ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ต้องอ่าน!..รถยนต์ปิคอัพควันดำ ตรวจกันอย่างไร?

icon 31 ม.ค. 62 icon 25,820
ต้องอ่าน!..รถยนต์ปิคอัพควันดำ ตรวจกันอย่างไร?

ต้องอ่าน!..รถยนต์ปิคอัพควันดำ ตรวจกันอย่างไร?

รถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนนทั้งทุกคันต้องผ่านการคัดกรองเรื่องการปล่อยมลพิษก่อนออกจากโรงงานผลิต โดยการควบคุมของกรมควบคุมมลพิษและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการช่วยให้อากาศสะอาดและสดชื่น สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อธรรมชาติและผู้คนที่ใช้อากาศหายใจ


แต่... ก็มีรถปิคอัพหลายคันที่ถูกนำมาปรับแต่งเครื่องยนต์ทั้งการ "ดันราง" ในน้ำมันดีเซลหนาขึ้น "โมดิฟายด์" เครื่องยนต์ให้มีกำลังมากขึ้น "อุด EGR" หรือตัววนกลับไอเสียเพื่อลดมลพิษ หรือแม้กระทั่งทำ "ท่อตรงลงหน้าเพลาแบบยิ่งสด" ไม่ผ่านระบบกรองไอเสียก็มี เพื่อให้ขับขี่สนุกมากขึ้น สนองความคึกคะนองส่วนตัว แต่สิ่งที่ตามมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากก็คือ "ควันดำ" ควันถ่วมเมื่อเหยียบคันเร่งมากๆ และกลายเป็นปัญหาทางด้านมลพิษส่งผลต่อสภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปทันที!


ภาพจาก www.xo-autosport.com
การปรับแต่งรถอาจมีหลายจุดประสงค์ เช่น เพื่อใช้ในกีฬาการแข่งขันเท่านั้น หรือเพื่อต้องการกำลังเพิ่มขึ้นในการใช้งานขึ้น-ลงทางลาดชัน ส่วนการปรับแต่งเพื่อนำมาวิ่งซิ่ง "เล่น" บนท้องถนนทั่วไปนับเป็นการเพิ่มมลพิษโดยไม่เห็นความเดือดร้อนของผู้อื่น..

ภาพจาก www.posttoday.com
ปัจจุบันค่าปริมาณฝุ่นในอากาศเพิ่มสูงจนน่าตกใจ "ควันดำ" ก็นับปัจจัยต้นๆ ที่ทำให้เกิด "มลพิษ" และหน่อยงานต่างๆ ก็มีมาตรการ "เข้ม" (หรือเปล่า?) ในตรวจค่าไอเสียจากรถยนต์ทั้งรถยนต์เบนซินและดีเซล มาดูว่ามีอะไรกันบ้าง  

การตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำ


ภาพจาก www.busthai.net
จากผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศของกรุงเทพมหานคร โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ปรากฎว่า บริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานครมีปริมาณมลพิษสูงกว่าพื้นที่อื่นทั่วไป สารมลพิษที่เป็นปัญหาหลักยังคงเป็นฝุ่นละอองขนาดใหญ่และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่มักจะก่อให้เกิดปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ ส่วนฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ซึ่งจะเกาะตัวหรือตกตัวได้ในส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดการระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นๆ เช่น เนื้อเยื่อปอด หากได้รับปริมาณมากหรือในช่วงระยะเวลายาวนาน จะสะสมในเนื้อเยื่อปอดเกิดเป็นพังผืดหรือแผลขึ้นได้ รวมทั้งทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลงทำให้หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และมีโอกาสเกิดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้

