ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เมื่อถูกสิ่งก่อสร้างตกใส่รถต้องทำอย่างไร?

icon 25 ก.ย. 61 icon 10,972
เมื่อถูกสิ่งก่อสร้างตกใส่รถต้องทำอย่างไร?

เมื่อถูกสิ่งก่อสร้างตกใส่รถ ต้องทำอย่างไร? 

การขับรถบนท้องถนนในชีวิตประจำวันอาจไม่ปลอดภัยอย่างที่คาดคิดไว้ เพราะปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่เกี่ยวกับการขับรถยนต์ในถนนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณการก่อสร้างถนนหนทาง แนวรถไฟฟ้า หรือสะพานข้ามต่างๆ เป็นข่าวดังหลายกรณี เช่น รถนิสสัน มาร์ช ที่ถูกวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ตกลงมาทับส่วนหน้ารถพังไปครึ่งคันและคนขับรอดหวุดหวิด หรืออีกเหตุการณ์ที่รถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ถูกเสาเข็มล้มใส่ส่วนหน้ารถได้รับความเสียหายเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าการใช้รถใช้ถนนนอกจากจะต้องระวังรถยนต์, มอเตอร์ไซค์, คนเดินเท้า หรือรถสาธารณะแล้ว ผู้ขับต้องคอยมองด้านบนเมื่อขับผ่านแนวก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่มีความปลอดภัย แล้วหากเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับคุณจะต้องปฎิบัติอย่างไร มาดูคำแนะนำกันเลยครับ 

1.เอาชีวิตรอด


"ตั้งสติ" สำรวจร่างกายและผู้โดยสารในรถว่าปลอดภัยหรือไม่ มีอาการบาดเจ็บมากน้อยแค่ไหน หากสามารถขยับร่างกายได้ ให้มองรอบๆ ตัว หรือบริเวณใกล้เคียงว่าสามารถออกจากรถไปพักในจุดปลอดภัยได้หรือไม่ เพราะเรายังไม่สามารถประเมินความเสียหายของรถได้ว่ามีระบบท่อเชื้อเพลิงหรือระบบไฟฟ้าที่กำลังรั่วอยู่หรือเปล่า

ภาพจาก www.khaosod.co.th
ในกรณีที่ประตูบิดเบี้ยวผิดรูปไม่สามารถเปิดได้ ให้ลองเปิดกระจกเพราะรถยนต์ส่วนมากจะยังใช้งานระบบไฟฟ้าได้สักระยะเวลาหนึ่ง และค่อยๆ ปีนออกมาทางหน้าต่าง แต่หากกระจกแตกให้ระมัดระวังอาจเกิดการบาดเจ็บจากเศษกระจกด้วย

ภาพจาก www.fm91bkk.com
ถ้าหากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากนักให้ "ดับเครื่องยนต์หรือปิดสวิตช์กุญแจ" เพื่อตัดระบบไฟฟ้าในรถยนต์ก่อนและรีบติดต่อหน่วยงานขอความช่วยเหลือ เบอร์โทรฉุกเฉินได้แก่
  • ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
  • ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
  • สายด่วน กรมทางหลวง โทร. 1586
  • ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  • ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1195
  • ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 1155
  • ศูนย์นเรนทร (แจ้งป่วยฉุกเฉิน) โทร. 1669 หรือ 02-354-8222
  • หน่วยแพทย์กู้ชีวิต กทม. โทร. 1554
  • ศูนย์วิทยุกรุงธน โทร. 02-451-7228
  • ศูนย์วิทยุรามา โทร. 02-354-6999
  • ศูนย์วิทยุปอเต็กตึ๊ง 24 ชม. โทร. 02-226-4444-8
  • จส.100 โทร. 1137
  • สถานีจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 โทร. 1255
  • สวพ.91 โทร. 1644
  • ร่วมด้วยช่วยกัน FM 102.75 โทร. 1677

www.thairath.co.th
เหตุการณ์อาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะและหลายรูปแบบขึ้นกับความเสียหายมากน้อยที่ส่วนได้ของรถยนต์ หากไม่สามารถประเมินได้ให้รีบโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด  

