ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ชี้ช่องขับ ตอน ชื่อทางด่วน...ชวนสงสัย?

icon 19 เม.ย. 64 icon 6,165
ชี้ช่องขับ ตอน ชื่อทางด่วน...ชวนสงสัย?

ชี้ช่องขับ ตอน ชื่อทางด่วน...ชวนสงสัย?

ชี้ช่องขับ บทความที่จะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการขับรถยนต์จากประสบการณ์จริงทั้งในชีวิตประจำวันและในการทดสอบขับขี่รถยนต์มากฝาก ในตอนแรกนี้เสนอเรื่องเบาๆ ชวนสงสัยกับ ตอน "ชื่อทางด่วน...ชวนสงสัย"
หลายคนเมื่อต้องขับรถขึ้นทางพิเศษหรือทางด่วน มักจะเรียกชื่อทางด่วนต่างๆ จากทางขึ้น-ลงหรือว่าบริเวณที่ใกล้กับด่านเก็บเงินนั้น ความจริงแล้วทางด่วนแต่ละสายนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการด้วยนะ มาดูว่ามีชื่อเรียกว่าอย่างไรและสามารถจะขึ้นไปทางไหนได้บ้าง

ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว ๗ สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ ๓ แห่ง รวมระยะทาง ๒๐๗.๙ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง รายละเอียดของทางพิเศษสายต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ ๑) ระยะทางรวม ๒๗.๑ กิโลเมตร 

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ ๑) ระยะทางรวม ๒๗.๑ กิโลเมตร เรียกกันติดว่าว่า "ทางด่วนดินแดง" ที่ขึ้นชื่อว่า "รถติดสุดๆ" 

สะพานพระราม ๙ ที่มีตึกธนาคารกสิกรโดดเด่นคู่กัน
ทางด่วนสายนี้ประกอบด้วย 
  • สายดินแดง - ท่าเรือ ระยะทาง ๘.๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔
  • สายบางนา - ท่าเรือ ระยะทาง ๗.๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๖
  • สายดาวคะนอง - ท่าเรือ ระยะทาง ๑๐.๓ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
โดยในเส้นทางนี้มีสะพานพระราม ๙ เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง - ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge  หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิ้ลขนาดใหญ่ ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพาน  เพื่อรับน้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ อีกด้วย ใครเกิดทันตอนเปิดให้เดินข้ามกันบ้างหนอ?

ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ ๒) ระยะทางรวม ๓๘.๔ กิโลเมตร ประกอบด้วย

ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ ๒) อาจเรียกกันง่ายๆ ว่า "ด่วนพระรามเก้า" หรือ "ด่วนไปมอเตอร์เวย์" เป็นต้น ประกอบด้วย ส่วน A เริ่มจากถนนรัชดาภิเษกผ่านทางแยกต่างระดับพญาไทถึงถนนพระราม ๙ ระยะทาง ๑๒.๔ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ 
  • ส่วน B สายหลัก มีแนวเชื่อมต่อกับส่วนเอที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท แล้วไปเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่บริเวณบางโคล่ ระยะทาง ๙.๔ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
  • ส่วน C เชื่อมกับทางพิเศษส่วน A โดยเริ่มจากถนนรัชดาภิเษกถึงถนนแจ้งวัฒนะ ระยะทาง ๘.๐ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๒ กันยายน ๒๕๓๖
  • ส่วน D เริ่มจากถนนพระราม ๙ ถึงถนนศรีนครินทร์ ระยะทาง ๘.๖ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๑ เมษายน ๒๕๔๓
อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย กทพ. รับภาระแทนผู้ใช้บริการ ยกเว้นส่วน D เป็นอัตรารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

หมายเหตุ* มีส่วนลดให้กับรถที่เดินทางเชื่อมต่อระบบทางพิเศษในเขตเมือง และนอกเขตเมือง (ทางพิเศษศรีรัช ส่วน C บริเวณด่านประชาชื่น-ขาเข้า และด่านประชาชื่น-ขาออก จำนวน ๕ บาท)

ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี) 

ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี) นับเป็นทางด่วนที่น่าใช้มากที่สุดเพราะว่าเป็นทางตรงยาวๆ เวลาขับจะรู้สึกสบาย ไม่วุ่นวาย แต่ข้างบนนั้นมักจะมีกระแสลมแรงพัดปะทะตัวรถ จึงกลายเป็นทางด่วนที่ไม่ควรขับเร็วเกินไป เพราะยากแก่การควบคุมรถ