ผลการศึกษาถึงแหล่งที่มาของฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร พบว่าร้อยละ 40 มีที่มาจากรถยนต์ที่ใช้อยู่บนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควันดำจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ดังนั้นมาตรการการห้ามใช้รถยนต์ที่มีควันดำเกินค่ามาตรฐาน ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานครได้
ควันดำคืออะไร ฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากควันดำ ซึ่งเป็นผงเขม่าสีดำขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซล โดยควันดำที่เกิดจากรถยนต์นั้น มาจาก ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม, ไส้กรองอากาศสกปรกเกิดการอุดตัน, เครื่องยนต์เก่า ชำรุด ขาดการบำรุงรักษา, บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น รวมถึงรถที่ปรับแต่งเครื่องยนต์อีกด้วย
การตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำ
1. กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งดำเนินการได้กับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่ รถกระบะ รถตู้ เป็นต้น โดยการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ (ห้ามใช้ชั่วคราว , ห้ามใช้เด็ดขาด) แก่รถยนต์ที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐานกำหนด (ร้อยละ 50) ซึ่งในปี 2546 ได้เริ่มมาตรการนำร่องบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ระหว่างวันที่ 18 กันยายน - 17 ธันวาคม 2546 และในปี2547 (ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 47 เป็นต้นมา) ได้ขยายพื้นที่การตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำให้ครอบคลุมกรุงเทพมหานครวันละประมาณ 30 จุดตามจุดตรวจสอบตรวจจับของกองบังคับการตำรวจจราจร และในปัจจุบันมีสถานที่ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะจำนวน 7 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ สถานีตำรวจนครบาลคู่ขนานลอยฟ้า และกองโรงงานช่างกลของกรุงเทพมหานครทั้ง 5 แห่ง
2. กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ดำเนินการตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้แก่ รถยนต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง สัปดาห์ละ 3 วันคือ วันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ โดยทำการพ่นเครื่องหมายคำสั่ง "ห้ามใช้" แก่รถที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐาน และในปี 2547 กรมควบคุมมลพิษได้ประสานไปยังองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้เข้าร่วมดำเนินการด้วย โดยกรมการขนส่งทางบกจะออกคำสั่งห้ามใช้แก่รถโดยสารประจำทางที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐาน และหากว่ารถโดยสารประจำทางดังกล่าวเป็นรถร่วมบริการ ขสมก.จะดำเนินการโดยใช้กฎระเบียบและเงื่อนไขท้ายสัญญาประกอบการ ตั้งแต่การแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จนถึงการบอกเลิกสัญญาประกอบการเดินรถ
วิธีการตรวจวัดควันดำ
1. การเตรียมรถยนต์ก่อนการตรวจวัด
1.1 จอดรถอยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
1.2 ปิดระบบเครื่องปรับอากาศ และระบบเบรกไอเสีย (ถ้ามี)
1.3 เดินเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานปกติ
1.4 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องยนต์ ถ้าพบอาการที่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย หรือไม่ปลอดภัย ให้ซ่อมแซมให้อยู่ในสถาพสมบูรณ์เสียก่อน
2. เครื่องมือตรวจวัดที่ถูกต้องจะต้องทำเครื่องสะอาดและปรับแต่งเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้ผลิต
3.วิธีการตรวจวัดควันดำ ให้เร่งเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วจนสุดคันเร่ง พร้อมตรวจวัดควันดำขณะเริ่มเร่ง ให้ทำการวัดสองครั้ง ซึ่งค่าควันดำจะต้องแตกต่างกัน น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยให้ใช้ค่าสูงสุดที่วัดได้เป็นเกณฑ์ตัดสิน
4. มาตรฐานค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ (จอดอยู่กับที่) กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง) หรือไม่เกินร้อยละ 45 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง)
คำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะคืออะไร?
รถยนต์ที่ปล่อยควันดำ เกินร้อยละ 50 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง หรือเกินร้อยละ 45 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง จะถูกติดสติ๊กเกอร์ "ห้ามใช้รถชั่วคราว" หรือ "ห้ามใช้เด็ดขาด" พร้อมทั้งบันทึกหมายเลขทะเบียนลงในคอมพิวเตอร์เพื่อแจ้งไปยังนายทะเบียนของกรมขนส่งทางบกพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ห้ามใช้ชั่วคราว คือ คำสั่งห้ามใช้รถยนต์ที่มีควันดำเกินกว่ามาตรฐานเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะนำรถไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีควันดำเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในกำหนด 30 วัน
เมื่อถูกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์จะได้รับแบบ คพ.1 และถูกติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้ชั่วคราว" บริเวณกระจกหน้ามุมบนด้านขวาของผู้ขับขี่ เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์อาจใช้รถนั้นได้ เพื่อนำรถไปแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีควันดำเกินมาตรฐาน หรือนำไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำ ภายหลังจากที่แก้ไขเครื่องยนต์แล้วเท่านั้น
เมื่อแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์แล้ว ให้นำรถพร้อมแบบ คพ.1 และหลักฐานการแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์มาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำ เพื่อยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" ณ สถานที่ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่กำหนด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำแล้วพบว่าไม่เกินมาตรฐานจะยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์จะได้รับแบบ คพ.4 ไว้เป็นหลักฐาน ขั้นตอนการปฎิบัติตามข้อ 2 และ 3 จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่ถูกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" หากเกินกำหนด 30 วันแล้ว ยังมีค่าควันดำเกินมาตรฐาน พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" และติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้เด็ดขาด" แทนเครื่องหมาย "ห้ามใช้ชั่วคราว" 