2.สำรวจความเสียหาย


ภาพจาก มิงค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต
หากมีผู้บาดเจ็บให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที หลังจากนั้นให้สำรวจรอบๆ บริเวณที่เกิดเหตุก่อนว่าจะมีสิ่งก่อสร้างหรือเศษวัสดุตกลงมาหรือมีสิ่งใดที่อาจล้มตามมาอีกหรือไม่ เพื่อเตรียมตัวหลีกหนีได้ทัน

ภาพจาก มิงค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต
เมื่อสำรวจพื้นที่รอบๆ ดูแล้วว่าปลอดภัยให้สำรวจความเสียหายของรถยนต์โดยการถ่ายรูปรถที่เกิดเหตุ, บริเวณเกิดเหตุ, สาเหตุหรือต้นเหตุที่เกิดขึ้นในหลายๆ มุม เพื่อเป็นหลักฐานนำมาประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง

ภาพจาก มิงค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต

3.ติดต่อประกันภัยหรือหน่วยงานเกี่ยวข้อง


ภาพจาก www.thairath.co.th
ติดต่อประกันภัยรถยนต์ (กรณีมีประกันชั้น 1) หรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แจ้งเจ้าหน้าที่ตำตวจเพื่อให้มาตรวจที่เกิดเหตุ และบันทึกประจำวันพร้อมแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเยียวยาต่างๆ รวมถึงร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. เอาไว้ หากเกิดการเจรจราค่าเสียหายไม่เป็นธรรมและขั้นสุดท้ายหากไม่ได้รับแก้แก้ไขเยี่ยวให้รีบจัดตั้งทนายเพื่อยื่นสำนวนส่งฟ้องศาลต่อไป

ภาพจาก มิงค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต
ในกรณีไม่มีประกันหรือเป็นประกันรถยนต์ชั้นอื่นๆ นอกจากประเภทชั้น 1 นั้นโดยปกติจะไม่สามารถแจ้งบริษัทฯ ประกันรถได้เพราะไม่ได้ระบุความคุ้มครองดูแลกรณีเรียกร้องค่าชดเชยสินไหมแทนเจ้าของรถเอาไว้ จึงต้องเป็นหน้าที่เจ้าของรถโดยตรงในการติดต่อประสานงานกับผู้รับเหมาหรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ โดยนำหลักฐานต่างๆ ทั้งใบแจ้งความ ภาพถ่าย ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปร้องต่อผู้รับผิดชอบ และถ้ายังไม่ได้รับการชดเชยก็จำเป็นต้องจัดหาทนายเพื่อเตรียมดำเนินคดีความในขั้นตอนต่อไป

4.ประเมินความเสียหาย


ภาพจาก www.innnews.co.th
สำหรับรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายนั้น โดยปกติแล้วรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ หนักในระดับเกิน 40-50% ขึ้นไปโดยเฉพาะที่เกิดกับโครงสร้างตัวถังรถยนต์และหรือเกิดการกระแทกทั้งด้านหน้า-หลัง, ด้านบน (หลังคาหรือพลิกคว่ำ) จนทั้งซุ้มล้อหรือจุดยึดระบบเครื่องยนต์กับช่วงล่างผิดรูป, โครงรถภายนอกภายในห้องโดยสร้างบิดเบี้ยวผิดรูป เสารับน้ำหนักหลังคาบิดเบี้ยวผิดรูปทรงไปจากเดิม ย่อมไม่สามารถซ่อมให้กลับมาเหมือนเดิมได้ แม้จะเปลี่ยนอะไหล่ใหม่หมดก็ตาม 
ดังนั้น หากเป็นไปได้ว่าถ้ารถเกิดเสียหากมากจนซ่อมแล้วไม่สามารถใช้งานให้เกิดความปลอดภัยเช่นเดิมได้ก็ควรเปลี่ยนคันใหม่ ยิ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดจากเจ้าของรถขับประมาทเองหรือกรณีจอดรถไว้กับที่ ยิ่งต้องเรียกร้องให้มีการจัดการเปลี่ยนรถให้ นอกจากนี้ยังรวมค่าเสื่อมสภาพรถ, ค่าเสียโอกาสใช้งานรถและค่าเสียเวลาอีกด้วย และส่วนมากเหตุการณ์ลักษณะนี้มักจะเป็นชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่และก่อให้เกิดความเสียต่อรถมาก
ส่วนรถที่อาจได้รับผลกระทบไม่มากเช่นรอยถลอก ตัวถังบุบหรือยุบเล็กน้อย ก็ให้ซ่อมแซมให้เสมือนของใหม่ทั้งหมด โดยการเปลี่ยนอะไหล่แท้ทุกชิ้น ไม่ควรซ่อมโดยการ "เคาะหรือดึง" เพราะนั่นทำให้คุณสมบัติความแข็งแรงของชิ้นส่วนนั้นลดลง

