ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"ลูกปืนล้อแตก" เสียงดังยังไง?

icon 13 พ.ย. 61 icon 91,117
"ลูกปืนล้อแตก" เสียงดังยังไง?

"ลูกปืนล้อ" ลูกกลมๆ ที่ห้ามละเลย!

'ลูกปืนล้อ' มีหน้าที่สำคัญในการหมุนของล้อ เป็นตัวรองรับน้ำหนักและจุดหมุนของล้อ ถ้าลูกปืนล้อหลวมหรือแตก จะทำให้ล้อแกว่งเสียศูนย์ รถหนึ่งคันสำคัญที่สุดก็ตรงล้อรถนี่แหละครับ เพราะเป็นจุดที่สัมผัสกับพื้นถนน พาเราเคลื่อนไปสุดจุดหมายปลานทางอย่างสวัสดิภาพ ดังนั้น ผู้ขับรถทุกท่านควรใส่ใจกันสักนิด
เคยมีกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "ลูกปืนแตก" จนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันมาแล้ว!
โดยจำเลยเป็นพนักงานขับรถบรรทุก ซึ่งขับรถชนกับรถยนต์อีกคัน เพราะ "ลูกปืนล้อรถพ่วงด้านขวาแตก" เป็นเหตุให้ล้อรถพ่วงหลุดจนเสียการทรงตัวขับล้ำเข้าไปในช่องทางเดินสวน ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็น "เหตุสุดวิสัย" เพราะลูกปืนล้อรถอยู่ภายในตรวจสอบไม่ได้
สู้กันมาจนถึงศาลฎีกา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2551) พิพากษาว่า อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถย่อมมีทั้งที่อยู่ภายนอกและภายใน อุปกรณ์บางชิ้นตรวจสอบได้ด้วยสายตา บางชิ้นเสื่อมสลายไปตามสภาพการใช้งาน ซึ่งล้วนแต่ต้องตรวจตราจากผู้ใช้งานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะตรวจสอบเองในฐานะเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือโดยผู้อื่นที่มีหน้าที่ก็ตาม
การที่จำเลยอ้างว่า ลูกปืนล้อรถเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่หน้าที่ตรวจสอบของตนเองซึ่งเป็นเพียงผู้ขับเท่านั้น จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จากรณีข้างก็รับผิดชำระค่าสินไหมกันไปครับ...จะเห็นได้ว่าแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเราเป็นผู้ขับรถนั้นจะว่าไม่เกี่ยวกับเราไม่ได้นะครับ 

สาเหตุที่ทําให้ 'ลูกปืนล้อรถ' เสียหาย 

1. ใช้งานมานาน โดยเฉลี่ยแล้วรถยนต์ที่มีเสียงหอนจากลูกปืนล้อรถแตกนั้น มักผ่านการใช้งานมามากกว่า 100,000 กิโลเมตร แต่ก็ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการใช้งานรถ
2. เกิดจากการกระแทกรุนแรงหรือสะสม เช่น ตกหลุมแรงๆ ขบผ่านลูกระนาดแรงๆ โดยไม่ชะลอความเร็ว ไม่ชะลอความเร็วในทางขรุขระ เป็นต้น
3. ถ้ารถเก่าจะมีการเสื่อมสภาพของเบ้าลูกปืนหรือจาระบีแห้ง
4. ลูกปืนล้อรถเสียหาย กรณีนี้บางคนเคยเปลี่ยนลูกปืนล้อมาแล้ว แต่ความเสียหายอาจเกิดจาก "การตอกในขณะใส่ลูกปืน" ทําให้เกิดแผลที่ลูกปืนล้อ

'ลูกปืนล้อแตก' เสียงดังยังไง?

โดยปกติลูกปืนล้อรถเมื่อเสื่อมสภาพหรือเกิดเสียหาย รถจะมีเสียงดังผิดปกติ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเสียงนั้นเกิดจากลูกปืนล้อรถ?
1. รถมีเสียงหอนเข้ามาในห้องผู้โดยสาร ลักษณะเสียงจะดื้อๆ รู้ๆ ยิ่งวิ่งเร็วยิ่งเสียงดัง บางครั้งดังจนหูอื้อเลย
2. ให้สังเกตเสียงว่าดังมาจากทางไหน เวลาเราขับจะสังเกตได้ยิน เสียงอย่างชัดเจนมากถ้าอาการเป็นที่ล้อหน้า แต่ถ้าเป็นล้อหลังอาจจะ สังเกตได้ยินยากหน่อย อาจจะต้องอาศัยคนนั่งเบาะด้านหลัง แล้วฟัง เสียงหอนว่ามาจากล้อหลังด้านซ้าย หรือด้านขวา
3. นํารถเข้าไปเช็กที่ศูนย์ หรืออู่วิธีการเช็กโดยส่วนมากช่างก็จะยกรถขึ้น แล้วเอามือจับที่ล้อแล้วโยกดูว่าคลอนหรือเปล่า หรืออีกวิธีเอามือจับที่สปริงโช้กอัพแล้วหมุนล้อดู ถ้าลูกปืนล้อรถแตกอาการสั่นที่สปริงจะชัดเจนมาก และถ้ารถมีเสียงหอนอาการดังกล่าว แนะนําให้รีบนํารถเข้าเช็กและแก้ไข เพราะอันตรายมาก หากฝืนวิ่งไปโดยไม่ซ่อมแซม
ส่วนราคานั้นก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อลูกปืนล้อ และรุ่นของรถ บวกค่าแรง แต่เปลี่ยนแต่ละครั้งก็อยู่ได้นานหลายปี และถ้าหากลูกปืนล้อรถแตกข้างเดียว สามารถเปลี่ยนข้างเดียว ได้ แต่บางอู่ก็แนะนําให้เปลี่ยนใหม่เป็นคู่ แล้วแต่อู่หรือศูนย์บริการ นั้นๆ จะประเมิน
แท็กที่เกี่ยวข้อง การดูแลรถยนต์ ลูกปืนรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)