ห้ามใช้เด็ดขาด คือ คำสั่งห้ามใช้รถยนต์อย่างเด็ดขาด เมื่อไม่นำรถยนต์ไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีควันดำ เป็นไปตามมาตรฐาน ภายในกำหนด 30 วัน นับจากวันที่มีคำสั่ง ห้ามใช้ชั่วคราว และจะเคลื่อนย้ายรถยนต์ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเท่านั้น
เมื่อถูกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์จะได้รับแบบ คพ. 1 และถูกติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้เด็ดขาด" บริเวณกระจกหน้ามุมบนด้านขวาของผู้ขับขี่
เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ไม่สามารถใช้รถนั้นอย่างเด็ดขาด นอกจากจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้นำรถไปแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์จะได้รับหนังสืออนุญาตตามแบบ คพ. 2 ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายรถเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์จะต้องใช้การลากจูงหรือวิธีอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดควันดำเท่านั้น
เมื่อแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์แล้ว ให้นำรถพร้อมแบบ คพ. 1 และเขียนคำร้องขอยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" ตามแบบ คพ. 3 ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ยกเลิกคำสั่ง ห้ามใช้ยานพาหนะที่กำหนด เพื่อขอให้ตรวจวัดค่าควันดำและยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำแล้วพบว่าไม่เกินมาตรฐาน จะทำการยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์จะได้รับแบบ คพ. 4 ไว้เป็นหลักฐาน 
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้รถยนต์
การฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามใช้รถยนต์ของพนักงานเจ้าหน้าที่มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535) ผู้ใดไม่หยุดรถเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหรือเข้าไปในรถยนต์หรือกระทำการใดที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของรถยนต์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535) ผู้ใดทำเครื่องหมาย (สติ๊กเกอร์) "ห้ามใช้ชั่วคราว" หรือ "ห้ามใช้เด็ดขาด" หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