การประเมินความเสี่ยงเมื่อใช้รถยนต์ต่อไปว่า "ซ่อมหรือเรียกร้องเปลี่ยนคันใหม่"

กรณีร้องขอเปลี่ยนคันใหม่ทดแทนหรืออาจเปลี่ยนเป็นชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินนั้น มีให้เห็นหลายเหตุการณีดัง เช่น รถนิสสัน มาร์ชที่ถูกโครงเหล็กสร้างรถไฟฟ้าหล่นทับที่ขอรับเป็นเงินสดแทน หรือรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ที่ได้รับชดเชยเช่นกัน ซึ่งต้องมาดูว่าสภาพรถเสียหายในส่วนใดบ้าง 

เมื่อพิจารณาดูสภาพของรถทั้ง 2 คันนี้แล้วเรียกว่า "ขายซาก" อย่างเดียว ดังนั้นผู้เสียหายจึงต้องได้รับการชดใช้จากผู้รับผิดชอบในรูปแบบเปลี่ยนคันใหม่ทดแทนหรือเงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ภาพจาก www.quora.com
แต่ถ้ารถได้รับความเสียหายในระดับไม่หนักเท่ากรณีข้างต้นหรือเสียหายในบางส่วน เช่น ฝากระโปรงหน้า-หลัง ประตู หลังคา มีรอยบุบ ครูด หรือยุบไม่ลึกมาก ถ้าหากไม่ถูกในส่วนสำคัญก็สามารถซ่อมใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นจุดที่สำคัญและรับรองอัดกระแทกเต็มๆ แม้จะดูไม่มากมาย แต่อาจส่งผลกระทบไปถึงจุดอื่นๆ ที่ต้องรับภาระการถูกกระแทกตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบความายนอกจากที่มองเห็นเพียงภายนอกด้วย เช่น รถที่ถูกสิ่งของขนาดใหญ่ตกใส่ ควรตรวจเช็คส่วนต่างๆ ที่คาดว่ารับแรงกระแทกหรือเป็นตัวซับแรง อย่างระบบช่วงล่าง เสาโครงหลังคา ล้อ และยาง เป็นต้น     

ภาพจาก www.bodyshoplagunaniguel.com
เมื่อตรวจพบว่ามีชิ้นส่วนอื่นที่ได้รับผลจากเหตุการณ์นั้นก็ควรเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งหมดเท่าที่จะเปลี่ยนได้ และหากเป็นจุดที่ซ่อมด้วยการดึง เคาะ พ่นสีใหม่แล้วก็ตาม ชิ้นส่วนเหล่านั้นหรือเหล็กที่ถูกเปลี่ยนรูปทรงไปจากเดิม ย่อมเสียความแข็งแรงลงไป และไม่สามารถกลับมาคงสภาพได้เท่าเดิม เพียงแค่ถูกยืดหรือเคาะให้กลับมาเป็นทรงเดิมเท่านั้น นอกจากนี้ในจุดที่ต้องตัด-เชื่อม หากขั้นตอนขัดผิว รองพื้นและพ่นสีไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีความละเอียดพอก็อาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เสียง, กลิ่นหรือลมเข้าห้องโดยสารได้อีกด้วย 
ดังนั้น การประเมินค่าซ่อมรถคันที่เสียหายนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของรถและการต่อรองเจราจา ว่าจะตกลงใช้วิธีใดและจะสามารถเลือกรับการชดเชยเปลี่ยนรถคันใหม่หรือเงินสด