มีระยะทาง ๕๕.๐ กิโลเมตรมีจุดเริ่มต้นที่ บริเวณบางนา-ตราด (กม. ๒+๕๐๐) ไปถึงชลบุรี (กม.๕๕+ ๓๕๐) เปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
  • ช่วงที่ ๑ บางนา-บางแก้ว เปิดให้บริการในวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๔๑
  • ช่วงที่ ๒ บางแก้ว-กิ่งแก้ว เปิดให้บริการในวันที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๔๑
  • ช่วงที่ ๓ กิ่งแก้ว-เมืองใหม่บางพลี เปิดให้บริการในวันที่ ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๒
  • ช่วงที่ ๔ เมืองใหม่บางพลี-บางเสาธง เปิดให้บริการในวันที่ ๒๕ พ.ค. ๒๕๔๒
  • ช่วงที่ ๕ บางเสาธง-บางสมัคร เปิดให้บริการในวันที่ ๑ ต.ค. ๒๕๔๒
  • ช่วงที่ ๖ บางสมัคร-บางปะกง เปิดให้บริการในวันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๔๒
  • ช่วงที่ ๗ บางปะกง-ชลบุรี เปิดให้บริการในวันที่ ๗ ก.พ. ๒๕๔๓

ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน - ปากเกร็ด) ระยะทางรวม ๓๒ กิโลเมตร

ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน - ปากเกร็ด) หรือบางคนเรียกว่า "ทางด่วนเมืองทอง-ธรรมศาสตร์-บางปะอิน"  โดยมีจุดเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ-บางไทร
  • ระยะที่ ๑ จากถนนแจ้งวัฒนะ-เชียงราก และต่อเชื่อมกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  • ระยะที่ ๒ จากเชียงราก-บางไทร ระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร เปิดให้บริการ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

โครงการทางพิเศษทางพิเศษกาญจนาภิเษก (สายบางพลี-สุขสวัสดิ์)

สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า "ทางด่วนวงแหวนอุตสาหกรรม" มีแนวสายทางต่อเชื่อมกับทางหลวงวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ช่วงถนนพระรามที่ ๒-ถนนสุขสวัสดิ์ เริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์บริเวณพระประแดงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๓๔ (บางนา-บางปะกง) บริเวณบางพลี ระยะทาง ๒๒.๕๐ กิโลเมตร 

เปิดให้บริการโดยยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราว ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทาง (ช่วงบางพลี-สุขสวัสดิ์) ในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ (ส่วนช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน เป็นของกรมทางหลวง ซึ่งปัจจุบันได้ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง)

ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์)
ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์) ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่เมื่อเรียกว่า "ด่วนรามอินทรา" จะรู้จักทันทีว่าเป็นทางด่วยที่ขนานกับ "ถนนประดิษฐ์มนูธรรม" หรือเลียบด่วนนั่นเอง 

มีจุดเริ่มต้นจากถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ ๕.๕ ถึงอาจณรงค์ ระยะทาง ๑๘.๗ กิโลเมตร โดยมีถนนประดิษฐ์-มนูธรรมขนานขนาบจากรามอินทราไปถึงเอกมัย ทางพิเศษฉลองรัชได้เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙ เส้นทางนี้จะข้ามถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม ๙ แล้ว ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ เลียบแนวคลองตันข้ามถนนสุขุมวิททางด้านตะวันออกของสะพานพระโขนง ไปบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา-ท่าเรือที่บริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท ๕๐) 
  • ช่วงที่ ๑ รามอินทรา - อาจณรงค์ ระยะทาง ๒๘.๒ กม. เปิดให้บริการในวันที่ ๒๙ ต.ค. ๒๕๒๔
  • ช่วงที่ ๒ รามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง ๙.๕ กม. เปิดให้บริการในวันที่ ๒๓ เม.ย. ๒๕๕๒

รู้ชื่อจริงของทางด่วนกันแล้วจะได้ไม่สับสนเวลา GPS หรือ Google บางชื่อทางด่วน จะได้ไม่งงว่า ทางด่วนอะไร ขึ้นตรงไหน และบทความหน้า "ชี้ช่องขับ" จะมีอะไรดีๆ มาฝากโปรดติดตามได้ที่นี่ครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ ทางด่วน ชี้ช่องขับ ตอน ชื่อทางด่วน...ชวนสงสัย.? ขับรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)