้อไปด้วยเลย ยางทุกเส้น ล้อทุกวง ต่างมีจุดทิ้งน้ำหนักไม่เท่ากัน ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ต่อให้เป็นของใหม่แกะห่อหรือกล่องก็ตาม แม้ความต่างเพียงน้อยนิดของในละจุด แต่ก็ทำให้ล้อกับยางแกว่งหรือสั่นตอนหมุน และด้วยเครื่องมือพิเศษในการถ่วงล้อทำให้ช่างรู้ว่าจุดไหนของล้อต้องแปะตะกั่วเพื่อถ่วงให้เหวี่ยงได้อย่างสมูธ ยิ่งเป็นยางใช้งานแล้ว การสึกหรอย่อมมีผลต่อสมดุลการเหวี่ยงไม่น้อย ไม่เหมือนตอนที่เป็นยางใหม่ เมื่อสลับจึงควรถ่วงใหม่
 

4. ควรตั้งศูนย์ปีละ 2 ครั้ง ถ้ามุมล้อผิด ชีวิตเปลี่ยน

ถ้าเริ่มรู้สึกว่ารถมีอาการดึงหรือแถซ้าย-ขวา พวงมาลัยเต้นโดยไม่ต้องเปิดเพลง แสดงว่ารถคุณอาจมีปัญหาเรื่องมุมล้อล่ะ แม้มันขับได้ปกติอยู่ก็ตาม ต่อให้มีอาการนิดหน่อย แต่นั่นอาจส่งผลตามมาเช่น ยางสึกหรอไม่เท่ากัน กินเชื้อเพลิงมากขึ้น ทำไมถึงต้องตั้งศูนย์ปีละ 2 ครั้ง ก็เพราะเวลาขับในชีวิตประจำวันเรามักเจอ เนินสะดุด หลุมบ่อบนถนนจากการขุดเจาะกลบไม่ดี โดยเฉพาะใน กทม. การเผชิญอุปสรรคเหล่านี้บนถนนบ่อยๆ ล้วนทำให้ค่ามุมล้อเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำควรตั้งศูนย์ล้อบ่อย
 
ด้วยข้อแนะนำทั้ง 4 ข้อ ข้อแรกสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกนั้นก็ควรหาให้เวลาไปตรวจเช็ค ยิ่งถ้าใช้รถเดินทางบ่อย เน้นความปลอดภัย อยากประหยัดกับค่ายางชุดใหม่ ก็ควรทำตามที่แนะนำ ซึ่งไม่ยากเลยนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ยาง ยางรถยนต์ ขับขี่ปลอดภัย บริดจสโตน ยางบริดจสโตน เรียนรู้การใช้ยางให้คุ้มค่ามากที่สุด ความรู้รถยนต์ ขับรถปลอดภัย ความรู้รถ รีวิวยางรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย ชลัคร ช่วยชู CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)