ภาพจาก www.lanouvellerepublique.fr
นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางด้าน "จิตใจ" เนื่องจาก "รถใคร-ใครก็รัก" บางคันแม่จะเป็นรถเก่าแต่อาจซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงและเป็นยานพาหนะสำหรับเดินทางไปทำงาน พาครอบครัวไปท่องเที่ยว หรือแม้แต่ซื้อรถใหม่ป้ายแดง ดูแลรักษาอย่างดี แต่กลับเจอเหตุการณ์ลักษณ์นี้ย่อมทำใจลำบากว่จะยอมรับได้หรือไม่หากต้องซ่อมใช้ต่อไปอีก ราคาขายต่อไม่ดี ประวัติรถไม่ดี และความกังวลเมื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน รถที่เคยใช้งานสภาพดีๆ ต้องมาซ่อมทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ทำให้เกิดอุบัติเหตุเอง 

สำหรับตัวอย่างเหตุการณ์ดังที่เกิดขึ้นกับดาราสาว "มิ้งค์" ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต ที่จอดรถยนต์ไว้หน้าบ้าน และถูกเครนก่อสร้างถล่มลงมาได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ภายในซอยศาลาแดง เมื่อประเมินโดยรวมแล้วความเสียหายนี้อาจดูเหมือนสามารถซ่อมได้

แต่เมื่อลองตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โครงหลัง เสารับน้ำหนักหลัง ถูกกำแพงตกลงมากระแทกอย่างแรง ทำให้บิดเบี้ยวผิดรูปร่างไป ซึ่งวิธีการซ่อมจากการประเมินค่าเสียหายจากศูนย์ฮอนด้าแห่งหนึ่ง โดยในรายการส่วนหนึ่งแจ้งว่า "เคาะพ่นสี" แม้ว่าช่างจะสามารถซ่อมแซมจนกลับมาให้เป็นเหมือนเดิมได้ แต่คุณสมบัติของวัสดุที่ถูกดึง ดัด ยืด เคาะ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงความแข็งแรงที่ลดน้อยลงย่อมมีผลกระทบด้านความปลอดภัยหากใช้งานในระยะยาว 



เหตุการณ์นี้ "มีผลต่อจิตใจ" โชคดีที่วันเกิดเหตุไม่ได้อยู่ในรถ แต่รถยนต์ได้รับความเสียหาย แม้จะดูไม่มากมายและก็เป็นเหตุที่ไม่ควรเกิดขึ้นจากความ "ชุ่ย" ของผู้รับเหมาและเจ้าของโครงการที่ละเลยมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อชุมชนและผู้ใช้รถใช้ถนน แม้จะอยู่ในบ้านก็ยังไม่มีความปลอดภัยเลยแม้แต้น้อย มิ้งค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

สุดท้ายฝากถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการก่อสร้าง ทั้งถนน สะพาน รถไฟฟ้า หรือตึกสูงและคอนโดต่างๆ ให้ช่วยกันตรวจสอบความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสุงสุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชนและผู้ใช้ถนนให้มากขึ้น
ตอนนี้เวลาขับรถไปเส้นทางไหนคงต้องระวังตัวเอง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว โอกาสรอดชีวิตนั้นต่ำมากๆ และอาจไม่โชคดีเหมือนกรณีที่เป็นข่าวก็ได้ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถไฟฟ้า รถยนต์ รถใหม่ รถเสีย เครนถล่ม รถพัง รถเครน ก่อสร้าง ก่อสร้าง bts รถดารา
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)