แผนที่แสดงการตั้งจุดตรวจจับและสถานที่ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ
สถานที่ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ (9.00 - 15.00 ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ)
  • จุดที่ 1 กรมควบคุมมลพิษ ซ.พหลโยธิน 7 (ซ.อารีย์) ถ.พหลโยธิน เขตพญาไท โทร. 0-2298-2616, 0-2298-2620
  • จุดที่ 2 สถานีตำรวจนครบาลคู่ขนานลอยฟ้า ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ฝั่งขาเข้า (ใกล้ ถ.พุทธมณฑลสาย 2)
  • จุดที่ 3 กองโรงงานช่างกล (กทม.2, ดินแดง) ถ.มิตรไมตรี ใกล้ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โทร. 0-2246-1908
  • จุดที่ 4 ศูนย์ซ่อมกองโรงงานช่างกล สาขาดอนเมือง ถ.พหลโยธิน บริเวณสถานธนานุบาลดอนเมือง โทร. 0-2532-0462
  • จุดที่ 5 ศูนย์ซ่อมกองโรงงานช่างกล สาขาประเวศ ซ.สุภาพงษ์ 2 ถ.ศรีนครินทร์ (ตรงข้ามซีคอนสแควร์) โทร. 0-2361-5070
  • จุดที่ 6 ศูนย์ซ่อมกองโรงงานช่างกล สาขาราษฎร์บูรณะ บริเวณที่จอดรถเก็บขยะมูลฝอย สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ โทร. 0-2871-4758
  • จุดที่ 7 ศูนย์ซ่อมกองโรงงานช่างกล สาขาภาษีเจริญ โรงงานกำจัดมูลฝอย หนองแขม ถ.พุทธมณฑลสาย 3 โทร. 0-2444-2230

การควบคุมคุณภาพอากาศและเสียง

การควบคุมคุณภาพอากาศและเสียงโดยมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษนั้นแบ่งได้หลายรูปแบบและลักษณะการตรวจที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของรถยนต์ตัวอย่างมีดังนี้ 




ในประเทศไทยใช้แค่มาตรฐาน EURO 4 เท่านั้น

รถยนต์ที่ใช้งานทั่วโลกต่างก็มีมาตรฐานไอเสียที่สูงกว่าประเทศไทยไปไกลมากๆ เช่น ระดับ EURO 5 - 6 ส่วนในประเทศไทยนั้นยังคงใช้มาตรฐาน EURO 4 โดยแบ่งการทดสอบรถยนต์ ออกเป็น 2 ชนิด
1. รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ  (เบนซิน)
2. รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยการอัด (ดีเซล)
มาตรฐานตาม มอก. 2540-2554 เครื่องยนต์ที่ใช้จุดระเบิดด้วยวิธีใช้ประกายไฟ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. ชนิดเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซิน และหรือแก๊สโซฮอล์
  2. ชนิดเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ร่วมกับก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิ โตรเลียมเหลว
  3. พลังงานจากเชื้อเพลิงและอุปกรณ์สะสมกำลังพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุ ล้อช่วยแรงเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า ใช้ในการขับเคลื่อนทางกล (Hybrid)
มาตรฐานตาม มอก. 2550-2554 เครื่องยนต์ที่ใช้จุดระเบิดด้วยวิธีใช้การอัด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
  1. ชนิดเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล
  2. ชนิดเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิ โตรเลียมเหลว
  3. พลังงานจากเชื้อเพลิงและจากอุปกรณ์สะสมกำลังพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุ ล้อช่วยแรงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ใช้ในการขับเคลื่อนทางกล (Hybrid)
แสดงค่าปริมาณสารมลพิษไอเสีย EURO 4 (สำหรับรถยนต์เบนซิน)

แสดงค่าปริมาณสารมลพิษไอเสีย EURO 4 (สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก)

มาตรฐานเล่มนี้บังคับครอบคลุมการทดสอบรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงและจากอุปกรณ์สะสมกำลัง พลังงานไฟฟ้า (Hybrid) โดยใช้เกณฑ์ค่าแสดงผลปริมาณสารมลพิษเกณฑ์เดียวกัน
ถึงเวลาแล้วที่ผู้ใช้รถยนต์จะหันมาใส่ใจคุณภาพอากาศและมลพิษจากการใช้รถยนต์ของตัวเอง ด้วยการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่ออากาศบริสุทธิ์อยู่คู่กับเราไปนานๆ   

แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ รถกระบะ รถปิคอัพ มลพิษ pm2.5 รถยนต์ปิคอัพควันดำ ตรวจกันอย่างไร? ฝุ่น รถยนต์ควันดำ กระบะควันดำ
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)